โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คฤหาสน์คลิฟเดิน

ดัชนี คฤหาสน์คลิฟเดิน

หาสน์คลิฟเดิน (Cliveden, ออกเสียง: CLIV-d'nBrewers Dictionary of Names, 1992) เป็นคฤหาสน์แบบสถาปัตยกรรมอิตาลีที่ตั้งอยู่ที่ แท็พโลว์ในมณฑลบัคคิงแฮมเชอร์ในสหราชอาณาจักร ตัวสิ่งก่อสร้างตั้งอยู่บนผาสูง 200 ฟุตเหนือแม่น้ำเทมส์ เดิมเป็นที่พำนักของเอิร์ล, ดยุคสองคน, เจ้าชายแห่งเวลส์ และไวเคานท์แอสเตอร์ ปัจจุบันเป็นขององค์การเพื่อการอนุรักษ์สิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญและความสวยงามแห่งชาติ (National Trust for Places of Historic Interest or Natural Beauty) ที่ให้เช่าทำโรงแรมห้าดาวที่บริหารโดยกลุ่มโรงแรมฟอนเอสเส็น ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1970 มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดใช้เป็นมหาวิทยาวิทยาลัยโพ้นทะเลในอังกฤษ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1920 ถึง 1930 เป็นคฤหาสน์เป็นที่พบปะของกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “กลุ่มคลิฟเดิน” ในคริสต์ทศวรรษ 1960 เป็นที่พบปะระหว่างจอห์น โพรฟูโมรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศด้านสงครามและคริสตีน คีลเลอร์ ในเหตุการณ์ที่ต่อมาเรียกว่า “โพรฟูโมแอฟแฟร์” (Profumo Affair) ซึ่งนำความเสียหายและอับอายมาสู่รัฐบาลในขณะนั้น “คลิฟเดิน” แปลว่า “หุบเขาท่ามกลางผา” ที่หมายถึงหุบเขาดีนที่ตัดผ่านบริเวณคฤหาสน์ทางด้านตะวันออกและด้านใต้ สวนและป่าโปร่งที่มีเนื้อที่ 375 เอเคอร์และบางส่วนของคฤหาสน์เฉพาะบางวันเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ ก่อนหน้าสิ่งก่อสร้างปัจจุบันก็มีสิ่งก่อสร้างอื่นมาก่อนสองหลังก่อนหน้านั้น สิ่งก่อสร้างแรกสร้างในปี..

13 ความสัมพันธ์: บักกิงแฮมเชอร์พ.ศ. 2394มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดสหราชอาณาจักรสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอคฤหาสน์ชนบทคฤหาสน์ภูมิฐานคฤหาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษประเทศอังกฤษแม่น้ำเทมส์เจ้าชายแห่งเวลส์

บักกิงแฮมเชอร์

ัคคิงแฮมเชอร์ (Buckinghamshire; ออกเสียง: ˈbʌkɪŋəmʃəˈ หรือ ˈbʌkɪŋəmʃɪəˈ; ย่อ Bucks) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์ และมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน บัคคิงแฮมเชอร์ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ บัคคิงแฮมเชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เซาท์บัคส, ชิลเทิร์น, ไวคูมบ์, อายล์สบรี เวล, และ มิลตัน คีนส์ โดยมีอายล์สบรี เป็นเมืองหลวงของมณฑล และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือมิลตัน คีนส์ บัคคิงแฮมเชอร์มีเนื้อที่ 1,874 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 719,000 คน ถัวเฉลี่ย 384 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร บัคคิงแฮมเชอร์มีเขตแดนติดกับนครลอนดอนและปริมณฑล, มณฑลบาร์คเชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์, มณฑลนอร์ทแธมป์ตันเชอร์, มณฑลเบดฟอร์ดเชอร์ และมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร.

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและบักกิงแฮมเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2394

ทธศักราช 2394 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1851 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและพ.ศ. 2394 · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University อ่านว่า สแตนเฟิร์ด) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า มหาวิทยาลัยลีแลนด์สแตนฟอร์ดจูเนียร์ (Leland Stanford Junior University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่เมือง สแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อยู่ห่างจากซานฟรานซิสโกประมาณ 60 กม.

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์

สะพานรถไฟฟอร์ธออกแบบโดยเซอร์เบ็นจามินเบเคอร์และจอห์น เฟาว์เลอร์ ที่เปิดเมื่อปี ค.ศ. 1890 ในปัจจุบันเป็นของ Network Rail เป็นสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ระดับ เอ ขององค์การประวัติศาสตร์สกอตแลนด์ (Historic Scotland) สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ (Listed building) ในสหราชอาณาจักรเป็นสิ่งก่อสร้างหรือโครงสร้างที่ได้รับการระบุอย่างเป็นทางการว่ามีความสำคัญทางด้านสถาปัตยกรรม, ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม การระบุว่าเป็น “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” เป็นมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่ในปัจจุบันประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างทั้งสิ้นราวครึ่งล้านแห่ง สิ่งก่อสร้างที่ได้รับการระบุว่าเป็น “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” ไม่สามารถจะถูกรื้อทิ้ง, ขยายต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานวางแผนท้องถิ่น (ผู้มีหน้าที่ปรึกษาสำนักงานกลางของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ ของสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ) ข้อยกเว้นก็ได้แก่วัดอังกลิคันที่ยังใช้เป็นวัดอยู่ และวัดที่บริหารโดยได้รับสิทธิพิเศษ ในบางกรณีเจ้าของสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์มีหน้าที่ที่จะต้องบำรุงรักษาและซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างให้อยู่ในสภาพดี ถ้าละเลยหรือทำการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตก็จะมีโทษตามกฎหมาย เพราะการได้รับการระบุมีผลในการจำกัดสิทธิในการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจึงอนุญาตให้ผู้เป็นเจ้าของสามารถประท้วงการระบุได้ แม้ว่าสิ่งที่ที่ได้รับการระบุว่าเป็น “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งก่อสร้าง แต่ก็มีโครงสร้างอื่นที่อยู่ในรายการด้วยเช่นสะพาน, อนุสาวรีย์, ประติมากรรม, อนุสรณ์สงคราม หรือแม้แต่หลักไมล์ สิ่งก่อสร้างโบราณ, สิ่งก่อสร้างทางการทหาร และสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่สำหรับการอยู่อาศัย (เช่นสโตนเฮนจ์) แทนที่จะอยู่ในข่าย “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” จะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างโบราณภายใต้การพิทักษ์ (Scheduled monument) ที่อยู่ภายใต้การพิทักษ์ของพระราชบัญญัติที่เก่ากว่าพระราชบัญญัติที่ใช้สำหรับ “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” ขณะที่ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมเช่นอุทยานและสวนในปัจจุบันอยู่ในรายการที่ไม่มีกฎหมายพิทักษ์ พระราชบัญญัติที่ใช้สำหรับ “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” เริ่มโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวางแผนเมือง ค.ศ. 1947 (Town and Country Planning Act 1947) “สิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์” ครอบคลุมทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงแทบทุกอย่างของสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ต้องได้รับการอนุญาตก่อนที่จะทำได้ ระดับของการพิทักษ์แบ่งเป็นสามระดับตามลำดับของความสำคัญและความยากในการขอใบอนุญาตในการเปลี่ยนแปลง: “เกรด III” ถูกยุบเลิกไปในปี..

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

ร์ลส์ แบร์รีhttp://www.touruk.co.uk/houses/housebucks_clive.htm Historic Houses In Buckinghamshireที่เป็นคฤหาสน์ฟื้นฟูเรอเนซองส์ลักษณะแบบอิตาลีที่แสดงลักษณะที่ “บ่งเป็นนัยยะอย่างชัดแจ้งว่าเป็นสิ่งก่อสร้างของคหบดีพ่อค้าผู้มั่งคั่งชาวอิตาลี”“Direct quote from: Walton, John. ''Late Georgian and Victorian Britain'' Page 50. George Philip Ltd. 1989. ISBN 0-540-01185-1 สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี (Italianate architecture หรือ Italianate style of architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของยุคสถาปัตยกรรมที่เรียกว่ายุคฟื้นฟูสถาปัตยกรรมคลาสสิก การสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบสถาปัตยกรรมอิตาลีเป็นการใช้ลักษณะทรงและศัพท์สถาปัตยกรรมของสถาปัตยกรรมอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นพื้นฐานในการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ทั้งลัทธิพาลเลเดียน และลัทธิฟื้นฟูคลาสสิกในการผสานกับความงามอันต้องตา (picturesque aesthetics) ฉะนั้นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม “ฟื้นฟูเรอเนซองส์” ด้วยจึงเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของยุค นักประวัติศาสตร์ชาวสวิสเชื้อสายเยอรมันซิกฟรีด กีเดียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของปรัชญาของการเปลี่ยนแปลงลักษณะสถาปัตยกรรมว่า “การมองอดีตแปรสภาพของสิ่งของ ผู้ชมทุกคนทุกสมัย—ทุกช่วงเวลา—ในที่สุดก็จะเปลี่ยนแปรลักษณะที่เห็นในอดีตในบริบทของความเข้าใจของตนเอง” สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเริ่มขึ้นในบริเตนราว..

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ

หาสน์ที่ต่อเติมมุขด้านหน้าจากเล่ม 4 ของ "หนังสือสี่เล่มเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม" (I Quattro Libri dell'Architettura) ที่พิมพ์ในลอนดอนในปี ค.ศ. 1736 อาคารกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารในรูปแบบปัลลาดีโอ สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ (Palladian architecture) หมายถึงลักษณะของสถาปัตยกรรมตะวันตกที่มาจากการออกแบบโดยอันเดรอา ปัลลาดีโอ (ค.ศ. 1508-1580) สถาปนิกชาวเวนิส คำว่า "แบบปัลลาดีโอ" โดยทั่วไปแล้วมักจะหมายถึงลักษณะของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอิทธิพลมาจากการออกแบบของปัลลาดีโอเอง สิ่งก่อสร้างในปัจจุบันที่จัดอยู่ในกลุ่มสถาปัตยกรรมลักษณะนี้วิวัฒนาการมาจากปรัชญาการออกแบบของปัลลาดีโอ งานของปัลลาดีโอมีพื้นฐานมาจากความสมมาตร ความมีทัศนมิติ และคุณค่าของสถาปัตยกรรมการก่อสร้างวัดของกรีกและโรมันโบราณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 การตีความหมายของสถาปัตยกรรมคลาสสิกกลายมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "คตินิยมปัลลาดีโอ" (Palladianism) ลักษณะนี้วิวัฒนาการต่อมาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 "คตินิยมปัลลาดีโอ" กลายเป็นนิยมกันอยู่ระยะหนึ่งในบริเตนระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ลักษณะนี้ก็หวนกลับมาเป็นที่นิยมไม่แต่ในอังกฤษแต่ยังในหลายประเทศทางตอนเหนือของยุโรปด้วย ต่อมาก็ลดความนิยมลงในยุโรป แต่ไปนิยมกันในทวีปอเมริกาเหนือโดยเฉพาะในสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบโดยทอมัส เจฟเฟอร์สัน สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอยังคงเป็นที่นิยมกันทั่วไปในยุโรปตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 มักจะในการออกแบบสิ่งก่อสร้างทางราชการหรือทางสารธารณะ ตั้งแต่ครึ่งหลังของ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีสถาปัตยกรรมการฟื้นฟูกอทิกเข้ามาเป็นคู่แข่ง ลักษณะหลังนี้สนับสนุนโดยสถาปนิกเช่นออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin) ที่คำนึงถึงที่มาจากวัดโบราณที่ถือว่าเป็นลักษณะ "นอกศาสนา" เกินไปสำหรับผู้นับถือโปรเตสแตนต์และแองโกล-คาทอลิก แต่กระนั้นสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอก็ยังคงเป็นที่นิยมและวิวัฒนาการตลอดมา ซึ่งจะเห็นได้จากการการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในปัจจุบันในลักษณะหน้าจั่ว ความสมมาตร และความได้สัดส่วน สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอมีลักษณะหนา ดูทึบทึม อาคารหลายแห่งในประเทศไทยที่มีสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ ได้แก่ กระทรวงกลาโหม, หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน, อาคารศุลกสถาน เป็นต้น.

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์ชนบท

คฤหาสน์โฮลค์แฮมเป็นคฤหาสน์ชนบทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษ นอกจากจะเป็นการแสดงฐานะและรสนิยมของเจ้าของแล้วก็ยังเป็นศูนย์กลางของทรัพย์สินที่ดินที่ให้งานทำแก่ผู้คนเป็นจำนวนเป็นร้อย คฤหาสน์ชนบท (Country house หรือ English country house) โดยทั่วไปหมายถึงที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่หรือคฤหาสน์ที่เดิมเป็นสมบัติส่วนบุคคลผู้มักจะมีคฤหาสน์สำคัญ (great house) อีกหลังหนึ่งในเมือง ซึ่งทำให้สามารถใช้เวลาได้ทั้งในเมืองและในชนบท “คฤหาสน์ชนบท” และ “คฤหาสน์ภูมิฐาน” บางครั้งมักจะใช้สับสนกัน—คฤหาสน์ชนบทเป็นคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่นอกเมือง แต่คฤหาสน์ภูมิฐานอาจจะตั้งอยู่ได้ทั้งในเมืองหรือนอกเมือง เช่นคฤหาสน์แอ็พสลีย์ (Apsley House) สร้างสำหรับอาเธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตันที่ 1 (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) ที่มุมหนึ่งของไฮด์พาร์ค (Hyde Park) หรือที่เรียกกันว่า “No.

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและคฤหาสน์ชนบท · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์ภูมิฐาน

“คฤหาสน์วิลท์ตัน” ที่รู้จักกันจากฉากเต้นรำในภาพยนตร์เรื่อง “Sense and Sensibility” คฤหาสน์ภูมิฐาน (Stately home) ตามความหมายที่จำกัดแล้วหมายถึงคฤหาสน์ขนาดใหญ่ประมาณ 500 แห่งที่สร้างในหมู่เกาะอังกฤษระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่รวมทั้งสำนักสงฆ์และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ ที่เปลี่ยนมือมาเป็นของฆราวาสหลังการยึดอารามโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 การเรียกว่า “คฤหาสน์ภูมิฐาน” ก็เพื่อเป็นการแสดงความแตกต่างจากสิ่งก่อสร้างที่เรียกกันว่า “ปราสาท” (แม้ว่าคฤหาสน์ภูมิฐานบางแห่งจะยังเรียกตัวเองว่า “ปราสาท”) ตามความหมายทางสถาปัตยกรรมหรือการก่อสร้าง เพื่อเป็นการแสดงว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยมิใช่เพื่อประโยชน์ทางการทหาร “คฤหาสน์ภูมิฐาน” มิใช่เป็นแต่เพียงที่อยู่อาศัยแต่เป็นการแสดงสัญลักษณ์แสดงฐานะ (status symbol) ของผู้เป็นเจ้าของตระกูลของผู้เป็นเจ้าของด้วย ซึ่งต่างก็แข่งกันสร้างเพื่อใช้ในการรับรองพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือในการรับรองบุคคลสำคัญๆ อื่นที่มีความสำคัญในทางสังคมหรือการเมือง สถาปนิกและสถาปนิกสวนภูมิทัศน์เช่นโรเบิร์ต อาดัม, เซอร์ชาร์ลส์ แบร์รี, เซอร์เอ็ดวิน ลูเต็นส (Edwin Lutyens), เซอร์จอห์น แวนบรูห์, ลานเซลอต บราวน์ และฮัมฟรีย์ เร็พตัน (Humphry Repton) และอื่นๆ ต่างก็มีบทบาทในการก่อสร้างดังที่ว่านี้ นอกจากนั้นการแสดงความสง่างามภายนอกแล้ว ภายในก็จะตกแต่งด้วยศิลปะและเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นงานสะสมหรือไปสรรหากันมาโดยเฉพาะ การสร้าง “คฤหาสน์ภูมิฐาน” มาสิ้นสุดลงหลังจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อฐานะทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปที่รวมทั้งการมยุบตัวของอุตสาหรรรมและของเกษตรกรรมในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19, สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และต่อมาสงครามโลกครั้งที่สอง ในปัจจุบัน “คฤหาสน์ภูมิฐาน” จึงมักจะเป็นการผสมระหว่างการเป็นสถานที่ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม, พิพิธภัณฑ์ที่อยู่อาศัย, พิพิธภัณฑ์เฉพาะทางเช่นพิพิธภัณฑ์ราชรถ หรือบ้านหรือปราสาทที่เป็นที่พำนักอาศัยของตระกูลที่บางส่วนก็ทรุดโทรมลงไปบ้างแล้ว “คฤหาสน์ภูมิฐาน” อาจจะบริหารโดยองค์การต่างๆ ดังนี้: แต่ก็ยังมี “คฤหาสน์ภูมิฐาน” อีกเป็นอันมากที่ยังเป็นการบริหารส่วนบุคคลหรือโดยองค์กรผู้พิทักษ์ (trust) ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและอนุรักษ์คฤหาสน์ขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นที่ร่ำลือกันว่าเป็นจำนวนอันมหาศาลและเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เจ้าของหลายคนจึงจำต้องหาวิธีต่างที่นำมาซึ่งรายได้พิเศษในการจุนเจือเช่นโดยการให้เช่า หรือให้จ้างใช้เป็นฉากสำหรับการสร้างภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ ฉะนั้น “คฤหาสน์ภูมิฐาน” บางแห่งจึงดูคุ้นตาแม้แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยมาชมด้วยตนเอง นอกจากตัวคฤหาสน์แล้ว บริเวณรอบๆ ก็อาจมักจะมีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ สำหรับนักท่องเที่ยวเช่น สวนภูมิทัศน์, สิ่งก่อสร้างตกแต่ง, ฟาร์มสัตว์, ซาฟารีพาร์ค หรือพิพิธภัณฑ์เป็นต้น.

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและคฤหาสน์ภูมิฐาน · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษ

หาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Treasure Houses of England) เป็นกลุ่มมรดกทางวัฒนธรรมที่ก่อตั้งราวต้นทศวรรษ 1970 โดยคฤหาสน์ระดับหนึ่งสิบหลังในประเทศอังกฤษที่ยังอยู่ในมือส่วนบุคคลโดยมีจุดประสงค์เพื่อการตลาดและเผยแพร่ชื่อเสียงของตนเองต่อนักท่องเที่ยว ปัจจุบันสมาชิกในกลุ่มมีด้วยกัน 9 คฤหาสน์.

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและคฤหาสน์คุณค่าแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเทมส์

วิวทิวทัศน์แม่น้ำเทมส์มองจากลอนดอน แผนที่แม่น้ำเทมส์ในอังกฤษ แม่น้ำเทมส์ (River Thames - ออกเสียง: tɛmz) เป็นแม่น้ำใหญ่ที่ไหลในอังกฤษตอนใต้ และเป็นที่รู้จักมากที่สุดเพราะแม่น้ำไหลผ่านใจกลางกรุงลอนดอน นอกจากนี้ แม่น้ำยังไหลผ่านเมืองอื่น ๆ เช่น เมืองอ็อกซ์ฟอร์ด รีดดิง และ วินด์เซอร์ เป็นต้น หุบเขาเทมส์ ส่วนหนึ่งของอังกฤษ อยู่ตรงกลางแม่น้ำระหว่างออกซ์ฟอร์ด และ ลอนดอนตะวันตก ถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำแห่งนี้.

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและแม่น้ำเทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายแห่งเวลส์

้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Wales; Tywysog Cymru) เป็นพระอิสริยยศขององค์รัชทายาทแห่งพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรในขณะนั้น ราชประเพณีที่มกุฏราชกุมารของราชบัลลังก์อังกฤษจะได้รับพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 อย่างไรก็ดีการไม่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงอิสริยยศนี้ไม่มีผลใดๆต่อสิทธิของผู้ที่จะสืบทอดราชบัลลังก์ บุคคลแรกที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์คือ พระเจ้าละเวลินมหาราช (Llywelyn the Great) ผู้ดำรงพระอิสริยยศนี้ในปัจจุบันคือ เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวล.

ใหม่!!: คฤหาสน์คลิฟเดินและเจ้าชายแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cliveden

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »