โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวบริวารของดาวยูเรนัส

ดัชนี ดาวบริวารของดาวยูเรนัส

อเบอรอน ดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดยักษ์ในระบบสุริยะ มีดาวบริวารที่รู้จักแล้ว 27 ดวง โดยทั้งหมดถูกตั้งชื่อตามตัวละครในผลงานการประพันธ์ของวิลเลียม เชกสเปียร์ และอเล็กซานเดอร์ โปป โดยใน ค.ศ. 1787 ดาวบริวารสองดวงแรกถูกค้นพบโดยวิลเลียม เฮอร์เชล ได้แก่ ทิทาเนียและโอเบอรอน ส่วนดาวบริวารทรงกลมอื่น ๆ ถูกค้นพบโดยวิลเลียม ลาสเซลล์ ในปี ค.ศ. 1851 (ได้แก่ แอเรียลและอัมเบรียล) และในปี ค.ศ. 1948 โดยเจอราร์ด ไคเปอร์ (มิแรนดา) ดาวบริวารที่เหลือถูกค้นพบหลังจากปี ค.ศ. 1985 โดยภารกิจของวอยเอจเจอร์ 2 และด้วยความช่วยเหลือของกล้องโทรทรรศน์บนโลกที่ทันสมัย ดาวบริวารของดาวยูเรนัสถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มดาวบริวารรอบในสิบสามดวง (thirteen inner moons), กลุ่มดาวบริวารขนาดใหญ่ห้าดวง (five major moons) และกลุ่มดาวบริวารทรงแปลกเก้าดวง (nine irregular moons) โดยกลุ่มดาวบริวารรอบในสิบสามดวงจะกระจัดกระจายอยู่ภายในบริเวณวงแหวนของดาวยูเรนัส กลุ่มดาวบริวารขนาดใหญ่ห้าดวงเป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่และเป็นทรงกลม ในนั้น 4 ดวงเป็นดาวบริวารที่ยังมีกระบวนการภายใน มีภูเขาไฟ และการเปลี่ยนแปลงบนเปลือกดาวอยู่ ดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มคือ ไททาเนีย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,578 กม.

44 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2330พ.ศ. 2394พ.ศ. 2491พ.ศ. 2528พอร์ชา (ดาวบริวาร)พัก (ดาวบริวาร)กล้องโทรทรรศน์กิโลกรัมกิโลเมตรกึ่งแกนเอกมวลมิแรนดา (ดาวบริวาร)รอซาลินด์ (ดาวบริวาร)ระบบสุริยะวอยเอจเจอร์ 2วันวิลเลียม เชกสเปียร์วิลเลียม เฮอร์เชลอัมเบรียล (ดาวบริวาร)องศา (มุม)จูเลียต (ดาวบริวาร)ดาวบริวารดาวยูเรนัสดาวแก๊สยักษ์ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรความเอียงของวงโคจรคอร์ดีเลีย (ดาวบริวาร)คาบดาราคติคีวปิด (ดาวบริวาร)นาซาแมบ (ดาวบริวาร)แอเรียล (ดาวบริวาร)โลกโอฟีเลีย (ดาวบริวาร)ไททาเนีย (ดาวบริวาร)เบลินดา (ดาวบริวาร)เบียงกา (ดาวบริวาร)เพอร์ดิตา (ดาวบริวาร)เส้นผ่านศูนย์กลางเส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะเจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์เดสดิโมนา (ดาวบริวาร)เครสซิดา (ดาวบริวาร)11 มกราคม

พ.ศ. 2330

ทธศักราช 2330 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและพ.ศ. 2330 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2394

ทธศักราช 2394 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1851 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและพ.ศ. 2394 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2491

ทธศักราช 2491 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1948.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและพ.ศ. 2491 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2528

ทธศักราช 2528 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1985 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและพ.ศ. 2528 · ดูเพิ่มเติม »

พอร์ชา (ดาวบริวาร)

นับจากซ้ายไปขวา พอร์ชา เครสซิดา และโอฟีเลีย พอร์ชา (Portia) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus XII เป็นดาวบริวารลำดับที่ 7 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส พอร์ชา ตั้งชื่อตาม Portia จากวรรณกรรมของเชคสเปียร์ เรื่อง The Merchant of Venice พอร์ชา ถูกค้นพบในวันที่ 3 เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1986 โดยยานวอยเอจเจอร์ 2 ตอนค้นพบมันถูกกำหนดให้มีชื่อว่า "S/1986 U 1" พอร์ชาถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพอร์ชา ซึ่งในกลุ่มนี้มีดาวบริวารทั้งหมด 8 ดวง ได้แก่ เบียงกา เครสซิดา เดสดิโมนา จูเลียต รอซาลินด์ คีวปิด เบลินดา เพอร์ดิต.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและพอร์ชา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

พัก (ดาวบริวาร)

ัก พัก (Puck) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus XV เป็นดาวบริวารลำดับที่ 12 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส ถูกค้นพบเมื่อ เดือนธันวาคม ปี..

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและพัก (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและกล้องโทรทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

กึ่งแกนเอก

กึ่งแกนเอกของวงรี ระยะกึ่งแกนเอก (Semi-major axis) ในทางเรขาคณิต หมายถึงความยาวครึ่งหนึ่งของแกนเอก ซึ่งใช้แสดงถึงมิติของวงรีหรือไฮเพอร์โบลา หมวดหมู่:ภาคตัดกรวย.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและกึ่งแกนเอก · ดูเพิ่มเติม »

มวล

มวล เป็นคุณสมบัติหนึ่งของวัตถุ ที่บ่งบอกปริมาณ ของสสารที่วัตถุนั้นมี มวลเป็นแนวคิดหลักอันเป็นหัวใจของกลศาสตร์แบบดั้งเดิม รวมไปถึงแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง หากแจกแจงกันโดยละเอียดแล้ว จะมีปริมาณอยู่ 3 ประเภทที่ถูกนิยามว่า มวล ได้แก.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและมวล · ดูเพิ่มเติม »

มิแรนดา (ดาวบริวาร)

มิแรนดา มิแรนดา (Miranda) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus V เป็นดาวบริวารลำดับที่ 14 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 โดย เจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์ ชื่อ มิแรนดา มาจาก วรรณกรรมของเชกสเปียร์ เรื่อง The Tempest.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและมิแรนดา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

รอซาลินด์ (ดาวบริวาร)

วงแหวนเอปไซลอน รอซาลินด์ และ เบลินดา รอซาลินด์ (Rosalind) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus XIII เป็นดาวบริวารลำดับที่ 8 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส รอซาลินด์ ตั้งชื่อตาม Rosalind จากวรรณกรรมของเชคสเปียร์ เรื่อง As You Like It รอซาลินด์ ถูกค้นพบในวันที่ 13 เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1986 โดยยานวอยเอจเจอร์ 2 ตอนค้นพบมันถูกกำหนดให้มีชื่อว่า "S/1986 U 4" รอซาลินด์ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพอร์ชา ซึ่งในกลุ่มนี้มีดาวบริวารทั้งหมด 8 ดวง ได้แก่ เบียงกา เครสซิดา เดสดิโมนา จูเลียต พอร์ชา คีวปิด เบลินดา เพอร์ดิต.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและรอซาลินด์ (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

วอยเอจเจอร์ 2

มเดลของยานในโครงการวอยเอจเจอร์ วอยเอจเจอร์ 2 (Voyager 2) คือยานสำรวจอวกาศแบบไม่มีคนบังคับที่เดินทางระหว่างดาวเคราะห์ ขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1977 เป็นยานสำรวจอวกาศในโครงการวอยเอจเจอร์ ซึ่งมียานพี่อีกลำหนึ่งคือยานวอยเอจเจอร์ 1 ยานวอยเอจเจอร์ 2 ถูกส่งขึ้นไปให้โคจรเป็นเส้นโค้งตามระนาบสุริยวิถี โดยเตรียมการให้สามารถเดินทางเข้าใกล้ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ด้วยการอาศัยแรงเหวี่ยงจากแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ซึ่งมันจะต้องเดินทางผ่านในปี..

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและวอยเอจเจอร์ 2 · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและวัน · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและวิลเลียม เชกสเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เฮอร์เชล

วิลเลียม เฮอร์เชล วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) (พ.ศ. 2281 - 2365) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมัน ผู้ค้นพบดาวยูเรนัสโดยบังเอิญใน พ.ศ. 2324 ขณะเขากำลังส่องกล้องโทรทรรศน์ศึกษาดาวฤกษ์ ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าดวงแรกที่ถูกค้นพบ เฮอร์เชลเป็นนักดนตรีอาชีพที่อพยพจากเมืองฮันโนเวอร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี) มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในอังกฤษ งานอดิเรกของเขาคือ การสร้างกล้องโทรทรรศน์ และมีความชำนาญมากในการศึกษาสังเกตดวงดาว การค้นพบดาวยูเรนัสทำให้เฮอร์เชลมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก น้องสาวของเขา คือ แคโรลีน เฮอร์เชล (พ.ศ. 2293 - 2391) ทำงานร่วมกับเขา และได้ค้นพบดาวหางหลายดวง.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและวิลเลียม เฮอร์เชล · ดูเพิ่มเติม »

อัมเบรียล (ดาวบริวาร)

1986 อัมเบรียล (Umbriel) เป็นดาวบริวารลำดับที่ 16 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส ถูกค้นพบเมื่อ วันที่ 24 ตุลาคม 1986โดย วิลเลียม ลาสเซลล์ อัมเบรียล ถูกค้นพบในเวลาเดียวกันกับแอเรียลและชื่อก็มีที่มาจากที่เดียวกัน คือ จากเรื่อง The Rape of the rock ของ อเล็กซานเดอร์ โป๊ป อัมเบรียลมีส่วนประกอบของน้ำแข็งที่อยู๋ในรูปของหินและอาจจะมีความแตกต่างเป็นหินหลักและน้ำแข็งปกคลุม อัมเบรียล เป็นดาวบริวารที่มืดที่สุดในดาวบริวารทั้งหมดของดาวยูเรนัสและดูเหมือนว่าอัมเบรียลจะมีเป็นรูปร่างโดยการชนกับอุกกาบาต แต่การเกิดของหุบเขาชี้ให้เห็นว่า มีกระบวนการ เอนโดจีนิก (endogenic) และ ดวงจันทร์นี้อาจจะประสบกับการเปลี่ยนพื้นผิวของดวงจันทร์ใหม่ (resurfacing) พื้นผิวของอัมเบรียล มีหลุมอุกกาบาตที่มีขนาด 210 กิโลเมตร หรือ 130 ไมล์ อัมเบรียลเป็นดาวบริวารที่มีหลุมอุกกาบาตมากเป็นอันดับ 2 รองจากโอเบอรอน อัมเบรียลมีปล่องภูเขาไฟที่มีลักษณะคล้ายวงแหวน ที่ขั้วของดาว ปล่องภูเขาไฟนี้มีชื่อว่า วุนดา (Wunda) ดาวบริวารนี้มีการเกิดที่เหมือนกับดาวบริวารดวงอื่นๆ โดยเกิดจากจานพอกพูนมวลที่ล้อมรอบดาวเคราะห์ทำให้เกิดดาวบริวารขึ้นมา ระบบของดาวยูเรนัส ถูกศึกษาอย่างใกล้ชิดเพียงครั้งเดียวโดยยานวอยเอจเจอร์ 2 ในเดือนมกราคม 1986 ซึ่งต้องใช้เวลาในการถ่ายภาพบนดาวบริวารดวงนี้ และจากภาพทำให้สามารถทำแผนที่ได้ 40% ของผิวดาว.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและอัมเบรียล (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและองศา (มุม) · ดูเพิ่มเติม »

จูเลียต (ดาวบริวาร)

นอกจากนี้ยังมี ดาวเคราะห์น้อย ที่เรียกว่า 1285 จูเลียต จูเลียต และ เดสดิโมนา (จุดสว่างๆข้างๆ) จูเลียต (Juliet) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus XI เป็นดาวบริวารลำดับที่ 6 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส จูเลียต ตั้งชื่อตาม Juliet จากวรรณกรรมของเชคสเปียร์ เรื่อง Romeo and Juliet จูเลียต ถูกค้นพบในวันที่ 3 เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1986 โดยยานวอยเอจเจอร์ 2 ตอนค้นพบมันถูกกำหนดให้มีชื่อว่า "S/1986 U 2" จูเลียตถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพอร์ชา ซึ่งในกลุ่มนี้มีดาวบริวารทั้งหมด 8 ดวง ได้แก่ เบียงกา เครสซิดา เดสดิโมนา พอร์ชา รอซาลินด์ คีวปิด เบลินดา เพอร์ดิตา จูเลียตอาจจะชนกับเดสดิโมนา ภายใน 100 ล้านปีข้างหน้.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและจูเลียต (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวาร

วบริวาร (Natural satellite) คือ วัตถุตามธรรมชาติที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรามีดาวบริวารบริวารอยู่มากกว่า 140 ดวง โดยปกติดาวเคราะห์แก๊สที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จะมีดาวบริวารจำนวนมาก ดาวพุธและดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารแม้แต่ดวงเดียว โลกมี 1 ดวง คือดวงจันทร์ ดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและดาวบริวาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยูเรนัส

ซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล ภาพจากยานวอยเอเจอร์ 2 แสดง ดาวยูเรนัส วงแหวน และดวงจันทร์บริวาร ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและดาวยูเรนัส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแก๊สยักษ์

วแก๊สยักษ์ทั้ง 4 ดวงของระบบสุริยะ เปรียบเทียบขนาดกับดวงอาทิตย์ (ตามสัดส่วนจริง) ดาวแก๊สยักษ์ (Gas giant) หรือบางครั้งเรียกกันว่า ดาวเคราะห์โจเวียน (Jovian planet; เรียกตามชื่อดาวพฤหัสบดี หรือดาวจูปิเตอร์ ซึ่งเป็นดาวแก๊สยักษ์ที่ใหญ่ที่สุด) คือดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่มิได้มีองค์ประกอบของหินหรือสสารแข็ง ในระบบสุริยะมีดาวแก๊สยักษ์ 4 ดวงคือ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ยังมีดาวแก๊สยักษ์อื่นๆ ที่ค้นพบว่าโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ อีก ดาวแก๊สยักษ์ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ดาวแก๊สยักษ์ "ดั้งเดิม" คือดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ มีส่วนประกอบโดยพื้นฐานเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม ส่วนดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนอาจจัดเป็นประเภทย่อยอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า "ดาวน้ำแข็งยักษ์" เพราะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น น้ำ แอมโมเนีย และมีเทน ส่วนไฮโดรเจนกับฮีเลียมจะอยู่ในส่วนรอบนอกสุดของดาว สำหรับกลุ่มดาวเคราะห์นอกระบบ "ดาวพฤหัสบดีร้อน" (Hot Jupiter) คือดาวแก๊สยักษ์ที่โคจรใกล้กับดาวฤกษ์ของมันมากและมีอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงมาก ซึ่งน่าจะเป็นเหตุให้เราสามารถตรวจจับมันพบได้ง่าย ลักษณะของดาวเคราะห์นอกระบบส่วนมากที่ค้นพบ จะเป็นแบบ ดาวพฤหัสบดีร้อน นี้เกือบทั้งหม.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและดาวแก๊สยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร

ตัวอย่างค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร (Orbital eccentricity) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร มีความหมายถึงความเบี่ยงเบนไปจากวงกลมของวงโคจรของวัตถุนั้น คำนวณโดยลักษณะเดียวกับความเยื้องศูนย์กลางของภาคตัดกรวย โดยวงโคจรของวัตถุจะมีค่าความเยื้องศูนย์กลาง(e\,\!) ดังนี้.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ความเอียงของวงโคจร

แสดงความเอียงของวงโคจร ความเอียงของวงโคจร (inclination) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างระนาบของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง ความเอียงของวงโคจร เป็นหนึ่งใน 6 องค์ประกอบของวงโคจร ใช้อธิบายถึงรูปร่างและทิศทางของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า นับเป็นระยะเชิงมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับระนาบอ้างอิง (โดยมากมักใช้เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นสุริยวิถีของดาวฤกษ์แม่ในระบบ และมีหน่วยเป็นองศา) สำหรับระบบสุริยะ ความเอียงของวงโคจร (คือ i ในภาพด้านข้าง) ของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งๆ จะเท่ากับมุมระหว่างระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นกับเส้นสุริยวิถี ซึ่งเป็นระนาบที่เป็นเส้นทางโคจรของโลก นอกจากนี้ยังสามารถวัดได้โดยเปรียบเทียบกับระนาบอื่นๆ เช่น เทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ หรือเทียบกับระนาบโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่การใช้เส้นสุริยวิถีในการอ้างอิงจะเหมาะสมกับผู้สังเกตการณ์บนโลกมากกว่า วงโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะของเรามีค่าความเอียงของวงโคจรค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกันเองหรือเทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ก็ตาม มีข้อยกเว้นก็เพียงในบรรดาดาวเคราะห์แคระ เช่น พลูโต และ อีรีส ซึ่งมีค่าความเอียงของวงโคจรเทียบกับสุริยวิถีสูงถึง 17 องศาและ 44 องศาตามลำดับ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่น พัลลัส ก็มีความเอียงของวงโคจรสูงถึง 34 องศา สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบ ยังไม่ค่อยมีการวัดความเอียงของวงโคจร ทราบได้แต่เพียงมวลต่ำสุดของมันเท่านั้น ซึ่งหมายถึง ดาวเคราะห์นอกระบบบางดวงที่แท้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาล หรือเป็นดาวแคระแดงที่จางมากๆ ก็ได้ มีแต่เพียงดาวเคราะห์ที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่าน และที่ตรวจจับด้วยวิธีมาตรดาราศาสตร์ จึงสามารถทราบถึงความเอียงของวงโคจร และบางทีอาจทราบถึงมวลที่แท้จริงได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 ข้างหน้านี้ น่าจะมีการตรวจวัดความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากได้เพิ่มขึ้น โดยใช้การสังเกตการณ์ในอวกาศผ่านปฏิบัติการต่างๆ เช่น Gaia mission, Space Interferometry Mission, และ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและความเอียงของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

คอร์ดีเลีย (ดาวบริวาร)

อร์ดิเลีย (อยู่ภายในวงแหวน) คอร์ดีเลีย (Cordelia) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus VI เป็นดาวบริวารชั้นในสุดของดาวยูเรนัสตั้งชื่อตาม Cordelia จากวรรณกรรมของเชคสเปียร์ คอร์ดีเลีย ถูกค้นพบในวันที่ 20 เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1989 โดยยานวอยเอจเจอร์ 2 เป็นดาวบริวารขนาดเล็กดวงแรกที่ถูกค้นพบ ตอนค้นพบมันถูกกำหนดให้มีชื่อว่า "S/1989 U 7" แต่หลังจากนั้นคอร์ดีเลียก็ตรวจไม่พบอีกเลยจนกระทั่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลพบมันในปี ค.ศ. 1997.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและคอร์ดีเลีย (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

คาบดาราคติ

ในทางดาราศาสตร์ คาบดาราคติ (orbital period) คือระยะเวลาที่วัตถุหนึ่งใช้ในการโคจรรอบวัตถุอื่นที่ใช้ในทางดาราศาสตร์ ซึ่งคาบดาราคตินั้นมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักดาราศาสตร์ ที่จะต้องใช้คาบดาราคติในการคำนวณระยะเวลาของดาวดวงหนึ่งโคจรรอบดาวอีกดวงหนึ่ง คาบดาราคติยังแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ ดังนี้.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและคาบดาราคติ · ดูเพิ่มเติม »

คีวปิด (ดาวบริวาร)

ีวปิด (ในวงกลมสีเหลือง) คีวปิด (Cupid) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus XXVII เป็นดาวบริวารลำดับที่ 9 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส คีวปิด ตั้งชื่อตาม Cupid จากวรรณกรรมของเชคสเปียร์ เรื่อง Timon of Athens คีวปิด ถูกค้นพบใน ปี ค.ศ. 2003 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ตอนค้นพบมันถูกกำหนดให้มีชื่อว่า "S/2003 U 2" คีวปิดถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพอร์ชา ซึ่งในกลุ่มนี้มีดาวบริวารทั้งหมด 8 ดวง ได้แก่ เบียงกา เครสซิดา เดสดิโมนา จูเลียต พอร์ชา รอซาลินด์ เบลินดา เพอร์ดิต.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและคีวปิด (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

แมบ (ดาวบริวาร)

แมบ (/ mæb / MAB) หรือ ยูเรนัส XXVI เป็นดาวที่อยู๋วงโคจรด้านในของดาวยูเรนัส มันถูกค้นพบโดย Mark R. Showalter และ Jack J. Lissauer ในปี 2003 โดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล มันถูกตั้งชื่อตามราชินีแมบ นางฟ้าราชินีจากชาวบ้านที่พูดถึงในอังกฤษ โดยวิลเลียม เชคสเปียร์จากละครโรมิโอและจูเลียต ต่อไปนี้การค้นพบดาวแมบได้รับการแต่งตั้งชั่วคราว S / 2003 U1 และดวงจันทร์ยังถูกกำหนดให้ดาวยูเรนัส XXVI หมวดหมู่:ดาวบริวารของดาวยูเรนัส.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและแมบ (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

แอเรียล (ดาวบริวาร)

แอเรียลในภาพเฉดสีเทาโดยวอยเอจเจอร์ 2 เมื่อค.ศ. 1986 แอเรียล (Ariel) เป็นดาวบริวารลำดับที่ 15 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส แอเรียลเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจาก อัมเบรียล โอเบอรอน และทิทาเนียของดาวบริวารของดาวยูเรนัสที่รู้จักแล้ว 27 ดวง แอเรียลมีวงโคจรและการหมุนรอบตัวเองที่ตรงกับระนาบเส้นศูนย์สูตรของดาวยูเรนัส ซึ่งเกือบจะตั้งฉากกับวงโคจรของดาวยูเรนัสและเพื่อให้มีวงจรตามฤดูกาลมากกว่าปกต.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและแอเรียล (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและโลก · ดูเพิ่มเติม »

โอฟีเลีย (ดาวบริวาร)

นอกจากนี้ยังมี ดาวเคราะห์น้อยที่เรียกว่า 171 โอฟีเลีย โอฟีเลีย (อยู่ภายนอกวงแหวน) โอฟีเลีย (Ophelia) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus VII เป็นดาวบริวารลำดับที่ 2 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส ตั้งชื่อตาม Ophelia จากวรรณกรรมของเชคสเปียร์ โอฟีเลีย ถูกค้นพบในวันที่ 20 เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1989 โอฟีเลีย ถูกค้นพบในเวลาที่ใกล้เคียงกับคอร์ดีเลีย โดยยานวอยเอจเจอร์ 2 ตอนค้นพบมันถูกกำหนดให้มีชื่อว่า "S/1989 U 8" แต่หลังจากนั้นโอฟีเลียก็ตรวจไม่พบอีกเลยจนกระทั่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลพบมันในปี ค.ศ. 2003 โอฟีเลียอยู่นอกวงแหวนเอปไซลอน วงแหวนริมนอกสุดของดาวยูเรนัส ตามภาพทางขวามือ.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและโอฟีเลีย (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไททาเนีย (ดาวบริวาร)

1986 ไททาเนีย (Titania) เป็นดาวบริวารลำดับที่ 17 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส ถูกค้นพบเมื่อ วันที่ 11 มกราคม 1787 โดย วิลเลียม เฮอร์เชล มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 8 ของดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ไททาเนียได้ตั้งชื่อตามราชินิแห่งนางฟ้า จากเรื่อง A Midsummer Night's Dream ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ วงโคจรของไททาเนียอยู่ในสนามแม่เหล็กของดาวยูเรนัส พื้นผิวส่วนใหญ่ของไททาเนียเป็นหินและน้ำแข็ง ส่วนแกนชั้นนอกเป็นหิน แต่แกนชั้นในเป็นน้ำแข็ง ต่อมาเครื่องอินฟราเรดสเปกโทรสโคป ได้เริ่มสำรวจแล้วพบว่ามีน้ำแข็งแห้งและน้ำแข็งบนพื้นผิวเป็นจำนวนมาก ไททาเนียเหมือนกับดาวบริวารหลักอื่นๆ คือเกิดจากจานพอกพูนมวล ในปี 2013 นักดาราศาสตร์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับดาวบริวารของดาวยูเรนัสมากขึ้น จากการสำรวจของยานวอยเอจเจอร์ 2 เมื่อ เดือนมกราคม 1986 ซึ่งการสำรวจครั้งนั้นทำให้สามารถทำแผนที่ดาวได้แค่ 40 % เท่านั้น.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและไททาเนีย (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

เบลินดา (ดาวบริวาร)

ลินดา โดยยานวอยเอจเจอร์ 2 เบลินดา (Belinda) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus XIVเป็นดาวบริวารลำดับที่ 10 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส เบลินดา ตั้งชื่อตาม Belinda จากวรรณกรรมของอเล็กซานเดอร์ โป๊ป เรื่อง The Rape of the Lock เบลินดา ถูกค้นพบในวันที่ 13 มกราคม ปี ค.ศ. 1986 โดยยานวอยเอจเจอร์ 2 ตอนค้นพบมันถูกกำหนดให้มีชื่อว่า "S/1986 U 5" เบลินดาถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพอร์ชา ซึ่งในกลุ่มนี้มีดาวบริวารทั้งหมด 8 ดวง ได้แก่ เบียงกา เครสซิดา เดสดิโมนา จูเลียต พอร์ชา รอซาลินด์ คีวปิด เพอร์ดิต.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและเบลินดา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

เบียงกา (ดาวบริวาร)

ียงกา เบียงกา (Bianca) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus VIII เป็นดาวบริวารลำดับที่ 3 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส เบียงกา ตั้งชื่อตาม Bianca จากวรรณกรรมของเชคสเปียร์ เรื่อง The Taming of the Shrew เบียงกา ถูกค้นพบในวันที่ 23 เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1989 โดยยานวอยเอจเจอร์ 2 ตอนค้นพบมันถูกกำหนดให้มีชื่อว่า "S/1989 U 9" ชื่อ เบียงกา ถูกเลือกโดย IAU เบียงกาถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพอร์ชา ซึ่งในกลุ่มนี้มีดาวบริวารทั้งหมด 8 ดวง ได้แก่ เครสซิดา เดสดิโมนา จูเลียต พอร์ชา รอซาลินด์ คีวปิด เบลินดา เพอร์ดิต.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและเบียงกา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์ดิตา (ดาวบริวาร)

อร์ดิตา ในช่วงแรกของการค้นพบ เพอร์ดิตา (Perdita) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus XXVเป็นดาวบริวารลำดับที่ 11 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส เพอร์ดิตา ตั้งชื่อตาม Perdita จากวรรณกรรมของเชคสเปียร์ เรื่อง The Winter's Tale เพอร์ดิตา ถูกค้นพบใน ปี ค.ศ. 1986 โดยยานวอยเอจเจอร์ 2แต่ ได้รับการยืนยันว่าเป็นดาวบริวาร ในปี ค.ศ. 2003 โดย กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ตอนค้นพบมันถูกกำหนดให้มีชื่อว่า "S/1986 U 10" เพอร์ดิตาถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพอร์ชา ซึ่งในกลุ่มนี้มีดาวบริวารทั้งหมด 8 ดวง ได้แก่ เบียงกา เครสซิดา เดสดิโมนา จูเลียต พอร์ชา รอซาลินด์ คีวปิด เบลิน.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและเพอร์ดิตา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

เส้นผ่านศูนย์กลาง

เส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) เส้นผ่านศูนย์กลาง (อังกฤษ: diameter) คือเส้นตรงซึ่งลากผ่านจุดศูนย์กลางของรูปวงกลมไปบรรจบกับเส้นรอบวงทั้งสองข้าง ซึ่งรูปวงกลมนั้นอาจมาจากหน้าตัดของทรงกระบอก ทรงกรวย หรือทรงกลมก็ได้ เส้นผ่านศูนย์กลางมีความยาวเป็นสองเท่าของเส้นรัศมี เป็นคอร์ดที่ยาวที่สุดในรูปวงกลม และแบ่งรูปวงกลมออกเป็นรูปครึ่งวงกลมสองส่วนเท่าๆ กัน และสามารถเปลี่ยนไปได้ทุกทิศทางไม่กำหนด เส้นผ่านศูนย์กลางจะสร้างมารถคำนวณได้โดยหาค่ารัศมีแล้วคูณสอง เพราะว่าความยาวของรัศมีหนึ่งเส้นเท่ากับครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลาง ในทางวิศวกรรมศาสตร์ เส้นผ่านศูนย์กลางสามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ ⌀ (ยูนิโคด: U+8960) ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปวงกลมเล็กๆ ขีดทับด้วยเส้นตรงเอียงลงทางซ้าย มีประโยชน์ในการบ่งบอกขนาดของรูปวงกลม หมวดหมู่:เรขาคณิตมูลฐาน หมวดหมู่:ความยาว.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและเส้นผ่านศูนย์กลาง · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะ

้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดวงจันทร์ในระบบสุริยะ ดังรายการต่อไปนี้ แสดงขั้นตอนการค้นพบเทหวัตถุใหม่เรียงตามลำดับในประวัติศาสตร์;ความหมายของสี สัญลักษณ์สีในตารางแสดงความหมายถึงดาวเคราะห์และดวงจันทร์บริวารของมัน ดังต่อไปนี้;ดาวเคราะห์;ดาวเคราะห์แคระ หรือดาวที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์แคร.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและเส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

เจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์

อราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์ (Gerard Peter Kuiper) ชื่อเกิดคือ แคร์ริต ปีเตอร์ เกยเปอร์ (Gerrit Pieter Kuiper; 7 ธันวาคม พ.ศ. 2448 — 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวดัตช์สัญชาติอเมริกัน เป็นผู้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยในแถบไคเปอร์ รวมทั้งเทหวัตถุและสภาพของเทหวัตถุมากมาย ซึ่งช่วยขยายความเข้าใจในระบบสุริยะและดาวเคราะห์ในระบบสุร.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและเจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เดสดิโมนา (ดาวบริวาร)

นอกจากนี้ยังมี ดาวเคราะห์น้อย ที่เรียกว่า 666 เดสดิโมนา เดสดิโมนา เดสดิโมนา (Desdemona) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus X เป็นดาวบริวารลำดับที่ 5 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส เดสดิโมนา ตั้งชื่อตาม Desdemona จากวรรณกรรมของเชคสเปียร์ เรื่อง Othello เดสดิโมนา ถูกค้นพบในวันที่ 13 เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1986 โดยยานวอยเอจเจอร์ 2 ตอนค้นพบมันถูกกำหนดให้มีชื่อว่า "S/1989 U 6" เดสดิโมนาถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพอร์ชา ซึ่งในกลุ่มนี้มีดาวบริวารทั้งหมด 8 ดวง ได้แก่ เบียงกา เครสซิดา จูเลียต พอร์ชา รอซาลินด์ คีวปิด เบลินดา เพอร์ดิตา เดสดิโมนาอาจจะชนกับดาวบริวารเพื่อนบ้าน คือ เครสซิดา หรือ จูเลียต ภายใน 100 ล้านปีข้างหน้.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและเดสดิโมนา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

เครสซิดา (ดาวบริวาร)

นอกจากนี้ยังมี ดาวเคราะห์น้อย ที่เรียกว่า 548 เครสซิดา จากซ้ายไปขวา พอร์ชา เครสซิดา และ โอฟีเลีย เครสซิดา (Cressida) หรือเป็นที่รู้จักว่า Uranus IX เป็นดาวบริวารลำดับที่ 4 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส เครสซิดา ตั้งชื่อตาม Cressida จากวรรณกรรมของเชคสเปียร์ เรื่อง Troilus and Cressida เครสซิดา ถูกค้นพบในวันที่ 9 เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1986 โดยยานวอยเอจเจอร์ 2 ตอนค้นพบมันถูกกำหนดให้มีชื่อว่า "S/1989 U 3" เครสซิดาถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพอร์ชา ซึ่งในกลุ่มนี้มีดาวบริวารทั้งหมด 8 ดวง ได้แก่ เบียงกา เดสดิโมนา จูเลียต พอร์ชา รอซาลินด์ คีวปิด เบลินดา เพอร์ดิตา เครสซิดาอาจจะชนกับเดสดิโมนา ภายใน 100 ล้านปีข้างหน้.

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและเครสซิดา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

11 มกราคม

วันที่ 11 มกราคม เป็นวันที่ 11 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 354 วันในปีนั้น (355 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและ11 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ดวงจันทร์ของดาวยูเรนัส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »