โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คำสาปฟาโรห์

ดัชนี คำสาปฟาโรห์

ำสาปฟาโรห์ เป็นคำสาปที่กล่าวอ้างกันว่า ส่งผลต่อบุคคลใดก็ตามที่รบกวนมัมมี่ของชาวอียิปต์โบราณ โดยเฉพาะพระศพฟาโรห์ คำสาปนี้ไม่แยกแยะว่า ผู้รบกวนนั้นจะเป็นโจรหรือเป็นนักโบราณคดี เชื่อว่า จะนำมาซึ่งโชคร้าย โรคภัย หรือความตาย และนับแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา นักเขียนและนักสารคดีหลายคนแย้งว่า คำสาปมีผลจริงที่ใช้วิทยาศาสตร์อธิบายได้ เช่น อาศัยแบคทีเรียหรือการแผ่รังสี ถึงแม้ว่าเรื่องเล่าเกี่ยวกับคำสาปมัมมี่อียิปต์ แหล่งที่มาในสมัยปัจจุบัน พัฒนาการซึ่งหลัก ๆ แล้วอยู่ในวัฒนธรรมยุโรป การแปรจากเรื่องเวทมนตร์ไปยังวิทยาศาสตร์ รวมถึงวัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนไปในการใช้งานคำสาป เช่น จากการลงโทษผู้รบกวนไปเป็นการสร้างความบันเทิงในภาพยนตร์ เหล่านี้บ่งบอกว่า คำสาปเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม มากกว่าทางวิทยาศาสตร์โดยตรง ในทางโบราณคดี ไม่เคยมีการค้นพบคำสาปภายในตัวสุสานของฟาโรห์ดังที่เข้าใจกันJ.

10 ความสัมพันธ์: บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ฟาโรห์ฟาโรห์อาโมสที่ 1มัมมี่ราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์อะเล็กซานเดรียอียิปต์โบราณแมสตาบาไฮเออโรกลีฟอียิปต์เควี 62

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์

ันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟเป็นนิยายที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในจินตนาการ.

ใหม่!!: คำสาปฟาโรห์และบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์

หลังรัชสมัยฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser) แห่งราชวงศ์ที่ 3 แล้ว มักปรากฏภาพพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์ฉลองพระองค์ด้วยศิราภรณ์เนเมส (Nemes), พระมัสสุเทียม, และกระโปรงจีบ ฟาโรห์ (Pharaoh; อ่านว่า เฟโรห์ (ˈ/feɪroʊ/) หรือ แฟโรห์ (/ˈfæroʊ/)) เป็นชื่อตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์โบราณทุกราชวงศ์ มีต้นศัพท์คือคำว่า "pr-aa" แปลว่า บ้านหลังใหญ่ (great house) ซึ่งเป็นคำอุปมาถึง พระราชมนเทียร คำ "ฟาโรห์" นั้นปัจจุบันใช้เรียกพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของอียิปต์โบราณ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว เริ่มเรียกพระมหากษัตริย์อียิปต์ว่า "ฟาโรห์" กันในสมัยราชอาณาจักรใหม่ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงกลางราชวงศ์ที่ 18 เมื่อพ้นรัชกาลของพระนางแฮตเชปซุต (Hatshepsut) ไปแล้วDodson, Aidan and Hilton, Dyan.

ใหม่!!: คำสาปฟาโรห์และฟาโรห์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโรห์อาโมสที่ 1

อาโมสที่ 1 เป็นฟาโรห์องค์ที่ 1 ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ อาโมสที่ 1 เป็นโอรสองค์รองของฟาโรห์ทาโอที่สอง (Tao II) กับราชินีอาโฮเทปที่ 1แห่งราชวงศ์ที่ 17.

ใหม่!!: คำสาปฟาโรห์และฟาโรห์อาโมสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

มัมมี่

มัมมี่ มัมมี่ (Mummy) คือศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษในประเทศอียิปต์ พันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ คำว่า "มัมมี่" มาจากคำว่า "มัมมียะ" (Mummiya) ซึ่งเป็นคำในภาษาเปอร์เซีย มีความหมายถึงร่างของซากศพที่ถูกดองจนกลายเป็นสีดำ โดยชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝังในลักษณะแนวนอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบทะเลทรายอาระเบียและทะเลทรายในพื้นที่รอบบริเวณของอียิปต์ เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวล.

ใหม่!!: คำสาปฟาโรห์และมัมมี่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่หก แห่งอียิปต์โบราณ มักจะรวมกับราชวงศ์ที่สาม, ราชวงศ์ที่สี่ และราชวงศ์ที่ห้า ในช่วงระยะเวลาของราชอาณาจักรเก่า ฟาโรห์ของราชวงศ์ที่หกครองราชย์ตั้งแต่เวลาประมาณ 2345 ถึง 2181 ปีก่อนคริสตกาล รวมเป็นเวลา 164 ปี มีฟาโรห์ทั้ง 8 พระองค์ หมวดหมู่:ราชวงศ์อียิปต์โบราณ หมวดหมู่:ราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: คำสาปฟาโรห์และราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

อะเล็กซานเดรีย

อะเล็กซานเดรีย หรือในภาษาอาหรับเรียก อัลอัสกันดะริย์ยะ (Alexandria; الإسكندرية; Αλεξάνδρεια; คอปติก: Ⲣⲁⲕⲟⲧⲉ) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองในประเทศอียิปต์ รองจากกรุงไคโร มีประชากรประมาณ 3-5 ล้านคน และเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอียิปต.

ใหม่!!: คำสาปฟาโรห์และอะเล็กซานเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ใหม่!!: คำสาปฟาโรห์และอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

แมสตาบา

แมสตาบาแห่งหนึ่งที่เมืองซักกอเราะฮ์ ประเทศอียิปต์ โครงสร้างแมสตาบา แมสตาบา (mastaba) คือ สิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงไม่สูง ด้านข้างลาดเอียง ส่วนบนแบนราบ สร้างเพื่อปกคลุมทางลงสู่ห้องเก็บศพซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้ดิน หลุมทรายที่ขุดมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กลบปิดหลุม ก่อให้สูงขึ้น จากหลุมฝังพระศพแบบแมสตาบา ชาวอียิปต์ได้วิวัฒนาการแนวความคิดก่อเป็นแมสตาบาซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ และลดหลั่นกันตามลำดับ กลายเป็นโครงสร้างพีระมิดขึ้นมาเป็นแห่งแรกและจัดว่าเป็นอนุสาวรีย์หินอันมหึมาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นั่นคือ พีระมิดแบบขั้นที่เมืองซักกอเราะฮ์ หมวดหมู่:อียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: คำสาปฟาโรห์และแมสตาบา · ดูเพิ่มเติม »

ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

ออโรกลีฟอียิปต์ (Egyptian hieroglyphs) เป็นระบบการเขียนที่ชาวอียิปต์โบราณใช้อย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยอักษร (alphabet) และสัญรูป (logograph) อักขระในระบบไฮเออโรกลีฟอียิปต์นี้ยังสัมพันธ์กับอักขระอียิปต์อีก 2 ชุด คือ อักขระไฮเออแรติก (hieratic) และอักขระดีมอติก (demotic) ไฮเออโรกลีฟอียิปต์แบบหวัดนั้นมักใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนาลงบนแผ่นไม้และแผ่นพาไพรัส ไฮเออโรกลีฟอียิปต์ยุคแรกย้อนหลังไปได้ไกลถึง 3,300 ปีก่อน..

ใหม่!!: คำสาปฟาโรห์และไฮเออโรกลีฟอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

เควี 62

วี 62 (KV62) เป็นชื่อสุสานในหุบผากษัตริย์ (Valley of the Kings) ประเทศอียิปต์ ที่ไว้พระศพของทุตอังค์อามุน (Tutankhamun) และมีชื่อเสียงเพราะทรัพย์สมบัติที่พบข้างใน ในปี 1922 เฮาเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) พบสุสานนี้อยู่ในหุบผาซึ่งมีซากบ้านเรือนคนงานที่สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรใหม่ปกคลุมอยู่ นี้เป็นเหตุผลที่สุสานรอดพ้นจากการระดมขุดกรุอย่างร้ายแรงที่สุดในช่วงนั้น เมื่อพบสุสานแล้ว ปรากฏว่า ภายในมีข้าวของเรียงไว้ระเกะระกะ คาร์เตอร์ได้ถ่ายภาพพวงมาลัยพวงหนึ่งไว้ซึ่งพอแตะแล้วก็สลายเป็นผงธุลีไป การขนทรัพย์สินออกจากสุสานใช้เวลา 8 ปี เนื่องจากสภาพของสุสานเอง และความประสงค์ของคาร์เตอร์ที่จะบันทึกข้อมูลไว้ให้ละเอียดที่สุด ทรัพย์สินดังกล่าวขนไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโร หลังฝังพระศพแล้วไม่นาน ขโมยขึ้นสุสานนี้อย่างน้อย 2 ครั้ง พระทวารบานนอกสุดของห้องไว้พระศพนั้นถูกเปิดทิ้งไว้และมิได้ลั่นดาล มีการประเมินว่า ร้อยละ 60 ของอัญมณีในพระคลังของสุสานถูกลักพาออกไป.

ใหม่!!: คำสาปฟาโรห์และเควี 62 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Curse of the pharaohsคำสาปอียิปต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »