สารบัญ
4 ความสัมพันธ์: การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์หน่วยประมวลผลกลางRISC
- การประมวลผลคำสั่ง
- หน่วยประมวลผลกลาง
- ไมโครโพรเซสเซอร์
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer programming) หรือเรียกให้สั้นลงว่า การเขียนโปรแกรม (Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแลซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และขั้นตอนวิธีที่จะใช้ ซึ่งในวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น การเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซวอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของ ข้อความธรรมดา ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านการคอมไพล์ตัวซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เสียก่อนจึงจะได้เป็นโปรแกรมที่พร้อมใช้งาน การเขียนโปรแกรมถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ของ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรม เข้าด้วยกัน.
ดู ชุดของคำสั่งเครื่องและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
ปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นทฤษฎีที่อยู่ฉากหลังของการออกแบบคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปหมายถึง การออกแ.
ดู ชุดของคำสั่งเครื่องและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ.
ดู ชุดของคำสั่งเครื่องและหน่วยประมวลผลกลาง
RISC
Reduced Instruction Set Computer (RISC) เป็นไมโครโพรเซสเซอร์ชนิดหนึ่งที่มีชุดคำสั่งจำนวนไม่มากนัก ตรงข้ามกับ CISC (Complex Instruction Set Computer) คอมพิวเตอร์แบบ RISC สามารถกระทำการตามคำสั่งได้อย่างรวดเร็วมากเพราะคำสั่งจะสั้น นอกจากนั้นชิพแบบ RISC ยังผลิตได้ง่ายกว่าอีกด้วย (เนื่องจากใช้จำนวนทรานซิสเตอร์น้อยกว่า) ตัวอย่างชิพประเภทนี้ได้แก่ ARM, DEC Alpha, PA-RISC, SPARC, MIPS, และ PowerPC RISC เป็นสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในอนาคต ทั้งนี้เพราะการใช้สถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้น ปกติ หากพิจารณาจำนวนบิตที่เท่ากันระหว่างสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบ CISC กับ RISC แล้ว จะพบว่าคอมพิวเตอร์แบบ RISC จะเร็วกว่าแบบ CISC ประมาณ 3 เท่า หลักการอย่างง่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ RISC คือ ออกแบบให้ซีพียู (CPU) ทำงานในวงรอบสัญญาณนาฬิกา (Cycle) ที่แน่นอน โดยพยายามลดจำนวนคำสั่งลงให้เหลือเป็นคำสั่งพื้นฐานมากที่สุด แล้วใช้หลักการไปป์ไลน์ (pipeline) คือ การทำงานแบบคู่ขนานชนิดเหลื่อมกัน (overlap) ปกติแล้วการทำงานใน 1 ชุดคำสั่งจะใช้เวลามากกว่า 1 วงรอบสัญญาณนาฬิกา (cycle) หากแต่การทำคำสั่งเหล่านั้นให้มีการทำงานในลักษณะเป็นแถว (pipe) และขนานกันด้วย จึงทำให้ได้ค่าเฉลี่ยโดยรวมของเวลาเป็นคำสั่งละหนึ่งวงรอบสัญญาณนาฬิกา (cycle) ตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบ RISC ได้แก่ mips รุ่น R 2000 ได้ออกแบบชุดคำสั่งไว้ชัดเจนว่ามีการทำงานแบบ 5 ขั้นตอน นั่นคือเป็นการทำงานแบบขนานถึง 5 ระดับด้วยกัน หมวดหมู่:ประเภทของคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์.
ดูเพิ่มเติม
การประมวลผลคำสั่ง
- ชุดของคำสั่งเครื่อง
- สถาปัตยกรรมไมโคร
หน่วยประมวลผลกลาง
- คอมพิวเตอร์คูลลิง
- ชุดของคำสั่งเครื่อง
- ตัวสะสม
- สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
- สถาปัตยกรรมไมโคร
- หน่วยคำนวณและตรรกะ
- หน่วยประมวลผลกลาง
- เรจิสเตอร์
ไมโครโพรเซสเซอร์
- ชุดของคำสั่งเครื่อง
- มัลติคอร์
- สถาปัตยกรรมไมโคร
- ไมโครโพรเซสเซอร์
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Instruction setชุดคำสั่งคำสั่งเครื่อง