โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จันทรา ชัยนาม

ดัชนี จันทรา ชัยนาม

ันทรา ชัยนาม อดีตนักหนังสือพิมพ์ นักแสดง นักจัดรายการวิทยุ ปัจจุบันเป็นผู้จัดรายการโทรทัศน์ จันทรา ชัยนาม เคยเป็นนักเรียนทุน AFS จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเป็นนักหนังสือพิมพ์ เขียนคอลัมน์สังคมใช้นามปากกาว่า "ขุนทอง" ให้กับหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย และเป็นบรรณาธิการคนแรกของนิตยสารดิฉัน ในปี พ.ศ. 2521 จันทรา ชัยนาม แสดงภาพยนตร์ไทย เรื่อง เทพธิดาบาร์ 21 รับบทเป็นโสเภณี กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิท ร่วมแสดงโดย ไกรลาศ เกรียงไกร สุเชาว์ พงษ์วิไล สุดา ชื่นบาน และ วสันต์ อุตมะโยธิน เธอได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี จากผลงานแสดงเพียงเรื่องแรกและเรื่องเดียวนี้ เคยแสดงละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เรื่อง "บ้านสนธยา" กำกับโดย ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ แสดงร่วมกับ ธัญญรัตน์ โลหะนันท์ ชลิต เฟื่องอารมย์ และเรวัติ พุทธินันทน์ ต่อมา จันทรา ชัยนาม ได้หันมาเป็นนักจัดรายการเพลงสากลทางวิทยุ จนได้รับสัมปทานบริหารคลื่นวิทยุ คลื่น 107.0 MHz ทำรายการวิเคราะห์ข่าว ต่อมาได้ถูกเรียกคลื่นคืนเมื่อ..

17 ความสัมพันธ์: บรรณาธิการชลิต เฟื่องอารมย์พ.ศ. 2521การค้าประเวณีภัทราวดี มีชูธนภาพยนตร์ไทยภิกษุณียุทธนา มุกดาสนิทรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดีสุดา ชื่นบานสุเชาว์ พงษ์วิไลสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3ธัญญรัตน์ โลหะนันท์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไกรลาศ เกรียงไกรเรวัต พุทธินันทน์เทพธิดาบาร์ 21

บรรณาธิการ

รรณาธิการ (คำสนธิ: บรรณ (หนังสือ) + อธิการ (เจ้าการ); Editor) เป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทำ รวบรวม ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุม เนื้อหาและภาพทั้งหมด ที่จะตีพิมพ์เป็นหนังสือ หรือเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดว่าจะออกเรื่อยไปตามลำดับ โดยใช้ชื่อเดิม เช่น หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ และนิยมใช้เป็นคำย่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “.ก.” ส่วนคำที่ใช้เรียกกระบวนการลักษณะดังกล่าว คือ บรรณาธิกร (Editing) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของ บรรณาธิการ ไว้ว่า ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์ และในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2550 ระบุว่า บรรณาธิการ หมายความถึง บุคคลผู้รับผิดชอบ ในการจัดทำ และควบคุมเนื้อหา ข้อความ หรือภาพ ที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ รวมทั้งวัสดุ หรือเอกสาร ที่แทรกในหนังสือพิมพ์ โดยความเห็นชอบของบรรณาธิการด้วย เมื่อหนังสือพิมพ์ มีความหมายรวมไปถึง นิตยสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ ที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในทำนองเดียวกัน.

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและบรรณาธิการ · ดูเพิ่มเติม »

ชลิต เฟื่องอารมย์

ลิต เฟื่องอารมย์ (ชื่อเล่น: ตุ่ม) เป็นนักแสดงชาวไทย มีผลงานการแสดงสร้างชื่ออย่าง ฉันผู้ชายนะยะ ซึ่งเป็นละครเวทีที่โด่งดังมาก ตระเวนเดินสายแสดงไปทั่วประเทศในยุคนั้น มีผลงานภาพยนตร์ ที่รับเป็นพระเอกอย่างเรื่อง อารมณ์ และ รักริษยา ส่วนผลงานละครในยุคปัจจุบัน เช่น นิมิตรมาร และ ความลับของซูเปอร์สตาร์ ทางด้านชีวิตส่วนตัว เป็นพี่ชายของนักร้อง ชรัส เฟื่องอารมย์ เคยมีผลงานเพลงดูโอร่วมกันในชุด ชรัส-ชลิต และ คนแปลกหน้า ในปี..

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและชลิต เฟื่องอารมย์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2521

ทธศักราช 2521 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1978 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและพ.ศ. 2521 · ดูเพิ่มเติม »

การค้าประเวณี

ผู้หญิงขายบริการ ในสถานบริการแห่งหนึ่งในเยอรมนี การค้าประเวณี (prostitution) คือธุรกิจหรือวิธีปฏิบัติโดยการทำกิจกรรมทางเพศเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงิน ของ บริการ หรือประโยชน์แบบอื่นตามแต่ตกลง หญิงค้าประเวณีนั้นเรียก นครโสเภณี (prostitute) แปลว่า "หญิงงามเมือง" (โสเภณี แปลว่า หญิงงาม) และมักตัดไปเรียกว่า "โสเภณี" เฉย ๆ ส่วนภาษาถิ่นอีสานเรียก "หญิงแม่จ้าง" และภาษาปากเรียก "กะหรี่", "หญิงหากิน" หรือ "อีตัว" เป็นต้น สำนักของเหล่านครโสเภณีเรียก โรงนครโสเภณี, โรงหญิงนครโสเภณี หรือ ซ่องโสเภณี (bawdy house, brothel, disorderly house, house of ill fame หรือ house of prostitution).

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและการค้าประเวณี · ดูเพิ่มเติม »

ภัทราวดี มีชูธน

ัทราวดี มีชูธน เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 เป็นนักแสดง ละครโทรทัศน์ ละครเวที เป็นครูสอนศิลปะการแสดง เจ้าของโรงละครภัทราวดีเธียเตอร.

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและภัทราวดี มีชูธน · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์ไทย

นตร์ไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย"" เว็บไซต์ rimpingfunds.com พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี..

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและภาพยนตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุณี

กษุณี (ภิกฺขุณี; ภิกฺษุณี) เป็นคำใช้เรียกนักพรตหญิงในศาสนาพุทธ คู่กับภิกษุที่หมายถึงนักพรตชายในพระพุทธศาสนา คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในประเทศพุทธเถรวาทที่เคยมีหรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน ต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่อุบาสิกาที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือปฏิบัติศีล 8 (อุโบสถศีล) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า แม่ชี เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้ โดยส่วนใหญ่แม่ชีเหล่านี้จะอยู่ในสำนักวัดซึ่งแยกเป็นเอกเทศจากกุฎิสงฆ์ ภิกษุณีสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ที่ต้องบวชในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ได้ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อ) มานานแล้ว คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีแบบมหายาน (บวชในสงฆ์ฝ่ายเดียว) มาจนปัจจุบัน ซึ่งจะพบได้ในประเทศจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และศรีลังกา ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้น สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี (เถรวาท) ใหม่ ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีการยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนาจำกัดสิทธิสตรีด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะพระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้มีภิกษุณีที่นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีนักบวชหญิงเป็นศาสนาแรกในโลก เพียงแต่การสืบทอดวงศ์ภิกษุณีได้สูญไปนานแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบวชสตรีเป็นภิกษุณีตามพระวินัยเถรวาทได้.

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและภิกษุณี · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธนา มุกดาสนิท

ทธนา มุกดาสนิท (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 -) ศิลปินแห่งชาติประจำปี..

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและยุทธนา มุกดาสนิท · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี

รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี หรือ รางวัลตุ๊กตาทอง เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคคลในวงการผลิตภาพยนตร์ไทย ที่มีผลงานดีเด่นที่สุดในสาขาต่างๆ ในแต่ละปี โดยหอการค้ากรุงเทพ จัดพิธีมอบรางวัลนี้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2500 และผลัดเปลี่ยนผู้จัดทุกปีจนถึง พ.ศ. 2508 หลังจากนั้นได้งดไปหลายปี สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยได้จัดงานประกาศผลรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดีอีกครั้ง ตั้งแต่ครั้งที่ 9 (นับเป็นครั้งที่หนึ่งใหม่) ประจำปี..

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี · ดูเพิ่มเติม »

สุดา ชื่นบาน

ื่นบาน เป็นนักร้องทั้งเพลงไทยและสากล ที่มีชื่อเสียงของเมืองไทย มีผลงานยาวนานหลายสิบปี ทั้งในประเทศจนถึงเวทีนานาชาติ ตลอดจนการแสดงทางจอแก้วและจอเงิน เจ้าของเสียงร้องเพลงแก้กับ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ในอัลบั้มชุด ขุ่นลำโขง,เพลงไตเติ้ลภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด หุ่นไล่กา และ เพลงประกอบภาพยนตร์ เพลงสุดท้าย เป็นต้น.

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและสุดา ชื่นบาน · ดูเพิ่มเติม »

สุเชาว์ พงษ์วิไล

ว์ พงษ์วิไล เป็นนักแสดงชายเจ้าบทบาท เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 ที่จังหวัดลพบุรี สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปัจจุบัน) เริ่มอาชีพนักแสดงด้วยการเป็นนักแสดงละครเวทีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่ออายุได้ 30 กว่าแล้ว โดยการรับบทเป็นพระเอก ต่อมาละครเวทีเรื่องนี้ได้มีโอกาสแพร่ภาพออกโทรทัศน์ทางช่อง 5 จึงมีผู้เห็นแววและชักชวนเข้าสู่การแสดงภาพยนตร์ โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่แสดงคือ กิเลสคน ในปี พ.ศ. 2520 ต่อมาก็คือ สวัสดีคุณครู พ.ศ. 2521 และเทพธิดาบาร.ศ 2521 เป็นเรื่องที่สาม รับบทร้ายครั้งแรกในละครของช่อง 3 เรื่อง ขุนศึก โดยการแนะนำและกำกับโดย สักกะ จารุจินดา รวมทั้งเคยรับตลกเป็นกะเทยด้วยในเรื่อง ขบวนการคนใช้ เมื่อปี พ.ศ. 2529 จากการกำกับของ ชนะ คราประยูร สุเชาว์ พงษ์วิไล มีบทบาทที่เป็นที่รู้จักกันดีในบทของดาวร้ายในละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่อง ระยะหลังมีการเปลี่ยนมารับบทพ่อหรือตัวละครอาวุโสขึ้นมาบ้าง ผลงานในระยะหลัง ได้แก่ สุริโยไท (พ.ศ. 2544), ผีสามบาท (พ.ศ. 2544), องค์บาก (พ.ศ. 2546), สุดสาคร (พ.ศ. 2549), A Moment in June ณ ขณะรัก (พ.ศ. 2552) และ 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร ในปีเดียวกัน เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังร่วมแสดงในมิวสิกวิดีโอของธนพล อินทฤทธิ์ ในเพลง 18 ฝน ด้วยการรับบทเป็นพ่อของ สิทธิพร นิยม ในปี พ.ศ. 2537 และในเพลง รอยกรีดที่ข้อมือ ของภานุพงศ์ จำปาเฟื่อง ในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งสร้างมาจากชีวิตจริงของลูกสาวตนเองอีกด้วย และในเพลง อกหัก รุ่นเก๋า ของวรนุช กนกากร ในปี พ.ศ. 2552 ชีวิตส่วนตัว สุเชาว์แต่งงานแล้ว มีบุตรสาว 1 คน ชื่อ ณิฐา พงษ์วิไล.

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและสุเชาว์ พงษ์วิไล · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

นีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ..ม.ท. เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งที่ 4 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการโดยบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ภายใต้สัญญาสัมปทานกับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 เวลา 10:00 น. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ความถี่ต่ำ ทางช่องสัญญาณที่ 3 จนถึงปี พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 32 โดยที่เริ่มแพร่ภาพคู่ขนาน (simulcast) กับโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ช่องหมายเลข 33 ภาพคมชัดสูง ของบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ตามคำสั่งของศาลปกครอง ตั้งแต่เวลา 21:19 น. ของวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 มีคำขวัญประจำสถานีฯ ว่า คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3 โดยมีประสาร มาลีนนท์ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 แทนประวิทย์ มาลีนนท์ ที่ขอลาออกเนื่องจากมีปัญหาเรื่อง.

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 · ดูเพิ่มเติม »

ธัญญรัตน์ โลหะนันท์

ัญญรัตน์ โลหนันทน์ ชื่อเล่น บัว เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 เป็นบุตรหนึ่งใน 10 คน โดยมารดาเป็นอดีตรองนางงามปีนังเชื้อสายอังกฤษ จบชั้น ม. 3 โรงเรียนวัดธาตุทอง ธัญญรัตน์ได้แสดงหนังดังอย่างเช่น "ทิพย์ช้าง" "หนี้รัก" "ไม่มีใครรักฉันจริง" และหนังบู๊อีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง "ทิพย์ช้าง" ตำนานเมืองเหนือ แสดงเป็นสาวเหนือ เป็นนางเอกที่ได้รับความนิยมคนหนึ่ง ในช่วงปี พ.ศ. 2518- 2520 ธัญญารัตน์ เข้าวงการเพราะตามพี่สาว ปริศนา โลหนันทน์ ซึ่งเป็นรองนางสาวไทย พ.ศ. 2515ไปออกงานต่างๆ จนเป็นที่สนใจของผู้สร้าง จนกระทั่งได้เล่นหนังเรื่อง "หนี้รัก" เป็นเรื่องแรก แต่หนังเรื่องนี้สร้างยาวนานมากจนกระทั่งหนังเรื่องอื่นๆ ที่เล่นทีหลังได้ฉายก่อน ช่วงที่ธัญญรัตน์เข้าวงการ เป็นช่วงที่หนังไทยแนวพิศวาสแรงๆ กำลังได้รับความนิยม แล้วคุณธัญญรัตน์ก็กล้าเล่นบทแรงๆหรือโป๊ได้ จึงมีภาพพจน์เป็นสาวใจแตก ไม่สามารถรับบทนางเอกเรียบร้อยตามขนบหนังไทยได้ จึงตกลงไปรับบทรอง โดยภายหลังได้หันมาเป็นนักร้องลูกกรุง มีผลงานเพลงออกแผ่นเสียงมา 1 ชุด ก็ดังพอสมควร หลังจากนั้นก็มาลงเล่นละครทางช่อง 9 เรื่อง "หนี้รัก" เรื่องเดียวกันกับที่เคยเล่นตอนเป็นหนังใหญ่ แต่เปลี่ยนมารับบทจาก ตรีนุช (นางเอก) เป็น หนูอ้น (นางร้าย) ตามด้วยละครช่อง 3 อีก 2-3 เรื่อง ที่ดังหน่อยก็เรื่อง "พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ" ในบท 'สุภัค' ประชันกับ ปรัชญา มยุรา และ สมภพ ก่อนจะอำลาไปใช้ชีวิตครอบครัว กลับมาอีกครั้งด้วยการร่วมงานกับ เอ็กแซ็กท์ ในละคร "บัลลังก์เมฆ" ตามด้วย "เจ้านาง" ของ กันตนา กลับมาคราวนี้เธอเป็นผู้ใหญ่ขึ้น และเริ่มได้รับบทแม่ มาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและธัญญรัตน์ โลหะนันท์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

right คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะนิเทศศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นคณะที่ 14 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ไกรลาศ เกรียงไกร

ันโท ไกรลาศ เกรียงไกร นักแสดงชายชาวไทย เป็นนักแสดงสมทบในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง มีชื่อจริงว่า ไกรลาศน์ ยวงใย เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 ที่กรุงเทพมหานคร โดยเป็นบุตรคนที่ 9 จากบุตรทั้งหมด 9 คน ของ.ต.วิมล และ นางกรุณา ยวงใย เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทองสาขานักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2521 จากเรื่อง เทพธิดาบาร์ 21 จากการกำกับของ ยุทธนา มุกดาสนิท และมีชื่อเข้าชิงรางวัลเดียวกันนี้อีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2525 จากเรื่อง พลฯ ทองดีใจซื่อ ผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ อาทิ ลูกอีสาน ในปี..

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและไกรลาศ เกรียงไกร · ดูเพิ่มเติม »

เรวัต พุทธินันทน์

รวัต พุทธินันทน์ (ชื่อเล่น เต๋อ; เกิด (5 กันยายน พ.ศ. 2491-27 ตุลาคม พ.ศ. 2539) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ อดีตสมาชิกวงดิ อิมพอสซิเบิ้ล และวงโอเรียนเต็ล ฟังก์ อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์ (หรือที่รู้จักกันดีในนามจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) ร่วมกับ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เมื่อ พ.ศ. 2526 เต๋อ เรวัต เป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งวงการเพลงไทย เป็นโปรดิวเซอร์ นักดนตรี นักแต่งเพลงในตำนาน เป็นผู้ปฏิวัติวงการเพลงไทยให้ไปสู่ยุคทองแห่งความเจริญรุ่งเรือง และผู้ริเริ่มความทันสมัยของดนตรีสมัยใหม่ให้กับประเทศไทย เป็นผู้บุกเบิกแนวเพลงสตริงอันทันสมัยให้กับการเพลงไทย ผู้นำแนวเพลง ร๊อค ป๊อบ แดนซ์ โมเดิร์นแจ๊ส ฟังค์ ฯลฯ เข้ามาเป็นที่นิยมในไทย เป็นผู้มีคุณูปการ มหาศาลแก่วงการเพลงไทย เป็นผู้ปลุกปั้นศิลปินให้มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ เป็นบุคคลตัวอย่าง แรงบันดาลใจให้กับนักร้องนักดนตรีของเมืองไทย มาจวบจนสมัยนี้.

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและเรวัต พุทธินันทน์ · ดูเพิ่มเติม »

เทพธิดาบาร์ 21

ทพธิดาบาร์ 21 เป็นภาพยนตร์ไทยแนวมิวสิเคิลที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2521 กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิท โดยดัดแปลงมาจากบทละครเรื่อง เกียรติโสเภณี (The Respectable Prostitute) ของ ฌอง ปอล ชาร์ต (Jean-Paul Sartre) นำแสดงโดย จันทรา ชัยนาม, ไกรลาศ เกรียงไกร, วสันต์ อุตตมะโยธิน ซึ่งเป็นนักแสดงหน้าใหม่ ร่วมด้วย สุเชาว์ พงษ์วิไล, สุดา ชื่นบาน, ศิริพงษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ จุรี โอศิริ โดยมี ม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล เป็นผู้ออกแบบท่าเต้นนักแสดง และร่วมเขียนบทกับ ยุทธนา สร้างโดย บริษัทไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ถ่ายทำด้วยระบบฟลิ์ม 35 มม.สโคป เสียงพากย์ในฟิล์ม, โดย จันทรา ชัยนาม และ วสันต์ อุตตมะโยธิน เป็นผู้พากย์เสียงของตัวเองในหนัง ก่อนหน้านี้ ยุทธนาเคยเสนอโปรเจกต์นี้ให้กับนายทุนค่ายอื่นมาก่อน แต่นายทุนขอให้ลดฉากมิวสิคคัล เนื่องจากเนื้อเรื่องมีฉากมิวสิคคัลเยอะ กลัวดูไม่รู้เรื่อง,จึงเปลี่ยนนายทุนมาเป็นไฟว์สตาร์ฯ ในที่สุด ใช้ทุนสร้างประมาณ 3 ล้านบาท, แต่รายได้กลับไม่ประสบความสำเร็จ ได้เพียง3 แสนบาทเท่านั้น (รายได้จากโรงภาพยนตร์เอเธนส์), ถึงแม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ในยุคนั้น ภาพยนตร์ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ประจำปี พ.ศ. 2522 จำนวน 2 รางวัล คือ ดาราประกอบชายยอดเยี่ยม (ไกรลาศ เกรียงไกร) และ ดารานำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม (จันทรา ชัยนาม) โดยเป็นผลงานการแสดงทางจอเงินเพียงเรื่องเดียวในชีวิตของ จันทรา ชัยนาม ในปี พ.ศ. 2533 ได้มีการสร้างเป็นละครโทรทัศน์มินิซีรีส์ทางช่อง 3 ออกอากาศในเดือนธันวาคม นำแสดงโดย นรินทร ณ บางช้าง และ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง กำกับการแสดงโดย ม.ล. พันธุ์เทวนพ เทวกุล.

ใหม่!!: จันทรา ชัยนามและเทพธิดาบาร์ 21 · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »