เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คตินิยมนักวิชาการ

ดัชนี คตินิยมนักวิชาการ

ตินิยมนักวิชาการ (technocracy) เป็นระบอบการปกครองซึ่งวิทยาศาสตร์จะมีอยู่ในการควบคุมการตัดสินใจทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและนักเทคโนโลยีผู้มีความรู้ ความชำนาญหรือทักษะจะก่อตัวเป็นองค์การปกครอง แทนนักการเมือง นักธุรกิจและนักเศรษฐศาสตร์ ในคตินิยมนักวิชาการ ผู้ตัดสินใจจะถูกเลือกโดยดูจากความรู้และทักษะที่พวกเขามีในสาขาของตน คำว่า "คตินิยมนักวิชาการ" นี้ เดิมทีใช้เรียกการใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งต่างไปจากการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีทางเศรษฐกิจ การเมืองหรือปรัชญาแบบเก่า ตามผู้เสนอมโนทัศน์นี้ บทบาทของเงินและคุณค่าทางเศรษฐกิจ ความเห็นทางการเมืองและกลไลการควบคุมซึ่งยึดมั่นในศีลธรรมจะถูกตัดทิ้งไปทั้งหมด หากเมื่อรูปแบบการควบคุมทางสังคมนี้ได้ถูกนำไปใช้ในพื้นที่แห่งทวีป ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติเพียงพอ บุคลากรซึ่งถูกฝึกทางเทคนิค และสินค้าอุตสาหกรรมที่ติดตั้งแล้ว เพื่อที่จะเปิดให้การผลิตและการแจกจ่ายสินค้าและบริการทางภายภาพแก่พลเมืองแห่งทวีปทั้งหมดในปริมาณที่เกินความสามารถทางกายของปัจเจกบุคคลจะบริโภคได้p.35 (p.44 of PDF), p.35 ในการจัดเตรียมเช่นนัน ความกังวลจะเป็นเรื่องความยั่งยืนภายในฐานทรัพยากร แทนที่จะเป็นการได้ประโยชน์ทางการเงิน เพื่อที่จะรับประกันให้หน้าที่ทางสังคม-อุตสาหกรรมทั้งหมดดำเนินต่อไปในอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดp.35 (p.44 of PDF), p.35 ทักษะทางเทคนิคและความเป็นผู้นำจะถูกเลือกบนพื้นฐานของความรู้และสมรรถนะทางวิชาการ มากกว่าการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย โดยผู้ไม่มีความรู้หรือทักษะเช่นนั้นซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น บางคนใช้คำว่า คตินิยมนักวิชาการ หมายถึงรูปแบบหนึ่งของคุณธรรมนิยม (meritocracy) ซึ่งเป็นระบบที่ "ผู้มีคุณวุฒิสูงสุด" และผู้ซึ่งตัดสินความสมบูรณ์ของคุณสมบัตินั้นคือคน ๆ เดียวกัน การนำไปใช้อื่นได้ถูกอธิบายว่าไม่เป็นกลุ่มผู้ควบคุมที่เป็นมนุษย์แบบคณาธิปไตย (oligarchy) แต่เป็นเหมือนการบริหารจัดการโดยวิทยาศาสตร์เฉพาะสาขา อย่างเห็นได้ชัดโดยปราศจากอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์พิเศษ ปัจจุบัน ความหมายของคำว่า คตินิยมนักวิชาการ ได้ขยายไปบ่งชี้การจัดการหรือการบริหารทุกประเภทโดยผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ ("นักวิชาการ") ในสาขาใด ๆ ไม่เพียงแต่วิทยาศาสตร์กายภาพเท่านั้น และมีการใช้อธิบายรัฐบาลที่รวมผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ได้ถูกเลือกตั้งขึ้นที่ระดับรัฐมนตรี.

สารบัญ

  1. 13 ความสัมพันธ์: การเมืองระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์รัฐมนตรีวิศวกรคุณธรรมนิยมคณาธิปไตยคตินิยมนักวิชาการประชาธิปไตยปรัชญานักการเมืองนักวิทยาศาสตร์นักธุรกิจเศรษฐกิจ

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ดู คตินิยมนักวิชาการและการเมือง

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์

ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ (scientific method) หรือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) เป็นหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบและเสาะหาความรู้ใหม่แบบวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักฐานทางกายภาพ นักวิทยาศาสตร์เสนอความเชื่อใหม่เกี่ยวกับโลกในรูปของทฤษฎีที่ผ่านขั้นตอนของ การสังเกต, การตั้งสมมติฐาน, และการอนุมาน ผลการทำนายของทฤษฎีเหล่านี้จะถูกทดสอบด้วยการทดลอง ถ้าผลการทำนายนั้นถูกต้องหรือสอดคล้องกับการทดลอง ทฤษฎีดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ ทฤษฎีที่ความน่าเชื่อถือจะถูกนำไปทดลองซ้ำเพื่อยืนยันความถูกต้องเพิ่มเติม ระเบียบวิธีนี้ถูกจัดให้เป็นตรรกะสำคัญของธรรมเนียมปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยสาระสำคัญนั้นระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์คือวิธีการที่รอบคอบมาก สำหรับสร้างความเข้าใจ ที่มีหลักฐานและยืนยันได้เกี่ยวกับโลก.

ดู คตินิยมนักวิชาการและระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์

รัฐมนตรี

รัฐมนตรี คือผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรี รับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการและรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วยอีกฐานะหนึ่ง ในอดีต รัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิร.

ดู คตินิยมนักวิชาการและรัฐมนตรี

วิศวกร

วิศวกรกำลังดูแบบเครื่องจักร วิศวกร คือผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ ตรวจสอบแก้ไขปัญหาและควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง การออกแบบและผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ โดยวิศวกรยังแบ่งออกได้เป็นหลายสาขา เช่น วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมอากาศยาน วิศวกรรมการขนถ่ายวัสดุ วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเซรามิก วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมธรณี ฯลฯ.

ดู คตินิยมนักวิชาการและวิศวกร

คุณธรรมนิยม

ณธรรมนิยม (meritocracy) เป็นชื่อระบอบการปกครองมนุษย์ระบอบหนึ่งโดยคำนึงถึงคุณธรรมของบุคคลเป็นสำคัญ สาระสำคัญของระบอบคุณธรรมนิยม ได้แก่ การจะบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งย่อมไม่กระทำโดยคำนึงถึงทักษะความสามารถและ/หรือประสบการณ์ของบุคคลนั้นเป็นที่ตั้ง หากแต่คำนึงถึงคุณธรรมของบุคคลนั้น กับทั้งสถานการณ์และความต้องการในขณะที่มีการยื่นขอเข้ารับการบรรจุหรือการแต่งตั้งเป็นหลัก นอกจากนี้ ย่อมไม่คำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้โดยเด็ดขาด กล่าวคือ ความยากดีมีจน (เศรษฐยาธิปไตย) ความสัมพันธ์ทางครอบครัว (คติเห็นแก่ญาติ) ความสัมพันธ์ฉันมิตร (คติเห็นแก่มิตร) ชนชั้นวรรณะ (คณาธิปไตย) ความเต็มใจและ/หรือความต้องการของบุคคลนั้น (ประชาธิปไตย) และพื้นเพอื่น ๆ ตามแต่สถานการณ์เป็นต้นว่าอำนาจทางการเมืองหรือสถานะทางสังคม อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริง การมักไม่ได้เป็นไปตามหลักดังกล่าวโดยครบถ้วนนัก กับทั้งการบรรจุและการแต่งตั้งบุคคลก็มักพิจารณาถึงความเหมาะสมกับงาน ทักษะความสามารถ และบุคลิกภาพของบุคคลนั้นเป็นที่ตั้ง สังคมคุณธรรมนิยมมักยกย่องเชิดชูบุคคลที่กระทำคุณประโยชน์เป็นที่ประจักษ.

ดู คตินิยมนักวิชาการและคุณธรรมนิยม

คณาธิปไตย

ณาธิปไตย (oligarchy, ὀλιγαρχία (oligarkhía)) เป็นรูปแบบโครงสร้างอำนาจซึ่งอำนาจอยู่กับกลุ่มบุคคลจำนวนน้อยอย่างชะงัด บุคคลเหล่านี้อาจมีเชื้อเจ้า มั่งมี มีความสัมพันธ์ทางครอบครัว หมู่คณะหรือควบคุมทางทหาร รัฐเช่นนี้มักถูกควบคุมโดยไม่กี่ตระกูลที่มีชื่อเสียงซึ่งส่งผ่านอิทธิพลของตระกูลจากรุ่นสู่รุ่น ตลอดประวัติศาสตร์ คณาธิปไตยในบางประเทศได้เป็นทรราช ต้องอาศัยภาระจำยอมของสาธารณะจึงจะอยู่ได้ แม้คณาธิปไตยในประเทศอื่นจะค่อนข้างผ่อนปรน อริสโตเติลริเริ่มการใช้คำนี้เป็นคำไวพจน์ของการปกครองโดยคนรวย ซึ่งคำที่ถูกต้อง คือ ธนาธิปไตย (plutocracy) แต่คณาธิปไตยไม่จำเป็นต้องเป็นการปกครองด้วยความมั่งมีเสมอไป ด้วยผู้ปกครองในระบอบคณาธิปไตยเป็นกลุ่มมีเอกสิทธิได้ง่าย ๆ และไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงทางสายเลือดดังเช่นในราชาธิปไตย บางนครรัฐในสมัยกรีกโบราณปกครองแบบคณาธิปไต.

ดู คตินิยมนักวิชาการและคณาธิปไตย

คตินิยมนักวิชาการ

ตินิยมนักวิชาการ (technocracy) เป็นระบอบการปกครองซึ่งวิทยาศาสตร์จะมีอยู่ในการควบคุมการตัดสินใจทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและนักเทคโนโลยีผู้มีความรู้ ความชำนาญหรือทักษะจะก่อตัวเป็นองค์การปกครอง แทนนักการเมือง นักธุรกิจและนักเศรษฐศาสตร์ ในคตินิยมนักวิชาการ ผู้ตัดสินใจจะถูกเลือกโดยดูจากความรู้และทักษะที่พวกเขามีในสาขาของตน คำว่า "คตินิยมนักวิชาการ" นี้ เดิมทีใช้เรียกการใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งต่างไปจากการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีทางเศรษฐกิจ การเมืองหรือปรัชญาแบบเก่า ตามผู้เสนอมโนทัศน์นี้ บทบาทของเงินและคุณค่าทางเศรษฐกิจ ความเห็นทางการเมืองและกลไลการควบคุมซึ่งยึดมั่นในศีลธรรมจะถูกตัดทิ้งไปทั้งหมด หากเมื่อรูปแบบการควบคุมทางสังคมนี้ได้ถูกนำไปใช้ในพื้นที่แห่งทวีป ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติเพียงพอ บุคลากรซึ่งถูกฝึกทางเทคนิค และสินค้าอุตสาหกรรมที่ติดตั้งแล้ว เพื่อที่จะเปิดให้การผลิตและการแจกจ่ายสินค้าและบริการทางภายภาพแก่พลเมืองแห่งทวีปทั้งหมดในปริมาณที่เกินความสามารถทางกายของปัจเจกบุคคลจะบริโภคได้p.35 (p.44 of PDF), p.35 ในการจัดเตรียมเช่นนัน ความกังวลจะเป็นเรื่องความยั่งยืนภายในฐานทรัพยากร แทนที่จะเป็นการได้ประโยชน์ทางการเงิน เพื่อที่จะรับประกันให้หน้าที่ทางสังคม-อุตสาหกรรมทั้งหมดดำเนินต่อไปในอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดp.35 (p.44 of PDF), p.35 ทักษะทางเทคนิคและความเป็นผู้นำจะถูกเลือกบนพื้นฐานของความรู้และสมรรถนะทางวิชาการ มากกว่าการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย โดยผู้ไม่มีความรู้หรือทักษะเช่นนั้นซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น บางคนใช้คำว่า คตินิยมนักวิชาการ หมายถึงรูปแบบหนึ่งของคุณธรรมนิยม (meritocracy) ซึ่งเป็นระบบที่ "ผู้มีคุณวุฒิสูงสุด" และผู้ซึ่งตัดสินความสมบูรณ์ของคุณสมบัตินั้นคือคน ๆ เดียวกัน การนำไปใช้อื่นได้ถูกอธิบายว่าไม่เป็นกลุ่มผู้ควบคุมที่เป็นมนุษย์แบบคณาธิปไตย (oligarchy) แต่เป็นเหมือนการบริหารจัดการโดยวิทยาศาสตร์เฉพาะสาขา อย่างเห็นได้ชัดโดยปราศจากอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์พิเศษ ปัจจุบัน ความหมายของคำว่า คตินิยมนักวิชาการ ได้ขยายไปบ่งชี้การจัดการหรือการบริหารทุกประเภทโดยผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ ("นักวิชาการ") ในสาขาใด ๆ ไม่เพียงแต่วิทยาศาสตร์กายภาพเท่านั้น และมีการใช้อธิบายรัฐบาลที่รวมผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ได้ถูกเลือกตั้งขึ้นที่ระดับรัฐมนตรี.

ดู คตินิยมนักวิชาการและคตินิยมนักวิชาการ

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ดู คตินิยมนักวิชาการและประชาธิปไตย

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ดู คตินิยมนักวิชาการและปรัชญา

นักการเมือง

นักการเมือง, ผู้นำทางการเมืองหรือบุคคลทางการเมือง (อังกฤษ: politician มาจากภาษากรีกโบราณ polis ที่แปลว่า "เมือง") เป็นบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการมีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะและการวินิจฉัยสั่งการ ซึ่งรวมผู้ดำรงตำแหน่งวินิจฉัยสั่งการในรัฐบาล และผู้ที่มุ่งดำรงตำแหน่งเหล่านั้น ไม่ว่าด้วยวิธีการเลือกตั้ง การสืบทอด รัฐประหาร การแต่งตั้ง การพิชิต หรือวิธีอื่น การเมืองไม่ใช่จำกัดอยู่เพียงวิธีการปกครองผ่านตำแหน่งสาธารณะเท่านั้น ตำแหน่งทางการเมืองอาจถืออยู่ในบรรษัทก็ได้.

ดู คตินิยมนักวิชาการและนักการเมือง

นักวิทยาศาสตร์

นีล ดะแกรส ไทซัน นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย คำนี้บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ.

ดู คตินิยมนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์

นักธุรกิจ

นักธุรกิจ คือผู้ประกอบการหรือผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการ(ระดับใดก็ได้)ของบริษัท บางครั้งอาจหมายถึงบุคคลที่เป็นองค์กรที่แสวงหากำไร (โดยปกติ)นักธุรกิจมักจะอ้างถึงบุคคลที่ทำงานในสำนักงานตลอดเวล.

ดู คตินิยมนักวิชาการและนักธุรกิจ

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ดู คตินิยมนักวิชาการและเศรษฐกิจ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ TechnocracyTechnocratนักวิชาการ