โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์

ดัชนี ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์

วามขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ เป็นการต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นวงกว้าง และบางครั้งยังใช้คำนี้อ้างอิงถึงความขัดแย้งนิกายในปาเลสไตน์ในอาณัติระหว่างยีชูฟ (yishuv) ขบวนการไซออนิสต์กับประชากรอาหรับภายใต้การปกครองของอังกฤษ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ก่อเกิดเป็นส่วนสำคัญของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลที่ใหญ่กว่า ถูกเรียกอย่างกว้างขวางว่าเป็น "ความขัดแย้งที่หายยากที่สุด" ของโลก แม้มีกระบวนการสันติภาพระยะยาวและการปรองดองทั่วไปของอิสราเอลกับอียิปต์และจอร์แดน แต่อิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่สามารถบรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายได้ ประเด็นสำคัญที่ยังเหลืออยู่ คือ การรับรองร่วมกัน เขตแดน ความมั่นคง สิทธิน้ำ การควบคุมเยรูซาเลม นิคมอิสราเอล เสรีภาพในการเคลื่อนไหวของปาเลสไตน์ และการแก้ไขการอ้างสิทธิการเดินทางกลับสำหรับผู้ลี้ภัยของปาเลสไตน์ ความรุนแรงของความขัดแย้งในภูมิภาคอันอุดมไปด้วยแหล่งความสนใจทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาทั่วโลก กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างประเทศจำนวนมากว่าด้วยสิทธิทางประวัติศาสตร์ ประเด็นความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน และเป็นปัจจัยขัดขวางการท่องเที่ยวและการเข้าถึงพื้นที่ซึ่งพิพาทกันอย่างดุเดือดโดยทั่วไป มีความพยายามหลายครั้งเพื่อเป็นนายหน้าทางแก้สองรัฐ (two-state solution) อันเกี่ยวข้องกับการสถาปนารัฐปาเลสไตน์เอกราชขึ้นคู่กับรัฐอิสราเอล (หลังการสถาปนาอิสราเอลในปี 2491) ในปี 2550 ตามการหยั่งเสียงจำนวนหนึ่ง ทั้งชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ส่วนใหญ่เห็นชอบทางแก้สองรัฐเป็นวิธีแก้ไขความขัดแย้งมากกว่าทางแก้อื่น ยิ่งไปกว่านั้น สาธารณชนยิวส่วนใหญ่ยังมองว่าข้อเรียกร้องรัฐเอกราชของชาวปาเลสไตน์ชอบธรรม และคิดว่าประเทศอิสราเอลสามารถตกลงให้จัดตั้งรัฐเช่นว่าได้ ความไม่ไว้วางใจร่วมกันและความไม่ลงรอยอย่างสำคัญหยั่งลึกในประเด็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับกังขาคติต่อกันและกันเกี่ยวกับการผูกมัดตามพันธกรณีที่รักษาในความตกลงท้ายที่สุด ในสังคมอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนี้ก่อให้เกิดมุมมองและความคิดเห็นหลากหลาย ซึ่งเน้นการแบ่งแยกลึกล้ำซึ่งไม่ได้มีเฉพาะระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ยังภายในแต่ละสังคมด้วย ลักษณะเด่นของความขัดแย้งนี้เป็นระดับความรุนแรงที่สังเกตได้แทบตลอดระยะของความขัดแย้ง มีการสู้รบโดยกองทัพตามแบบ กลุ่มกึ่งทหาร กลุ่มก่อการร้ายและปัจเจกบุคคล กำลังพลสูญเสียมิได้จำกัดแต่เฉพาะทหาร แต่ทั้งสองฝ่ายยังสูญเสียประชากรพลเรือนไปเป็นอันมาก มีตัวแสดงระหว่างประเทศที่โดดเด่นเกี่ยวข้องในความขัดแย้งนี้ด้วย สองภาคีที่เข้าร่วมการเจรจาโดยตรง คือ รัฐบาลอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ การเจรจาอย่างเป็นทางการมีผู้แทนระหว่างประเศเป็นสื่อกลาง เรียก กลุ่มสี่ว่าด้วยตะวันออกกลาง (Quartet on the Middle East) ซึ่งมีผู้แทนทางการทูตพิเศษเป็นผู้แทน ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหภาพยุโรปและสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับเป็นอีกตัวแสดงหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเสนอแผนสันติภาพทางเลือด อียิปต์ สมาชิกผู้ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ในอดีตเคยเป็นผู้มีส่วนหลัก นับแต่ปี 2549 ฝ่ายปาเลสไตน์แตกแยกด้วยความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มแยกหลัก คือ ฟาตาห์ พรรคเด่นเดิม และผู้ท้าชิงเลือกตั้งในภายหลัง ฮามาส หลังฮามาสชนะการเลือกตั้งในปี 2549 สหรัฐ สหภาพยุโรป และอิสราเอลปฏิเสธการรับรองรัฐบาลฮามาสและเงินทุนให้องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ส่วนมากถูกระงับ หนึ่งปีให้หลัง หลังการยึดอำนาจในฉนวนกาซาของฮามาสในเดือนมิถุนายน 2550 ดินแดนซึ่งรับรองอย่างเป็นทางการเป็นรัฐปาเลสไตน์ (อดีตองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ องค์การปกครองชั่วคราวของปาเลสไตน์) ถูกแบ่งระหว่างฟาตาห์ในเวสต์แบงก์และฮามาสในฉนวนกาซา การแบ่งการปกครองระหว่างภาคีนี้ส่งผลให้การปกครองสองพรรคขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง การเจรจาสันติภาพรอบล่าสุดเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2556 และกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ในวันที่ 7 ธันวาคม..2560 ภายหลังประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ รับรอง กรุงเยรูซาเล็ม ให้เป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอล การเจรจาสันติภาพก็มีแนวโน้มว่าจะจบลง สงครามรอบใหม่เริ่มขึ้นภายหลังการประกาศรับรองดังกล่าว ในวันที่ 9 ธันวาคม..

17 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษฟะตะห์การทูตยิวรัฐปาเลสไตน์สันนิบาตอาหรับองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ฮะมาสธนาคารโลกขบวนการไซออนิสต์ดอนัลด์ ทรัมป์ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลฉนวนกาซาประเทศอิสราเอลปาเลสไตน์ในอาณัติเวสต์แบงก์

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ฟะตะห์

ฟะตะห์ หรือ ฟัตห์ (Fatah; فتح) เป็นพรรคการเมืองของปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นขั้วอำนาจปาเลสไตน์กับกลุ่มฮะมาส ได้สู้รบกันมาตลอด และต่อมาได้เจรจาหยุดยิงและมีการเลือกตั้งในปาเลสไตน์ 25 มกราคม พ.ศ. 2549 ร่วมตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคฮะมาสที่ชนะการเลือกตั้ง ก่อนถูกประกาศยกเลิก เนื่องจากกลุ่มฮะมาสไม่เป็นที่ยอมรับของรัฐบาลหลายประเทศ หมวดหมู่:พรรคการเมืองปาเลสไตน์ หมวดหมู่:ขบวนการแบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และฟะตะห์ · ดูเพิ่มเติม »

การทูต

Ger van Elk, ''Symmetry of Diplomacy'', 1975, Groninger Museum. การทูต (Diplomacy) เป็นศิลปะและทักษะการเจรจา สนทนา สื่อสาร รวมถึงการติดต่อธุระต่าง ๆระหว่างบุคคลที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการให้เป็นตัวแทนการเจรจาขององค์กรหรือประเทศ การทูต เป็นการแสดงถึงการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างกัน ให้มีความสัมพันธ์ทางด้านต่าง ๆ ที่ประเทศนั้น ๆ มีต่ออีกประเทศหนึ่ง โดยจะมีข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การทูต เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-มาเลเซีย โดยมีท่านทูตไปประจำทั้ง 2 ประเทศ เป็นต้น หากเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ เราสามารถเรียกทูตกลับประเทศไทย หรือเรียกว่า การลดความสัมพันธ์ระหว่างกัน.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และการทูต · ดูเพิ่มเติม »

ยิว

ว อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และยิว · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปาเลสไตน์

แผนการแบ่งดินแดนของสหประชาชาติ รัฐปาเลสไตน์ (دولة فلسطين‎ Dawlat Filasṭin) เป็นรัฐที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1988 โดยสภาแห่งชาติขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่พลัดถิ่นในกรุงแอลเจียร์ ซึ่งเห็นชอบคำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ฝ่ายเดียว รัฐปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งนิยามตามพรมแดนเมื่อปี 1967: "I would like to inform you that, before delivering this statement, I, in my capacity as President of the State of Palestine and Chairman of the Executive Committee of the Palestine Liberation Organization, submitted to H.E. Ban Ki-moon, Secretary-General of the United Nations, an application for the admission of Palestine on the basis of the 4 June 1967 borders, with Al-Kuds Al-Sharif as its capital, as a full member of the United Nations." และกำหนดเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง พื้นที่ที่พรรณนาว่าจะประกอบเป็นรัฐปาเลสไตน์นั้นถูกอิสรเอลยึดครองตั้งแต่ปี 1967 การประชุดสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 1974 กำหนดให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนชาวปาเลสไตน์โดยชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียว" และยืนยันอีกครั้งถึง "สิทธิของพวกเขาในการสถาปนารัฐที่มีเอกราชอย่างเร่งด่วน" องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในสหประชาชาติเป็น "องค์การมิใช่รัฐ" (non-state entity) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 1974 ซึ่งให้สิทธิพูดในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หลังคำประกาศอิสรภาพ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ "รับรอง" คำประกาศดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และออกเสียงให้ใช้ชื่อ "ปาเลสไตน์" แทน "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" เมื่อเอ่ยถึงผู้สังเกตการณ์ถาวรปาเลสไตน์Hillier, 1998, (via Google Books).

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และรัฐปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตอาหรับ

ันนิบาตอาหรับ สันนิบาตอาหรับ (جامعة الدول العربية‎) คือองค์กรของกลุ่มประเทศอาหรับ ตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 มีศูนย์กลางที่ประเทศอียิปต์ ซึ่งต่อมาย้ายไปยังเมืองตูนิส ในประเทศตูนิเซียในช่วงปี พ.ศ. 2522 ถึงปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 22 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องเอกราชและอธิปไตยของประเทศสมาชิก.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และสันนิบาตอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์

องค์การบริหารปาเลสไตน์ (السلطة الوطنية الفلسطينية‎ As-Sulṭah Al-Waṭaniyyah Al-Filasṭīniyyah) เป็นองค์การปกครองที่ตั้งขึ้นเพื่อปกครองเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา เป็นผลของข้อตกลงกรุงออสโลปี 2537 นับแต่สถาปนา ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ และในปี 2556 รัฐบาลฟาตาห์ที่นานาประเทศรับรองในเวสต์แบงก์เปลี่ยนชื่อตนเองเป็นรัฐปาเลสไตน์ หลังการเลือกตั้งในปี 2549 และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตามมาระหว่างพรรคฟาตาห์และฮามาส อำนาจขององค์การฯ จึงขยายไปถึงเพียงเวสต์แบงก.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization, ย่อ: PLO; منظمة التحرير الفلسطينية) เป็นองค์การซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2507 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรัฐปาเลสไตน์เอกราช กว่า 100 รัฐรับรององค์การฯ เป็น "ผู้แทนโดยชอบแต่ผู้เดียวของชาวปาเลสไตน์" ซึ่งองค์การฯ มีความสัมพันธ์ทางทูตด้วยMadiha Rashid al Madfai, Jordan, the United States and the Middle East Peace Process, 1974–1991, Cambridge Middle East Library, Cambridge University Press (1993).

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะมาส

มาส (حماس) ย่อมาจาก ฮะเราะกะฮ์ อัลมุกอวะมะฮ์ อัลอิสลามียะฮ์ (حركة المقاومة الاسلامية) เป็นพรรคการเมืองหนึ่งของปาเลสไตน์ที่นับถือศาสนาอิสลามและมีกองกำลังติดอาวุธ มักถูกเรียกว่า กลุ่มหัวรุนแรงฮะมาส หรือ กลุ่มติดอาวุธฮะมาส ซึ่งมักก่อเหตุโจมตีกลุ่มฟะตะห์โดยใช้ระเบิดพลีชีพ อามาสเป็นขบวนการที่เป็นผลพวงของการต่อต้านอิสราเอลใน..

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และฮะมาส · ดูเพิ่มเติม »

ธนาคารโลก

นาคารโลก (World Bank) หรือเรียกว่า ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ (International Bank for Reconstruction and Development; IBRD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรอยู่ในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 188 ประเทศ เงินทุนของธนาคารโลกได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศสมาชิก และเงินค่าหุ้นของประเทศสมาชิก.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และธนาคารโลก · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการไซออนิสต์

ีโอดอร์ เฮิร์ซล์ ผู้นำลัทธิไซออน ขบวนการไซออนิสต์ (Zionism) เป็นชื่อเรียกขบวนการคืนสู่มาตุภูมิประวัติศาสตร์ในดินแดนปาเลสไตน์ดั้งเดิม (The Eretz Israel) ของชนชาติยิว หลังถูกชาวอียิปต์ขับกระจัดกระจายนานนับศควรรษ ชาวยิวเชื่อว่า เมื่อใดที่ชาวยิวย้ายกลับมาครอบครองถิ่นเดิม จะเกิดความเจริญรุ่งเรืองดังที่เกิดแล้วสมัยกษัตริย์เดวิด ความเชื่อนี้ทำให้เกิดการรณรงค์เผยแพร่ความคิดที่เรียก "ไซออนิสต์" ขบวนการไซออนิสต์ยุคใหม่เริ่มเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยธีโอดอร์ เฮิร์ซล์ (Theodore Herzl) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแผนการทางการเมืองเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นรัฐอิสระเหนืออาณาเขตที่ชาวปาเลสไตน์ครอบครอง ความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง วัตถุประสงค์และเป้าหมายนี้ได้รับการสนับสนุนโดยปฏิญญาบอลโฟร์ (Balfour Declaration) ในปี..

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และขบวนการไซออนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ดอนัลด์ ทรัมป์

อนัลด์ จอห์น ทรัมป์ (Donald John Trump; เกิด 14 มิถุนายน ค.ศ. 1946) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 และยังเป็นนักธุรกิจ, พิธีกรรายการโทรทัศน์ และนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์หลายเรื่อง เขาเป็นประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัททรัมป์ออร์กาไนเซชัน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ทรัมป์ยังเป็นผู้ก่อตั้งทรัมป์เอนเตอร์เทนเมนต์รีสอร์ต ที่มีกิจการกาสิโนและโรงแรมหลายแห่งทั่วโลก และด้วยการใช้ชีวิตที่หรูหราและการพูดจาที่โผงผางทำให้เขามีชื่อเสียง ยังเป็นส่วนให้เขาประสบความสำเร็จในรายการเรียลลิตี้โชว์ทางช่องเอ็นบีซี ที่ชื่อ The Apprentice (ที่เขารับตำแหน่งพิธีกรและผู้อำนวยการสร้าง) ดอนัลด์เกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก เขาเป็นบุตรคนที่ 4 ใน 5 ของเฟรด ทรัมป์ เศรษฐีผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอร์ก ดอนัลด์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพ่อของเขาในเป้าหมายของอาชีพการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และในครั้งจบการศึกษาจากโรงเรียนธุรกิจวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในปี..

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และดอนัลด์ ทรัมป์ · ดูเพิ่มเติม »

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

วามขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล (الصراع العربي الإسرائيلي Al-Sura'a Al'Arabi A'Israili; הסכסוך הישראלי-ערבי Ha'Sikhsukh Ha'Yisraeli-Aravi) หมายถึงความตึงเครียดทางการเมืองและความขัดแย้งทางทหารระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล และระหว่างชาวอาหรับกับชาวอิสราเอล ต้นตอของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลสมัยใหม่นี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสต์และลัทธิชาตินิยมอาหรับช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนที่ชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดทางประวัติศาสตร์ของพวกตนนั้น ก็ถูกมองโดยขบวนการรวมอาหรับว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ และเป็นดินแดนของมุสลิมในบริบทรวมอิสลาม ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์อุบัติขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างเหตุจลาจลนบีมูซาเมื่อปี 1920 และบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มขั้นในปี 1947 และขยายเป็นประเทศสันนิบาตอาหรับทั้งหมดเมื่อมีการสถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1948 เมื่อเวลาผ่านไป ความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมเหนือความปรารถนาดินแดนที่แข่งกันหลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย ได้เปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลในภูมิภาคเต็มขั้น ไปเป็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่จำกัดบริเวณกว่า โดยความเป็นปรปักษ์เต็มขั้นส่วนใหญ่สิ้นสุดลงด้วยการหยุดยิง หลังสงครามเดือนตุลาคม ปี 1973 ต่อมา มีการลงนามความตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ในปี 1979 และอิสราเอลกับจอร์แดนในปี 1994 ข้อตกลงออสโลนำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี 1993 แม้จะยังไม่บรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายก็ตาม ปัจจุบัน การหยุดยิงยังมีผลระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย เช่นเดียวกับเลบานอนที่เพิ่งลงนามไป (ตั้งแต่ปี 2006) ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกาซาที่ปกครองโดยฮามาส แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสันนิบาตอาหรับ แต่โดยปกตินับเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จึงเป็นความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลด้วย แม้จะบรรลุความตกลงสันติภาพและการหยุดยิงต่าง ๆ แต่โลกอาหรับและอิสราเอลโดยทั่วไปยังหมางใจกันอยู่เหนือบางดินแดน.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ฉนวนกาซา

ฉนวนกาซา (Gaza Strip; قطاع غزة; רצועת עזה‎) เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณแคบ ๆ ขนาด 360 ตร.กม. ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตะวันออกกลาง โดยมีประชากรชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพลี้ภัย โดยในการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม ปี..

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และฉนวนกาซา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ปาเลสไตน์ในอาณัติ

ปาเลสไตน์ในอาณัติ (Mandatory Palestine; فلسطين; פָּלֶשְׂתִּינָה (א"י), where "EY" indicates "Eretz Yisrael") เป็นหน่วยภูมิรัฐศาสตร์ ภายใต้การดูแลของสหราชอาณาจักร ในส่วนที่เป็นเขต จักรวรรดิออตโตมัน และ ซีเรียตอนใต้ ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่าง พ.ศ. 2463 จนถึง พ.ศ. 2491.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และปาเลสไตน์ในอาณัติ · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์แบงก์

แผนที่เขตเวสต์แบงก์ เวสต์แบงก์ (West Bank; الضفة الغربية; הגדה המערבית หรือ יהודה ושומרון ซึ่งแปลว่า "จูเดียและซาแมเรีย") เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่งที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เวสต์แบงก์มีพรมแดนทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ร่วมกับรัฐอิสราเอล ส่วนทางทิศตะวันออกข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปจะเป็นอาณาเขตของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน นอกจากนี้ เวสต์แบงก์ยังมีชายฝั่งทะเลตลอดแนวฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซีอีกด้วย เขตเวสต์แบงก์ (รวมนครเยรูซาเลมส่วนตะวันออก) มีเนื้อที่บนบก 5,640 ตารางกิโลเมตร และมีเนื้อที่พื้นน้ำ 220 ตารางกิโลเมตรซึ่งได้แก่ส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซี ประมาณการกันว่ามีจำนวนประชากร 2,622,544 คน ณ เดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และเวสต์แบงก์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »