สารบัญ
13 ความสัมพันธ์: กรุงเทพมหานครการร้องเพลงศาสนาพุทธอาร์แอนด์บีร่วมสมัยดนตรีแดนซ์ประเทศไทยนักร้องเอสเอ็มรุกกีส์เอสเอ็มสเตชันเอสเอ็มทาวน์เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์เอ็นซีทีเคป็อป
กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.
ดู ชิตพล ลี้ชัยพรกุลและกรุงเทพมหานคร
การร้องเพลง
แพตตี สมิธ ร้องเพลงในปี 2007 การร้องเพลง หรือ การขับร้อง คือการทำให้เกิดเสียงดนตรีจากเสียงและเสริมด้วยถ้อยคำทั้งระบบเสียงสูงต่ำและจังหวะ คนที่ขับร้องเพลงเรียกว่านักร้อง และนักร้องจะแสดงการขับร้องเพลง ซึ่งอาจจะร้องแบบอะแคปเปลา (ร้องโดยไม่ใช้ดนตรี) หรือมีนักดนตรี เครื่องดนตรีประกอบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีตัวเดียวหรือเต็มวง การร้องนั้นส่วนใหญ่จะร้องร่วมการแสดงกับนักดนตรีกลุ่มอื่น ไม่ว่าจ่ะเป็นกลุ่มคอรัสที่ร้องในเสียงที่แตกต่างกัน หรือกลุ่มนักเล่นดนตรี อย่างเช่นวงร็อกเป็นต้น การร้องเพลงนั้นอาจร้องแบบไม่เป็นทางการ ร้องเพื่อความบันเทิง อย่างเช่นร้องระหว่างการอาบน้ำ ร้องคาราโอเกะ หรือในบางกรณีร้องอย่างเป็นทางการ เช่นร้องในระหว่างพิธีทางศาสนา หรือนักร้องอาชีพร้องเพื่อแสดงบนเวทีหรือร้องในสตูดิโอ การร้องที่มีทักษะสูงหรือร้องในระดับอาชีพ มักจะต้องอาศัยความสามารถแต่กำเนิด การเรียนการสอน และการฝึกฝน นักร้องมืออาชีพจะสร้างหนทางสู่อาชีพด้วยการเป็นนักร้องในแนวเพลงต่าง ๆ อย่างเช่น นักร้องคลาสสิก นักร้องร็อก พวกเขาต้องฝึกทักษะการร้องในแนวเพลงนั้น ทั้งจากครูสอนร้องหรือโค้ชร้อง ในอาชีพของพวก.
ดู ชิตพล ลี้ชัยพรกุลและการร้องเพลง
ศาสนาพุทธ
ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑.
ดู ชิตพล ลี้ชัยพรกุลและศาสนาพุทธ
อาร์แอนด์บีร่วมสมัย
อาร์แอนด์บีร่วมสมัย (Contemporary R&B) คือแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในฝั่งตะวันตก ถึงแม้ว่าคำย่อของคำว่า อาร์แอนด์บี จะดูเชื่อมโยงกับเพลงริทึมแอนด์บลูส์ดั้งเดิม แต่คำว่าอาร์แอนด์บีในปัจจุบันมักจะใช้ระบุหมายถึง ดนตรีของชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ที่มีต้นกำเนิดหลังจากการจากไปของดนตรีดิสโก้ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 แนวเพลงใหม่นี้มีองค์ประกอบของดนตรีโซล ฟังก์ แดนซ์ และตั้งแต่ปี 1986 เป็นต้นมาหลังการเกิดของเพลงนิวแจ็กสวิงที่เป็นเพลงอาร์แอนด์บี ฮิปฮอป คำย่อ อาร์แอนด์บี โดยมากมักจะมีความหมายความหมายรวมทั้งหมดของริทึมแอนด์บลูส์ ถึงแม้ว่าบางแหล่งจะอ้างว่าหมายถึงเพลงแนวเออเบินคอนเทมโพแรรี (ชื่อใช้เช่นเดียวกับรูปแบบสถานีวิทยุที่เปิดเพลงในแนวฮิปฮอปและอาร์แอนด์บีร่วมสมัย) เพลงอาร์แอนด์บีร่วมสมัยเป็นงานเพลงที่ลื่นไหล มีจังหวะดรัมแมชชีนเป็นเบื้องหลัง ในบางครั้งใช้จังหวะแซกโซโฟนร้อยเข้ากับจังหวะให้ได้ความรู้สึกแบบแจ๊ซ (โดยมากเพลงอาร์แอนด์บีเช่นนี้จะมีในปี 1993) และดูนุ่มนวล การเรียบเรียงเสียงร้องอย่างโอ่อ่า ใช้จังหวะที่ได้รับอิทธิพลจากเพลงฮิปฮอป ถึงแม้ว่าความกระด้างที่เป็นลักษณะทั่วไปของฮิปฮอปจะมีอยู่แต่ก็ลบและทำให้ดูนุ่มนวลลงในเพลงอาร์แอนด์บีร่วมสมัย นักร้องแนวอาร์แอนด์บีมักใช้เทคนิคที่เรียกว่าเมลิสม่า นักร้องที่ได้รับความนิยมเช่น สตีวี วันเดอร์, วิตนีย์ ฮูสตัน, และมารายห์ แครี.
ดู ชิตพล ลี้ชัยพรกุลและอาร์แอนด์บีร่วมสมัย
ดนตรีแดนซ์
ดนตรีแดนซ์ (dance music) เป็นดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นโดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกหรือเพื่อคลอไปกับการเต้นรำ ในด้านการแสดง ดนตรีแดนซ์แบ่งประเภทหลักเป็นดนตรีแดนซ์สดกับดนตรีแดนซ์ที่บันทึกไว้ ขณะที่มีหลักฐานยืนยันว่ามีการเต้นรำพร้อมกับดนตรีตั้งแต่ยุคโบราณ (ตัวอย่างเช่น แจกันสมัยกรีกโบราณแสดงนักเต้นรำร่วมกับนักดนตรี) ดนตรีแดนซ์ฝั่งตะวันตกยุคแรก ๆ คือการเต้นรำยุคกลางที่เหลือรอดมาได้ ในยุคบาโรก รูปแบบการเต้นรำหลัก ๆ คือการเต้นรำในราชสำนักคนชั้นสูง ดนตรีแดนซ์สมัยใหม่ได้เกิดขึ้นจากเพลงลีลาศแบบตะวันตกในปลายศตวรรษที่ 19 ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 การเต้นลีลาศได้เพิ่มความนิยมในหมู่ชนชั้นแรงงานที่มักเข้าร่วมงานเต้นรำสาธารณะ ดนตรีแดนซ์กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงยุค 1920 ในยุค 1930 ดนตรีสวิงเป็นดนตรีแดนซ์ที่นิยมในอเมริกา ยุค 1950 ร็อกแอนด์โรลกลายเป็นดนตรีแดนซ์ที่นิยม ในช่วงปลายยุค 1960 มีการเกิดของแนวเพลงโซลและอาร์แอนด์บีและดิสโก้ในยุค 1970 ซึ่งทำให้ดนตรีแดนซ์เป็นที่นิยมมากในผู้คนทั่วไป มาถึงช่วงปลายยุค 1970 ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ได้รับการพัฒนามาเรี่อย ๆ โดยส่วนใหญ่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นรูปแบบของเพลงสมัยนิยมที่มักจะเปิดในไนต์คลับ สถานีวิทยุ คอนเสิร์ต หมวดหมู่:ดนตรีแดนซ์.
ดู ชิตพล ลี้ชัยพรกุลและดนตรีแดนซ์
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
ดู ชิตพล ลี้ชัยพรกุลและประเทศไทย
นักร้อง
นักร้อง (Singer)อาชีพของคนขายเสียง อาชีพให้บริการความสุขด้วยเสียงเพลงเช่น อคูสติก ป๊อป ร็อค แจ๊ส เบส เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันแนวเพลงต่าง ๆ มีมากขึ้น ตอบสนองความต้องการของผู้ฟังแต่ละกลุ่ม อาชีพนักร้องจึงเป็นอาชีพในฝันของคนยุคใหม่ เนื่องจากอาชีพนักร้องเป็นอาชีพที่สามารถสร้างได้อย่างมหาศาล เป็นผู้มีชื่อเสียงในสังคม และมีผู้คนชื่นชมมาก ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพนักร้อง 1.
ดู ชิตพล ลี้ชัยพรกุลและนักร้อง
เอสเอ็มรุกกีส์
อสเอ็มรุกกี้ (SM Rookies) เป็นทีมพรีเดบิวต์ก่อตั้งในปี 2013.
ดู ชิตพล ลี้ชัยพรกุลและเอสเอ็มรุกกีส์
เอสเอ็มสเตชัน
อสเอ็มสเตชัน (SM STATION) เป็นโปรเจ็กต์การปล่อยเพลงผ่านระบบสตรีมมิ่งจากค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ โดยเริ่มต้นโปรเจ็กต์นี้ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพัน..
ดู ชิตพล ลี้ชัยพรกุลและเอสเอ็มสเตชัน
เอสเอ็มทาวน์
อสเอ็มทาวน์ เป็นหนึ่งใน เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ เป็นบริษัทจัดจำหน่ายอัลบั้ม ของศิลปินเอสเอ็ม เช่น ในแต่ละปีทางเอสเอ็มจะจัดคอนเสริต์ชื่อว่า เอสเอ็มทาวน์ ส่วนใหญ่ sm town จะอับโหลดวีดิโอของศิลปิน.
ดู ชิตพล ลี้ชัยพรกุลและเอสเอ็มทาวน์
เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์
อสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ (S.M. Entertainment, SM엔터테인먼트) เป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเพลงของประเทศเกาหลีใต้ หนึ่งในสามบริษัทอุตสาหกรรมบันเทิงที่ทรงอิทธิพลที่สุดของเกาหลีใต้ ก่อตั้งโดยอี ซูมาน ในอดีตชื่อต้นของบริษัท “เอสเอ็ม” (SM) มาจากชื่อจริงของผู้ก่อตั้ง “ซูมาน” (Soo Man) แต่ในปัจจุบันทางบริษัทได้ตั้งความหมายของชื่อบริษัทใหม่เป็น "ศูนย์รวมดารา" (Star Museum) ครั้งหนึ่ง เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์เคยเป็นตันสังกัดของศิลปินที่มีชื่อเสียงจำนวนไม่น้อย เช่น H.O.T, S.E.S และ Shinhwa หรือในปัจจุบันอย่างBoA, TVXQ, Super Junior, Girls’ Generation, SHINee, f(x), EXO, Red Velvet และ NCT เอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ฉลองครบ 10 ปีของบริษัทไปเมื่อวันที่ 15 กุมภาพัน..
ดู ชิตพล ลี้ชัยพรกุลและเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์
เอ็นซีที
อ็นซีที เป็นวงบอยแบนด์สัญชาติเกาหลี จากค่าย SM เอนเตอร์เทนเมนต์ โดยชื่อวงตั้งตามชื่อโปรเจกต์ Neo Culture Technology โดย อี ซู-มัน ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท SM เอนเตอร์เทนเมนต์ ได้อธิบายแนวคิดของเอ็นซีทีว่าไม่มีการจำกัดจำนวนของสมาชิกในวง และจะมีการเปิดตัวยูนิตย่อยตามหลายเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก กลุ่มยูนิต NCT U 6 คน ได้เปิดตัวในเดือนเมษายนปี 2016 ด้วยซิงเกิ้ล "The 7th Sense" และ "Without You" ยูนิตที่ 2, NCT 127 ในกรุงโซลได้เปิดตัวในเดือนกรกฎาคมปี 2016 ด้วยมินิอัลบั้ม NCT #127 ยูนิตที่ 3, NCT DREAM เปิดตัวในเดือนสิงหาคมปี 2016 ด้วยซิงเกิ้ล "Chewing Gum" ยูนิตที่ตามมาคาดว่าจะเปิดตัวใน จีน, ญี่ปุ่น, ไทย, เวียดนามและอินโดนีเซี.
ดู ชิตพล ลี้ชัยพรกุลและเอ็นซีที
เคป็อป
ป็อป (K-pop) หรือเพลงป็อปเกาหลี โดยเฉพาะเพลงจากเกาหลีใต้ ที่มีศิลปินทั้งกลุ่มและเดี่ยวมากมายอย่างเช่น เอพิงก์ เจบีเจ เอ็กโซ (วงดนตรี), BTS, GOT7,แบล็กพิงก์, ชินฮวา, โบอา, บิกแบง, เรน, เซเว่น, ทงบังชินกี,ซูเปอร์จูเนียร์, โซนยอชิแด,ซิสตาร์,ซีเอ็นบลู,มิสเอ, คารา, วันเดอร์เกิลส์, ชายนี่,ก๊อตเซเว่น, ทูพีเอ็ม, เอฟ (เอกซ์), ที-อาร่า, อินฟินิท‚ บีสท์,อีเอกซ์ไอดี,บีเอพี, ซีเครต, โฟร์มินิต, บราวน์อายด์เกิลส์, จีเฟรนด์, เรดเวลเวต (วงดนตรี),เซเว่นทีน,วอนนาวัน,แอสโตร, บีทูบี นอกจากนี้ ยังมีประเทศอื่นที่ได้รับความนิยมด้วย เช่น จีน, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์, ไทย และประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนนี้รวมถึงประเทศในแถบทวีปอเมริกาใต้ด้วย อาทิเช่น อาร์เจนตินา, บราซิล, ชิลี เป็นต้น ความนิยมในดนตรีเกาหลีมักพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในการเติบโตของความคลั่งไคล้ในกระแสเกาหลี ที่นิยมในวัฒนธรรมเกาหลีของชาวเอเชีย ในปัจจุบัน มีการพยายามสร้างนักร้องเคป็อปให้เป็นไอดอล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลีวิเคราะห์ว่า การที่วงการเคป็อปได้สร้างนักร้องให้เป็นไอดอล ทำให้ต้องเน้นที่ภาพลักษณ์มากกว่าผลงานเพลง และจากเหตุนี้ทำให้หลายวงมีความขัดแย้งและชิงดีชิงเด่นกันเองระหว่างสมาชิก หากมีคนใดคนหนึ่งโดดเด่นกว่าคนอื่น ทำให้ต้นสังกัดบางบริษัทต้องเฉลี่ยรายได้ให้เท่าเทียมกัน.