โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จีเอชเอ็น-45

ดัชนี จีเอชเอ็น-45

ีเอชเอ็น-45 (GHN-45) ย่อมาจากคำว่า Gun, Howitzer, Noricum เป็นปืนใหญ่วิถีราบ ขนาด 155 มิลลิเมตร แบบลากจูง ออกแบบโดยเจอรัลด์ บูล และพัฒนาขึ้นโดยบริษัทนอริคัม (Noricum) ประเทศออสเตรีย โดยปรับปรุงให้มีลำกล้องปืนยาวขึ้นจาก 39 คาลิเบอร์เป็น 45 คาลิเบอร์ ทำให้มีระยะยิงไกลสุดเพิ่มเป็น 39,600 เมตร โดยมีการผลิตออกมาเป็น 2 รุ่น คือ.

4 ความสัมพันธ์: กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชาสงครามอิรัก–อิหร่านสงครามอ่าวเปอร์เซียสงครามเย็น

กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา

วามขัดแย้งไทย-กัมพูชา เป็นเหตุการณ์ที่เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: จีเอชเอ็น-45และกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิรัก–อิหร่าน

งครามอิรัก–อิหร่าน (Iran–Iraq War) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 1980 ถึงสิงหาคม 1988 มีการประเมินว่าสงครามครั้งนี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกันกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.6 ล้านล้านบาท) สงครามอิรัก–อิหร่านเริ่มขึ้นเมื่ออิรักทำการรุกรานอิหร่านในวันที่ 22 กันยายน 1980 อันเนื่องมาจากข้อพิพาททางชายแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลังการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านและประกาศตนเป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิมชีอะฮ์อันเป็นคนส่วนมากในอิรักขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกายซุนนี ขณะเดียวกัน อิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทนที่อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสที่อิหร่านกำลังวุ่นวายนี้เข้าโจมตีอิหร่านโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึดครองยังได้ไม่มากก็ถูกโต้กลับอย่างรวดเร็ว อิหร่านสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตลอดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรัก แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ร้องให้มีการหยุดยิงนับสิบๆครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988 และสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับคำขอหยุดยิง ซึ่งภายหลังข้อสรุปนี้ กองทัพอิหร่านต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการถอนกำลังออกจากดินแดนอิรักโดยยึดเอาหลักเขตแดนก่อนสงคราม เชลยสงครามคนสุดท้ายของสงครามนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศตนในปี 2003 สงครามครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่าหนึ่งล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายใดได้หรือสูญเสียดินแดนเลย สงครามครั้งนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแง่ของกลยุทธ ทั้งการใช้แท่นปืนกล, การโจมตีแบบคลื่นมนุษย์, การใช้อาวุธเคมีจำนวนมากโดยกองทัพอิรัก ประเทศอิสลามจำนวนมากอยู่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยการให้เงินกู้, ยุทโธปกรณ์ และภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน ซึ่งในระหว่างสงคราม มีการวิจารณ์จากสื่อว่า "ประชาคมโลกต่างพากันเงียบกริบตอนอิรักใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงต่ออิหร่านและชาวเคิร์ด" และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะประกาศให้อิรักเป็นผู้ก่อสงครามก็จนกระทั่ง 11 ธันวาคม 1991 สิบสองปีให้หลังจากที่อิรักทำการรุกรานอิหร่าน และเป็นเวลาสิบหกเดือนหลังอิรักรุกรานคูเวต ซึ่งบานปลายเป็นสงครามอ่าว.

ใหม่!!: จีเอชเอ็น-45และสงครามอิรัก–อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอ่าวเปอร์เซีย

งครามอ่าวเปอร์เซีย หรือ สงครามอ่าว (Gulf War, 2 สิงหาคม 2533 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ชื่อรหัสปฏิบัติการโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield, 2 สิงหาคม 2533 – 17 มกราคม 2534) เป็นปฏิบัติการนำสู่การสั่งสมกำลังและการป้องกันของซาอุดีอาระเบียและปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm, 17 มกราคม 2534 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ในระยะสู้รบ เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกำลังผสมจาก 34 ชาตินำโดยสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรักหลังการบุกครองและผนวกคูเวตของอิรัก สงครามนี้มีชื่ออื่น เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอ่าวครั้งที่หนึ่ง, สงครามคูเวต, สงครามอิรัก ซึ่งคำว่า "สงครามอิรัก" ต่อมาใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อปี 2546 แทน การยึดครองคูเวตของกองทัพอิรักซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 นั้นถูกนานาชาติประณาม และสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพลันใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช วางกำลังสหรัฐเข้าสู่ซาอุดีอาระเบียและกระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งกำลังของตนไปที่นั้นด้วย มีหลายชาติเข้าร่วมกำลังผสม ซึ่งเป็นพันธมิตรทางทหารที่ใหญ่ที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังทหารของกำลังผสมส่วนใหญ่มาจากสหรัฐ โดยมีซาอุดีอาระเบีย สหราชอาณาจักรและอียิปต์เป็นผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่ตามลำดับ ซาอุดีอาระเบียสมทบเงิน 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าสงคราม 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สงครามนี้มีการริเริ่มการถ่ายทอดข่าวสดจากแนวหน้าของการสู้รบ หลัก ๆ โดยเครือข่ายซีเอ็นเอ็นของสหรัฐ สงครามนี้ยังได้ชื่อเล่นว่า สงครามวิดีโอเกม หลังการถ่ายทอดภาพรายวันจากกล้องบนเครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐระหว่างปฏิบัติการพายุทะเลทราย ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มด้วยทางระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทางเรือเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534 และดำเนินไปห้าสัปดาห์ ตามด้วยการโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะอย่างขาดลอยของกำลังผสม ซึ่งขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตและรุกเข้าดินแดนอิรัก กำลังผสมยุติการบุกและประกาศหยุดยิงหลังการทัพภาคพื้นเริ่ม 100 ชั่วโมง การสู้รบทางอากาศและทางบกจำกัดอยู่ในประเทศอิรัก คูเวตและบางพื้นที่ตรงพรมแดนซาอุดีอาระเบีย ประเทศอิรักปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกำลังผสมและต่ออิสราเอล.

ใหม่!!: จีเอชเอ็น-45และสงครามอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเย็น

กำแพงเบอร์ลินจากฝั่งตะวันตก กำแพงถูกสร้างใน ค.ศ. 1961 เพื่อป้องกันมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหนีและหยุดการหลั่งไหลของแรงงานซึ่งเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการทลายกำแพงใน ค.ศ. 1989 เป็นสัญลักษณ์ว่าสงครามเย็นใกล้ยุติ สงครามเย็น (Cold War Холодная война) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างประเทศในกลุ่มตะวันตก (สหรัฐอเมริกา พันธมิตรเนโท ฯลฯ) และประเทศในกลุ่มตะวันออก (สหภาพโซเวียตและพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ) นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ..

ใหม่!!: จีเอชเอ็น-45และสงครามเย็น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

จีเอชเอ็น 45

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »