โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คุณฮะนะโกะประจำห้องน้ำ

ดัชนี คุณฮะนะโกะประจำห้องน้ำ

ณฮะนะโกะประจำห้องน้ำ หรือมักเรียกโดยย่อว่า คุณฮะนะโกะ เป็นตำนานพื้นบ้านญี่ปุ่นว่าด้วยเด็กหญิงคนหนึ่งซึ่งเกิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองและสิงอยู่ตามห้องน้ำโรงเรียน ถ้าเรียกขานแล้วเธอจะปรากฏตัว.

7 ความสัมพันธ์: มังงะสงครามโลกครั้งที่สองอะนิเมะจังหวัดยามางาตะจังหวัดอิวาเตะจังหวัดคานางาวะตำนานพื้นบ้าน

มังงะ

หน้าหนึ่งจากหนังสือการ์ตูนเรื่องมาร์มาเลดบอย ฉบับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 1 มังงะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มังงะที่ได้รับความนิยมสูงมักถูกนำไปสร้างเป็นอะนิเมะ เนื้อหาของมังงะเหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทางโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น.

ใหม่!!: คุณฮะนะโกะประจำห้องน้ำและมังงะ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: คุณฮะนะโกะประจำห้องน้ำและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อะนิเมะ

รูปแบบอะนิเมะในปัจจุบัน อะนิเมะ (「アニメ」 anime) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชั่น (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อะนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อะนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอะนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้ว.

ใหม่!!: คุณฮะนะโกะประจำห้องน้ำและอะนิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดยามางาตะ

ังหวัดยามางาตะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคโทโฮะกุบนเกาะฮนชู เมืองหลวงอยู่ที่เมืองยามางาต.

ใหม่!!: คุณฮะนะโกะประจำห้องน้ำและจังหวัดยามางาตะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอิวาเตะ

ังหวัดอิวาเตะ เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในภูมิภาคโทโฮะกุ (東北地方 Tōhoku-chihō) หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บนเกาะฮนชู (本州 Honshū) มีเมืองเอกคือ เมืองโมะริโอะกะ (盛岡市 Morioka-shi).

ใหม่!!: คุณฮะนะโกะประจำห้องน้ำและจังหวัดอิวาเตะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคานางาวะ

ังหวัดคานางาวะ ตั้งอยู่บริเวณภาคคันโต บนเกาะฮนชูของญี่ปุ่น มีโยโกฮามะเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เมืองโยโกฮามะนั้นเป็นสถานที่จัดศึกฟุตบอลโลกในปี 2002 รอบชิงชนะเลิศ และเป็นเมืองที่มีย่านที่คนจีนอาศัยอยู่มากที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น มีวัดวาอารามตั้งอยู่หลายวัดในเมืองคามากูระ ปัจจุบันเมืองโยโกฮามะเป็นส่วนหนึ่งของกรุงโตเกียว และเป็นเมืองศูนย์กลางที่สำคัญเนื่องจากมีท่าเรือพาณิชย์นานาชาติใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกไกล เมืองโยโกฮามะเป็นเมืองใหญ่อันดับสองรองจากโตเกียว โดยมีประชากรกว่า 3 ล้านคน.

ใหม่!!: คุณฮะนะโกะประจำห้องน้ำและจังหวัดคานางาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานพื้นบ้าน

ตำนานพื้นบ้าน (urban legend, urban myth, urban tale หรือ contemporary legend) เป็นคติชน (folklore) ยุคปัจจุบันรูปแบบหนึ่ง ประกอบด้วยเรื่องที่ผู้เล่าอาจเชื่อว่าจริงหรือไม่จริง เฉกเช่นเดียวกับคติชนและปกรณัม (mythology) ตำนานพื้นบ้านไม่ได้มุ่งหมายที่ความถูกต้องแท้จริงของเนื้อหา เพียงแต่ได้ไขเรื่องราวนั้นให้แพร่หลาย ฉะนั้น เนื้อหาจึงมีลักษณะเปลี่ยนแปลงผกผันได้เป็นระยะ ๆ แต่ก็มีความสำคัญบางประการที่จูงใจให้ชุมชนรักษาและถ่ายทอดเรื่องนั้นต่อ ๆ ไป แม้ในภาษาอังกฤษเรียก "urban" ซึ่งหมายถึง ชุมชนเมือง แต่ก็ไม่จำเป็นว่าเรื่องราวจะต้องเกิดในชุมชนเมืองเสมอไป ที่ใช้คำเช่นนั้นก็เพื่อให้ต่างกับคติชนดั้งเดิม (traditional folklore) ในยุคก่อนอุตสาหกรรมเท่านั้น ด้วยเหตุผลนี้ นักสังคมวิทยากับนักคติชนวิทยาจึงพอใจจะเรียกตำนานพื้นบ้านว่า "ตำนานร่วมสมัย" (contemporary legend) มากกว่า ตำนานพื้นบ้านนั้นบางทีก็เล่าซ้ำ ๆ กันในรูปแบบรายงานข่าว และในช่วงหลัง ๆ มักแพร่หลายในรูปแบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้คนมักอ้างว่าเรื่องราวที่โจษจันกันนั้นเกิดขึ้นแก่เพื่อนของเพื่อน เมื่อเล่าตำนานพื้นบ้านก็จึงมักอ้างถึง "เพื่อนของเพื่อน" (หรือที่ในภาษาไทยแต่โบราณว่า "กิร ดังได้สดับมา") แม้เวลาผ่านไปหลายปี ตำนานพื้นบ้านบางเรื่องเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากก็มี เช่น เรื่องหญิงถูกแมงมุมซึ่งทำรังอยู่ในทรงผมของนางฆ่าตาย ตำนานพื้นบ้านในระยะหลัง ๆ มักสะท้อนพฤติการณ์สมัยใหม่ขึ้น เช่น เรื่องปล้นไต (Kidney Heist) ความว่า มีคนถูกดักทำร้าย โปะยาสลบ พอตื่นขึ้นมาก็พบว่าไตหายไปข้างหนึ่ง เพราะถูกลักไปใช้ปลูกถ่ายให้แก่ผู้อื่น เป็นต้น.

ใหม่!!: คุณฮะนะโกะประจำห้องน้ำและตำนานพื้นบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hanako of the toiletHanako-sanMister Hanakoฮานาโกะซังประจำห้องน้ำคุณฮะนะโกะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »