โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จารึกเบฮิสตูน

ดัชนี จารึกเบฮิสตูน

รึกหลากหลายภาษาบนหน้าผาเขาเบฮิสตูนโดยจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช จารึกเบฮิสตูน (มีทั้งเขียนเป็น Behistun, Bisotun, Bistun หรือ Bisutun; بیستون, เปอร์เซียโบราณ: Bagastana, หมายความว่า "เทวสถาน") เป็นจารึกหลายภาษาโดยใช้อักษรรูปลิ่มและอักษรแอราเมอิกเขียนอยู่บนหน้าผาหุบเขาเบฮิสตูนในจังหวัดเคอร์มานชาห์ ประเทศอิหร่าน มีความสำคัญมากเพราะนักประวัติศาสตร์ใช้ถอดรหัสอักษรรูปลิ่ม จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชตราจารึกนี้ขึ้น ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะเวลาตั้งแต่การราชาภิเษกพระองค์เมื่อฤดูร้อนของปีที่ 522 ก่อน..

8 ความสัมพันธ์: พระอหุระมาซดะภาษาเปอร์เซียโบราณอักษรรูปลิ่มอักษรแอราเมอิกจักรวรรดิอะคีเมนิดดาไรอัสมหาราชประเทศอิหร่านไฮเออโรกลีฟอียิปต์

พระอหุระมาซดะ

ทพมิถรา (ขวา) พระอหุระมาซดะราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 25-6 คือพระเจ้าตามความเชื่อในศาสนาโซโรอัสเตอร์ คำว่า มาซดะ แปลว่า ฉลาด พระเจ้าองค์นี้เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง หรือเทพเจ้าแห่งปัญญา เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งดีทั้งปวง ซึ่งในเปอร์เซียโบราณนับถือเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระเจ้าแห่งความดีจะต้องต่อสู้กับพระเจ้าแห่งความชั่ว จากการค้นคว้าเกี่ยวกับศาสนาโซโรอัสเตอร์ ทำให้เป็นที่กระจ่างชัดว่าศาสดาโซโรอัสเตอร์ได้พยายามทำการต่อสู้กับความงมงายของศาสนาของชาวอารยัน หนึ่งในนั้นก็คือการที่เขาปฏิเสธว่าตนมีส่วนร่วมในการชวนเชื่อสู่พระอหุระมาซดะ แต่ไม่มีใครทราบถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การนับถือเทพเจ้าสองฝ่าย (ฝ่ายแสงสว่างกับฝ่ายความมืด) ของชาวโซโรอัสเตอร์ว่าเริ่มตั้งแต่สมัยใด ซึ่งในคัมภีร์หมวดที่ 1 ของอเวสตะ ได้ระบุไว้ว่าเทพเจ้าแห่งความชั่วต้องเผชิญหน้ากับเทพเจ้าแห่งความดีมิใช่เผชิญกับพระอหุระมาซดะซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุด ในโซโรอัสเตอร์ พระอหุระมาซดะมีบริวาร 6 องค์ ซึ่งมีความสูงส่งดั่งมลาอิกะห์หรือทูตสวรรค์ตามความเชื่อในศาสนาอับราฮัม และมีการจัดกองกำลังเพื่อสู้รบกับฝ่ายอธรรม ตามความเชื่อของโซโรอัสเตอร์ โลกจนถึงปัจจุบันมี 12000 ปี เทพเจ้าแห่งความดีทำการปกครอง 3000 ปี และในช่วงเวลานี้เทพเจ้าแห่งความชั่วได้ใช้ชีวิตอยู่ในความมืด เมื่อเขาออกมาเพื่อเผชิญกับเทพเจ้าแห่งความดี เทพเจ้าแห่งความดีได้ให้เวลาเขาในการต่อสู้เป็นเวลา 9000 ปี ซึ่งเขามั่นใจว่าจะได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มทำการสร้างสิ่งที่ดีและชั่วขึ้นบนโลกใบนี้และสู้กันด้วยวิธีนี้ จนกระทั่ง 3000 ปีผ่านไป โซโรอัสเตอร์ถูกสร้างขึ้น และทำให้กองทัพฝ่ายเทพแห่งความดีแข็งแกร่งขึ้น จนได้รับชัยชน.

ใหม่!!: จารึกเบฮิสตูนและพระอหุระมาซดะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซียโบราณ

ร่างของคอลัมน์แรกของจารึกเบอิสตุน ภาษาเปอร์เซียโบราณ (Old Persian) เป็นภาษาในจารึกซึ่งค้นพบในบริเวณที่ตั้งของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน มีอายุราว 600-500 กว่าปีก่อนคริสตกาล ภาษานี้มีอายุไล่เลี่ยกับภาษาบาลีในอินเดีย และมีลักษณะโครงสร้างทางภาษาที่คล้ายกันมาก เปอร์เซียโบราณเป็นภาษาของชาวอิหร่านที่พัฒนาขึ้นในสมัยกลาง วิวัฒนาการมาจากภาษาอเวสตะซึ่งเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ.

ใหม่!!: จารึกเบฮิสตูนและภาษาเปอร์เซียโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรรูปลิ่ม

อักษรยูการิติก อักษรรูปลิ่มที่เป็นระบบพยัญชนะ อักษรรูปลิ่ม (Cuneiform script) เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้งอักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ-พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่าลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน และอื่น ๆ ที่เขียนด้วย อักษรนี้ เช่น.

ใหม่!!: จารึกเบฮิสตูนและอักษรรูปลิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรแอราเมอิก

อักษรแอราเมอิก (Aramaic alphabet) พัฒนาขึ้นในช่วง 1,000 - 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยเข้ามาแทนที่อักษรรูปลิ่มของอัสซีเรียซึ่งเป็นระบบการเขียนหลักของจักรวรรดิอัสซีเรีย อักษรนี้เป็นต้นกำแนิดของอักษรตระกูลเซมิติกอื่น ๆ และอาจเป็นต้นกำเนิดของอักษรขโรษฐี ที่ใช้ในแถบเอเชียกลางแถบแคว้นคันธาระและพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช อักษรแอราเมอิกยุคแรกเริ่มถูกแทนที่ด้วยอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยม ที่รู้จักต่อมาในชื่ออักษรแอราเมอิก.

ใหม่!!: จารึกเบฮิสตูนและอักษรแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

ใหม่!!: จารึกเบฮิสตูนและจักรวรรดิอะคีเมนิด · ดูเพิ่มเติม »

ดาไรอัสมหาราช

ระเจ้าดาไรอัสที่ 1 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ดาไรอัสมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์เปอร์เซียองค์ที่ 2 ต่อจาก พระเจ้าไซรัสมหาราช เป็นพระโอรสของเจ้าชายองค์หนึ่งใน ราชวงศ์อคีเมนียะห์ โดยทรงครองราชย์เมื่อ 522 ปี ก่อน..

ใหม่!!: จารึกเบฮิสตูนและดาไรอัสมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: จารึกเบฮิสตูนและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

ออโรกลีฟอียิปต์ (Egyptian hieroglyphs) เป็นระบบการเขียนที่ชาวอียิปต์โบราณใช้อย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยอักษร (alphabet) และสัญรูป (logograph) อักขระในระบบไฮเออโรกลีฟอียิปต์นี้ยังสัมพันธ์กับอักขระอียิปต์อีก 2 ชุด คือ อักขระไฮเออแรติก (hieratic) และอักขระดีมอติก (demotic) ไฮเออโรกลีฟอียิปต์แบบหวัดนั้นมักใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนาลงบนแผ่นไม้และแผ่นพาไพรัส ไฮเออโรกลีฟอียิปต์ยุคแรกย้อนหลังไปได้ไกลถึง 3,300 ปีก่อน..

ใหม่!!: จารึกเบฮิสตูนและไฮเออโรกลีฟอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

BehistunBehistun Inscriptionจารึกเบฮิสตัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »