โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คอคอดปานามา

ดัชนี คอคอดปานามา

อคอดปานามา คอคอดปานามา (Istmo de Panamá) หรือในอดีตเรียก คอคอดดาเรียน (Istmo de Darién) เป็นแผ่นดินกิ่วคอดซึ่งอยู่กลางทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแปซิฟิก และเชื่อมทวีปอเมริกาเหนือเข้ากับทวีปอเมริกาใต้ ทั้งเป็นดินแดนประเทศปานามาและเป็นแหล่งคลองปานามา นอกจากนี้ ยังมีคุณค่าทางยุทธศาสตร์นานัปการเช่นเดียวกับคอคอดแห่งอื่น ๆ คอคอดปานาเกิดขึ้นราวสามล้านปีก่อนในยุคไพลโอซีน ซึ่งทำให้มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกแยกจากกัน และก่อให้เกิดกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรดังกล่าว.

17 ความสัมพันธ์: การตื่นทองที่แคลิฟอร์เนียมรดกโลกมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกสมัยไพลโอซีนองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติทวีปอเมริกาใต้ทวีปอเมริกาเหนือทะเลแคริบเบียนคลองสุเอซคลองปานามาซานฟรานซิสโกประเทศปานามาประเทศโคลอมเบียประเทศเปรูแฟร์ดีน็อง เดอ แลแซ็ปส์เซบิยา

การตื่นทองที่แคลิฟอร์เนีย

การล่องเรือมายังแคลิฟอร์เนียในช่วงเริ่มต้นการตื่นทอง การตื่นทองที่แคลิฟอร์เนีย (California Gold Rush) เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม 1848 เมื่อทองคำถูกค้นพบโดยเจมส์ ดับเบิลยู. มาร์แชลล์ ที่โรงเลื่อยชัตเตอร์ในโคโลมา แคลิฟอร์เนีย บุคคลกลุ่มแรกที่ทราบข้อมูลยืนยันการตื่นทอง คือ ประชาชนในโอเรกอน หมู่เกาะแซนด์วิช (ฮาวาย) และละตินอเมริกา ผู้ที่เป็นกลุ่มแรกที่เริ่มแห่กันเข้ามาในแคลิฟอร์เนียในปลายปี 1848 ข่าวทองคำดึงดูดประชาชนราว 300,000 คนมายังแคลิฟอร์เนีย จากทั่วสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ ในจำนวนนี้ ประมาณครึ่งหนึ่งมาทางทะเล และอีกครึ่งมาทางบกจากทิศตะวันออกตามเส้นทางแคลิฟอร์เนียและเส้นทางแม่น้ำฮีลา นักแสวงทอง หรือเรียกว่า "forty-niners" (อ้างถึงปี 1849) มักเผชิญความยากลำบากมากมายระหว่างทาง ขณะที่ผู้มาถึงใหม่ส่วนมากเป็นชาวอเมริกัน การตื่นทองก็ดึงดูดผู้คนหลายหมื่นคนจากละตินอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และจีน เริ่มแรก ก้อนทองคำสามารถหยิบขึ้นมาจากพื้น ต่อมา ทองคำถูกแยกจากธารน้ำและก้นแม่น้ำโดยใช้เทคนิคอย่างง่าย เช่น การร่อน มีการพัฒนาวิธีการที่ซับซ้อนขึ้นและได้ถูกนำไปใช้ในที่อื่นด้วย ณ จุดสูงสุด การก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาถึงจุดที่ต้องมีการจัดหาเงินทุนอย่างสำคัญ ซึ่งเพิ่มสัดส่วนบริษัททองคำต่อนักขุดปัจเจก ในยุคนั้น มีการค้นพบทองคำที่มีมูลค่ากว่าหนึ่งหมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐตามมูลค่าปัจจุบัน ซึ่งทำให้คนส่วนน้อยมีความมั่งคั่งมหาศาล อย่างไรก็ดี ส่วนมากเดินทางกลับบ้านโดยมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นกว่าก่อนออกเดินทางมาเล็กน้อย ผลของการตื่นทองนั้นสำคัญ ซานฟรานซิสโกเติบโตขึ้นจากนิคมเล็ก ๆ ที่มีผู้อยู่อาศัยราว 200 คนในปี 1846 มาเป็นเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่มีประชากรราว 36,000 คนในปี 1852 ถนน โบสถ์ โรงเรียนและเมืองอื่นถูกสร้างขึ้นทั่วแคลิฟอร์เนีย ในปี 1849 รัฐธรรมนูญของรัฐถูกเขียนขึ้น มีการเลือกตั้งผู้ว่าการและสภานิติบัญญัติ และแคลิฟอร์เนียกลายเป็นรัฐหนึ่งในปี 1850 อันเป็นส่วนหนึ่งของข้อประนีประนอม ค.ศ. 1850 มีการพัฒนาวิธีการขนส่งใหม่ เมื่อเรือไอน้ำมีใช้กันทั่วไป จนถึงปี 1869 มีการสร้างทางรถไฟข้ามประเทศจากรัฐแคลิฟอร์เนียไปยังสหรัฐอเมริกาตะวันออก เกษตรกรรมและฟาร์มปศุสัตว์ขยายทั่วรัฐเพื่อให้เท่ากับความต้องการของผู้ตั้งถิ่นฐาน ในช่วงเริ่มต้นของการตื่นทอง ไม่มีกฎหมายเกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในแหล่งทองและระบบ "พนันการอ้างสิทธิ์" (staking claims) ถูกพัฒนาขึ้น การตื่นทองยังส่งผลให้เกิดการโจมตีชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา ซึ่งถูกโจมตีและถูกบังคับให้ย้ายออกจากดินแดนของเขา ประเมินว่ามีชาวอินเดียแคลิฟอร์เนีย 100,000 คนเสียชีวิตระหว่างปี 1848 ถึง 1868 และราว 4,500 คนในจำนวนนี้ถูกฆ่า การขุดทองยังส่งผลให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมแม่น้ำและทะเล.

ใหม่!!: คอคอดปานามาและการตื่นทองที่แคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: คอคอดปานามาและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: คอคอดปานามาและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: คอคอดปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลโอซีน

Diodora italica จากสมัยไพลโอซีนของไซปรัส สมัยไพลโอซีน (Pliocene หรือ Paleocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 5.333 ถึง 2.588See the 2009 version of the ICS geologic time scale: ล้านปีก่อนปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยที่สองและสมัยใหม่ที่สุดของยุคนีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก สมัยไพลโอซีนต่อมาจากสมัยไมโอซีนและตามด้วยสมัยไพลสโตซีน ชื่อของสมัยตั้งโดยนักธรณีวิทยาชาลส์ ไลเอลล์ ที่มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos ที่แปลว่า "ใหม่") ที่แปลง่าย ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" ที่หมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาของสมัยใหม.

ใหม่!!: คอคอดปานามาและสมัยไพลโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: คอคอดปานามาและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: คอคอดปานามาและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: คอคอดปานามาและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแคริบเบียน

แผนทีภูมิภาคอเมริกากลางและทะเลแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนมองจากอวกาศ (ด้านบนซ้าย) ทะเลแคริบเบียน (Caribbean Sea, หรือ; Mar Caribe) เป็นทะเลเขตร้อนในซีกโลกตะวันตก ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเม็กซิโก ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแผ่นเปลือกโลกแคริบเบียน โดยทางทิศใต้จดทวีปอเมริกาใต้ ทางทิศตะวันตกและทิศใต้จดประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง และทางทิศเหนือและทิศตะวันออกจดหมู่เกาะแอนทิลลีส ได้แก่ เกาะคิวบา เกาะฮิสปันโยลา เกาะจาเมกา และเกาะเปอร์โตริโกในหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีสทางทิศเหนือ ส่วนหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (เช่น เกาะแองกวิลลา เกาะดอมินีกา เกาะเซนต์ลูเซีย) อยู่ทางทิศตะวันออก พื้นที่ทั้งหมดของทะเลแคริบเบียน หมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลนี้ และชายฝั่งที่ติดต่อกัน รวมเรียกกันในชื่อภูมิภาคแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนเป็นหนึ่งในทะเลที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 2,754,000 ตารางกิโลเมตร (1,063,000 ตารางไมล์) จุดที่ลึกที่สุดของทะเลนี้คือ Cayman Trough อยู่ระหว่างคิวบากับจาเมกา ที่ความลึก 7,686 เมตร (25,220 ฟุต) ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ชายฝั่งแคริบเบียนมีอ่าวอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวเวเนซุเอลา อ่าวดาริเอน อ่าวโมสกิโตส และอ่าวฮอนดูรั.

ใหม่!!: คอคอดปานามาและทะเลแคริบเบียน · ดูเพิ่มเติม »

คลองสุเอซ

ลองสุเอซ (Suez Canal) เป็นคลองที่มนุษย์สร้างขึ้นในประเทศอียิปต์ ระหว่าง Port Said (Būr Sa'īd) ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองสุเอซ (Suez) บนฝั่งทะเลแดง มีความยาว 183 กิโลเมตร คลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้ากับทะเลแดง ผ่านช่องแคบสุเอซ ในอียิปต์ตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 101 ไมล์ เดิมทีมันถูกขุดขึ้นด้วยมือ ปัจจุบัน สามารถรองรับเรือยาว 500 ม. กว้าง 70 ม. ลึก 70 ม. ไม่มีประตูกั้นน้ำเพราะทะเลทั้ง 2 แห่งมีระดับเดียวกัน คลองสุเอซเริ่มสร้างในเดือนเมษายน ปี 1859 แล้วเสร็จในเดิอนพฤศจิกายน ปี 1869 เป็นตัวเชื่อมสำคัญในการค้าระดับโลกเนื่องจากเป็นเส้นทางลัดระหว่างยุโรปและเอเซีย ขจัดการเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ทวีปแอฟริกา คลองสุเอซช่วยให้การเดินทางระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียสั้นลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเรือไม่ต้องเดินทางอ้อมทวีปแอฟริกา ก่อนการสร้างคลองนั้น ใช้การขนถ่ายสินค้าทางบกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดง คลองสุเอซแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเหนือและส่วนใต้ โดยมีทะเลสาบเกรตบิตเตอร์ (Great Bitter) เป็นจุดกลาง.

ใหม่!!: คอคอดปานามาและคลองสุเอซ · ดูเพิ่มเติม »

คลองปานามา

แผนที่การเดินทางในคลองปานามา โดยมีรายชื่อประตูกั้นน้ำประกอบ สถานที่ตั้งของคลองปานามาระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน โดยตัวคลองตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของแผนที่ คลองปานามา (Panama Canal) เป็นคลองเดินเรือสมุทรความยาว 77 กิโลเมตร สร้างขึ้นบริเวณคอคอดปานามาในประเทศปานามา เพื่อเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องไปอ้อมช่องแคบเดรกและแหลมฮอร์น ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 22,500 กิโลเมตร ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินเรือระหว่างสองมหาสมุทร โดยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเรือหลักสำหรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เปิดทำการ คลองปานามาประสบความสำเร็จและเป็นกุญแจสำคัญในการขนส่งสินค้าทั่วโลก จำนวนเรือที่ผ่านคลองปานามาเพิ่มขึ้นจาก 1,000 ลำต่อปีในยุคแรกเริ่ม มาเป็น 14,702 ลำต่อปี ในปี..

ใหม่!!: คอคอดปานามาและคลองปานามา · ดูเพิ่มเติม »

ซานฟรานซิสโก

ซานฟรานซิสโก หรือ แซนแฟรนซิสโก (San Francisco) คือเมืองในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีประชากร ประมาณ 808,976 คน ซึ่งเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นประชากรเป็นอันดับสองของประเทศ เมืองซานฟรานซิสโกตั้งอยู่บริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่มาตั้งรกรากในซานฟรานซิสโกคือชาวสเปน โดยในปี ค.ศ. 1776 เมืองมีชื่อว่า เซนต์ฟรานซิส (St. Francis) ในภายหลังจากช่วงยุคตื่นทองในปี ค.ศ. 1848 ทำให้ประชากรในซานฟรานซิสโกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมืองเติบโตอย่างมาก ถึงแม้ว่าซานฟรานซิสโกจะประสบปัญหา แผ่นดินไหวและไฟไหม้ขนาดใหญ่ในช่วงปี..

ใหม่!!: คอคอดปานามาและซานฟรานซิสโก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปานามา

ปานามา (Panamá) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐปานามา (República de Panamá) เป็นประเทศที่อยู่ทางใต้สุดของอเมริกากลาง มีอาณาเขตจรดประเทศคอสตาริกาทางทิศตะวันตก และจรดประเทศโคลอมเบียทางทิศตะวันออก.

ใหม่!!: คอคอดปานามาและประเทศปานามา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโคลอมเบีย

ลอมเบีย (โกลมเบีย) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโคลอมเบีย เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อกับเวเนซุเอลาและบราซิล ทางทิศใต้ติดต่อกับเอกวาดอร์และเปรู ทางทิศเหนือจรดทะเลแคริบเบียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดต่อกับปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก.

ใหม่!!: คอคอดปานามาและประเทศโคลอมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเปรู

ประเทศเปรู (Perú) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเปรู เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศเอกวาดอร์และประเทศโคลอมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบราซิลและประเทศโบลิเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศชิลี และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศเปรูเป็นที่ตั้งของอารยธรรมการัล ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่อันหนึ่งของโลก และอาณาจักรอินคา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส ต่อมาภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน และได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2364 ชื่อเปรูมาจากคำว่า "บีรู" (Birú) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณอ่าวซานมีเกลในปานามา โดยบริเวณนี้เป็นจุดใต้สุดที่ชาวยุโรปรู้จักเมื่อครั้งนักสำรวจชาวสเปนมาถึงในปี พ.ศ. 2065 ดังนั้นเมื่อฟรันซิสโก ปีซาร์โรเดินทางสำรวจต่อไปทางใต้ จึงเรียกภูมิภาคเหล่านั้นว่า บีรูหรือเปรูด้วย จักรวรรดิสเปนรับรองชื่อนี้ในปี..

ใหม่!!: คอคอดปานามาและประเทศเปรู · ดูเพิ่มเติม »

แฟร์ดีน็อง เดอ แลแซ็ปส์

แฟร์ดีน็อง เดอ แลแซ็ปส์ แฟร์ดีน็อง มารี วีกงต์ เดอ แลแซ็ปส์ (Ferdinand Marie, Vicomte de Lesseps; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1805 - 7 ธันวาคม ค.ศ. 1894) เป็นหัวหน้าวิศวกรและนักการทูตชาวฝรั่งเศสผู้สร้างคลองสุเอซสำเร็จในปี ค.ศ. 1869 ถึงแม้เขาจะประสบความล้มเหลวในการสร้างคลองปานามา แต่เขาก็เป็นผู้วางแนวคิดและหลักวิชาการทางด้านวิศวกรรม ที่ใช้แก้ปัญหาจนนำความสำเร็จในการสร้างคลองปานามา หมวดหมู่:วิศวกรชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:นักการทูตชาวฝรั่งเศส.

ใหม่!!: คอคอดปานามาและแฟร์ดีน็อง เดอ แลแซ็ปส์ · ดูเพิ่มเติม »

เซบิยา

ที่ตั้งเมืองเซบิยาในประเทศสเปน เซบิยา (Sevilla) หรือ เซวิลล์ (Seville) เป็นศูนย์กลางทางการเงิน วัฒนธรรม และศิลปะของภาคใต้ของประเทศสเปน และยังเป็นเมืองหลวงของแคว้นปกครองตนเองอันดาลูซีอาและจังหวัดเซบิยาอีกด้วย พิกัดภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ที่ 37°22′38″ เหนือ และ 5°59′13″ ตะวันตก) มีแม่น้ำกวาดัลกีวีร์ (Guadalquivir) ไหลผ่าน ผู้อยู่อาศัยในเมืองนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ เซบิยาโนส (Sevillanos) เฉพาะในเมืองเซบิยามีจำนวนประชากร 704,154 คนในปี พ.ศ. 2548 แต่ถ้ารวมพื้นที่เขตเมือง (urban area) จะมีจำนวนประชากร 1,043,000 คน และถ้ารวมประชากรในเขตมหานคร (เขตเมืองรวมกับเมืองบริวาร) จะมีจำนวนสูงถึง 1,317,098 คน ทำให้เขตมหานครเซบิยาเป็นเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของสเปน.

ใหม่!!: คอคอดปานามาและเซบิยา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »