โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จเด็จ กำจรเดช

ดัชนี จเด็จ กำจรเดช

็จ กำจรเดช นักเขียนชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ที่ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ศึกษาที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นครศรีธรรมราช เป็นช่างเขียนรูป เป็นนักแต่งเพลง ร้องเพลง เล่นกีตาร์ พร้อมๆ กับเขียนหนังสือ แปลเรื่องสั้นของตัวเองไว้จำนวนหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลงานของตนเองกับนักเขียนชั้นเยี่ยมของโลก เขาเป็นผู้เขียนหนังสือรวมเรื่องสั้น แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ ซึ่งได้รับรางวัลซีไรท์ ประจำปี 2554 สำหรับรวมเรื่องสั้นของเขา คณะกรรมการวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดยี่ยมแห่งอาเซียน หรือรางวัลซีไรต์ ประจำปีพุทธศักราช 2554 ได้ลงความเห็นว่า เป็นงานเขียนที่มีพลังกระทบใจ นำเสนอประเด็นอันหลากหลายเกี่ยวกับมนุษย์ในสังคมที่มีความซับซ้อน ผู้เขียนได้เสนอการปะทะกันระหว่างความจริงกับความจริงเสมือน ความรู้กับความเชื่อ ตลอดจนความเป็นเรากับความเป็นเขา ผู้เขียนได้สร้างสรรค์กลวิธีการเล่าเรื่องหลายวิธีที่ท้าทายการตีความ เช่น การตัดต่อ การซ้ำ การใช้มุมมอง การเสียดสี การสร้างสัมพันธบท ตลอดจนการสร้างตัวละครที่อยู่ในภาวะความรู้และความไม่รู้ ซึ่งสร้างความคลุมเครือและความลวง กลวิธีเหล่านี้เปิดพื้นที่ให้ผู้อ่านสร้างความหมายได้หลายระดับ กระแสหนังสือมีทั้งดีและไม่ดีในสายตาผู้อ่าน แต่ค่อนข้างดีในสายตานักวิจารณ์ โดยนักเขียนรางวัลรวมเรื่องสั้นซีไรต์ปี 2530 เจ้าของนามปากกาไพฑูรย์ ธัญญา ได้พูดถึงงานของจเด็จว่า "เป็นภาพแทนนักเขียนร่วมสมัยที่แตกต่างกับสังคมยุคก่อน อาจเพราะสังคมที่มีความซับซ้อนกระจัดกระจายและไร้พรมแดน จึงทำให้งานของเขามีความน่าสนใจ" ส่วนสำนักพิมพ์ผจญภัยที่ตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ของจเด็จ พูดถึงงานของเขาว่า "ไปไกลกว่าคำว่า เพื่อชีวิต ซึ่งนักเขียนรุ่นก่อนหน้าเคยทำไว้...".

7 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2518รางวัลซีไรต์จังหวัดสุราษฎร์ธานีจเด็จ กำจรเดชนักเขียนไพฑูรย์ ธัญญา21 พฤศจิกายน

พ.ศ. 2518

ทธศักราช 2518 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1975 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จเด็จ กำจรเดชและพ.ศ. 2518 · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลซีไรต์

ัญลักษณ์ของรางวัลซีไรต์ รางวัลซีไรต์ (S.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (Southeast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: จเด็จ กำจรเดชและรางวัลซีไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ังหวัดสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า สุราษฎร์ฯ ใช้อักษรย่อ สฎ เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่ และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากถึง 108 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากจังหวัดพังงาที่มี 155 เกาะ และจังหวัดภูเก็ตที่มี 154 เกาะ เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พิ้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถใช้ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ เครื่องบิน รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถยนต์ส่วนบุคคล สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุศรีสุราษฎร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทั้งอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล น้ำตก เกาะ แม่น้ำ เขื่อน วัด และพระอารามหลวง เป็นต้นและยังเป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นที่รู้จัก เช่น ไข่เค็มไชยา หอยนางรม และเงาะโรงเรียน ดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวั.

ใหม่!!: จเด็จ กำจรเดชและจังหวัดสุราษฎร์ธานี · ดูเพิ่มเติม »

จเด็จ กำจรเดช

็จ กำจรเดช นักเขียนชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ที่ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ศึกษาที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นครศรีธรรมราช เป็นช่างเขียนรูป เป็นนักแต่งเพลง ร้องเพลง เล่นกีตาร์ พร้อมๆ กับเขียนหนังสือ แปลเรื่องสั้นของตัวเองไว้จำนวนหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลงานของตนเองกับนักเขียนชั้นเยี่ยมของโลก เขาเป็นผู้เขียนหนังสือรวมเรื่องสั้น แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ ซึ่งได้รับรางวัลซีไรท์ ประจำปี 2554 สำหรับรวมเรื่องสั้นของเขา คณะกรรมการวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดยี่ยมแห่งอาเซียน หรือรางวัลซีไรต์ ประจำปีพุทธศักราช 2554 ได้ลงความเห็นว่า เป็นงานเขียนที่มีพลังกระทบใจ นำเสนอประเด็นอันหลากหลายเกี่ยวกับมนุษย์ในสังคมที่มีความซับซ้อน ผู้เขียนได้เสนอการปะทะกันระหว่างความจริงกับความจริงเสมือน ความรู้กับความเชื่อ ตลอดจนความเป็นเรากับความเป็นเขา ผู้เขียนได้สร้างสรรค์กลวิธีการเล่าเรื่องหลายวิธีที่ท้าทายการตีความ เช่น การตัดต่อ การซ้ำ การใช้มุมมอง การเสียดสี การสร้างสัมพันธบท ตลอดจนการสร้างตัวละครที่อยู่ในภาวะความรู้และความไม่รู้ ซึ่งสร้างความคลุมเครือและความลวง กลวิธีเหล่านี้เปิดพื้นที่ให้ผู้อ่านสร้างความหมายได้หลายระดับ กระแสหนังสือมีทั้งดีและไม่ดีในสายตาผู้อ่าน แต่ค่อนข้างดีในสายตานักวิจารณ์ โดยนักเขียนรางวัลรวมเรื่องสั้นซีไรต์ปี 2530 เจ้าของนามปากกาไพฑูรย์ ธัญญา ได้พูดถึงงานของจเด็จว่า "เป็นภาพแทนนักเขียนร่วมสมัยที่แตกต่างกับสังคมยุคก่อน อาจเพราะสังคมที่มีความซับซ้อนกระจัดกระจายและไร้พรมแดน จึงทำให้งานของเขามีความน่าสนใจ" ส่วนสำนักพิมพ์ผจญภัยที่ตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ของจเด็จ พูดถึงงานของเขาว่า "ไปไกลกว่าคำว่า เพื่อชีวิต ซึ่งนักเขียนรุ่นก่อนหน้าเคยทำไว้...".

ใหม่!!: จเด็จ กำจรเดชและจเด็จ กำจรเดช · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียน

นักเขียน คือผู้ที่สร้างงานเขียน อย่างไรก็ตามคำนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ที่เขียนงานสร้างสรรค์หรือเป็นอาชีพ หรือผู้ที่ได้สร้างงานเขียนในลักษณะอื่น ๆ นักเขียนที่มีความชำนาญจะแสดงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อที่จะนำเสนอแนวคิดและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันเทิงคดีหรือสารคดี นักเขียนอาจสร้างผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร สารคดี นักเขียนที่ทำงานเฉพาะมักได้รับการเรียกแตกต่างกัน เช่น กวี นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย นักเขียนบทละคร นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี นักเขียนอื่น ๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: จเด็จ กำจรเดชและนักเขียน · ดูเพิ่มเติม »

ไพฑูรย์ ธัญญา

ฑูรย์ ธัญญา (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 —) เป็นนามปากกาของ รองศาสตราจารย์ ดร.

ใหม่!!: จเด็จ กำจรเดชและไพฑูรย์ ธัญญา · ดูเพิ่มเติม »

21 พฤศจิกายน

วันที่ 21 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 325 ของปี (วันที่ 326 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 40 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จเด็จ กำจรเดชและ21 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »