โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จ้ำเลือดฮีน็อช–เชินไลน์

ดัชนี จ้ำเลือดฮีน็อช–เชินไลน์

จ้ำเลือดฮีน็อช-เชินไลน์ (Henoch–Schönlein purpura, HSP) หรือ โรคหลอดเลือดอักเสบจากไอจีเอ (IgA vasculitis) จ้ำเลือดอะนาฟิแล็กตอยด์ (anaphylactoid purpura) จ้ำเลือดรูมาติกา (purpura rheumatica) เป็นโรคของผิวหนัง เยื่อเมือก และอวัยวะภายใน ซึ่งมักพบในเด็ก ทำให้เกิดรอยจ้ำเลือดนูนคลำได้ มักพบมีอาการปวดข้อและปวดท้องร่วมด้วย บางรายอาจมีอาการทางไตร่วมด้วยทำให้เกิดไตอักเสบและมีโปรตีนและเลือดปนมากับปัสสาวะแต่มักไม่ปรากฎชัดเจน ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งอาจมีอาการทางไตที่รุนแรงและกลายเป็นโรคไตเรื้อรังได้ โรคนี้มักเกิดตามหลังการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อที่คอหอย เป็นต้น HSP เป็นโรคในกลุ่มของโรคหลอดเลือดอักเสบทั่วร่าง มีลักษณะเฉพาะคือเกิดมีสารภูมิคุ้มกันเชิงซ้อน ซึ่งมีองค์ประกอบหนึ่งเป็นอิมมูโนกลอบูลินเอ (IgA) ไปจับในตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดกระบวนการนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ในเด็กมักพบว่าเป็นอยู่หลายสัปดาห์ และจะหายได้เองโดยไม่ต้องใช้การรักษาจำเพาะ (ใช้เฉพาะการรักษาบรรเทาอาการ) หนึ่งในสามจะกลับเป็นซ้ำ และหนึ่งในร้อยจะทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ส่วนในผู้ใหญ่จะมีพยากรณ์โรคที่ต่างไปจากเด็ก โดยอาการทางผิวหนังจะเป็นอยู่กว่า 2 ปีโดยเฉลี่ย และมักกลับเป็นๆ หายๆ ได้หลายปี ไม่ได้หายเองอย่างในเด็ก และมักพบภาวะแทรกซ้อนบ่อยกว่า หมวดหมู่:วิทยารูมาติก หมวดหมู่:กุมารเวชศาสตร์ หมวดหมู่:วักกวิทยา หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง หมวดหมู่:โรคซึ่งไม่ทราบสาเหตุ หมวดหมู่:โรคผิวหนังที่สัมพันธ์กับหลอดเลือด.

10 ความสัมพันธ์: การติดเชื้อผิวหนังคอหอยอักเสบปวดท้องปวดในข้อปัสสาวะเป็นเลือดโรคไตเรื้อรังไตเยื่อเมือกเด็ก

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: จ้ำเลือดฮีน็อช–เชินไลน์และการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ใหม่!!: จ้ำเลือดฮีน็อช–เชินไลน์และผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

คอหอยอักเสบ

อหอยอักเสบ (Pharyngitis) เป็นการอักเสบบริเวณด้านหลังของช่องคอ จัดเป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง มักทำให้เกิดอาการเจ็บคอและเป็นไข้ และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยได้แก่ คัดจมูก, ไอ, ปวดหัว, ออกเสียงลำบาก ผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้อยู่ 3-5 วัน โดยอาจมีการอักเสบอื่นๆร่วมด้วย อาทิ โพรงอากาศอักเสบ และ/หรือ หูชั้นกลางอักเสบ ไวรัสคือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการคอหอยอักเสบ เด็ก 25% และผู้ใหญ่ 10% ที่เกิดอาการนี้มาสาเหตุมาจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส ส่วนสาเหตุอื่นๆได้แก่แบคทีเรียจำพวก หนองใน หรือ เห็ดรา หรือสารระคายเคืองจำพวก สารในบุหรี่ เกษรดอกไม้ เป็นต้น.

ใหม่!!: จ้ำเลือดฮีน็อช–เชินไลน์และคอหอยอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

ปวดท้อง

อาการปวดท้องเป็นอาการพบบ่อยอย่างหนึ่ง สัมพันธ์ทั้งกับโรคชั่วคราวไม่รุนแรงและภาวะที่รุนแรงมาก สาเหตุทั่วไปของอาการปวดท้องมีกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบและกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น ในผู้ป่วยหนึ่งในสาม สาเหตุแน่ชัดไม่ชัดเจน ประมาณร้อยละ 10 มีภาวะพื้นเดิมที่รุนแรงมาก เช่น ไส้ติ่งอักเสบ การรั่วหรือแตกของท่อเลือดแดงส่วนท้องโป่งพอง ถุงยื่นอักเสบหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก การหาสาเหตุของอาการปวดท้องอาจยากได้ เพราะมีหลายโรคทำให้เกิดอาการนี้.

ใหม่!!: จ้ำเลือดฮีน็อช–เชินไลน์และปวดท้อง · ดูเพิ่มเติม »

ปวดในข้อ

อาการปวดในข้อ (arthralgia) เป็นอาการที่อาจเกิดจากการบาดเจ็บ การติดเชื้อ การอักเสบ หรือภาวะแพ้ยาก็ได้ ตาม MeSH แล้ว คำนี้ใช้เพื่อแยกจากคำว่า "ข้ออักเสบ" (arthritis) เพื่อระบุว่าอาการเจ็บข้อนี้ไม่ได้เกิดจากการอักเสบของข้อ หมวดหมู่:วิทยารูมาติก.

ใหม่!!: จ้ำเลือดฮีน็อช–เชินไลน์และปวดในข้อ · ดูเพิ่มเติม »

ปัสสาวะเป็นเลือด

ปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria) คือการที่มีเม็ดเลือดแดงปะปนอยู่ในปัสสาวะ มีทั้งแบบเห็นได้ด้วยตาเปล่า (gross hematuria) และแบบที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ (microscopic hematuria) หรือใช้ชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการในการตรวจ เลือดที่ปะปนในปัสสาวะนี้อาจมีที่มาได้จากทุกส่วนของทางเดินปัสสาวะ ตั้งแต่ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อปัสสาวะ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ นิ่วไต หรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น.

ใหม่!!: จ้ำเลือดฮีน็อช–เชินไลน์และปัสสาวะเป็นเลือด · ดูเพิ่มเติม »

โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังคือภาวะซึ่งมีค่อยๆ มีการเสื่อมของการทำงานของไตเป็นเวลานาน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการของการที่ไตทำงานเสื่อมลงนั้นเกือบทั้งหมดเป็นอาการซึ่งไม่มีความจำเพาะ อาจมีอาการเพียงความรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่รู้สึกอยากอาหารได้ ส่วนใหญ่การวินิจฉัยไตวายเรื้อรังจะพบจากการตรวจคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยงของการเป็นโรคไต เช่น ผู้ป่วยความดันเลือดสูง เบาหวาน หรือผู้ที่มีญาติเป็นโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบเมื่อผู้ป่วยมีอาการจากภาวะแทรกซ้อนของโรคไต เช่น โรคของระบบหัวใจหลอดเลือด ซีด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น.

ใหม่!!: จ้ำเลือดฮีน็อช–เชินไลน์และโรคไตเรื้อรัง · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: จ้ำเลือดฮีน็อช–เชินไลน์และไต · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อเมือก

ื่อเมือก (mucous membranes, mucosa) เป็นชั้นที่บุผิวที่มักเจริญมาจากเอนโดเดิร์ม (endoderm) ปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อบุผิว มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูดซึมและหลั่งสาร เยื่อเมือกจะดาดอยู่ที่หลายช่องว่างของอวัยวะซึ่งติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกและอวัยวะภายใน เยื่อเมือกในหลายที่ที่ติดต่อมาจากผิวหนัง เช่นที่รูจมูก (nostril), ริมฝีปาก, หู บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และทวารหนัก สารข้นเหนียวที่หลั่งออกมาจากเยื่อเมือกและต่อมเรียกว่า เมือก หรือมูก (mucus) ช่องว่างภายในร่างกายที่พบเยื่อเมือกนี้รวมถึงส่วนใหญ่ของระบบทางเดินหายใจ ลึงค์ (ส่วนหัวขององคชาต) และส่วนหัวของคลิตอริส และภายในของหนังหุ้มปลายองคชาต (prepuce หรือ foreskin) ต่างเป็นเยื่อเมือก ไม่ใช่ผิวหนัง.

ใหม่!!: จ้ำเลือดฮีน็อช–เชินไลน์และเยื่อเมือก · ดูเพิ่มเติม »

เด็ก

็กในโรงเรียนแห่งหนึ่ง เด็ก หมายถึง มนุษย์ที่อยู่ระหว่างการเกิดและวัยแรกรุ่น ส่วนคำจำกัดความในทางกฎหมาย "เด็ก" หมายถึง ผู้เยาว์ หรือบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าประชากรส่วนใหญ่ คำว่า "เด็ก" ยังอาจใช้อธิบายความสัมพันธ์กับผู้ปกครองหรือต่ออำนาจหน้าที่ หรือแสดงความเป็นส่วนหนึ่งในสกุล เผ่าหรือศาสนา และความหมายอื่น.

ใหม่!!: จ้ำเลือดฮีน็อช–เชินไลน์และเด็ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Henoch-Schonlein purpuraHenoch–Schonlein purpuraHenoch–Schönlein purpuraจ้ำเลือดฮีน็อช-เชินไลน์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »