โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จะละเม็ด

ดัชนี จะละเม็ด

ละเม็ด อาจหมายถึง.

13 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาหางแข็งวงศ์ปลาจะละเม็ดวงศ์ปลาคาราซินวงศ์ปลาปิรันยาวงศ์เต่าทะเลปลาจะละเม็ดปลาจะละเม็ดขาวปลาจะละเม็ดดำปลาจะละเม็ดเทาปลาคู้ไข่เต่าหัวค้อนเต่าทะเล

วงศ์ปลาหางแข็ง

วงศ์ปลาหางแข็ง (Jacks, Pompanos, Horse mackerels, Scads, Trevallies, Crevallies, Tunas) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Carangidae มีรูปร่างลำตัวสั้นหรือค่อนข้างสั้น คอดหางเรียว มีเกล็ดขนาดเล็กแบบราบเรียบ เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ มีเกล็ดแปรรูปขนาดใหญ่ที่บริเวณเส้นข้างลำตัว โดยเฉพาะบริเวณข้อหางเสมือนเกราะ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ส่วนหน้าโค้งงอ ส่วนท้ายอาจมีหรือไม่มีสันกระดูกแข็ง ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือกยาวเรียวครีบหลังมีสองตอนแยกจากกัน ครีบแรกมีเงี่ยงไม่แข็ง บริเวณหน้าครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2 อัน แยกออกมาจากครีบก้น ซึ่งสามารถพับได้ ครีบอกยาวเรียวโค้งแบบรูปเคียว ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก, แอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย ปลาขนาดเล็กจะอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่ง หรือตามแหล่งน้ำจืดหรือน้ำกร่อยใกล้ทะเล เช่น ปากแม่น้ำ, ชะวากทะเล เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงขนาดใหญ่ มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 25-100 เซนติเมตร ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ 2 เมตร แบ่งออกเป็น 30 สกุล ประมาณ 151 ชนิด จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างมากวงศ์หนึ่ง โดยมีการนำไปบริโภคทั้งสด และแปรรูปเป็น ปลากระป๋อง (โดยเฉพาะใช้แทนปลาในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae), ปลาเค็ม เป็นต้น ในน่านน้ำไทย มีหลายชนิด โดยชนิดที่สำคัญ ๆ และเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ปลาสำลี (Seriolina nigrofasciata), ปลาหางแข็ง (Megalaspis cordyla), ปลาหางแข็งบั้ง (Atule mate), ปลาข้างเหลือง (Selaroides leptolepis), ปลากะมง (Caranx sp.), ปลาโฉมงาม (Alectis sp.) และปลาจะละเม็ดดำ (Parastromateus niger) เป็นต้น.

ใหม่!!: จะละเม็ดและวงศ์ปลาหางแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาจะละเม็ด

วงศ์ปลาจะละเม็ด (Butterfish, Harvestfish, Pomfret, Rudderfish, วงศ์: Stromateidae) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) รูปร่างโดยรวมของปลาในวงศ์นี้ มีลำตัวรูปไข่แบนข้างมาก เกล็ดเป็นแบบขอบเรียบขนาดเล็ก ไม่มีครีบท้อง ส่วนหัวเล็กมน ปากเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม ครีบหางเป็นแฉกยาวเว้าลึก มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงในทะเล พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ชายฝั่งของอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้, แอฟริกา และเอเชีย ในแถบอินโด-แปซิฟิก วงศ์ปลาจะละเม็ดแบ่งได้เป็น 3 สกุล (ดูในตาราง) 17 ชนิด จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญมากจำพวกหนึ่ง เช่น ปลาจะละเม็ดขาว (Pampus argenteus), ปลาจะละเม็ดเทา (P. chinensis) อนึ่ง ปลาจะละเม็ดดำ (Parastromateus niger) แม้จะได้ชื่อสามัญว่าเป็นปลาจะละเม็ดเหมือนกัน แต่ไม่จัดอยู่ในวงศ์นี้ แต่ถูกจัดอยู่ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae).

ใหม่!!: จะละเม็ดและวงศ์ปลาจะละเม็ด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาคาราซิน

วงศ์ปลาคาราซิน (Characins, Tetras) หรือ วงศ์ปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่เดิมอยู่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) แต่ว่าปลาในวงศ์นี้เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร หลายสกุล หลายชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Characidae โดยถือเป็นวงศ์หลักของปลาในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ มีหลายร้อยชนิด นิยมอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาที่มีขนาดเล็ก เช่น ปลานีออน (Paracheirodon innesi) มักจะมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ เรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาเตตร้า" เป็นต้น พบกระจายอยู่ทั่วไปทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้ เป็นวงศ์ปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจคือ ใช้บริโภค ซึ่งปลาที่รู้จักกันในแง่นี้ก็คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) เป็นต้น และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม.

ใหม่!!: จะละเม็ดและวงศ์ปลาคาราซิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปิรันยา

วงศ์ปลาปิรันยา เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Serrasalmidae (มีความหมายว่า "วงศ์ปลาแซลมอนที่มีฟันเลื่อย") ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) พบทั้งหมดในปัจจุบัน 16 สกุล (ดูในตาราง) 92 ชนิด ปลาในวงศ์นี้มีชื่อเรียกโดยรวม ๆ กัน เช่น ปลาปิรันยา, ปลาเปคู หรือปลาคู้ และปลาซิลเวอร์ดอลลาร์ เดิมทีเคยเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ใช้ชื่อว่า Serrasalminae (ในปัจจุบันบางข้อมูลหรือข้อมูลเก่ายังใช้ชื่อเดิมอยู่).

ใหม่!!: จะละเม็ดและวงศ์ปลาปิรันยา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เต่าทะเล

วงศ์เต่าทะเล (Marine turtle, Sea turtle, Modern sea turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cheloniidae) เป็นวงศ์ของเต่าในวงศ์ใหญ่ Chelonioidea หรือ เต่าทะเล ใช้ชื่อวงศ์ว่า Cheloniidae มีกระดองที่แบนและยาว เมื่อมองจากด้านหน้าทางตรงจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม ขาคู่หน้าและหลังเปลี่ยนรูปเป็นใบพายเพื่อใช้สำหรับว่ายน้ำ โดยเฉพาะขาคู่หนาที่ยาวกว่าคู่หลัง เพราะใช้ในการเคลื่อนที่ ส่วนขาคู่หลังใช้ควบคุมทิศทางเหมือนหางเสือ การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปบนกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล กระดูกท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอน กระดูกพลาสทรอนที่เชื่อมต่อกับขอบนอกของกระดองหลังอาจมั่นคงหรือไม่มั่นคง ขอบนอกของกระดองหลังมีร่องที่แบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะยืดหยุ่นได้ เต่าทะเลจะใช้ชีวิตตลอดทั้งชีวิตอยู่ในทะเล จะขึ้นมาบนบกก็เพียงเพื่อวางไข่เท่านั้น และไม่มีพฤติกรรมผึ่งแดดเหมือนเต่าน้ำจืด อีกทั้งไม่สามารถหดหัวหรือขาเข้าไปในกระดองได้เหมือนเต่าบกหรือเต่าน้ำจืด เต่าทะเลจะวางไข่ได้เมื่ออายุถึง 25 ปี หรือมากกว่านั้น ทุกชนิดจะวางไข่บนหาดทรายที่เงียบสงบ ปราศจากแสงสี ส่งรบกวน ในเวลากลางคืน ยกเว้นในสกุล Lepidochelys ที่มีพฤติกรรมวางไข่ในเวลากลางวัน เมื่อขึ้นมาบนบกจะไม่สามารถยกตัวเองให้สูงพ้นพื้นได้ ตัวเมียจะวางไข่ได้หลายครั้ง อาจถึง 2-5 ครั้ง ภายในปีเดียว แต่ปริมาณไข่จะมากที่สุดอยู่ในช่วงฤดูสืบพันธุ์ เต่าทะเลสามารถพบได้ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ยกเว้นในแถบอาร์กติกเท่านั้น ปัจจุบันพบทั้งหมด 6 ชนิด 5 สกุล.

ใหม่!!: จะละเม็ดและวงศ์เต่าทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจะละเม็ด

วามหมายอื่นดูที่: จะละเม็ด ปลาจะละเม็ด (Pomfrets) เป็นสกุลของปลาทะเลในสกุล Pampus (/แพม-พัส/) ในวงศ์ปลาจะละเม็ด (Stromatidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ รูปร่างป้อม ค่อนข้างสั้น ลำตัวแบนข้างมาก หัวเล็กมน ปากเล็ก เกล็ดเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม เป็นปลาที่นิยมบริโภค เนื้อมีรสชาติดี จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญจำพวกหนึ่ง มีประเทศไทยพบ 2 ชน.

ใหม่!!: จะละเม็ดและปลาจะละเม็ด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจะละเม็ดขาว

ปลาจะละเม็ดขาว (White pomfret, Silver pomfret) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาจะละเม็ด (Stromateidae) มีรูปร่างป้อมสั้น เกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนหัวป้อมสั้น ตาค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กและเฉียงขึ้น ครีบหลังและครีบก้นมีความยาวของฐานเกือบเท่ากัน ครีบหางเว้า และปลายทั้งสองเรียวยาวเป็นรยางค์ ครีบอกยาว ปลาที่โตเต็มวัยจะไม่มีครีบท้อง เกล็ดมีลักษณะเล็กบางและหลุดง่าย สันหลังสีเทาปนสีขาวเงิน ส่วนที่อยู่ใต้ลงมาจะมีสีจางลง บริเวณท้องจะเป็นสีขาวเงิน ปลายของครีบท้องมีแถบสีดำ ครีบอื่น ๆ สีเหลือง มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 60 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง, เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงทะเลญี่ปุ่น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มักหากินอยู่ตามพื้นหน้าดินที่มีน้ำใส พื้นเป็นทรายปนโคลน บางครั้งเข้าไปหากินในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งในฝั่งอ่าวไทย และบริเวณหมู่เกาะอ่างทองมีอยู่ชุกชุม รวมถึงฝั่งทะเลอันดามันด้วย โดยอาหารที่ชื่นชอบ คือ แมงกะพรุนขนาดเล็ก มีชื่ออื่น ๆ เรียกอีก เช่น "ปลาแปะเชีย" (银鲳) ในภาษาแต้จิ๋ว เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย เช่น นึ่ง, นึ่งบ๊วย, นึ่งซีอิ๊ว หรือทอ.

ใหม่!!: จะละเม็ดและปลาจะละเม็ดขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจะละเม็ดดำ

ปลาจะละเม็ดดำ (Black pomfret) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Parastromateus มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาจะละเม็ดขาว (Pampus argenteus) ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลาจะละเม็ด (Stromateidae) ต่างกันที่มีสีและคอดหางของปลาจะละเม็ดดำจะเป็นสันแข็ง ครีบหางใหญ่และเว้าเล็กน้อย ครีบอกยาวเรียวคล้ายขนของหางไก่ตัวผู้ ลำตัวมีสีเทาปนน้ำตาล ของครีบหลัง เมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีครีบท้อง และครีบหางมีสีดำ มีขนาดโตเต็มที่ได้ 75 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไปประมาณ 30 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูง อาศัยอยู่ในชายฝั่ง, แนวปะการัง และปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ในเขตอินโด-แปซิฟิก, แอฟริกาตะวันออก, ทะเลญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ปลาขนาดเล็กซึ่งยังปรากฏครีบท้องชัดเจน มีชื่อเรียกอื่น อีก เช่น "ปลาโอวเชีย" (黑色鲳) ในภาษาแต้จิ๋ว เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่รสชาติสู้ปลาจะละเม็ดขาวไม่ได้ จึงมีราคาขายที่ถูกกว.

ใหม่!!: จะละเม็ดและปลาจะละเม็ดดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจะละเม็ดเทา

ปลาจะละเม็ดเทา หรือ ปลาเต๋าเต้ย หรือ ปลาจะละเม็ดน้ำลึก (Gray pomfret, Chinese silver pomfret; 灰鯧; พินอิน: Hēi chāng) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาจะละเม็ด ในวงศ์ปลาจะละเม็ด (Stromateidae) มีรูปร่างเหมือนปลาจะละเม็ดชนิดอื่น ต่างกันที่มีขนาดที่ใหญ่กว่า พื้นลำตัวเป็นสีเทา ครีบหลังมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ครีบหางไม่เว้าเป็นรูปส้อม คอดหางสั้น ครีบก้นเป็นรูปสามเหลี่ยม พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียจนถึงญี่ปุ่นตอนเหนือ แต่ไม่พบในนิวกินีหรือออสเตรเลีย นิยมรับประทานกันเป็นปลาเศรษฐกิจเหมือนปลาจะละเม็ดชนิดอื่น แต่ทว่ามีรสชาติที่อร่อยกว่า จึงมีราคาซื้อขายที่แพงกว่ามาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปลาจะละเม็ดขาว (P. argenteus).

ใหม่!!: จะละเม็ดและปลาจะละเม็ดเทา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคู้

ปลาคู้ หรือ ปลาเปคู (Pacu ปากู) หรือที่นิยมเรียกกันในเชิงการเกษตรว่า ปลาจะละเม็ดน้ำจืด เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ในวงศ์ย่อย Serrasalminae หรือวงศ์ย่อยของปลาปิรันยา ปลาคู้มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาปิรันยาซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อยเดียวกัน หากแต่อยู่ต่างสกุลกัน โดยปลาคู้นั้นจะมีรูปร่างที่ใหญ่โตกว่าปลาปิรันยามาก โดยอาจยาวได้ถึง 80-110 เซนติเมตร และอาจหนักได้เกือบ 40 กิโลกรัม และมีพฤติกรรมที่ต่างกัน คือ ปลาคู้จะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยบางครั้งอาจจะขึ้นไปบนผิวน้ำเพื่อรอกินผลไม้หรือลูกไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นได้เลย ขณะที่ปลาปิรันยาจะกินแต่เนื้อเพียงอย่างเดียว อีกประการหนึ่งที่แตกต่างกัน คือ ฟันและกรามของปลาคู้แม้จะแข็งแรงและแหลมคม แต่ก็ไม่เป็นซี่แหลมเหมือนปลาปิรันยา และกรามล่างจะไม่ยื่นยาวออกมาจนเห็นได้ชัด ปลาคู้มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้เช่น อเมซอน, โอรีโนโก เป็นต้น รูปแสดงให้เห็นถึงฟันของปลาคู้ ปลาที่ได้ชื่อว่าเป็น ปลาคู้ จะเป็นปลาที่อยู่ในสกุล Acnodon, Colossoma, Metynnis, Mylesinus, Mylossoma, Ossubtus, Piaractus, Tometes และUtiaritichthys เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจในหลายส่วนของโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย เนื่องจากเป็นปลาที่โตได้เร็วมาก กินเก่ง กินอาหารได้ไม่เลือก อีกทั้งยังพบว่าเป็นปลาที่ช่วยในการกำจัดหอยเชอรี่อันเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญได้อีกด้วย ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อยสามารถปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย อีกทั้งนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย แต่ด้วยความแพร่หลายนี้ ทำให้กลายเป็นปัญหาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในบางพื้นที่ สำหรับในประเทศไทย ชนิดของปลาคู้ที่นำเข้ามาและนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) และปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาคู้ แม้จะได้ชื่อว่าไม่เป็นปลาอันตรายต่อมนุษย์เท่ากับปลาปิรันยา แต่ที่ปาปัวนิวกินีและสหรัฐอเมริกา กลับมีปลาคู้ที่มีพฤติกรรมกัดอัณฑะของผู้ที่ตกปลาหรือลงไปว่ายน้ำในแม่น้ำถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้ว.

ใหม่!!: จะละเม็ดและปลาคู้ · ดูเพิ่มเติม »

ไข่

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: จะละเม็ดและไข่ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าหัวค้อน

ต่าหัวค้อน หรือ เต่าล็อกเกอร์เฮด หรือ เต่าจะละเม็ด (Loggerhead) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caretta caretta จัดเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Caretta ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายเต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) และเต่าตนุ (Chelonia mydas) มาก ต่างกันที่เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้ามี จำนวน 2 คู่ เท่ากับเต่าหญ้า แต่เกล็ดบนกระดองหลังแถวข้างมีจำนวน 5 แผ่นซึ่งต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่น ๆ และรูปทรงของกระดองจะเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้ายและเป็นสันแข็งเห็นชัดเจน กระดองมีสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเหลือง หรือน้ำตาลส้ม ขอบชายโครงมีสันแข็ง ขณะที่ยังเป็นลูกเต่ากระดองจะยกสูง ที่สำคัญเป็นจุดเด่น คือ มีหัวขนาดใหญ่โตอย่างเห็นได้ชัด อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ขาซึ่งเป็นใบพายทั้งคู่หน้าและคู่หลังมีเล็บหนึ่งเล็บในแต่ละข้าง ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดกระดองหลังยาวประมาณ 85 เซนติเมตร กระดองท้อง 60 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัวประมาณ 70 กิโลกรัม กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำมีเปลือกและหอย เป็นอาหารหลัก พบน้อยมากที่มหาสมุทรแปซิฟิก แต่พบมากที่มหาสมุทรแอตแลนติก ในน่านน้ำไทยพบน้อยมาก และไม่พบรายงานว่ามีการขึ้นมาวางไข่เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว แต่ยังพบได้บ้างที่เขตอบอุ่นทางตอนเหนือของออสเตรเลียและทะเลญี่ปุ่น หรืออินโดนีเซีย ในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: จะละเม็ดและเต่าหัวค้อน · ดูเพิ่มเติม »

เต่าทะเล

ต่าทะเล (Sea turtle) เป็นเต่าที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ Chelonioidea ซึ่งวิวัฒนาการจนสามารถอาศัยอยู่ได้ในทะเลตลอดเวลา โดยจะไม่ขึ้นมาบนบกเลย นอกจากการวางไข่ของตัวเมียเท่านั้น.

ใหม่!!: จะละเม็ดและเต่าทะเล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

จะระเม็ดจาระเม็ดจาละเม็ด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »