โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จิตรคุปต์

ดัชนี จิตรคุปต์

จิตรคุปต์ (चित्रगुप्त, Chitragupta) เป็นชื่อเทพในศาสนาฮินดู มีหน้าที่รักษาทะเบียนของพระยม หลังจากพระพรหมสร้างวรรณะทั้งสี่ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร แล้ว ได้มีบัญชาให้พระยมรักษาทะเบียนการกระทำของสรรพชีวิตที่เกิดขึ้นและจะได้เกิดทั้งบนโลกเบื้องสูง (คือ สวรรค์) และโลกเบื้องต่ำ (คือ มนุษยโลก) พระยมตัดพ้อต่อพระพรหมว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไฉนเลยข้าจะรักษาทะเบียนกรรมของสิ่งมีชีวิตซึ่งเกิดในลักขโยนีทั้งแปดสิบสี่ตลอดทั้งตรีโลกได้เล่า" ("O Lord, how can I alone keep record of the deeds of the beings born into 84 lakh yonis in the three worlds?") พระพรหมทำสมาธิใคร่ครวญเป็นเวลาหนึ่งหมื่นหนึ่งพันปี แล้วลืมพระเนตรขึ้น ปรากฏเป็นบุรุษนายหนึ่งถือปากกาและขวดหมึกไว้พร้อมสะพายดาบไว้กับสะเอวอยู่เฉพาะพักตร์พระพหรม ครั้นแล้ว พระพรหมตรัสต่อเขาว่า "เจ้าเกิดขึ้นแต่กายข้า ฉะนั้น ลูกหลานของเจ้าจงได้ชื่อว่า กายาสทาส ส่วนเจ้านั้นเกิดขึ้นในห้วงคำนึงแห่งข้าและในความลับดำมืด เจ้าจงมีนามว่า จิตรคุปต์ เถิด" ("Thou hast been created from my body, therefore shall thy progeny be known as the Kayasthas. Thou hast been conceived in my mind and in secrecy, thy name shall also be Chitragupta.") จากนั้น พระพรหมทรงมอบหมายให้จิตรคุปต์ทำหน้าที่รักษาทะเบียนของพระยม คัมภีร์ครุฑปุราณ (Garud Puran) ว่า จิตรคุปต์เป็นผู้ประดิษฐ์อักษร โดยมีบทสรรเสริญจิตรคุปต์ว่า "อภิวาทจิตรคุปต์ ผู้ประสาทอักษร" (Chitragupta namastubhyam vedaksaradatre, "Obeisance to Chitragupta, the giver of letters") วันเกิดของจิตรคุปต์นั้น เรียก "ยมทวิติยะ" (Yama Dwitiya) บรรดาผู้เลื่อมใสจะจัดการรื่นเริงต่าง ๆ โดยมีพิธีหลักเรียก "จิตรคุปตชยันตีบูชา" (Chitraguptajayanti Puja) หมวดหมู่:ความเชื่อ.

2 ความสัมพันธ์: พระพรหมพระยม

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ใหม่!!: จิตรคุปต์และพระพรหม · ดูเพิ่มเติม »

พระยม

ระยม พระยมราช หรือ มัจจุราช คือเทพเจ้าแห่งนรกและความตาย ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดี.

ใหม่!!: จิตรคุปต์และพระยม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เจ้าเจตคุปต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »