โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จุดเดือด

ดัชนี จุดเดือด

ือดของธาตุหรือสสารเป็นอุณหภูมิซึ่งความดันไอของของเหลวเท่ากับความดันของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบของเหลวนั้น ของเหลวในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสุญญากาศมีจุดเดือดต่ำกว่าของเหลวที่ความดันบรรยากาศ ของเหลวในสิ่งแวดล้อมความดันสูงจะมีจุดเดือดสูงกว่าของเหลวที่ความดันบรรยากาศ จึงอาจกล่าวได้ว่า จุดเดือดของของเหลวมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับความดันของสิ่งแวดล้อม (ซึ่งมักแตกต่างกันไปตามความสูง) ในความดันเท่ากัน ของเหลวต่างชนิดกันย่อมเดือดที่อุณหภูมิต่างกัน จุดเดือดปกติ (หรือเรียกว่า จุดเดือดบรรยากาศหรือจุดเดือดความดันบรรยากาศ) ของของเหลวเป็นกรณีพิเศษซึ่งความดันไอของของเหลวเท่ากับความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเล คือ 1 บรรยากาศ ที่อุณหภูมินั้น ความดันไอของของเหลวจะมากพอที่จะเอาชนะความดันบรรยากาศและให้ฟองไอก่อตัวภายในความจุของเหลว จุดเดือดมาตรฐานปัจจุบัน (จนถึง ค.ศ. 1982) นิยามโดย IUPAC ว่าเป็นอุณหภูมิซึ่งเกิดการเดือดขึ้นภายใต้ความดัน 1 บาร.

8 ความสัมพันธ์: บรรยากาศ (หน่วยวัด)บาร์ (หน่วยวัด)มหาวิทยาลัยเพอร์ดูสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศสุญญากาศความกดอากาศความดันความดันไอ

บรรยากาศ (หน่วยวัด)

รรยากาศมาตรฐาน (สัญลักษณ์: atm) เป็นความดันอ้างอิงระหว่างประเทศซึ่งนิยามว่ามีค่าเท่ากับ 101,325 ปาสกาล และอดีตเคยใช้เป็นหน่วยวัดความดันBritish Standard BS 350:2004 Conversion Factors for Units เพื่อการนำไปใช้ จึงใช้หน่วยบาร์ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 105 ปาสกาล แทน ความแตกต่างประมาณ 1% นี้ไม่สำคัญมากนักสำหรับการนำไปใช้หลายกรณี และอยู่ในพิสัยผิดพลาดของเครื่องมือวัดความดันมาตรฐาน.

ใหม่!!: จุดเดือดและบรรยากาศ (หน่วยวัด) · ดูเพิ่มเติม »

บาร์ (หน่วยวัด)

ร์ (bar) คือหน่วยวัดความดัน ถึงไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ก็ได้ยอมรับการใช้งานกับหน่วยเอสไออื่น ๆ หน่วยบาร์เป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการอธิบายความดัน เพราะว่ามีค่าเหมือนกันกับความดันบรรยากาศ สามารถใช้หน่วยนี้ได้อย่างถูกกฎหมายในกลุ่มสหภาพยุโรป British Standard BS 350:2004 Conversion Factors for Units.

ใหม่!!: จุดเดือดและบาร์ (หน่วยวัด) · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเพอร์ดู

แครนเนิร์ต มหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue University) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลโดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมือง เวสต์ลาเฟียตต์ ในรัฐอินดีแอนา ซึ่งอยู่เหนือแม่น้ำวอแบช เพอร์ดูมีชื่อเสียงในด้าน วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ บริหารธุรกิจ ภูมิสถาปัตยกรรม และการจัดการโรงแรม ในปี 2551 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ถูกจัดอันดับที่ 10 ของประเทศ โดยวิศวกรรมอวกาศอยู่อันดับ 5 ขณะที่ด้านวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมเครื่องกล อยู่ที่อันดับ 7 ของประเทศ และในคณะวิทยาศาสตร์ เคมีวิเคราะห์คงอยู่ที่อันดับ 2 ในขณะที่ด้านสถิติศาสตร์ขึ้นมาเป็นอันดับ 10 และด้านระบบคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ได้ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 16, 18, 19, และ 19 ของประเทศตามลำดับ นักศึกษาในเพอร์ดูมีประมาณ 38,000 คน (ปี พ.ศ. 2551).

ใหม่!!: จุดเดือดและมหาวิทยาลัยเพอร์ดู · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ

หภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry, ย่อ: IUPAC /ไอยูแพ็ก/) เป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วยองค์กรที่เป็นตัวแทนของนักเคมีในแต่ละประเทศ สหภาพฯ เป็นสมาชิกของสภาสหภาพวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (ICSU) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานบริหาร หรือที่รู้จักกันในชื่อ "สำนักเลขาธิการ IUPAC" ตั้งอยู่ที่อุทยานสามเหลี่ยมวิจัย รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา สำนักงานบริหารแห่งนี้นำโดยผู้อำนวยการบริหารของ IUPAC IUPAC ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: จุดเดือดและสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

สุญญากาศ

ห้องสุญญากาศขนาดใหญ่ สุญญากาศ (vacuum มาจากภาษาละตินแปลว่า ว่างเปล่า) คือปริมาตรของช่องว่างซึ่งไม่มีสสารอยู่ภายใน เหมือนกับความดันแก๊สที่น้อยกว่าความดันบรรยากาศมาก ๆ ในความเป็นจริงเราไม่สามารถทำให้ปริมาตรของช่องว่างว่างเปล่าได้อย่างสมบูรณ์ที่เรียกว่า สุญญากาศสมบูรณ์ (perfect vacuum) ซึ่งมีความดันแก๊สเป็นศูนย์ สุญญากาศสมบูรณ์จึงเป็นแนวความคิดที่ไม่สามารถสังเกตการณ์ได้ในทางปฏิบัติ นักฟิสิกส์มักจะถกเถียงเกี่ยวกับผลการทดลองในอุดมคติว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสุญญากาศสมบูรณ์ โดยใช้คำว่าสุญญากาศแทนสุญญากาศสมบูรณ์ และใช้คำว่า สุญญากาศบางส่วน (partial vacuum) แทนความหมายของสุญญากาศที่เกิดขึ้นได้จริง คุณภาพของสุญญากาศ หมายถึงระดับของสภาวะที่เข้าใกล้สุญญากาศสมบูรณ์ ความดันของแก๊สที่เหลืออยู่จะถูกใช้เป็นตัววัดคุณภาพของสุญญากาศเป็นหลัก โดยการวัดในหน่วยทอรร์ (Torr) หรือหน่วยเอสไออื่น ๆ ความดันแก๊สที่ยิ่งเหลือน้อยจะหมายถึงคุณภาพที่ยิ่งมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีตัวแปรอื่นที่ต้องตัดออกในภายหลัง ทฤษฎีควอนตัมได้กำหนดขอบเขตสำหรับคุณภาพของสุญญากาศที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จึงทำให้คาดเดาได้ว่าไม่มีปริมาตรของช่องว่างใดที่จะทำให้เป็นสุญญากาศได้อย่างสมบูรณ์ อวกาศเป็นสภาพสุญญากาศที่มีคุณภาพสูงโดยธรรมชาติ และสุญญากาศที่มีคุณภาพสูงกว่านั้นสามารถสร้างขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน สำหรับสุญญากาศคุณภาพต่ำได้ถูกใช้เพื่อการดูดและการสูบมากว่าหลายพันปีแล้ว สุญญากาศเป็นหัวข้อทางปรัชญาที่พบได้บ่อยตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำการศึกษาอย่างจริงจังจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 17 เอวันเจลิสตา ตอร์รีเชลลี (Evangelista Torricelli) นักฟิสิกส์ชาวอิตาลีได้สร้างสุญญากาศขึ้นในห้องทดลองเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1643 และเทคนิคการทดลองอื่น ๆ ก็เป็นผลการพัฒนามาจากทฤษฎีเกี่ยวกับความดันบรรยากาศของเขา ต่อมาสุญญากาศกลายเป็นเครื่องมือที่มีค่าในอุตสาหกรรมการผลิตหลอดไฟและหลอดสุญญากาศในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเทคโนโลยีการสร้างสุญญากาศก็เริ่มแผ่ขยายไปในวงกว้าง คำว่า สุญญากาศ ในภาษาไทยมาจากคำสนธิ สุญญ + อากาศ รวมกันแปลว่า ไม่มีอากาศ หมวดหมู่:กระบวนการทางอุตสาหกรรม หมวดหมู่:แก๊ส หมวดหมู่:ความไม่มี หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์.

ใหม่!!: จุดเดือดและสุญญากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ความกดอากาศ

'ความดันบรรยากาศความกดอากาศ, ความดันอากาศหรือเป็น ความกดดันอยู่จุดใดหนึ่งของชั้นบรรยากาศของโลก โดยทั่วไปความกดอากาศจะประมาณเท่ากับความกดดันที่เกิดขึ้นย้อนน้ำหนักของอากาศอยู่บนจุดนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า จุดที่มีความกดอากาศต่ำจะมีอากาศที่มีมวลสารต่ำกว่าจะอยู่ข้างบนนั้น ด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน ความกดอากาศจะต่ำลงเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศที่ความสูงระดับน้ำทะเล จะเท่ากับ 1 atm (หนึ่งหน่วยบรรยากาศ) นั่นก็คือ 760 mmHg (มิลลิเมตรปรอท)นั่นเอง.

ใหม่!!: จุดเดือดและความกดอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ความดัน

วามดัน คือ แรงที่กระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ภาพจำลอง–ความดันที่เกิดขึ้นจากการชนของอนุภาคในภาชนะปิด ความดันที่ระดับต่าง ๆ (หน่วยเป็น บาร์) ความดัน (pressure; สัญลักษณ์ p หรือ P) เป็นปริมาณชนิดหนึ่งในทางฟิสิกส์ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำตั้งฉากซึ่งทำโดยของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ต่อพื้นที่ของสารใด ๆ (ของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส) ความดันเป็นปริมาณสเกลาร์ ซึ่งเป็นปริมาณที่มีแต่ขนาดไม่มีทิศทาง จากความหมายของความดันข้างต้นสามารถเขียนเป็นสูตรคณิตศาสตร์ (โดยทั่วไป) ได้ดังนี้ กำหนดให้ เนื่องจาก F มีหน่วยเป็น "นิวตัน" (N) และ A มีหน่วยเป็น "ตารางเมตร" (m2) ความดันจึงมีหน่วยเป็น "นิวตันต่อตารางเมตร" (N/m2; เขียนในรูปหน่วยฐานว่า kg·m−1·s−2) ในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) มีการคิดค้นหน่วยของความดันขึ้นใหม่ เรียกว่า ปาสกาล (pascal, Pa) และกำหนดให้หน่วยชนิดนี้เป็นหน่วยเอสไอสำหรับความดัน โดยให้ 1 ปาสกาลมีค่าเท่ากับ 1 นิวตันต่อตารางเมตร (หรือ แรง 1 นิวตัน กระทำตั้งฉากกับพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร) เพื่อให้เห็นภาพ ความดัน 1 ปาสกาลจะมีค่าประมาณ แรงกดของธนบัตรหนึ่งดอลลาร์ที่วางอยู่เฉย ๆ บนโต๊ะราบ ซึ่งนับว่าเป็นขนาดที่เล็กมาก ดังนั้นในชีวิตประจำวัน ความดันทั้งหลายมักมีค่าตั้งแต่ "กิโลปาสกาล" (kPa) ขึ้นไป โดยที่ 1 kPa.

ใหม่!!: จุดเดือดและความดัน · ดูเพิ่มเติม »

ความดันไอ

วามดันไอ (vapor pressure) คือ ความดัน (ถ้าไอถูกผสมด้วยก๊าซอื่น เรียก ความดันย่อย) ของไอ (ไอนี้เกิดจากโมเลกุลหรืออะตอมหนีจากของเหลวหรือของแข็ง) ที่อุณหภูมิกำหนดสำหรับสารเฉพาะ มีความดันที่ซึ่งไอของสารนั้นอยู่ในจุด สมดุล กับสถานะที่เป็น ของเหลว หรือ ของแข็ง ของมัน นี่คือ ความดันไอสมดุล (equilibrium vapor pressure) หรือ ความดันไออิ่มตัว (saturation vapor pressure) ของสาร ที่อุณหภูมินั้น คำว่าความดันไอบ่อยครั้งเข้าใจว่าเป็น ความดันไออิ่มตัว สารที่มีความดันไอสูงที่อุณหภูมิปกติเราเรียกภาวการณ์นี้ว่าระเหย (volatile).

ใหม่!!: จุดเดือดและความดันไอ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »