โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฑากิณี

ดัชนี ฑากิณี

ฑากิณีตามความเชื่อของชาวทิเบต ฑากิณี (डाकिणी ḍākinī; མཁའ་འགྲོ་མ; แบบวิลลี:mkha'-'gro-ma; พินอินทิเบต:Kandroma) เป็นเทพที่ปรากฏในความเชื่อของศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาลัทธิตันตระ โดยในศาสนาฮินดูถือว่าเป็นบริวารของเจ้าแม่กาลี ส่วนในลัทธิตันตระถือเป็นเทพผู้ช่วยของสิทธะ ฑากิณีมีหลายองค์ มีทั้งรูปปกติและรูปดุร้าย รูปปกติมี 6 องค์คือ พุทธฑากิณี วัชรฑากิณี รัตนฑากิณี ปัทมฑากิณี กรรมฑากิณี วิศวฑากิณี รูปดุร้าย คือ สวรวพุทธฑากิณี สิงหวักตรา มกรวักตรา วัชรวราหี และมีฑากิณีประจำฤดูกาล อีก 4 องค์คือ วสันตเทวี คิมหันตเทวี ศรัทเทวี และเหมันตเทวี.

3 ความสัมพันธ์: กาลีวัชรยานศาสนาฮินดู

กาลี

รูปปั้นนูนสูงของพระแม่กาลีและพระแม่ทุรคาประดับเทวสถานพระแม่จามุนดา ประเทศอินเดีย พระแม่กาลี หรือ กาลิกา (काली, Kālī, แปลว่า หญิงดำ) เป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวี ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีกายสีดำสนิท มีลักษณะดุร้าย มี ๑๐ พระกร ถืออาวุธร้ายอยู่ในพระกรทั้งสิบนั้น แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก ที่ริมฝีปากมีเลือดไหลหยดเป็นทางยาว เครื่องประดับเป็นหัวกะโหลก มีงูใหญ่ร้อยคาดองค์ดั่งสังวาลย์ พระแม่กาลี หรือ เจ้าแม่กาลี มีอำนาจฤทธิ์ในการปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีเทวานุภาพอันแรงกล้า สร้างความวิบัติแก่เหล่าอสูรอย่างรุนแรง เด็ดขาด แฝงเร้นไว้ซึ่งความน่ากลัว ผู้บูชาพระแม่กาลีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด พระแม่จะประทานความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และอำนาจเหนือผู้อื่น พระแม่กาลี ยังมีพลังอำนาจในการขจัดคุณไสย ลบล้างไสยเวทย์ด้านมืด หากบุคคลใดถูกกระทำทางไสยศาสตร์ เมื่อผู้นั้นได้สวดบูชาอ้อนวอนต่อพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านก็มักให้พร ขจัดสิ่งอาถรรพ์ชั่วร้ายให้มลายหายไป และประทานสิ่งที่เป็นไปได้ยากให้ได้รับอย่างง่ายดาย ผู้ใดกระทำการสวดบูชา สรรเสริญ และถวายเครื่องสังเวยแด่พระแม่กาลีเป็นประจำ พระองค์ท่านจะประทานความปลอดภัยมาสู่ผู้นั้น ทรงดลบันดาลให้เกิดความสันติผาสุกแก่ผู้ครองเรือนทั่วไป คุ้มครองผู้บูชาจากภยันตรายและอุบัติเหตุร้ายแรง พระแม่กาลีทรงมีบุคลิกภาพที่ยากแก่การเข้าใจ มีความลึกลับที่สุดในบรรดาเทพเทวาทั้งปวง พระนางมีความดุดัน เกรี้ยวกราด รูปลักษณ์และอุปนิสัยล้วนเต็มไปด้วยความน่าสะพรึงกลัว แต่พระนางก็จะทำลายเฉพาะอสูร ปีศาจ และมนุษย์ที่กระทำการชั่วร้ายเท่านั้น เนื่องจากพระแม่กาลีก็คือเทพ และเทพก็มักปกป้องคุ้มครองผู้กระทำความดีเช่นเดียวกันทุกพระองค์ ฉะนั้น แม้ผู้ที่บูชาพระแม่อย่างเคร่งครัด แต่เป็นคนที่ไม่ดี มีความคิดที่ชั่วร้าย เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น พระแม่ท่านก็จะทำลายบุคคลผู้นั้นเสียโดยไม่ละเว้น ผู้ที่มีจิตใจไม่มั่นคง กำลังประสบหรือผ่านพ้นจากเหตุการณ์ร้ายแรงทำให้จิตใจอ่อนแอ สามารถกระทำการบูชาพระองค์ เพื่อขอความเข้มแข็ง และเด็ดขาด ผู้ที่เจอคุณไสย และถูกเบียดเบียนจากพลังงานชั่วร้ายหรืออำนาจไม่ดีทั้งจากมนุษย์และอมนุษย์ สามารถขอพระเมตตา จาก พรหมวิหารธรรมของท่าน ขจัดและทำลายให้พินาศสิ้น ผู้ที่ฝันร้าย เจออวมงคล นิมิตอันเป็นเหตุไม่ดี มีประการต่างๆ สามารถกระทำการบูชา ด้วยประทีปสีแดงและดำ ช่วยปัดเป่าให้มลายหายไป ผู้ที่มีโรคร้ายแรง ยากแก่การรักษา สามารถกระทำ ปฏิบัติบูชา อันจะกล่าวภายหลัง เพื่อหาหนทางบรรเทาโรคภัยได้ ผู้ที่ผิดหวังในรัก รักเพศเดียวกัน รักซ้อนรักแทรก สามารถกระทำปฏิบัติบูชาและบูชาเทวรุปประจำองค์ท่านได้เพื่อความสมหวังทั้งปวง นอกจากนั้น ท่านยังเด่นในเรื่อง การให้โชคลาภและยศฐาบันดาศักดิ์ด้วย พระมหาเทวีท่านโปรดปรานการบูชา ด้วยประทีปหรืออัคนี(อารตีไฟ) ปูเทวรุปด้วยผ้าแดงหรือสีดำก้ได้ (สามารถใช้ สีเงินหรือสีขาว เพื่อระลึกถึง พรหมวิหารธรรมของพระองคืได้ด้วย) ตำนานกล่าวว่า พระอุมาซึ่งอยู่ในปางอัมพิกา พระสิริโฉมงดงามเสด็จสู่สนามรบ เมื่อเหล่าอสูรได้เห็นก็พยายามจะได้นางเป็นชายา แต่นางได้ต่อสู้กับเหล่าอสูรด้วยความพิโรธ ในปางพระแม่กาลี จนอสูรทั้งหลายตายจนเกือบหมด เหลือเพียงมาธูอสูร ที่ทรงสังหารอย่างไรก็ไม่ตาย เพราะเคยได้รับพรจากพระศิวะให้มีชีวิตเป็นอมตะ หากเลือดหยดถึงพื้นดินก็จะเกิดเป็นอสูรอีกมากมายไม่สิ้นสุด ร้อนถึงพระศิวะ ทรงประทานวิธีให้พระแม่กาลีดื่มเลือดอสูรทุกครั้งอย่าให้ตกถึงดิน มาธูอสูรจึงถึงแก่ความตาย หลังจากชนะอสูรมาธู พระนางทรงดีพระทัย กระโดดเต้นเพื่อฉลองชัยชนะ แต่ด้วยตบะอันแรงกล้าทำให้เกิดความเดือดร้อน ต่อด้วยโลกธาตุทั้งปวงเมื่อพระนางกระทืบพระบาท พระศิวะจะเข้าห้ามปรามก็เกรงความดุร้ายของพระนาง จึงใช้อุบายทรงทอดพระกายลงบนพื้นที่พระนางจะกระทืบพระบาท เมื่อพระกาลีเห็นพระศิวะที่พื้น ด้วยปางหนึ่งที่เป็นพระปารวตี ซึ่งรักและภักดีในพระศิวะยิ่ง ก็ทรงชะงัก และแลบลิ้นด้วยความขวยเขิน การบูชาพระแม่กาลี ต้องใช้เลือดบริสุทธิ์ ในอดีตมีการใช้หญิงพรหมจารีย์ไปบูชายัญด้วยเลือดจากลำคอ แต่เมื่ออังกฤษเข้าปกครองอินเดีย ได้สั่งห้ามการฆ่าคนเพื่อบูชายัญ ปัจจุบันนี้การบูชาพระแม่กาลีใช้เลือดแพะแทน จากการที่พระแม่กาลีเป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวีที่ดุร้าย มีรูปลักษณ์คล้ายปีศาจและใช้เลือดและชีวิตในการบูชายัญ จึงมีความเข้าใจผิดกันว่า พระแม่กาลีเป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย ในสำนวนภาษาไทยจึงมีคำว่า "กาลี" ซึ่งหมายความว่า สิ่งที่ชั่วร้าย เช่น "กาลีบ้านกาลีเมือง" หมายถึง "สิ่งที่ชั่วร้ายต่อบ้านเมือง" เป็นต้น บ้างก็ว่าเจ้าแม่กาลีเป็นเทพเจ้าที่โจรบูชา แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าคนไม่ดีบูชาเจ้าแม่กาลี ก็จะมีอันเป็นไปในเร็ววัน วิธีการบูชาเจ้าแม่กาลีจะต้องถวายน้ำ นมและดอกไม้ ผลไม้ และเอกไม้ที่พระแม่โปรดปรานคือ ดอกชบาแดง ผู้บูชาต้องสวดบทบูชาเจ้าแม่กาลีทั้งเช้าเย็นว่า"โอม ศรี มหากาลิกาไย นะมะห์" โอม เจมาตากาลี โอม สตี เยมา ตา กาลี โอม ศรี มหากาลี มาตา นมัช เลือกบทที่ชอบ และคุ้นชิน หรือ ทำสมาธิถวายปรานแก่องค์พระแม่เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระแม่ ห เจ้าแม่กาลีที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทยคือที่วัดแขก สีลม ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมโดนรังแก สามารถไปไหว้ท่านเพื่อแก้ไขดวงชะตาได้.

ใหม่!!: ฑากิณีและกาลี · ดูเพิ่มเติม »

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.

ใหม่!!: ฑากิณีและวัชรยาน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ฑากิณีและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

คานโดร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »