โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์

ดัชนี ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์

ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์ (Samsung Galaxy Note Edge) คือสมาร์ตโฟนระบบจอสัมผัสและแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาโดยซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นรุ่นที่ต่อยอดมาจากรุ่น ซัมซุง กาแลคซี โน้ต 4 โดยเปิดตัวพร้อมกันเมื่อวันที่ 3 กันยายน..

26 ความสัมพันธ์: บลูทูธระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกสมาร์ตโฟนอินฟราเรดจอสัมผัสจิกะไบต์จีพีอาร์เอสจีเอสเอ็มควอลคอมม์ซัมซุงซัมซุง กาแลคซี โน้ตซัมซุง กาแลคซี โน้ต 4ซัมซุง กาแลคซี โน้ต 5ซัมซุง เอ็กซีนอสแอมแปร์แอลทีอีแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ไวไฟไดโอดเปล่งแสงเอสดีการ์ดเอดจ์ (เครือข่ายไร้สาย)IEEE 802.11IEEE 802.11b-19993 จี4 จี

บลูทูธ

ลูทูธ (Bluetooth) เป็นข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Networks - PAN) แบบไร้สาย บลูทูธช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อกันได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านทางคลื่นวิทยุ ที่มาของชื่อบลูทูธนั้นนำมาจากพระนามพระเจ้าฮาราลด์ บลูทูท (King Harald Bluetooth) ของประเทศเดนมาร์ก เพื่อเป็นการรำลึกถึงกษัตริย์ Bluetooth ผู้ปกครองประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ซึ่งในปัจจุบันเป็นกลุ่มผู้นำในด้านการผลิตโทรศัพท์มือถือป้อนสู่ตลาดโลก และระบบ Bluetooth นี้ ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับโทรศัพท์มือถือ และเริ่มต้นจากประเทศในแถบนี้ด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และบลูทูธ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

วาดแสดงดาวเทียม NAVSTAR ของสหรัฐ เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส KAMAZ NAAV450 เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส แมเกลลัน เบลเซอร์ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก เรียกย่อว่า จีพีเอส (Global Positioning System: GPS) หรือรู้จักในชื่อ นาฟสตาร์ (Navstar) คือระบบดาวเทียมนำร่องโลก (์Global Navigation Satellite System: GNSS) เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลกทำให้สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลกและในทุกสภาพอากาศ รวมถึงสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางเพื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนที่ในการนำทางได้.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก · ดูเพิ่มเติม »

สมาร์ตโฟน

มาร์ทโฟน ไอบีเอ็มไซมอน สมาร์ทโฟนเครื่องแรกของโลก สมาร์ตโฟน หรือ สมาร์ตโฟน (smartphone, smart phone) เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีความสามารถเพิ่มเติมเหนือจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป สมาร์ตโฟนถูกมองว่าเป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่สามารถเชื่อมต่อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือเข้ากับโปรแกรมประยุกต์ในโทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถติดตั้งโปรแกรมเสริมสำหรับเพิ่มความสามารถของโทรศัพท์ตัวเอง โดยรูปแบบนั้นขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มของโทรศัพท์และระบบปฏิบัติการ.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และสมาร์ตโฟน · ดูเพิ่มเติม »

อินฟราเรด

มนุษย์ในย่าน mid-infrared เป็นภาพที่เกิดจากรังสีความร้อนที่แผ่ออกมาจากคน รังสีอินฟราเรด (Infrared (IR)) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า รังสีใต้แดง หรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุและแสงมีความถี่ในช่วง 1011 – 1014 เฮิร์ตซ์หรือความยาวคลื่นตั้งแต่ 1-1000 ไมโครเมตร มีความถี่ในช่วงเดียวกับไมโครเวฟ มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างแสงสีแดงกับคลื่นวิทยุสสารทุกชนิดที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -200 องศาเซลเซียสถึง 4,000 องศาเซลเซียส จะปล่อยรังสีอินฟราเรดออกมา คุณสมบัติเฉพาะตัวของรังสีอินฟราเรด เช่น ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แตกต่างกันก็คือ คุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับความถี่ คือยิ่งความถี่สูงมากขึ้น พลังงานก็สูงขึ้นด้วย  ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ Sir William Herschel ซึ่งได้ค้นพบ รังสีอินฟราเรดสเปกตรัมในปี.. 1800จากการทดลองโดยทดสอบว่าในเลนส์แต่ละสี จะเปลี่ยนค่าแสดงความร้อนของดวงอาทิตย์หรือไม่ จึงประดิษฐ์อุปกรณ์การทดลองเพื่อหาคำตอบใช้ปริซึมแยกแสง แล้วให้แสงต่างๆมาตกที่เทอร์โมมิเตอร์ก็ตั้งเทอร์โมมิเตอร์ตัวหนึ่งนอกเหนือจากแสงสีต่าง ๆ นั้น เพื่อเป็นตัวควบคุมการทดลอง ปรากฏว่า แสงสีต่าง มีอุณหภูมิสูงกว่าแสงสีขาว และอุณหภูมิสูงขึ้นจาก สีม่วง ไปหาสีแดง ปรากฏว่า เทอร์โมมิเตอร์ ตัวที่อยู่นอกเหนือจากแสงสีแดงนั้น กลับวัดได้อุณหภูมิสูงกว่าทุกตัว พบว่า ส่วนของแสงที่มองไม่เห็นแต่ร้อนกว่าสีแดงนี้ มีคุณสมบัติทางกายภาพเช่นเดียวกับคลื่นแสงที่มองเห็นได้ทุกประการ เช่น การหักเห ดูดซับ ส่องผ่านหรือไม่ผ่านตัวกลาง รังสีที่ถูกค้นพบใหม่นี้ตั้งชื่อว่า " รังสีอินฟราเรด " (ขอบเขตที่ต่ำกว่าแถบสีแดงหรือรังสีใต้แดง)  ในการใช้ประโยชน์ ใช้ในการควบคุมเครื่องใช้ระบบไกล (remote control) สร้างกล้องอินฟราเรดที่สามารถมองเห็นวัตถุในความมืดได้ เช่น อเมริกาสามารถใช้กล้องอินฟราเรดมองเห็นเวียตกงได้ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม และสัตว์หลายชนิดมีนัยน์ตารับรู้รังสีชนิดนี้ได้ ทำให้มองเห็นหรือล่าเหยื่อได้ในเวลากลางคืน เรามองไม่เห็นรังสีอินฟราเรด แต่เราก็รู้สึกถึงความร้อนได้ สัตว์บางชนิด เช่น งู มีประสาทสัมผัสรังสีอินฟราเรด มันสามารถทราบตำแหน่งของเหยื่อได้ โดยการสัมผัสรังสีอินฟราเรดซึ่งแผ่ออกมาจากร่างกายของเหยื่อ รังสีที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าแสงสีม่วงเรียกว่า “รังสีอุลตราไวโอเล็ต” โลกและสิ่งชีวิตแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ในบรรยากาศดูดซับรังสีนี้ไว้ ทำให้โลกมีความอบอุ่น เหมาะกับการดำรงชีวิต .

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และอินฟราเรด · ดูเพิ่มเติม »

จอสัมผัส

อสัมผัส เป็นคุณลักษณะหนึ่งคล้ายกับแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถสัมผัสบนจอของเครื่อง เพื่อที่จะสั่งการและทำงานต่าง ๆ ได้ เดิมทีจอสัมผัสสามารถรับคำสั่งจากผู้ใช้ได้ทีละหนึ่งจุดคำสั่งแต่ต่อมามีการพัฒนาระบบจอสัมผัสให้สามารถรับคำสั่งแบบลากถูได้ซึ่งคล้ายกับการคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากวาง และยังสามารถรับคำสั่งหรือการกดบนหน้าจอจากผู้ใช้ได้หลายจุดพร้อมกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามัลติทัช คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีหน้าจอสัมผัสเครื่องแรกของโลกที่ออกวางจำหน่ายคือ HP-150 วางขายในปี..

