โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ขนมต้ม

ดัชนี ขนมต้ม

ำหรับบทความที่เป็นชื่อนักมวยดูที่ นายขนมต้ม ขนมต้ม ขนมต้มเป็นขนมที่มีหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เข้ามาพร้องกับศาสนาพราหมณ์และลัทธิความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเชื่อกันว่าพระพิฆเนศโปรดขนมนี้มาก ครั้งหนึ่งเสวยเข้าไปจนเต็มพุง เมื่อขี่หนูกลับวิมาน ระหว่างทางหนูมาเจองู ตกใจจึงหยุดทันที พระพิฆเนศตกจากหลังหนู พุงแตก พระพิฆเนศเสียดายขนมจึงกอบเข้าใส่พุงใหม่แล้วเอาซากงูที่ตีตายแล้วมาพันพุงไว้ แล้วจึงกลับไปวิมาน พลศรี คชาชีว.

9 ความสัมพันธ์: พระพิฆเนศกะพ้อศาลพระภูมิศาสนาฮินดูอาณาจักรสุโขทัยขนมโมทกะข้าวต้มมัดนายขนมต้มเทวดา

พระพิฆเนศ

ระคเณศ (गणेश பிள்ளையார் Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นเทพในศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จ ทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ทรงเป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง).

ใหม่!!: ขนมต้มและพระพิฆเนศ · ดูเพิ่มเติม »

กะพ้อ

กะพ้อ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Licuala paludosa Griff.) เป็นปาล์มลำต้นเตี้ย สูง 1-3 ม. ลำต้นแตกหน่อเป็นกอ ใบมีลักษณะคล้ายฝ่ามือ เรียงเวียนสลับ รูปกลม ก้านใบรูปสามเหลี่ยม มีหนามแหลมสีดำ ใบประกอบด้วยกลุ่มใบย่อย 6-9 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีใบย่อย 3-4 ใบ ใบย่อยรูปแถบ ปลายเบี้ยว และเว้าเป็นหางปลา โคนสอบ ออกเป็นกลุ่มชิดกันที่ปลายก้านใบ โคนก้านใบมีเส้นใยประสานกันหุ้มหนาแน่น กาบใบเล็กเป็นหลอดสีเขียว ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงสั้น แยกแขนงเป็นช่อเชิงลด 5-7 ช่อ ห้อยลง ดอกไม่มีก้าน กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย เมื่อดอกเจริญขึ้นกลีบเลี้ยงจะฉีกออกทางด้านข้าง กลีบดอกรูปคนโท โคนติดกัน ปลายแยกเป็น 3 แฉก เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดกันเป็นวงรอบกลีบดอก เกสรเพศเมียเล็ก รังไข่ตอนบนตัดแบน ผลกลม แก่จัดสีส้ม เนื้อบาง เมล็ดกลม.

ใหม่!!: ขนมต้มและกะพ้อ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลพระภูมิ

ลพระภูมิ ศาลพระภูมิ หมายถึง ศาลที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่สถิตของเทพารักษ์ พบได้ทั่วไปในประเทศไทย มีลักษณะเป็นบ้านหรือวิหารหลังเล็กตั้งอยู่บนเสาเดี่ยว หรือปะรำทำจากปูนหรือไม้เป็นต้น ตั้งไว้ในจุดที่เชื่อว่าเป็นมงคล ซึ่งมักจะอยู่ริมรั้วหรือมุมหนึ่งนอกบ้าน และบ้านหนึ่งก็อาจมีศาลพระภูมิมากกว่าหนึ่งหลัง การบวงสรวงศาลพระภูมิเป็นการถวายพวงมาลัย ดอกไม้ และอาหาร ให้กับวิญญาณที่สถิตอยู่ในศาล ซึ่งมักจะทำก่อนพิธีกรรมของบ้านนั้นหรือเนื่องในวันสำคัญ ศาลพระภูมิที่ถอนแล้วมักจะนำไปไว้ที่วัดหรือทิ้งไว้ตามข้างทางแยก.

ใหม่!!: ขนมต้มและศาลพระภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ขนมต้มและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย เคยเป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที.

ใหม่!!: ขนมต้มและอาณาจักรสุโขทัย · ดูเพิ่มเติม »

ขนมโมทกะ

นมโมทกะ หรือ ขนมลัฑฑู (Modak; मोदक) เป็นขนมอินเดียประเภทหนึ่ง ลักษณะคล้ายขนมต้มของไทย (บางครั้งเรียกรวมกันว่า ขนมต้ม) ทำเป็นลูกกลมขนาดมะนาวผลเล็ก ภายนอกเป็นแป้งสีขาวห่อไส้แล้วนึ่งให้สุก ไส้ทำด้วยมะพร้าวขูด ผัดกับน้ำมันพืช ผสมเนยใส ผงกระวาน น้ำตาลทรายแดง และเกลือ รสค่อนข้างหวาน แต่บางที่ทำเป็นลูกมียอดแหลมคล้ายผลกระเทียม หรือปรุงด้วยการทอดก็มี เทพปกรณัมฮินดูระบุว่า พระพิฆเนศโปรดขนมโมทกะ และบางครั้งปรากฏเทวรูปพระพิฆเนศถือถาดขนมนี้อยู่เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ อนึ่ง ในเทศกาลคเณศจตุรถีซึ่งจัดเพื่อบูชาพระพิฆเนศก็นิยมถวายขนมนี้ด้ว.

ใหม่!!: ขนมต้มและขนมโมทกะ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวต้มมัด

อีบอส ขนมของฟิลิปปินส์ที่คล้ายข้าวต้มมัดของไทย ข้าวต้มมัดไส้กล้วย หรือ ข้าวต้มกล้วย ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือ ซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย ข้าวต้มมัดอีกชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มลูกโยน เป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วน ข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปลาะ 4-5 เปลาะ แล้วนำไปต้ม บางท้องที่ใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกข้าวต้มมัดว่า ข้าวต้มกล้วย ใช้ข้าวเหนียวดิบมาห่อ ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อย ใส่ถั่วลิสงต้มสุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย เอาไปต้มให้สุก ถ้าเป็นแบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิก่อนแล้วจึงห่อใส่ไส้กล้วย แล้วต้มให้สุก ถ้าต้องการหวานจะเอามาจิ้มน้ำตาล ส่วนทางภาคเหนือนิยมนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลทราย เรียก ข้าวต้มหัวหงอก ในประเทศลาวมีข้าวต้มมัดเช่นเดียวกันเรียกว่า "เข้าต้ม" ไส้เค็มใส่มันหมูกับถั่วเขียว ไส้หวานใส่กล้วย ข้าวต้มมัดทางภาคใต้ไม่มีไส้ เป็นข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ใส่ถั่วขาว ไม่นิยมใช้ถั่วดำ ออกรสเค็มเป็นหลัก ถ้าต้องการให้มีรสหวานจะเอาไปจิ้มน้ำตาล เส้นทางขนมไท.

ใหม่!!: ขนมต้มและข้าวต้มมัด · ดูเพิ่มเติม »

นายขนมต้ม

รูปจำลองนายขนมต้ม นายขนมต้ม (พ.ศ. 2293 — ?) เป็นนักมวยคาดเชือกชาวกรุงศรีอยุธยา เกิดที่ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรนายเกิด และนางอี่ มีพี่สาวชื่อนางเอื้อย ทั้งพ่อแม่และพี่ถูกพม่าฆ่าตายหมด และต้องไปอยู่วัดตั้งแต่เล็ก นายขนมต้มถูกพม่ากวาดต้อนไปเชลยในระหว่างเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2.

ใหม่!!: ขนมต้มและนายขนมต้ม · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: ขนมต้มและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ขนมต้มขาวขนมต้มแดง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »