เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ความไม่เสถียรของจีนส์

ดัชนี ความไม่เสถียรของจีนส์

วามไม่เสถียรของจีนส์ (Jeans instability) เป็นสาเหตุทำให้เกิดการยุบตัวของเมฆระหว่างดาวและทำให้เกิดการก่อตัวของดาวฤกษ์เป็นลำดับต่อไป เกิดขึ้นเมื่อแรงดันก๊าซภายในไม่เพียงพอที่จะป้องกันการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วงของห้วงบริเวณที่เต็มไปด้วยสสาร การจะดำรงภาวะเสถียรไว้นั้น กลุ่มเมฆจะต้องมีภาวะสมดุลอุทกสถิต ซึ่งในกรณีของกลุ่มเมฆทรงกลมนั้นสามารถแปลงเป็นสมการได้ดังนี้ โดยที่ M_(r) คือมวลที่อยู่ภายใน, p คือแรงดัน, \rho(r) คือความหนาแน่นของก๊าซที่ระยะรัศมี r, G คือ ค่าคงที่แรงโน้มถ่วง และ r คือรัศมี ภาวะสมดุลจะคงอยู่ได้ถ้ามีความยุ่งเหยิงเล็กๆ เกิดขึ้น แต่จะเข้าสู่ความไม่เสถียรถ้ามันขยายตัวขึ้น โดยทั่วไป กลุ่มเมฆไม่เสถียรถ้ามันมีมวลสูงมากๆ ที่อุณหภูมิค่าหนึ่ง หรือเย็นมากๆ ที่ขีดมวลค่าหนึ่ง ทำให้แรงโน้มถ่วงเอาชนะแรงดันก๊าซภายในได้.

สารบัญ

  1. 3 ความสัมพันธ์: การก่อตัวของดาวฤกษ์สภาวะสมดุลอุทกสถิตเนบิวลา

การก่อตัวของดาวฤกษ์

กกล้องฮับเบิล ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ''เสาหลักแห่งการสร้าง'' อันเป็นบริเวณที่เป็นแหล่งก่อตัวดาวฤกษ์ภายในเนบิวลานกอินทรี การก่อตัวของดาวฤกษ์ คือกระบวนการที่ส่วนหนาแน่นมากๆ ในเมฆโมเลกุลเกิดการยุบตัวลงกลายเป็นลูกกลมพลาสมาเพื่อก่อตัวขึ้นเป็นดาวฤกษ์ ในฐานะสาขาหนึ่งในการศึกษาดาราศาสตร์ การก่อตัวของดาวฤกษ์ยังรวมไปถึงการศึกษาสสารระหว่างดาวและเมฆโมเลกุลยักษ์ ในฐานที่เป็นสื่อกลางในกระบวนการก่อตัวของดาว และการศึกษาวัตถุดาวฤกษ์อายุน้อยและการก่อตัวของดาวเคราะห์ด้วย ทฤษฎีการก่อตัวของดาวฤกษ์นอกจากศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิดดาวฤกษ์เดี่ยวแล้ว ยังรวมไปถึงการศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับดาวคู่และฟังก์ชันมวลตั้งต้น.

ดู ความไม่เสถียรของจีนส์และการก่อตัวของดาวฤกษ์

สภาวะสมดุลอุทกสถิต

้าปริมาตรแก๊สส่วนที่ระบายสีไม่มีการเคลื่อนที่ แรงที่กระทำต่อแก๊สทางด้านขึ้นจะต้องเท่ากับแรงที่กระทำทางด้านลง สภาวะสมดุลอุทกสถิต (Hydrostatic equilibrium) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อแรงกดจากความโน้มถ่วงมีค่าเท่ากับแรงดันต้านที่เกิดจากความดันในทิศทางตรงกันข้าม ตามกฎของนิวตัน แรงที่กระทำต่อปริมาตรของไหลที่ไม่มีการเคลื่อนที่ หรือมีการเคลื่อนที่ในอัตราคงที่ จะต้องมีผลรวมแรงเท่ากับศูนย์ กล่าวคือ แรงกระทำทางด้านขึ้นต้องเท่ากับแรงกระทำทางด้านลง สมดุลของแรงในลักษณะนี้เรียกว่า "สมดุลอุทกสถิต" (hydrostatic balance).

ดู ความไม่เสถียรของจีนส์และสภาวะสมดุลอุทกสถิต

เนบิวลา

อ็นจีซี 604 (NGC 604) เป็นเนบิวลาที่อยู่ภายในแขนของดาราจักรเอ็ม 33 (M33) ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยม อยู่ห่างจากโลก 2.7 ล้านปีแสง เนบิวลานี้เป็นบริเวณก่อตัวของดาวฤกษ์ดวงใหม่ เนบิวลานาฬิกาทราย (MyCn18) เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์อายุน้อย อยู่ห่างจากโลกประมาณ 8,000 ปีแสง ภาพนี้ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขององค์การนาซา เนบิวลา (Nebula - มาจากภาษาละติน nebula (พหูพจน์ nebulae) หมายถึง "หมอก") เป็นกลุ่มเมฆหมอกของฝุ่น แก๊ส และพลาสมาในอวกาศ เดิมคำว่า "เนบิวลา" เป็นชื่อสามัญ ใช้เรียกวัตถุทางดาราศาสตร์ที่เป็นปื้นบนท้องฟ้าซึ่งรวมถึงดาราจักรที่อยู่ห่างไกลออกไปจากทางช้างเผือก (ตัวอย่างเช่น ในอดีตเคยเรียกดาราจักรแอนดรอเมดาว่าเนบิวลาแอนดรอเมดา).

ดู ความไม่เสถียรของจีนส์และเนบิวลา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ความไม่เสถียรของฌ็อง