เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ช่องโหว่ (คอมพิวเตอร์)

ดัชนี ช่องโหว่ (คอมพิวเตอร์)

ในความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์ ช่องโหว่ หมายถึงจุดอ่อนอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถลดทอนการประกันสารสนเทศของระบบ ช่องโหว่เป็นส่วนร่วมขององค์ประกอบสามอย่างได้แก่ ความรู้สึกไวหรือข้อตำหนิของระบบ ผู้โจมตีที่เข้าถึงข้อตำหนินั้น และความสามารถของผู้โจมตีที่จะแสวงหาข้อตำหนินั้น ในการค้นหาช่องโหว่ ผู้โจมตีอย่างน้อยต้องมีเครื่องมือหรือเทคนิคที่สามารถใช้ได้ ที่สามารถเชื่อมโยงกับจุดอ่อนของระบบ ในกรอบความคิดนี้ ช่องโหว่เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า พื้นหน้าของการโจมตี (attack surface) การจัดการช่องโหว่คือการปฏิบัติการเชิงวัฏจักรในการระบุ จำแนก เยียวยา และบรรเทาปัญหาที่เกิดจากช่องโหว่ต่าง ๆ การปฏิบัติการนี้โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยอาจถูกจำแนกว่าเป็นช่องโหว่ชนิดหนึ่ง การใช้ช่องโหว่ในความหมายเดียวกับความเสี่ยงอาจทำให้เกิดความสับสน เนื่องจากความเสี่ยงผูกพันอยู่กับศักยภาพของความสูญเสียที่มีนัยสำคัญ และนอกเหนือจากนั้นก็มีช่องโหว่ที่ไร้ความเสี่ยงด้วย ตัวอย่างเช่นเมื่อสินทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบไม่มีมูล.

สารบัญ

  1. 1 ความสัมพันธ์: นักเลงคอมพิวเตอร์

นักเลงคอมพิวเตอร์

นักเลงคอมพิวเตอร์ (hacker) หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาคอมพิวเตอร์ บางครั้งยังใช้หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นนอกจากคอมพิวเตอร์ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ในรายละเอียด หรือ ผู้ที่มีความเฉลียวในการแก้ปัญหาจากข้อจำกัด ความหมายที่ใช้ในบริบทของคอมพิวเตอร์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากความหมายดั้งเดิม โดยผู้ใช้คำในช่วงหลังนั้นได้ใช้ในความหมายที่กว้างออกไป รวมทั้งในบางครั้งยังใช้ในความหมายที่ขัดแย้งกัน ในปัจจุบัน "นักเลงคอมพิวเตอร์" นั้นใช้ใน 2 ความหมายหลัก ในทางที่ดี และ ไม่ค่อยดีนัก ความหมายที่เป็นที่นิยม และพบได้บ่อยในสื่อนั้น มักจะไม่ดี โดยจะหมายถึง อาชญากรคอมพิวเตอร์ ส่วนในทางที่ดีนั้น "นักเลงคอมพิวเตอร์" ยังใช้ในลักษณะของคำติดปาก หมายถึง ความเป็นพวกพ้อง หรือ สมาชิกของกลุ่มคอมพิวเตอร์ นอกเหนือจากนี้ คำว่า "นักเลงคอมพิวเตอร์" ยังใช้หมายถึงกลุ่มของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถในระดับผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น "ลีนุส ทอร์วัลด์ส ผู้สร้างลินุกซ์ นั้นเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ" จากความหมายที่แตกต่างข้างต้น จะเห็นได้ถึงความขัดแย้งในการใช้คำ บางกลุ่มที่ใช้คำนักเลงคอมพิวเตอร์นี้เพื่อเรียกกลุ่มของตน ก็ไม่ชอบที่คำนี้ถูกใช้ในความหมายที่ไม่ดี และแนะนำให้ใช้คำอื่น เช่น แบล็กแฮต หรือ แคร็กเกอร์ เพื่อเรียกอาชญากรคอมพิวเตอร์แทน ส่วนผู้ที่ใช้คำนี้ในความหมายที่ไม่ดี ซึ่งเป็นความหมายที่นิยมใช้กันนั้น ให้ความเห็นถึงความหมายในทางที่ดี นั้นนอกจากจะก่อให้เกิดความสับสนแล้ว ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่นิยมอีกด้วย ส่วนความหมายกลางนั้น ได้สังเกตถึงจุดร่วมระหว่างความหมายในทางที่ดีและไม่ดี โดยพิจารณาการเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้ความชำนาญ เพียงแต่อาจใช้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันทั้งในทางดีและไม่ดี ตัวอย่างเช่น ช่างสะเดาะกุญแจ มีความชำนาญในการปลดกลอน (เปรียบเทียบการสะเดาะกุญแจกับการเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์) ซึ่งความชำนาญนี้อาจถูกใช้ได้ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี การเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ สามารถหมายถึงวิธีการศึกษาหาคำตอบให้กับปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่มีข้อจำกัดในเรื่องของข้อมูลหรือความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาหรือความเข้าใจต่อปัญหาเหล่านั้นได้มากขึ้น การได้ใช้คำว่านักเลงคอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ เพราะเปรียบได้กับเป็นผู้คิดค้นสิ่งใหม่ที่สามารถทำงานหรือแก้ปัญหาได้ดีขึ้นและง่ายขึ้น แต่ถ้าการเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ ที่อาศัยความรู้หรือความสามารถที่มีในทางที่ไม่ดี ก็จะเกิดความสับสนในการใช้คำว่านักเลงคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคำว่าแครกเกอร์จึงถูกนำมาใช้เรียกคนที่มีความรู้ความเข้าใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ใช้ความรู้นั้นในทางที่ไม่ดีและขัดกับจริยธรรมของนักเลงคอมพิวเตอร.

ดู ช่องโหว่ (คอมพิวเตอร์)และนักเลงคอมพิวเตอร์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Vulnerabilityช่องโหว่ของระบบ