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และจอสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

จิกะไบต์

กิกะไบต์, (สืบค้นคำว่า gigabyte)อ่านได้ทั้งสองแบบ อ้างอิงจาก และ หรือ จิกะไบต์ (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์ กิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และจิกะไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

จีพีอาร์เอส

ีพีอาร์เอส หรือ GPRS เป็นตัวย่อ ของ General Packet Radio Service เป็นบริการส่งข้อมูลสำหรับโทรศัพท์มือถือแบบ GSM โดย GPRS มักถูกเรียกว่าเป็นโทรศัพท์มือถือยุค 2.5G ซึ่งอยู่ระหว่าง 2G และ 3G ทางเทคนิคแล้ว GPRS ใช้ช่องสัญญาณแบบ TDMA ของเครือข่าย GSM ในการส่งข้อมูล ในทางทฤษฎีแล้ว ความเร็วสูงสุดของ GPRS อยู่ที่ประมาณ 60 กิโลบิตต่อวินาที.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และจีพีอาร์เอส · ดูเพิ่มเติม »

จีเอสเอ็ม

ีเอสเอ็ม (GSM ย่อมาจาก Global System for Mobile Communications ในชื่อเดิมว่า Groupe Spécial Mobile) เป็นมาตรฐานของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 90% ของมือถือทั่วโลก ประเทศจีนมีผู้ใช้งานเป็นอันดับหนึ่งของโลก มากกว่า 370ล้านคน ตามด้วยประเทศรัสเซีย 145ล้านคน, อินเดีย 83ล้านคน และสหรัฐอเมริกาถึง 78ล้านคน GSM เป็นมาตรฐานเปิดภายใต้การดูแลของ 3GPP GSM ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับช่องสัญญาณควบคุมและสัญญาณเสียงแบบ TDMA ซึ่งแตกต่างจากเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือก่อนหน้านั้น จึงถือว่าเป็นโทรศัพท์มือถือในยุคที่สอง หรือ 2Gซึ่งหมายถึง การพัฒนาระบบขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง การพัฒนาอย่างแพร่หลายของ GSM เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น และนอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ควบคุมระบบเนตเวิร์ค ให้มีตัวเลือกในการใช้งานมากขึ้น เนื่องจากมีผู้จัดทำอย่างแพร่หลาย GSM เริ่มต้นด้วยทางเลือกใหม่ ซึ่งมีราคาที่ถูกเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการติดต่อสื่อสาร นั่นก็คือ Short message service(SMS) หรือเรียกอีกอย่างว่าเท็กเมสเสสจิ้ง ซึ่งโทรศัพท์มือถือทั่วไปสามารถรองรับได้อย่างดี และยังเป็นองค์กรณ์ความร่วมมือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้ว.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และจีเอสเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

ควอลคอมม์

ูนย์วิจัยและสำนักงานวิทยาศาสตร์ ควอลคอมม์ ในเมืองแซนดีเอโก ควอลคอมม์ เป็นบริษัทผลิตสารกึ่งตัวนำ สัญชาติอเมริกัน โดยผลิตเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และควอลคอมม์ · ดูเพิ่มเติม »

ซัมซุง

ซัมซุง (อังกฤษ: Samsung; เกาหลี: 삼성, ฮันจา: 三星, MC: Samseong, MR: Samsŏng, ภาษาเกาหลีอ่านว่า ซัม-ซอง) เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล, ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวนมาก และธุรกิจที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แบรนด์ซัมซุง และเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ ซัมซุงได้ก่อตั้งโดย ลี เบียงชอล ในปีพ.ศ. 2493 ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้นได้เน้น ไปที่การส่งออกสินค้า, แปรรูปอาหาร, สิ่งทอ ซัมซุงเริ่มเข้ามาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปลายปี พ.ศ. 2503 หลังจากการจากไปของประธานผู้ก่อตั้ง ลี เบียงชอล ทำให้ซัมซุงได้แยกกลุ่มธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Samsung Group, Shinsegae Group, CJ Group และ Hansol Group และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มา ซัมซุงได้เป็นที่รู้จักเป็นสากลมากขึ้นจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทในปัจจุบัน ปัจจุบันธุรกิจของซัมซุง แบ่งออกเป็น 4 หน่วยใหญ่ ๆ คือ เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องใช้สำนักงาน โทรศัพท์มือถือ และส่วนประกอบหลัก ๆ ที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์ดิจิตอลที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดของโลกในศตวรรษ 21 มีฐานการผลิต 25 แห่ง,บริษัทสาขาตลาด 36 แห่ง, สำนักงานย่อย 23 แห่ง ที่ประจำอยู่ใน 46 ประเทศทั่วโลก และกระจายอยู่ทั้ง 7 ทวีป คือ อเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง จีน CIS และละตินอเมริก.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และซัมซุง · ดูเพิ่มเติม »

ซัมซุง กาแลคซี โน้ต

ซัมซุง กาแลคซี โน้ต (Samsung Galaxy Note) คือสมาร์ตโฟนระบบจอสัมผัส และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาโดย ซัมซุง อิเล็คทรอนิคส์ โดยเปิดตัวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 มาพร้อมด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอ.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และซัมซุง กาแลคซี โน้ต · ดูเพิ่มเติม »

ซัมซุง กาแลคซี โน้ต 4

ซัมซุง กาแลคซี โน้ต 4  (อังกฤษ: Samsung Galaxy Note 4) เป็นสมาร์ตโฟนระบบจอสัมผัสที่พัฒนาโดย ซัมซุง อิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งเป็นรุ่นที่ต่อมาจากรุ่น ซัมซุง กาแลคซีโน้ต 4 โดยเปิดตัวเมื่อเดือน ตุลาคม ..

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และซัมซุง กาแลคซี โน้ต 4 · ดูเพิ่มเติม »

ซัมซุง กาแลคซี โน้ต 5

ซัมซุง กาแลคซี โน้ต 5 (Samsung Galaxy Note 5) คือสมาร์ตโฟนระบบจอสัมผัสและแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาโดยซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นรุ่นที่ต่อมาจากรุ่นซัมซุง กาแลคซี โน้ต 4 โดยเปิดตัวเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558 โดยมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เวอร์ชัน 5.1 "โลลี่ป๊อป"(Lollipop) เป็นมาตรฐาน.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และซัมซุง กาแลคซี โน้ต 5 · ดูเพิ่มเติม »

ซัมซุง เอ็กซีนอส

เอ็กซีนอส (Exynos) เป็นรุ่นของชิพ ซึ่งใช้พื้นฐานของสถาปัตยกรรมเออาร์เอ็ม โดยผลิตและนำมาใช้โดย ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้งานบนอุปกรณ์ของซัมซุง เช่นในตระกูลของซัมซุง กาแลคซี.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และซัมซุง เอ็กซีนอส · ดูเพิ่มเติม »

แอมแปร์

แอมแปร์ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า แอมป์ (สัญลักษณ์: A) เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้า หรือปริมาณของประจุไฟฟ้าต่อวินาที แอมแปร์เป็นหน่วยฐานเอสไอ ตั้งชื่อตามอ็องเดร-มารี อ็องแปร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หนึ่งในผู้ค้นพบแม่เหล็กไฟฟ้.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และแอมแปร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอลทีอี

แอลทีอี (LTE - Long Term Evolution) เป็นชื่อโครงการของระบบสื่อสารโทรศัพท์มือถือ 4G โดยมีเป้าหมายในการออกแบบให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากขึ้นและเร็วขึ้น แอลทีอีได้มีการเปิดตัวในชื่อโทรศัพท์มือถือ 4G LTE โดยเทเลียโซเนรา ในสตอกโฮล์ม และ ออสโล ในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 โดยพัฒนาเพิ่มเติมจากระบบยูเอ็มทีเอส ของระบบ 3G 4G LTE มีความสามารถดาวโหลดได้สูงถึง 100Mbps ความเร็วอับโหลด 50Mbps และปิงต่ำกว่า 10 มิลลิวินาที โดยมีแบนด์วิทธ์อยู่ในช่วงระหว่างช่วง 1.4 เมกกะเฮิร์ตถึง 20 เมกกระเฮิร์ต ในวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ทาง European Commission ได้ประกาศลงทุนเป็นจำนวนเงิน 18 ล้านยูโรในงานวิจัยและพัฒนา LTE Advanced.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และแอลทีอี · ดูเพิ่มเติม »

แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)

ซัมซุง กาแลคซี โน้ต แอนดรอยด์ (Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ในอดีตถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้แพร่ไปยังอุปกรณ์หลายชนิดเพราะเป็นมาตรฐานเปิด เช่น Nikon S800C กล้องดิจิตอลระบบแอนดรอยด์ หม้อหุงข้าว Panasonic ระบบแอนดรอยด์ และ Smart TV ระบบแอนดรอยด์ รวมถึงกล่องเสียบต่อ TV ทำให้สามารถใช้ระบบแอนดรอยด์ได้ด้วย Android Wear นาฬิกาข้อมือระบบแอนดรอด์ เป็นต้น ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี..

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ) · ดูเพิ่มเติม »

แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์

แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (tablet computer) เรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ตพีซี หรือ แท็บเล็ต เป็นคอมพิวเตอร์ที่รวมการทำงานทุกอย่างไว้ในจอสัมผัสโดยใช้ปากกาสไตลัส ปากกาดิจิทัล หรือปลายนิ้ว เป็นอุปกรณ์อินพุตพื้นฐาน แทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ แต่มีอยู่หรือไม่มีก็ได้มีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไวไฟ

วไฟ (Wi-Fi หรือ WiFi) เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมที่ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุ คำ ๆ นี้เป็นเครื่องหมายการค้าของ Wi-Fi Alliance ที่ได้ให้คำนิยามของไวไฟว่าหมายถึง "ชุดผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (แลนไร้สาย) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11" อย่างไรก็ตามเนื่องจากแลนไร้สายที่ทันสมัยส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับมาตรฐานเหล่านี้ คำว่า "ไวไฟ" จึงนำมาใช้ในภาษาอังกฤษทั่วไปโดยเป็นคำพ้องสำหรับ "แลนไร้สาย" เดิมทีไวไฟออกแบบมาใช้สำหรับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ และใช้เครือข่าย LAN เท่านั้น แต่ปัจจุบันนิยมใช้ไวไฟเพื่อต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครื่องเล่นเกมส์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กล้องดิจิทัลและเครื่องเสียงดิจิทัล สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าแอคเซสพอยต์รือ ฮอตสปอต และบริเวณที่ระยะทำการของแอคเซสพอยต์ครอบคลุมอยู่ที่ประมาณ 20 ม.ในอาคาร แต่ระยะนี้จะไกลกว่าถ้าเป็นที่โล่งแจ้ง ภาพของอุปกรณ์ส่งข้อมูลแบบไร้สายไปยังอุปกรณ์อื่นทั้งที่เชื่อมต่อกับแลนไร้สายและเครือข่ายท้องถิ่นใช้สายในการพิมพ์เอกสาร Wi-Fi มีความปลอดภัยน้อยกว่าการเชื่อมต่อแบบมีสาย (เช่น Ethernet) เพราะผู้บุกรุกไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อทางกายภาพ หน้าเว็บที่ใช้ SSL มีความปลอดภัย แต่การใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เข้ารหัสสามารถจะตรวจพบโดยผู้บุกรุก ด้วยเหตุนี้ Wi-Fi ได้พัฒนาเทคโนโลยีการเข้ารหัสต่าง ๆ มากมาย WEP เป็นการเข้ารหัสรุ่นแรก ๆ พิสูจน์แลัวว่าง่ายต่อการบุกรุก โพรโทคอลที่มีคุณภาพสูงกว่าได้แก่ WPA, WPA2 มีเพิ่มขึ้นมาในภายหลัง คุณลักษณะตัวเลือกที่เพิ่มเข้ามาในปี 2007 ที่เรียกว่า Wi-Fi Protected Setup (WPS) มีข้อบกพร่องร้ายแรงที่ยอมให้ผู้โจมตีสามารถกู้คืนรหัสผ่านของเราเตอร์ได้ Wi-Fi Alliance ได้ทำการปรับปรุงแผนการทดสอบและโปรแกรมการรับรองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเพื่อให้แน่ใจว่า อุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองใหม่ทั้งหมดสามารถต่อต้านการโจมตีได้.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และไวไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ไดโอดเปล่งแสง

อดเปล่งแสงสีต่าง ๆ ไดโอดเปล่งแสง (light-emitting diode หรือย่อว่า LED) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกไดโอด ที่สามารถเปล่งแสงในช่วงสเปกตรัมแคบ เมื่อถูกไบอัสทางไฟฟ้าในทิศทางไปข้างหน้า ปรากฏการณ์นี้อยู่ในรูปของ electroluminescence สีของแสงที่เปล่งออกมานั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุกึ่งตัวนำที่ใช้ และเปล่งแสงได้ใกล้ช่วงอัลตราไวโอเลต ช่วงแสงที่มองเห็น และช่วงอินฟราเรด ผู้พัฒนาไดโอดเปล่งแสงขึ้นเป็นคนแรก คือ นิก โฮโลยัก (Nick Holonyak Jr.) (เกิด ค.ศ. 1928) แห่งบริษัทเจเนรัล อิเล็กทริก (General Electric Company) โดยได้พัฒนาไดโอดเปล่งแสงในช่วงแสงที่มองเห็น และสามารถใช้งานได้ในเชิงปฏิบัติเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1962.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และไดโอดเปล่งแสง · ดูเพิ่มเติม »

เอสดีการ์ด

อสดีการ์ด ขนาด 512 เมกะไบต์ thumb เอสดีการ์ด (Secure Digital) เป็นการ์ดหน่วยความจำพัฒนาโดยสมาคมเอสดีการ์ดสำหรับใช้กับอุปกรณ์พกพา รุ่นมาตรฐานเปิดตัวในเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และเอสดีการ์ด · ดูเพิ่มเติม »

เอดจ์ (เครือข่ายไร้สาย)

อดจ์ (Enhanced Data rates for GSM Evolution: EDGE) หรือ อีจีพีอาร์เอส (Enhanced GPRS: EGPRS) เป็นระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย 2.75G ในเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เป็นเทคโนโลยีตามมาตรฐานสากลที่กำหนดโดย ITU (International Telecommunications Union) คล้ายกับระบบจีพีอาร์เอส แต่มีความเร็วที่สูงกว่าคือที่ประมาณ 200-300 Kbps ซึ่งสูงกว่าจีพีอาร์เอสสี่เท่า แต่ในบางพื้นที่ถ้าหากใช้เอดจ์ไม่ได้ โทรศัพท์ก็จะเปลี่ยนไปใช้จีพีอาร์เอสเอง ช่วยให้การรับส่งข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือได้มากกว่าและรวดเร็วกว่า ทั้งการเข้า WAP และ WEB รับส่ง MMS, Video/Audio Streaming และ Interactive Gaming และเป็นก้าวสำคัญเพื่อการก้าวเข้าสู่ยุค 3G.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และเอดจ์ (เครือข่ายไร้สาย) · ดูเพิ่มเติม »

IEEE 802.11

IEEE 802.11 คือมาตรฐานการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สายกำหนดขึ้นโดย '''สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์''' (Institute of Electrical and Electronics Engineers: IEEE) เป็นมาตรฐานกลาง ที่ได้นำมาปฏิบัติใช้ เพื่อที่จะทำการเชื่อมโยงอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายเข้าด้วยกันบนระบบ ในทางปกติแล้ว การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สาย จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์สองชิ้น นั่นคือ.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และIEEE 802.11 · ดูเพิ่มเติม »

IEEE 802.11b-1999

IEEE 802.11b เป็นมาตรฐานการสื่อสารระดับที่สอง (จากทั้งหมด 7 แบบจำลองโอเอสไอ) ว่าด้วยเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านทาง สื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กำหนดโดยสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineers, Inc. หรือ IEEE) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสารผ่านสื่อที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คณะทำงานชุด IEEE 802.11b ได้ตีพิมพ์มาตรฐานเพิ่มเติมนี้เมื่อปี..

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และIEEE 802.11b-1999 · ดูเพิ่มเติม »

3 จี

3 จี (3G,3rd generation mobile telecommunications) เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ W-CDMA ในระบบ GSM ใช้ช่วงความถี่ตั้งแต่ 850, 900, 1800, 1900 และ 2100 ผสานเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูล ใช้งานด้านมัลติมีเดีย ส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบไร้สายด้วยความเร็วที่สูง.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และ3 จี · ดูเพิ่มเติม »

4 จี

4G (สี่จี หรือ โฟร์จี) กล่าวถึงมาตรฐานโทรศัพท์มือถือที่เป็นรุ่นมาตรฐานที่ต่อจาก 3G และ 2G ซึ่ง 4G จะสามารถเล่นบนคลื่นความถี่ 2100 2500 และ 2600 ขึ้นอยู่กับภูมิภาคและผู้ให้บริการ ในขณะนี้ประเทศไทยได้มีแค่การรับรองมาตรฐานบนคลื่นความถี่ 2100 เท่านั้น ซึ่งทรูมูฟเอชเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ดีแทคเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 รุดหน้าเปิดบริการ 4G LTE จะสามารถเล่นบนคลื่นความถี่ 2100 2500 และ 2600 คลื่นความถี่ 1800 ซึ่งเอไอเอส 4 จี แอดวานซ์ เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558.

ใหม่!!: ซัมซุง กาแลคซี โน้ต เอดจ์และ4 จี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »