โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หาดปากเมง

ดัชนี หาดปากเมง

หาดปากเมง (Pak Meng Beach) ชายหาดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ซึ่งอยู่ใกล้กัน เป็นชายหาดแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับนิยมของจังหวัดตรัง ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งแรก ๆ ที่ผู้คนมักคิดถึงและไปท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง หาดปากเมง อยู่ห่างตัวอำเภอเมืองตรังประมาณ 35 กิโลเมตร เป็นชายหาดรูปพระจันทร์เสี้ยวติดทะเลอันดามัน ของมหาสมุทรอินเดีย เมื่อน้ำลดลงต่ำสุดจะมีความกว้างขวาง 500 เมตร จนสามารถขับรถยนต์ลงไปได้ เพราะทรายมีความหนาแน่นเพียงพอที่จะรองรับน้ำหนักรถได้ มีจุดสังเกต คือ เขารูปคล้ายคนขนาดยักษ์นอนหงายอยู่ มีชื่อเรียกว่า "เขาเมง" หรือ "เกาะเมง" อันที่มาของชื่อเรียก ซึ่งมาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องของเฒ่าเมง ผู้เฒ่าชาวประมงที่กำลังจะแต่งงานลูกสาวชื่อ มุก กับพระยาลันตา มีความงามอย่างยิ่งยามพระอาทิตย์ตก ขนาบด้วยแนวต้นสนทะเลยาว 5 กิโลเมตร ถัดออกไปทางอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมยังมีสะพานคอนกรีต 2 แห่ง ที่นิยมใช้เป็นสถานที่ตกปลาอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นสถานที่ตั้งของท่าเรือปากเมง ซึ่งเป็นท่าเรือที่รับส่งนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวยังเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณทะเลจังหวัดตรัง เช่น เกาะมุก, ถ้ำมรกต, เกาะไหง.

12 ความสัมพันธ์: การจับปลามหาสมุทรอินเดียสนทะเลหาดอำเภอสิเกาอำเภอเมืองตรังอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมจังหวัดตรังทะเลอันดามันนิทานพื้นบ้านน้ำขึ้นลงเอเอสทีวีผู้จัดการ

การจับปลา

การตกปลา เป็นการจับปลาและเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่ง กระทำโดยการใช้เหยื่อล่อ โดยใช้ได้ทั้งที่เป็นเหยื่อสด เหยื่อหมัก และเหยื่อปลอม หมวดหมู่:การประมง หมวดหมู่:การตกปลา.

ใหม่!!: หาดปากเมงและการจับปลา · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: หาดปากเมงและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

สนทะเล

''Casuarina equisetifolia” สนทะเล เป็นพืชท้องถิ่นในบริเวณตั้งแต่พม่าถึงเวียดนาม และออสเตรเลีย พบในมาดากัสการ์ด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นพืชท้องถิ่นในบริเวณนั้นหรือไม่ มีการนำไปปลูกในสหรัฐและแอฟริกาตะวันตกและเป็นพืชรุกรานในฟลอริดา สนทะเล เป็นพืชมีดอก ส่วนปลายกิ่งเปลี่ยนไปทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงจึงมีสีเขียว ใบจริงติดเป็นวงรอบข้อ ผลขนาดเล็กคล้ายลูกทุเรียน แข็ง แห้งแตก ปล่อยเมล็ดกระจายออกไป เมล็ดมีปีก ปลิวตามลมได้ดี ลำต้นลู่ลมได้ดี ลดแรงต้านจากพายุ เปลือกลำต้นขรุขระทำให้น้ำฝนไหลผ่านได้ช้า สามารถดูดซับแร่ธาตุจากน้ำฝนได้ดี มีเห็ดอาศัยร่วมกับรากสนช่วยย่อยสลายเศษซากพืชเพื่อให้สนใช้เป็นปุ๋ย เปลือกไม้ใช้ทำสีย้อมผ้าได้.

ใหม่!!: หาดปากเมงและสนทะเล · ดูเพิ่มเติม »

หาด

Pomerania Beach ''(Darss)'' ชายหาดในอังกฤษ หาด หรือ ชายหาด คือที่ลาดลงไปในน้ำหรือบริเวณที่ตื้นเขินเป็นเนินอยู่กลางน้ำ โดยมากเป็นเนินทราย มักมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอยู่เสมอ (transient feature) จึงเป็นสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (dynamic environment).

ใหม่!!: หาดปากเมงและหาด · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสิเกา

อำเภอสิเกา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง สิเกา อำเภอเล็กๆ อำเภอหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดตรัง เมืองแห่งความสงบและธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ที่มาของชื่อเมือง"สิเกา"นี้ หลายคนคงตีความไปต่างๆ นาๆ บ้างก็ว่ามีกงสี(บ้านพักชาวสวนยาง)เก่า เคยตั้งอยู่บริเวณนี้ บ้างก็ว่าคนจีนฮกเกี้ยนที่เคยอพยพมาจากสิงคโปร์และปีนังเข้ามาอยู่เรียกพื้นที่นี้ว่า"สี่เก้า" ต่อมาเพี้ยนเป็นสิเกา ซึ่งอย่างไรก็ตาม ที่มาของชื่อสิเกาที่น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ คำว่า "สิเกา" เพี้ยนมาจากคำว่ากงสีเก่า เนื่องจากได้มีชาวจีนปีนัง ฮกเกี้ยน และประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาอาศัยประกอบอาชีพตัดไม้ขาย ต่อมาได้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ขึ้นที่ริมคลองสิเกา เพื่อนำไม้ คบ น้ำมันยาง ไม้ไผ่ และถ่านไม้โกงกางไปจำหน่ายยังต่างประเทศ และบรรทุกสินค้าอื่นๆ จากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในอำเภอสิเกา ในยุคนั้นจึงมีผู้คนอาศัยอย่างหนาแน่น ต่อมาปริมาณไม้ลดลง ชาวจีนจึงเลิกกิจการกลับประเทศจีน บ้างก็ย้ายไปตั้งรกรากใหม่ ในตลาดทับเที่ยง(เทศบาลนครตรัง) บ้างก็เปลี่ยนไปทำไร่พริกไทย สวนยางพารา สวนมะพร้าว บ้างก็มีลูกเมียตั้งรกรากอยู่ที่ตำบลบ่อหิน (ตัวอำเภอปัจจุบัน) แต่ตัวโรงงานแปรรูปไม้หรือสถานที่ตั้งโรงงานยังมีอยู่ ชาวบ้านพากันเรียกว่า "กงสีเก่า" ต่อมานานวันเข้าก็เพี้ยนเป็น"สีเก่า" ผลสุดท้ายด้วยความเคยชินของสำเนียงใต้จึงได้เรียกเป็น"สิเกา หรืออีกแนวคิดหนึ่งก็คือที่ตั้งอำเภอนี้อยู่ใกล้ภูเขาสี่ลูก จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านสี่เขา" ต่อมาเพี้ยนเป็น"สีเกา" และ "สิเกา" ตามลำดับ อำเภอสิเกา ได้รับการสถาปนาเป็นอำเภอ ขึ้นต่อจากเมืองกันตัง(เมืองตรังในขณะนั้น) เมื่อปี..

ใหม่!!: หาดปากเมงและอำเภอสิเกา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองตรัง

มืองตรัง ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเมืองแรกที่มีต้นยางพารา โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้นำพันธุ์มาจากมาเลเซียมาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2442 และถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธคิดเป็นร้อยละ 93 นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 5 และอื่น ๆ ร้อยละ 2.

ใหม่!!: หาดปากเมงและอำเภอเมืองตรัง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดตรัง.

ใหม่!!: หาดปากเมงและอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตรัง

ตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้.

ใหม่!!: หาดปากเมงและจังหวัดตรัง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: หาดปากเมงและทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

นิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้าน (folktale) เป็นนิทานประเภทหนึ่ง เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาซึ่งอาจไม่มีบันทึกเป็นหลักฐาน เนื่องจากสมัยโบราณไม่มีความบันเทิงในรูปแบบอื่นในสังคมหลายวัฒนธรรมใช้การเล่าเรื่องสู่กันฟังซึ่งมักเป็นเรื่องราวจากจินตนาการแสดงความเชื่อของชาวบ้าน นิทานพื้นบ้านมักได้รับการบันทึกหรือตีพิมพ์ภายหลังและมักหาต้นกำเนิดไม่ได้ และมีการแต่งแต้มเรื่องราวเพิ่มเติมตามจินตนาการของผู้เล่า นิทานพื้นบ้านที่โด่งดัง อย่างเช่น ซินเดอเรลลา เจ้าชายกบ แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ เจ้าหญิงนิทร.

ใหม่!!: หาดปากเมงและนิทานพื้นบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำขึ้นลง

น้ำขึ้นน้ำลง (อังกฤษ: tide) เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ (อิทธิพลของดวงอาทิตย์มีน้อยกว่าดวงจันทร์ประมาณครึ่งหนึ่ง) น้ำขึ้นเกิดใน 2 ส่วนของโลกคือ ส่วนที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ และส่วนที่อยู่ห่างจากซีกโลกด้านตรงข้าม และเกิดน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด หรือน้ำเกิด (Spring tide) เมื่อโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่ในแนวเดียวกันหรือ ทุกๆ 2 อาทิตย์ คือ ขึ้น 15 ค่ำ และ แรม 15 ค่ำ และระดับน้ำขึ้นน้ำลงจะเปลี่ยนแปลงน้อยหรือน้ำตาย (Neap tide)เมื่อดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ อยู่ในแนวตั้งฉากคือ วันขึ้น 7 ค่ำ และ แรม 7 ค่ำ การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลก่อให้เกิดกระแสน้ำขึ้น - น้ำลง (tidal current) ซึ่งอาจมีความเร็ว 7-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตอนน้ำขึ้นกระแสน้ำที่ไหลท่วมชายฝั่งต่ำหรือท่วมลำน้ำสายเล็กๆนั้นเรียกว่า น้ำท่วมฝั่ง (flood tides) และช่วงกระแสน้ำลดต่ำลง จนบริเวณที่ถูกน้ำท่วมโผล่ขึ้นมาอีกเรียกกระแสน้ำนั้นว่า น้ำหนีฝั่ง (ebb tide) เราเรียกบริเวณที่ราบต่ำที่น้ำทะเลท่วมถึงซึ่งอาจเป็นดินหรือทรายก็ได้ ว่า หาดโคลน (tidal flat หรือ mud flat) หาดโคลนที่ประกอบด้วยดินโคลนมักมีวัชพืชที่ทนต่อน้ำเค็มขึ้นปกคลุมอยู่เรียกที่รายชนิดนี้ว่า ลุ่มดินเค็ม (salt marsh) หาดโคลนบางแห่ง อาจมีสภาวะเหมาะสมจนเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของหอยหลอดได้.

ใหม่!!: หาดปากเมงและน้ำขึ้นลง · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: หาดปากเมงและเอเอสทีวีผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ชายหาดปากเมงปากเมง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »