เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จ้าวนักเลง

ดัชนี จ้าวนักเลง

้าวนักเลง เป็นภาพยนตร์ไทย ฟิล์ม 16 มม., สี ที่สร้างจากนวนิยายของ เศก ดุสิต กำกับโดย ประทีป โกมลภิส สร้างโดย ทัศไนยภาพยนตร์ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา และ อมรา อัศวนนท์ ร่วมด้วย ปัญจะ ศุทธรินทร์, เชาว์ แคล่วคล่อง, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ เข้าฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.

สารบัญ

  1. 20 ความสัมพันธ์: ชาติเสือพ.ศ. 2502ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทยภาพยนตร์ไทยภาษาไทยมิตร ชัยบัญชาศรินทิพย์ ศิริวรรณสมพงษ์ พงษ์มิตรอมรา อัศวนนท์อวสานอินทรีแดงอินทรีทองอินทรีแดงจ้าวอินทรีทับสมิงคลาประเทศไทยปีศาจดำนวนิยายน้ำเงิน บุญหนักเริงชัย ประภาษานนท์7 มีนาคม

ชาติเสือ

ติเสือ เป็นภาพยนตร์ไทยออกฉายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2501 ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงและศาลาเฉลิมบุรี สร้างจากบทประพันธ์ของ “อรวรรณ” (เลียว ศรีเสวก) กำกับการแสดงโดยประทีป โกมลภิส ถือเป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของพระเอกมิตร ชัยบัญชา รับบทเป็นไวย ศักดา โดยแสดงคู่กับเรวดี ศิริวิไล ร่วมด้วยวิน วันชัย ดาวร้ายของเรื่องกับน้ำเงิน บุญหนัก ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาคต่อของภาพยนตร์เรื่อง ไพรกว้าง ที่เกชา เปลี่ยนวิถีเคยแสดงไว้เมื่อปี..

ดู จ้าวนักเลงและชาติเสือ

พ.ศ. 2502

ทธศักราช 2502 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1959 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู จ้าวนักเลงและพ.ศ. 2502

ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย

นข้อมูลภาพยนตร์ไทย (Thai Film Database) เป็นฐานข้อมูลออนไลน์รวบรวมเกี่ยวกับเรื่องราวของ นักแสดง ผู้กำกับ และบุคคลที่เกี่ยวข้องในวงการภาพยนตร์ไทย เป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิหนังไทย และเว็บไซต์ http://www.thaifilm.com เว็บไซต์ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย เริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่ปี..

ดู จ้าวนักเลงและฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย

ภาพยนตร์ไทย

นตร์ไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย"" เว็บไซต์ rimpingfunds.com พ.ศ.

ดู จ้าวนักเลงและภาพยนตร์ไทย

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ดู จ้าวนักเลงและภาษาไทย

มิตร ชัยบัญชา

มิตร ชัยบัญชา (28 มกราคม พ.ศ. 2477 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513) หรือชื่อจริง พันจ่าอากาศโท พิเชษฐ์ ชัยบัญชา (นามสกุลเดิม พุ่มเหม) เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงปล..

ดู จ้าวนักเลงและมิตร ชัยบัญชา

ศรินทิพย์ ศิริวรรณ

รินทิพย์ ศิริวรรณ นักแสดงอาวุโส ผู้เคยรับบทนำในภาพยนตร์ โรงแรมนรก ของ รัตน์ เปสตันยี คู่กับชนะ ศรีอุบล และสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 3 ครั้ง เป็นรางวัลนักแสดงประกอบหญิง 2 ครั้ง จากเรื่อง ขบวนเสรีจีน (2502) และ ลูกอีสาน (2525) และรางวัลตลกหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2529) ระยะหลังหันมาแสดงละครโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นดาราหน้าตาย ไม่ค่อยยิ้ม จึงมักได้รับบทแม่ บทที่เป็นที่จดจำคือ บทหม่อมแม่ ของคุณชายกลาง ในเรื่องบ้านทรายทอง ฉบับจารุณี สุขสวัสดิ์-พอเจตน์ แก่นเพชร ศรินทิพย์ มีชื่อจริงว่า ไพลิน คอลลิน เกิดที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ.

ดู จ้าวนักเลงและศรินทิพย์ ศิริวรรณ

สมพงษ์ พงษ์มิตร

มพงษ์ พงษ์มิตร (8 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 – 30 พฤษภาคม 2544) เป็นนักแสดงตลกชาวไทย ได้รับเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ในปี พ.ศ.

ดู จ้าวนักเลงและสมพงษ์ พงษ์มิตร

อมรา อัศวนนท์

อมรา อัศวนนท์ อมรา อัศวนนท์ หรือ อมรา บุรานนท์ (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2480) อดีตรองนางสาวไทยประจำปี..

ดู จ้าวนักเลงและอมรา อัศวนนท์

อวสานอินทรีแดง

อวสานอินทรีแดง เป็นภาพยนตร์ไทย 16 มม.

ดู จ้าวนักเลงและอวสานอินทรีแดง

อินทรีทอง

อินทรีทอง เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี..

ดู จ้าวนักเลงและอินทรีทอง

อินทรีแดง

อินทรีแดง เป็นบทประพันธ์ซูเปอร์ฮีโร่ฉบับไทยของ เศก ดุสิต โดยมีตัวเอกคือ อินทรีแดง หรือ โรม ฤทธิไกร บทประพันธ์เรื่องนี้ เศก ดุสิตได้เริ่มเขียนขึ้นในปี พ.ศ.

ดู จ้าวนักเลงและอินทรีแดง

จ้าวอินทรี

จ้าวอินทรี เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในเมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2511 สร้างจากบทประพันธ์ของ เศก ดุสิต เรื่องอินทรีแดง กำกับ เขียนบทและถ่ายภาพโดยดรรชนี (ฉลอง ภักดีวิจิตร) นำแสดงโดยมิตร ชัยบัญชา พิศมัย วิไลศักดิ์ ภาพยนตร์เนื้อหามาจากนิยายอินทรีแดงตอนที่ 5 ที่ชื่อ ภูตมรณะ โดย จ้าวอินทรี มีเรื่องราวเกี่ยวกับ อินทรีแดง หรือ โรม ฤทธิไกร (มิตร ชัยบัญชา) ที่กลับมาปราบเหล่าอธรรมทำลายขบวนการขายชาติ ในนาม ภูตมรณะ โดยมีคู่หูคือนางแมวป่า หรือ วาสนา (พิศมัย วิไลศักดิ์) คนรักของโรมนั่นเอง หมวดหมู่:ภาพยนตร์ไทย หมวดหมู่:ภาพยนตร์แอ็คชั่น หมวดหมู่:ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ.

ดู จ้าวนักเลงและจ้าวอินทรี

ทับสมิงคลา

ทับสมิงคลา เป็นภาพยนตร์ไทย 16 มม.

ดู จ้าวนักเลงและทับสมิงคลา

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ดู จ้าวนักเลงและประเทศไทย

ปีศาจดำ

ปีศาจดำ เป็นภาพยนตร์ไทยฟิล์มสี 16 มม.

ดู จ้าวนักเลงและปีศาจดำ

นวนิยาย

นวนิยาย เป็นรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมลายลักษณ์ แต่งในรูปของร้อยแก้ว มีลักษณะแตกต่างจากเรื่องแต่งงงแบบเดิม ที่เรียกว่า นิยาย หรือนิทาน ที่เรียกว่า "นวนิยาย" ก็เพราะถือเป็นนิยายแบบใหม่ (novel) ตามแบบตะวันตก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาพูดโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "นิยาย" ซึ่งกะทัดรัดกว่า โดยคำว่า "นิยาย" เป็นคำมาจากภาษาเขมรที่ออกเสียงว่า "นิเยย" (និយាយ) หมายถึง "พูด" นวนิยายนั้น เป็นเรื่องราวที่มีลักษณะสมจริงมากกว่านิทานหรือนิยายแบบเดิม บางครั้งอาศัยฉากหรือเหตุการณ์จริง หรืออิงความเป็นจริง มีบทสนทนา และบรรยายเหตุการณ์อย่างปุถุชนทั่วไป.

ดู จ้าวนักเลงและนวนิยาย

น้ำเงิน บุญหนัก

น้ำเงิน บุญหนัก หรือชื่อจริงว่า สวง จารุวิจิตร และชื่อเล่นว่า เปี๊ยก (เกิด 24 มกราคม พ.ศ. 2483) เป็นนักแสดงและนักพากย์ชาวไทย จบการศึกษาจากโรงเรียนขัตติยาณีผดุงศึกษา เข้าสู่วงการการแสดงครั้งแรกเมื่อปี 2499 จากการชักนำของ ม.ล.ทรงสอางค์ ทิฆัมพร ผลงานแรกคือภาพยนตร์เรื่อง สาปสวรรค์ เมื่อปี..

ดู จ้าวนักเลงและน้ำเงิน บุญหนัก

เริงชัย ประภาษานนท์

ริงชัย ประภาษานนท์ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 -) เป็นนักเขียนชาวไทย เจ้าของนามปากกา "เศก ดุสิต" หรือ ". ดุสิต" มีผลงานเขียนนวนิยายแนวบู๊ และอาชญนิยายที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก มีตัวละครที่เป็นที่รู้จักกันดี ชื่อ "คมน์ พยัคฆราช" ในเรื่อง สี่คิงส์ ครุฑดำ และ "โรม ฤทธิไกร" ในเรื่องชุด อินทรีแดง อินทรีทอง เริงชัย ประภาษานนท์ เกิดที่เขตดุสิต กรุงเทพ เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมนันทนศึกษา เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง โรงเรียนถูกปิด ออกมาทำงานที่โรงไฟฟ้าสามเสน เมื่อโรงไฟฟ้าถูกระเบิดทำลาย ได้งานใหม่เป็นช่างเรียงพิมพ์ในโรงพิมพ์ เริ่มงานเขียนเรื่องสั้น เรื่องแรกชื่อ “พรหมบันดาล” ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร "รัตนโกสินทร์" ใช้นามปากกาว่า “สุริยา” เริงชัย ประภาษานนท์ เริ่มเขียนนวนิยายแนวบู๊ ใช้นามปากกา "เศก ดุสิต" เรื่อง สี่คิงส์ และครุฑดำ ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์อักษรสมิต แล้วเขียนเรื่องในชุด อินทรีแดง ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมจนต้องนำตัวละครจากทั้งสองเรื่อง คือ "คมน์ พยัคฆราช" และ "โรม ฤทธิไกร" มาร่วมงานกันในเรื่อง จ้าวนักเลง ในเวลาต่อมา และเรื่อง พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ ตีพิมพ์ในนิตยสาร "อาทิตย์รายสัปดาห์" กับสำนักพิมพ์อักษรโสภณ ผลงานทั้งหมดถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ นอกจากงานเขียนอาชญนิยาย เริงชัย ประภาษานนท์ ยังมีผลงานเขียนในแนวอื่น ใช้นามปากกา "เกศ โกญจนาศ" "ศิรษา" "ลุงเฉี่อย" ใช้เขียนนิทานพื้นบ้าน และ "ดุสิตา" ใช้เขียนบทกวี เริงชัย ประภาษานนท์ หยุดเขียนนวนิยายตั้งแต่ พ.ศ.

ดู จ้าวนักเลงและเริงชัย ประภาษานนท์

7 มีนาคม

วันที่ 7 มีนาคม เป็นวันที่ 66 ของปี (วันที่ 67 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 299 วันในปีนั้น.

ดู จ้าวนักเลงและ7 มีนาคม