โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิเหลียวไท่จง

ดัชนี จักรพรรดิเหลียวไท่จง

มเด็จพระจักรพรรดิเหลียวไท่จง (เย่ว์ลู่เต๋อกวง) (902-947) เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในจักรพรรดิเหลียวไท่จู่ โดยเป็นพระอนุชาในองค์ชายเย่ว์ลู่ทู่อี้ พระราชบิดาของจักรพรรดิเหลียวซื่อจง เมื่อเย่ว์ลู่ทู่อี้ พระเชษฐาซึ่งเป็นองค์รัชทายาท ถูกฮองเฮาสู้ลี่ว์พระมารดาและข้าราชสำนักบีบบังคับ ให้ลี้ภัยไปยังราชสำนักโฮ่วถัง และตั้ง เย่ว์ลู่เต๋อกวง พระราชโอรสองค์รองที่ทรงพระปรีชาสามารถด้านการทหาร ขึ้นเป็นองค์รัชทายาทแทน เมื่อจักรพรรดิเหลียวไท่จู่สวรรคตในปี..

20 ความสัมพันธ์: ชาวฮั่นพ.ศ. 1445พ.ศ. 1469พ.ศ. 1490มณฑลชานซีมณฑลเหอเป่ย์ราชวงศ์จิ้นยุคหลังราชวงศ์ถังราชวงศ์ถังยุคหลังราชวงศ์เหลียวห้าราชวงศ์จักรพรรดิจีนจักรพรรดิเหลียวมู่จงจักรพรรดิเหลียวซื่อจงจักรพรรดิเหลียวไท่จู่ฉือ จิ้งถังปักกิ่งไคเฟิง15 พฤษภาคม25 พฤศจิกายน

ชาวฮั่น

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語).

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและชาวฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1445

ทธศักราช 1445 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและพ.ศ. 1445 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1469

ทธศักราช 1469 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและพ.ศ. 1469 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1490

ทธศักราช 1490 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและพ.ศ. 1490 · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ ซัวไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ชื่อย่อ จิ้น (晋) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลืองในภาคเหนือของประเทศจีน คำว่า "ชานซี" แปลตรงตัวว่า ทิศตะวันตกของภูเขา เนื่องจากมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูเขาไท่หัง มีเมืองเอกชื่อ ไท่หยวน มีเนื้อที่ 156,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 33,350,000 คน ความหนาแน่น 213 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 304.2 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9120 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและมณฑลชานซี · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหอเป่ย์

มณฑลเหอเป่ย์ (河北省) ชื่อย่อ จี้(冀)ตั้งอยู่ระหว่างที่ราบสูง มองโกเลียในและที่ราบภาคเหนือของประเทศ เป็นมณฑลที่อยู่ล้อมรอบนครสำคัญคือ ปักกิ่ง และเทียนจินมีเมืองหลวงชื่อ ฉือเจียจวง มีเนื้อที่ 187,700 ก.ม.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและมณฑลเหอเป่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จิ้นยุคหลัง

ราชวงศ์จิ้นยุคหลัง (Later Jin Dynasty) ราชวงศ์ที่ 3 ใน ยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร สถาปนาโดยจักรพรรดิจิ้นเกาจู่ (สือจิ้งถัง) เชื้อพระวงศ์องค์หนึ่งในราชวงศ์โฮ่วถัง โดยมีเมืองไคฟงเป็นเมืองหลวง ราชวงศ์นี้มีจักรพรรดิปกครองเพียง 2 พระองค์คือ จักรพรรดิจิ้นเกาจู่ และจักรพรรดิจิ้นฉู่ตี้ และปกครองจีนอยู่เพียง 11 ปี ก่อนเสียเอกราชให้กับจักรพรรดิเกาจู่ (หลิวจื้อหยวน) แห่งราชวงศ์โฮ่วฮั่น หมวดหมู่:ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและราชวงศ์จิ้นยุคหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและราชวงศ์ถัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถังยุคหลัง

ราชวงศ์โฮ่วถัง (Later Tang Dynasty) (ค.ศ. 923 - 936) เป็นราชวงศ์ที่ 2 ในยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร สถาปนาโดย จักรพรรดิถังซวงจง (หลี่คุนซู) เมื่อ..

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและราชวงศ์ถังยุคหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เหลียว

ราชวงศ์เหลียว (Liao Dynasty; ชี่ตัน: Mos Jælud; มองโกล: Ляо Улс/Lyao Uls) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิชี่ตัน (Khitan Empire; ชี่ตัน: Mos diau-d kitai huldʒi gur; มองโกล: Хятан (Khyatan) Гүрэн, Кидан (Kidan) Гүрэн) เป็นชื่อจักรวรรดิหนึ่งในเอเชียตะวันออก มีอำนาจในมองโกเลีย ภาคตะวันออกไกลบางส่วนของรัสเซีย เกาหลีเหนือ และภาคเหนือของจีนส่วนในตั้งแต่ปี 907 ถึง 1125 พระเจ้าไท่จู่ (Taizu) ข่านแห่งชาวชี่ตัน สถาปนาจักรวรรดินี้ขึ้นหลังจากราชวงศ์ถังของประเทศจีนล่มสลาย และไม่ช้าไม่นานหลังก่อตั้งขึ้น ราชวงศ์เหลียวก็เริ่มขยายดินแดน โดยพระเจ้าไท่จู่ทรงเอาชัยเหนือพวกพัลแฮ (Balhae) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าแผ่นดินองค์ถัด ๆ มายังทรงได้สิบหกมณฑลของจีนไว้โดยใช้วิธียุแยงให้รัฐที่สามส่งการก่อกวนเข้ามา แล้วราชวงศ์เหลียวจึงคอยตีกิน ทำให้ราชวงศ์ถังอวสานลง และราชวงศ์โครยอ (Goryeo) แห่งเกาหลี กับราชวงศ์ซ่ง (Song) แห่งจีน ตกเป็นเมืองออกของราชวงศ์เหลียวในที่สุด คำว่า "เหลียว" นี้ในภาษาจีนหมายความว่า ห่าง หรือไกล จุดเด่นของราชวงศ์เหลียว คือ ความตึงเครียดระหว่างจารีตประเพณีทางสังคมและการเมืองแบบชี่ตันกับแบบจีนซึ่งนำไปสู่วิกฤติการณ์ทางการสืบสันตติวงศ์ เพราะพระเจ้าแผ่นดินเหลียวฝักใฝ่คติบุตรหัวปีเป็นใหญ่ตามแบบจีน แต่ผู้ลากมากดีชาวชี่ตันส่วนใหญ่นิยมประเพณีที่ให้ผู้แข็งแกร่งที่สุดสืบเชื้อสาย ความแตกต่างกันระหว่างจารีตประเพณีชี่ตันและจีนนี้ยังเป็นเหตุให้พระเจ้าไท่จู่แห่งราชวงศ์เหลียวทรงตั้งการปกครองสองแบบขนานกัน ภาคเหนือซึ่งเป็นอาณาเขตชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีชี่ตัน ภาคใต้ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ไม่ใช่ชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีจีน ความแตกต่างทางสังคมแบบชี่ตันกับแบบจีนยังได้แก่ บทบาทของบุคคลแต่ละเพศและยุทธวิธี ชาวชี่ตันเห็นว่า บุคคลเสมอภาคกันไม่ว่าเพศใด ขณะที่ประเพณีทางวัฒนธรรมจีนถือว่า สตรีต้องอยู่ในโอวาทบุรุษ ฉะนั้น หญิงชี่ตันจึงเล่าเรียนการรบ ทั้งยังจัดการทรัพย์สินครัวเรือน และดำรงตำแหน่งทางทหาร ทั้งยังไม่มีการคลุมถุงชน ตลอดจนสตรีไม่จำต้องครองความบริสุทธิ์ทางเพศไว้จนถึงการสมรสครั้งแรก กับมีสิทธิที่จะหย่าและสมรสใหม่ด้วย ในปี 1125 ชาวนฺหวี่เจิน (Jurchen) จากราชวงศ์จิน (Jin) ของพวกแมนจู จับกุมพระเจ้าเทียนจั้ว (Tianzuo) แห่งเหลียวไว้ได้ และทำลายราชวงศ์เหลียวลงสิ้น แต่ชาวชี่ตันที่ยังเหลืออยู่มีเยลฺวี่ ต้าฉือ (Yelü Dashi) เป็นผู้นำ พากันก่อตั้งราชวงศ์ใหม่เรียกว่า "เหลียวตะวันตก" (Western Liao) ปกครองกันอยู่ในเอเชียกลางบางส่วนเป็นเวลายาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ ก่อนจะถูกทัพพระเจ้าไท่จู่ (Taizu) แห่งราชวงศ์หยวนของพวกมองโกล เข้ายึดครอง แม้ความสำเร็จทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์เหลียวจะสลักสำคัญ กับทั้งเครื่องปั้นและศิลปวัตถุอื่น ๆ ก็มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์และสถานสะสมต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แต่สภาพที่แท้จริงและขอบข่ายของอิทธิพลที่วัฒนธรรมเหลียวมีต่อพัฒนาการในระยะหลัง ๆ เช่น ด้านศิลปะการแสดงและการสังคีตนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและราชวงศ์เหลียว · ดูเพิ่มเติม »

ห้าราชวงศ์

ห้าราชวงศ์ (Five Dynasty) (ค.ศ.907-960) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ถังมีทั้งหมด 5ราชวงศ์ได้แก่ราชวงศ์โฮ่วเหลียง(Later Liang Dynasty)(ค.ศ.907-926)ราชวงศ์โฮ่วถัง(ค.ศ.926-936) ราชวงศ์โฮ่วจิ้น(ค.ศ.936-947)ราชวงศ์โฮ่วฮั่น(ค.ศ.947-950)ราชวงศ์โฮ่วโจว(ค.ศ.951-960)ก่อนที่ซ่งไท่จู่ ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ่งจะรวบรวมแผ่นดินจนเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ หมวดหมู่:ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและห้าราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจีน

มเด็จพระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน (หวงตี้; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (王; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน ฮ่องเต้ได้รับการเคารพในฐานะโอรสแห่งสวรรค์ คือเปรียบเสมือนได้รับอำนาจจากสวรรค์มาให้ปกครองประชาชน ตามหลักการ "สูงสุดโอรสสวรรค์ ล่างสุดนั้นประชาราษฎร" (最高的是天子,最低的是人民) การสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้มักอยู่ในรูปแบบจากบิดาไปยังบุตร โดยคำว่า ฮ่องเต้ หรือ หวงตี้ ถ้าแปลตรงตัวจะสามารถแปลได้ว่า "ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่" (หวง 皇 - ผู้ทรงศักดิ์/Imperial, ตี้ 帝 - องค์อธิปัตย์/Sovereign) โดยนำมาจากพระนามฮ่องเต้องค์แรก คือ ฉินซือหวงตี้ (秦始皇帝) หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของประเทศจีนคือ จักรพรรดิฮงเซี่ยนหรือหยวน ซื่อไข่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนคือ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเหลียวมู่จง

มเด็จพระจักรพรรดิเหลียวมู่จง (ค.ศ. 931-969) จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์เหลียว เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิเหลียวไท่จง ครองราชย์ตั้งแต..

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและจักรพรรดิเหลียวมู่จง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเหลียวซื่อจง

มเด็จพระจักรพรรดิเหลียวซื่อจง เป็นพระโอรสในเย่ว์ลู่ทู่อี่และมีศักดิ์เป็นพระนัดดาของจักรพรรดิเหลียวไท่จง (พ.ศ. 1469-1490) เมื่อพระปิตุลาสวรรคตลง พระองค์จึงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเหลียวซื่อจง จักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์เหลียว ทรงครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและจักรพรรดิเหลียวซื่อจง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเหลียวไท่จู่

มเด็จพระจักรพรรดิเหลียวไท่จู่ (ค.ศ. 872 - 926) ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เหลียว ทรงพระนามเดิมว่า เย่ว์ลู่ อาเปาจี ประสูติในเผ่าชี่ตัน เมื่อ..

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและจักรพรรดิเหลียวไท่จู่ · ดูเพิ่มเติม »

ฉือ จิ้งถัง

ฉือ จิ้งถัง (30 มีนาคม 892Old History of the Five Dynasties, vol. 75.. – 28 กรกฎาคม 942Zizhi Tongjian, vol. 283.) เป็นที่รู้จักตามชื่อวัดประจำรัชกาลว่า อภิบรรพราช (高祖) เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนช่วงห้าราชวงศ์สิบอาณาจักรจากราชวงศ์จิ้นยุคหลัง อยู่ในสมบัติตั้งแต่ปี 936 จนสิ้นชีวิต ฉือ จิ้งถัง เดิมเป็นแม่ทัพในราชวงศ์ถังยุคหลัง แต่ก่อกบฏในปี 936 โดยอาศัยความช่วยเหลือจากราชวงศ์เหลียว เมื่อการสำเร็จ เขาจึงยกหัวเมืองสิบหกมณฑลให้แก่ราชวงศ์เหลียวเป็นการตอบแทน แล้วตั้งราชวงศ์จิ้นยุคหลังขึ้นโดยมีตนเองเป็นปฐมกษัตริย์ การยกหัวเมืองดังกล่าวให้แก่ราชวงศ์เหลียวซึ่งเป็นของชาวชี่ตันนั้นเป็นผลต่อภูมิทัศน์บ้านเมืองจีนอย่างมากในอีกสองร้อยปีให้หลัง ฉือ จิ้งถัง ตายในปี 942 เพราะเหตุธรรมชาติTian, p.43 ฉือ จ้งกุ้ย (石重貴) บุตรบุญธรรม จึงขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ถัดม.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและฉือ จิ้งถัง · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ไคเฟิง

ไคเฟิง ตามสำเนียงกลาง หรือ คายฮอง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นเมืองในมณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่ริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำฮวงโห (หรือแม่น้ำเหลือง) เป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ไคเฟิงแต่เดิมนั้นมีชื่อว่าเปี้ยนโจว ในสมัยราชวงศ์โฮ่วเหลียงเปลี่ยนชื่อเป็น เปี้ยนจิง ครั้งมา พอมาถึงสมัยหลังได้เปลี่ยนเป็น ไคเฟิง นครไคเฟิงเป็นที่รู้จักกันดีเพราะเคยเป็นที่ทำงานของเปาบุ้นจิ้น หมวดหมู่:เมืองในมณฑลเหอหนาน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและไคเฟิง · ดูเพิ่มเติม »

15 พฤษภาคม

วันที่ 15 พฤษภาคม เป็นวันที่ 135 ของปี (วันที่ 136 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 230 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและ15 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

25 พฤศจิกายน

วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 329 ของปี (วันที่ 330 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 36 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดิเหลียวไท่จงและ25 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เยลี่ว์เต๋อกวง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »