โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิฉินที่ 3

ดัชนี จักรพรรดิฉินที่ 3

ักรพรรดิฉินที่ 3 หรือ จักรพรรดิเจ้าอิง มีพระนามเดิมว่าเจ้าอิง เป็นพระราชภาติยะของ จักรพรรดิฉินที่ 2 (หูไห่) ซึ่งพระองค์เป็นพระราชโอรสของเจ้าชายฝูซู อดีตรัชทายาท เจ้าเกา มหาขันที ผู้ทรงอิทธิพลใน ราชสำนักฉิน ได้แต่งตั้งพระองค์เป็นจักรพรรดิ หลังจากการปลงพระชนม์จักรพรรดิฉินที่ 2 (หูไห่) พระราชกรณียกิจแรกของพระองค์ คือทรงสั่งประหารชีวิตเจ้าเกาแต่หลังจากนั้นมิได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันใดอีกเลย จนเมื่อ หลิวปัง เข้ายึดนครหลวงเสียนหยางได้ พระองค์จึงประกาศสละราชสมบัติให้และทำให้ราชวงศ์ฉินล่มสลายลง.

9 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 336พ.ศ. 337ราชวงศ์ฮั่นราชวงศ์ฮั่นตะวันตกจักรพรรดิฮั่นเกาจู่จักรพรรดิจีนจักรพรรดิฉินที่ 2ขันทีเจ้าเกา

พ.ศ. 336

ทธศักราช 336 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: จักรพรรดิฉินที่ 3และพ.ศ. 336 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 337

ทธศักราช 337 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: จักรพรรดิฉินที่ 3และพ.ศ. 337 · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: จักรพรรดิฉินที่ 3และราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 8) หลิวปังรบชนะฌ้อป๋าอ๋องเซี่ยงหวี่ และตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้น ราชวงศ์ฮั่นเป็นยุคทองของจีน คนจีนในยุคหลังจะเรียกตัวเองว่าเป็นชาวฮั่น ราชวงศ์ฮั่นอยู่ได้เป็นเวลานาน กว่า 400 ปี (ราว ๆ ช่วง พ.ศ. 335 - 763) (หรือราว ๆ ช่วง ก่อนคริสต์ศักราช 206 ปี - ค.ศ. 220) และล่มสลายมาเป็นยุคสามก๊ก (ราว ๆ พ.ศ. 763 - 823)(หรือ ๆ ค.ศ. 220 - 280)มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เมื่อกองทัพหลิวปังเอาชนะกองทหารของเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า พระเจ้าฮั่นเกาจู่ โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) เนื่องจากความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองอันมากด้วยวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ยาวนาน จึงถือเป็นยุคทองของจีน จึงมีศัพท์จีนคำหนึ่งซึ่งได้ยินติดหูและใช้เรียกในชีวิตประจำวัน คือ ชาวฮั่น ภาษาฮั่น ซึ่งหมายถึง ชาวจีน ภาษาจีน นั่นเอง มันแสดงถึงความภาคภูมิใจของคนจีนที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่ยุคอาณาจักรฮั่นโบราณ.

ใหม่!!: จักรพรรดิฉินที่ 3และราชวงศ์ฮั่นตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นเกาจู่

ั่นเกาจู่ ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ฮั่นโกโจ ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน ("อัครบรรพชนฮั่น"; 256 ปีก่อนคริสตกาล – 1 มิถุนายน 195 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม หลิว ปัง เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฮั่นของจักรวรรดิจีน และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ดังกล่าว เสวยราชย์ช่วง 202–195 ปีก่อนคริสตกาล นับเป็นหนึ่งในปฐมกษัตริย์จีนไม่กี่พระองค์ที่มาจากครอบครัวรากหญ้า ก่อนเข้าสู่อำนาจ หลิว ปัง เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในราชวงศ์ฉิน ทำหน้าเป็นนายด่านที่บ้านเกิดในเทศมณฑลเพ่ย์ (沛縣) แห่งรัฐฉู่ (楚国) ที่ถูกราชวงศ์ฉินยึดครอง เมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฉิน สิ้นพระชนม์ และจักรวรรดิฉิน (秦朝) ตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมือง หลิว ปัง ละทิ้งตำแหน่งราชการเข้าร่วมกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน จนสามารถบีบให้จื่ออิง (子嬰) ผู้นำคนสุดท้ายของราชวงศ์ฉิน ยอมจำนนได้เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อสิ้นราชวงศ์ฉินแล้ว เซี่ยง อฺวี่ (項羽) ผู้นำกบฏ แบ่งดินแดนฉินออกเป็นสิบแปดส่วน ให้หลิว ปัง เป็น "ราชาฮั่น" (漢王) ไปครองภูมิภาคปาฉู่ (巴蜀) อันห่างไกลและกันดาร หลิว ปัง จึงนำทัพต่อต้านเซี่ยง อฺวี่ และสามารถยึดภูมิภาคฉินทั้งสาม (三秦) ไว้ได้ นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่เรียกว่า "สงครามฉู่–ฮั่น" (楚漢戰爭) ครั้น 202 ปีก่อนคริสตกาล หลังเกิดยุทธการไกเซี่ย (垓下之戰) หลิว ปัง มีชัยในการชิงอำนาจ จึงสามารถรวบดินแดนจีนส่วนใหญ่ไว้ในกำมือ เขาก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น มีตนเป็นจักรพรรดิพระองค์แรก ใช้พระนาม "ฮั่นเกาจู่" รัชสมัยฮั่นเกาจู่มีการลดหย่อนภาษี ส่งเสริมลัทธิขงจื๊อ และปราบปรามกบฏเจ้าประเทศราชต่าง ๆ ฮั่นเกาจู่ยังริเริ่มนโยบายที่เรียก "วิวาห์สันติ" (和親) เพื่อสร้างความปรองดองกับกลุ่มซฺยงหนู (匈奴) หลังพ่ายแพ้ในยุทธการไป๋เติง (白登之戰) เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล ครั้น 195 ปีก่อนคริสตกาล ฮั่นเกาจู่สวรรคต พระโอรส คือ หลิว อิ๋ง (劉盈) สืบตำแหน่งต่อ ใช้พระนามว่า "ฮั่นฮุ่ย" (汉惠).

ใหม่!!: จักรพรรดิฉินที่ 3และจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจีน

มเด็จพระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน (หวงตี้; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (王; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน ฮ่องเต้ได้รับการเคารพในฐานะโอรสแห่งสวรรค์ คือเปรียบเสมือนได้รับอำนาจจากสวรรค์มาให้ปกครองประชาชน ตามหลักการ "สูงสุดโอรสสวรรค์ ล่างสุดนั้นประชาราษฎร" (最高的是天子,最低的是人民) การสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้มักอยู่ในรูปแบบจากบิดาไปยังบุตร โดยคำว่า ฮ่องเต้ หรือ หวงตี้ ถ้าแปลตรงตัวจะสามารถแปลได้ว่า "ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่" (หวง 皇 - ผู้ทรงศักดิ์/Imperial, ตี้ 帝 - องค์อธิปัตย์/Sovereign) โดยนำมาจากพระนามฮ่องเต้องค์แรก คือ ฉินซือหวงตี้ (秦始皇帝) หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของประเทศจีนคือ จักรพรรดิฮงเซี่ยนหรือหยวน ซื่อไข่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนคือ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิฉินที่ 3และจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฉินที่ 2

ักรพรรดิฉินที่ 2 หรือ จักรพรรดิหูไห่ มีพระนามเดิมว่าองค์ชายหูไห่ เป็นพระราชโอรสองค์รองของ จิ๋นซีฮ่องเต้ ประสูติเมื่อปี 229 ปีก่อน..

ใหม่!!: จักรพรรดิฉินที่ 3และจักรพรรดิฉินที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ขันที

หลี่เสียน ค.ศ. 706 ขันที คือ ชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สำหรับควบคุมฝ่ายใน ในภาษาจีนเรียกว่า ไท้เจี๋ยน หรือไท้ก๋ำ (ฮกเกี้ยน:太監,ไท้ก่ำ) ในภาษาละตินและอาหรับเรียกว่ายูนุก (Eunuch) โดยมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า ยูโนคอส (eunouchos) แปลว่าผู้ดูแลรักษาเตียง ส่วนชนชาติมอญเรียกขันทีว่า กมนุย (อ่านว่า ก็อมนอย) แปลว่า ขันทีที่ปราศจากความรู้สึกทาง.

ใหม่!!: จักรพรรดิฉินที่ 3และขันที · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าเกา

เจ้าเกา (อสัญกรรม 207 ปีก่อนคริสตกาล) มหาขันทีและอัครมหาเสนาบดีในสมัย ราชวงศ์ฉิน ผู้รับใช้จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉินถึง 3 พระองค์และมีส่วนสำคัญที่ทำให้ราชวงศ์ฉินล่มสลายลง เจ้าเกาเริ่มรับราชการในรัชสมัย จิ๋นซีฮ่องเต้ กระทั่งได้ถูกส่งไปรับใช้องค์ชาย หูไห่ พระราชโอรสองค์รองกระทั่งได้เป็นพระอาจารย์ขององค์ชาย ใน 210 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคตเจ้าเกาและ หลี่ซือ ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีในขณะนั้นได้ร่วมมือกันปลอมแปลงพระราชโองการทำให้องค์ชายหูไห่ได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิฉินที่ 2 แทนองค์ชาย ฝูซู พระเชษฐาที่รัชทายาทที่ถูกราชโองการปลอมให้ปลงพระชนมชีพพระองค์เองในภายหลัง จากนั้นเจ้าเกาจึงเริ่มทรงอำนาจและอิทธิพลในราชสำนักพร้อมกับกำจัดศัตรูทางการเมืองไปพร้อมกันทำให้เมื่อ 208 ปีก่อนคริสตกาล เจ้าเกาได้ก้าวขึ้นเป็นอัครมหาเสนาบดีแทนหลี่ซือที่ถูกประหารทั้งตระกูล ใน 207 ปีก่อนคริสตกาล กองทัพกบฏเริ่มรุกคืบเข้ามาใกล้ เสียนหยาง ซึ่งเป็นเมืองหลวงเจ้าเกาจึงตัดสินใจก่อรัฐประหารที่ พระราชวังหวังอี้ (ใกล้ ซีอาน, มณฑลส่านซี) ปลงพระชนม์จักรพรรดิฉินที่ 2 หรือจักรพรรดิหูไห่และยกจื่ออิงพระโอรสในองค์ชายฝูซูและพระราชนัดดาในจักรพรรดิหูไห่ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิฉินที่ 3 เมื่อสืบราชบัลลังก์ไม่นานจักรพรรดิจื่ออิงจึงส่งขันทีชื่อ หานตาน ไปลอบสังหารเจ้าเกาและจากนั้นไม่นานจักรพรรดิจื่ออิงก็ยอมแพ้แก่กองทัพของ เซี่ยงอวี่ หมวดหมู่:ขันทีจีน หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: จักรพรรดิฉินที่ 3และเจ้าเกา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

จักรพรรดิจิ๋นที่ 3จื่ออิง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »