โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มีรังชีดูวาลี

ดัชนี มีรังชีดูวาลี

มีรังชีดูวาลี มีรังชีดูวาลี (Mirante do Vale "จุดชมวิวของหุบเขา") เป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในประเทศบราซิล เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) และเปิดทำการเมื่อ ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) โดยมีความสูง 170 เมตร หรือ 558 ฟุต และมีทั้งหมด 51 ชั้น ตั้งอยู่ที่เมืองเซาเปาลู ประเทศบราซิล.

5 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2503พ.ศ. 2509ตึกระฟ้าประเทศบราซิลเซาเปาลู

พ.ศ. 2503

ทธศักราช 2503 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1960 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: มีรังชีดูวาลีและพ.ศ. 2503 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2509

ทธศักราช 2509 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1966 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: มีรังชีดูวาลีและพ.ศ. 2509 · ดูเพิ่มเติม »

ตึกระฟ้า

ูร์จคาลิฟา ตึกระฟ้าที่สูงที่สุดของโลก ตั้งอยู่ที่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตึกระฟ้า (skyscraper) ในยุโรปจะหมายถึงตึกที่มีความสูง 152.4 เมตรขึ้นไป (แต่กับทวีปอื่นๆ จะใช้มาตรฐานที่แตกต่างกันไป) โดยตึกระฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นสำนักงาน โรงแรม หรือที่อยู่อาศัย ในช่วงเวลาคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น ยังไม่มีตึกที่สูงเกินกว่า 6 ชั้น เนื่องจากผู้คนไม่ต้องการเดินขึ้นบันไดสูง และไม่สามารถปั๊มน้ำให้สูงเกินกว่า 15 เมตรได้ ตึกระฟ้าเริ่มเป็นไปได้หลังจากความสำเร็จในการพัฒนาเหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก และปั๊มน้ำ รวมถึงการสร้างลิฟต์ ในปัจจุบันสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกคือ ตึกบูร์จคาลิฟา ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีความสูงทั้งสิ้น 828 เมตร (2,717 ฟุต) มีจำนวน 163 ชั้น โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: มีรังชีดูวาลีและตึกระฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: มีรังชีดูวาลีและประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

เซาเปาลู

นตัวเมืองเซาเปาลู right right right เซาเปาลู (São Paulo) เป็นเมืองหลวงของรัฐเซาเปาลู ประเทศบราซิล เมืองนี้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกตามจำนวนประชากร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งที่สุดในประเทศ ชื่อเซาเปาลูเป็นภาษาโปรตุเกส มีความหมายว่า "นักบุญพอล" เซาเปาลูมีเนื้อที่ 1,523 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 10,886,518 คน ซึ่งทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ และซีกโลกใต้ (เขตมหานคร: ประมาณ 19 ล้านคน) เซาเปาลูเดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1554 โดยคณะมิชชันนารีนิกายเยซูอิตชาวโปรตุเกส ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 โปรตุเกสก็เริ่มเข้ามาขยายอำนาจในอเมริกาใต้ (ภายในเขตที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาตอร์เดซียัส) โดยส่งคณะนักสำรวจเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้และค้นหาทองคำ เพชร และทรัพยากรอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้เซาเปาลูขยายตัวมากขึ้น จนในที่สุดก็ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1711 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คลื่นผู้อพยพจากประเทศอิตาลี โปรตุเกส สเปน เยอรมนี และประเทศอื่น ๆ ก็เริ่มเข้ามาในเซาเปาลูเพื่อทำงานในไร่กาแฟภายในรัฐ จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การค้ากาแฟตกต่ำลง ผู้ประกอบการจึงเริ่มหันไปลงทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมในเมือง โดยในครึ่งแรกของศตวรรษ นอกจากชาวยุโรปแล้ว ชาวญี่ปุ่นและชาวอาหรับก็อพยพเข้ามาด้วย และตลอดศตวรรษเดียวกันนี้ เศรษฐกิจที่เฟื่องฟูของเซาเปาลูก็เป็นตัวดึงดูดให้ประชากรจากรัฐอื่น ๆ ที่ยากจนในบราซิลเข้ามาทำงานในเมืองนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: มีรังชีดูวาลีและเซาเปาลู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มิรันเต โด วาเลจุดชมวิวของหุบเขา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »