โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อขนมไทย

ดัชนี รายชื่อขนมไทย

''ดาราทอง'' หรือ ''ทองเอกกระจัง'' นี่คือ รายชื่อขนมไทย ประกอบด้วยขนมขบเคี้ยวและขนมหวาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาหารไท.

58 ความสัมพันธ์: บั๊ญแส่วกระยาสารทกลีบลำดวนกะละแมฝอยทองมะพร้าวรายชื่อขนมไทยลอดช่องลำดวนลูกชุบสังขยาอาหารไทยจ่ามงกุฎทองม้วนทองหยอดทองหยิบทองเอกทับทิมกรอบขนมชะมดขนมชั้นขนมฟักเขียวกวนขนมกรอกขนมกงขนมก้อขนมฝรั่งกุฎีจีนขนมมันสำปะหลังขนมลาขนมลืมกลืนขนมหม้อแกงขนมหัวล้านขนมอาลัวขนมผิงขนมถั่วแปบขนมขบเคี้ยวขนมขี้หนูขนมครกขนมตาลขนมแชงม้าขนมแก้อามขนมไข่นกกระทาขนมเบื้องขนมเทียนขนมเขียวข้าวจี่ข้าวตูข้าวต้มมัดข้าวต้มน้ำวุ้นข้าวโป่งข้าวเม่าข้าวเหนียว...ข้าวเหนียวมะม่วงซ่าหริ่มแกงบวดแป้งสาลีโสนไข่หงส์เกลือเฉาก๊วย ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

บั๊ญแส่ว

ไส้ขนมเบื้องญวน บั๊ญแส่ว (bánh xèo) หรือที่เรียกกันในประเทศไทยว่า ขนมเบื้องญวน เป็นอาหารเวียดนามลักษณะคล้ายแพนเค้กที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำ และผงขมิ้นหรือกะทิ (ในพื้นที่ภาคใต้) ยัดไส้ด้วยมันหมู กุ้ง และถั่วงอกแล้วนำมาทอดในกระทะ ตามธรรมเนียม บั๊ญแส่วจะห่อด้วยใบมัสตาร์ด ใบผักกาด หอม และยัดด้วยใบสะระแหน่ ใบโหระพา หรือสมุนไพรอื่น ๆ แล้วจิ้มด้วยเนื้อกเจิ๊ม (น้ำปลาของเวียดนามที่มีส่วนผสมของน้ำและมะนาว) ในภาคกลางจะรับประทานบั๊ญแส่วกับซอสเตือง (tương) ซึ่งประกอบด้วยตับ ซอสฮอยซิน และกระเทียม บั๊ญแส่วในภาคใต้จะมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ในภาคกลาง บั๊ญแส่วในภาคใต้จะมีชื่อเรียก ว่า "บั๊ญคว้าย" (bánh khoái) หรือไข่เจียวยัดไส้ ซึ่งทุกวันนี้ได้เป็นหนึ่งในอาหารที่คนรู้จักกันดีจากภาคกลาง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าและเพิ่มรสชาติด้วยกับผงขมิ้นแล้วนำไปทอดในกระทะจนกรอบ บั๊ญคว้ายจะยัดไส้ด้วยหมูสับ ไข่ กุ้ง ถั่วงอก ถั่วเขียวบดแล้วก็พับ เวลาจะรับประทานให้ใช้ตะเกียบแยกเป็นชิ้น ๆ และนำมาห่อด้วยผักสมุนไพรสดแล้วจุ่มลงในซอสเตือง ซึ่งประกอบด้วยตับ ซอสฮอยซิน และกระเทียม ส่วนผักสมุนไพรสดต่าง ๆ จะช่วยลดความมันในอาหารทอด ในอาหารกัมพูชาจะมีจานที่คล้ายบั๊ญแส่ว เรียกว่า "บัญแชว" (បាញ់​ឆែវ banh chhaew) ส่วนชาวเขมรใต้ที่อยู่เวียดนามภาคใต้ เรียกว่า "นมจักอำแบง" (នំ​ចាក់​អំបែង หรือ នំ​ចាក់​អម្បែង ขนมเทเศษภาชนะแตก) หมวดหมู่:อาหารเวียดนาม.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและบั๊ญแส่ว · ดูเพิ่มเติม »

กระยาสารท

245px กระยาสารท (/กระยาสาด/) เป็นขนมไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว และน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงสารทไทยแรม 15 ค่ำ เดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนว่า ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทย เรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว จนอาจจะทำให้หลายคนนึกสงสัยขึ้นมาได้ ว่าทำไมขนมกระยาสาทรหอมหวานที่เป็นแพเหนียว ๆ นี้ จึงมีความสำคัญมากเสียจนต้องจัดพิธีทำบุญด้วยขนมกระยาสารท แม้ขนมกระยาสารทจะเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักสิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีนและตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่สำหรับไทยแล้วประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่วแล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ เรียกว่า ข้าวเม่าแทน ส่วนตำราความเชื่อของขนมกระยาสารทมีอยู่ 2 ตำราด้วยกัน ตำราหนึ่งกล่าวว่า มีพี่น้องอยู่สองคนชื่อ มหากาลผู้พี่ และจุลกาลผู้น้อง ทั้งสองทำการเกษตรกรรมร่วมกันคือ ปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย ก็เลยอยากนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วย มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ต่างคนต่างนำข้าวไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่า แล้วต้มกับน้ำนมสด ใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปรารถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า ขอให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อนใคร และเมื่อกลับบ้านไป ก็พบว่านาข้าวสาลีของตนนั้นออกรวงอุดมสมบูรณ์สวยงาม จนเก็บเกี่ยวไป 9 ครั้งก็ยังอุดมสมบูรณ์อยู่อย่างนั้นตลอดไป เป็นอาหารที่ทำให้ฤดูสารท กระยาสารทนี้เนื่องมาจาก ข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นอาหารอินเดียใช้ข้าว น้ำตาล น้ำนม ผสมกัน ซึ่งนางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าส่วนผสมของกระยาสารทไทยมีข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วลิสง งาคั่วให้สุกเสียก่อน แล้วนำมากวนกับน้ำอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึก จะทำเป็นกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ เก็บไว้ได้นานทำจากพืชผลแรกได้กระยาสารทเป็นของหวานจัด โดยมากจะกินกับกล้วยไข่สุกทำถวายพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว กระยาสารทกำหนดทรงบาตรที่วิเศษ ในการพระราชพิธีสารทนี้ตกทอดกันมานาน คนผู้นับถือพระพุทธศาสนาจะพากันหยุดงาน ตระเตรียมสิ่งของทำบุญที่เรียกว่ากระยาสารทเป็นของหวาน ประจำเทศกาลสารท นิยมทำกันก่อนวันสิ้นเดือนเป็นวันโกน วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 นี้จึงมีการกวนกระยาสารทในงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับเดือนกันยายน ชาวบ้านจะกวนกระยาสารทมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว จนกลายเป็นประเพณีสารทไทย หรือเทศกาลกวนขนมกระยาสารทจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง กระยาสารทเป็นสัญลักษณ์ของ ผลิตผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรกอีกด้วย นอกจากนี้ ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดงานกวนกระยาสารท กล้วยไข่มาตั้งแต..

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและกระยาสารท · ดูเพิ่มเติม »

กลีบลำดวน

กลีบลำดวน หรือ ดอกลำดวน เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งสาลีนวดเคล้ากับน้ำตาลและน้ำมัน ปั้นเป็นดอก 3 กลีบ มีเกสรกลมตรงกลาง (อย่างดอกลำดวน) แล้วอบหรือผิง เป็นขนมมงคลที่ใช้ในงานแต่งงาน.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและกลีบลำดวน · ดูเพิ่มเติม »

กะละแม

กะละแม เป็นขนมไทยลักษณะเป็นแป้งเหนียวสีดำ เป็นขนมหนึ่งในสามชนิดที่นิยมทำขึ้นในวันปีใหม่ของคนไทยในสมัยก่อน ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ คือ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และกะละแม ยังไม่ทราบว่ากะละแมมีที่มาจากขนมหวานของชาติใด บางท่านกล่าวว่ามาจากขนมกาลาเม็กของฝรั่งเศส หรือคาราเมลของอังกฤษ หรือเกละไมของชาวมลายู พุทธทาสภิกขุตั้งข้อเสนอว่าน่าจะมาจากขนมฮูละวะของอินเดียที่มีส่วนผสมเป็นนม แป้ง และน้ำตาลเส้นทางขนมไท.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและกะละแม · ดูเพิ่มเติม »

ฝอยทอง

ฝอยทอง (fios de ovos, ฟีอุชดือโอวุช, "เส้นด้ายที่ทำจากไข่") เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยสีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวรู (Aveiro) เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส ฝอยทองเป็นที่รู้จักในประเทศสเปนว่า อูเอโบอิลาโด (huevo hilado "ไข่ที่ปั่นเป็นเส้นด้าย"), ญี่ปุ่นว่า เครังโซเม็ง ("เส้นไข่ไก่")Kyoto Foodie,.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและฝอยทอง · ดูเพิ่มเติม »

มะพร้าว

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและมะพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อขนมไทย

''ดาราทอง'' หรือ ''ทองเอกกระจัง'' นี่คือ รายชื่อขนมไทย ประกอบด้วยขนมขบเคี้ยวและขนมหวาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาหารไท.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและรายชื่อขนมไทย · ดูเพิ่มเติม »

ลอดช่อง

วต ที่ขายในตลาดที่มาลัง ชวาตะวันออก ประมาณ พ.ศ. 2478 ลอดช่อง คือ ขนมพื้นบ้านที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบ เป็นที่นิยมแพร่หลายในไทยชนิดหนึ่ง มีจุดกำเนิดร่วมในทั่วทั้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศ อินโดนีเซียhttp://www.belindo.com/Default.aspx?NavID.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและลอดช่อง · ดูเพิ่มเติม »

ลำดวน

ลำดวน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Melodorum fruticosum Lour.) มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า หอมนวล (ภาคเหนือ) ลำดวน (ภาคอีสาน) เป็นไม้ดอกชนิดหนึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้ ดอกหอมนวลยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและลำดวน · ดูเพิ่มเติม »

ลูกชุบ

ลูกชุบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งทำด้วยถั่วเขียวบดกวนปั้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ ระบายสี แล้วนำไปชุบวุ้นให้สวยงาม สีที่ใช้ทำลูกชุบนั้นนอกจากระบายลงบนถั่วเขียวกวนที่ปั้นแล้ว ยังใส่สีลงในถั่วกวนโดยตรงได้อีก เช่น.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและลูกชุบ · ดูเพิ่มเติม »

สังขยา

ังขยา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและสังขยา · ดูเพิ่มเติม »

อาหารไทย

ต้มยำกุ้ง อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดยซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำ อันดับที่ 46, น้ำตกหมู อันดับที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 และ แกงมัสมั่น ติดอันดับที่ 1.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและอาหารไทย · ดูเพิ่มเติม »

จ่ามงกุฎ

มงกุฎ จ่ามงกุฎ เป็นชื่อขนมไทยชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกะละแมสีขาว ไม่ใส่สี ทำจากแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียวนวดผสมกับแป้งถั่วเขียว นำไปกวนกับกะทิและน้ำตาลทรายขาวจนเหนียว โรยเมล็ดถั่วลิสงคั่วซอยหรือเมล็ดแตงโมกะเทาะเปลือกเป็นไส้ในตัวขนม (สูตรโบราณจะโรยแป้งทอดตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ เท่าเมล็ดข้าวสุก ซึ่งใช้เวลาทำนานกว่า)แม่กลองทูเดย์ดอทคอม.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและจ่ามงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

ทองม้วน

ทองม้วน เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นม้วนกลมเป็นวง มีลักษณะกรอบ โดยมีส่วนผสมหลักคือ แป้ง มะพร้าว น้ำตาลปีบ ไข่ไก่ น้ำมันพืช และ งาดำ ต้นกำเนิดมีแรงบันดาลใจจากขนมโปรตุเกส คนไทยมักให้ทองม้วนเป็นของขวัญเนื่องจากชื่อสื่อถึงการมั่งมี หมวดหมู่:ขนมไทย.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและทองม้วน · ดูเพิ่มเติม »

ทองหยอด

ทองหยอด (ovos moles de Aveiro, โอวุชมอลึชดืออาไวรู) เป็นขนมโปรตุเกส มีถิ่นกำเนิดจากเมืองอาไวรู (Aveiro) เมืองชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส ทำจากแป้งผสมกับไข่แดงและน้ำ หยอดลงในน้ำเดือดเคี่ยวกับน้ำตาล เมื่อแป้งสุกจะเป็นเม็ดคล้ายหยดน้ำ มีสีเหลืองทอง ทองหยอดเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยท้าวทองกีบม้า ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาร.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและทองหยอด · ดูเพิ่มเติม »

ทองหยิบ

ทองหยิบ (trouxas das Caldas, โตรชัชดัชกัลดัช) เป็นขนมโปรตุเกสที่เผยแพร่ในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยท้าวทองกีบม้า จนเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ทำจากไข่แดงตีจนฟู ก่อนนำไปหยอดลงในน้ำเชื่อมเดือดเพื่อทำให้สุก เมื่อสุกแล้วจึงนำมาจับจีบ ใส่ถ้วยตะไล ปัจจุบัน มักใช้เป็นของหวานในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและทองหยิบ · ดูเพิ่มเติม »

ทองเอก

ทองเอก คือขนมไทยที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี น้ำตาล ไข่แดง และกะทิ กวนจนข้น แล้วนำใส่แม่พิมพ์ให้ได้รูปตามที่ต้องการ จากนั้นจึงแคะออกจากแม่พิมพ์ แล้วนำมาอบด้วยเทียนอ.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและทองเอก · ดูเพิ่มเติม »

ทับทิมกรอบ

ทับทิมกรอบ ขนมทับทิมกรอบ เป็นขนมหวานแบบไทย ทับทิมกรอบเป็นขนมหวานที่รับประทานได้ทุกฤดูกาล นิยมมากที่สุดในฤดูร้อน รับประทานแล้วหอมหวานเย็นอร่อยชื่นใจคลายร้อนได้ดี ประกอบด้วยเม็ดทับทิมกรอบสีแดงสดใสและเม็ดทับทิมกรอบสีชมพูสวย เมื่อเคี้ยวแล้วกรอบมันด้วยรสชาติของแห้ว มีน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลทราย ลอยด้วยดอกมะลิ มีกะทิสดจากการคั้นมะพร้าว น้ำแข็งบดละเอียดหรือน้ำแข็งทุบให้เป็นเม็ดเล็ก ๆ รสชาติหอมชื่นใ.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและทับทิมกรอบ · ดูเพิ่มเติม »

ขนมชะมด

นมชะมด เป็นขนมที่มีหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและสุโขทัย มีกล่าวไว้ในจดหมายเหตุว่า ในตลาดขายขนมหรือป่าขนมมีขนมชะมดขายด้วย ขนมนี้จัดเป็นขนมเสี่ยงทายในงานแต่งงาน ไส้เป็นถั่วทองแช่น้ำนึ่งสุกโขลกผสมเกลือและพริกไทย เป็น 3 ลูกบีบติดแล้วชุบแป้งทอด ถ้าทอดแล้วแยกออกจากกัน หมายความว่าจะอยู่ด้วยกันไม่ยืด ถ้ายังติดกัน 2 ลูก หมายความว่าจะมีลูกยาก บางทีต้องชุบแป้ง 3-4 ครั้งจึงไม่แตกจากกัน การแตกจากกันของขนมนี้หมายถึงความแตกแยกของคู่สมรส บางครั้งต้องเปลี่ยนคนทำใหม่ เรียกว่า หาหมอมาแก้ ขนมที่ใกล้เคียงกับขนมชะมดได้แก่ ขนมสามเกลอ ซึ่งวิธีทำและรูปร่างคล้ายกันแต่ไส้ต่างไปคือไส้กระฉีกผสมถั่วทองบดหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวแล้วชุบแป้งทอด กับขนมละมุดที่คล้ายขนมสามเกลอแต่ทำเป็นลูกโดดขนาดใหญ.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมชะมด · ดูเพิ่มเติม »

ขนมชั้น

นมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพ ส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3 - 4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมชั้น · ดูเพิ่มเติม »

ขนมฟักเขียวกวน

นมฟักเขียวกวนเป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดนครสวรรค์ นิยมใช้ในงานทำบุญเพราะเชื่อว่าฟักเป็นพืชที่ให้ความเย็น ลักษณะของขนมตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม ขนาดพอคำ มีความเหนียว รสชาติหวานมัน โรยถั่วลิสงคั่วหั่นฝอย การทำขนมชนิดนี้ เริ่มจากนำฟักเขียวแก่มาขูดเอาแต่เนื้อแล้วบีบน้ำออก ใส่เนื้อฟักลงในกระทะทอง กวนกับกะทิ น้ำตาลปี๊บ และแป้งข้าวเจ้า จนกว่าขนมจะล่อน ไม่ติดกระทะ แล้วเทใส่ถาด โดรยด้วยถั่ว ขนมที่คล้ายกันนี้มีทำที่จังหวัดจันทบุรีด้วยแต่เรียกขนมฟัก.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมฟักเขียวกวน · ดูเพิ่มเติม »

ขนมกรอก

นมกรอก เป็นขนมพื้นบ้านของภาคใต้ ทำจากแป้งข้าวเจ้า มีทั้งไส้หวานและไส้คาว การทำขนมนี้เริ่มจากผสมแป้ง ไข่ กะทิ เข้าด้วยกัน ละเลงบนกระทะเป็นแผ่นบางๆ พอสุกตักขึ้น ใส่ไส้ ห่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไส้หวานประกอบด้วย มะพร้าวกวนกับน้ำตาลคล้ายหน้ากระฉีก ส่วนไส้เค็ม ทำจากกุ้งผัดกับเต้าหู้ รสหวานเค็ม ต้องกินกับผักและน้ำจิ้ม.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมกรอก · ดูเพิ่มเติม »

ขนมกง

นมกง หรือ ขนมไข่ปลา เป็นขนมพื้นเมืองชนิดหนึ่งของทางพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย แถบจังหวัดสมุทรสาคร รวมถึงทางภาคใต้ด้วย มีลักษณะเป็นวงกลมและมีเส้นไขว้พาดกันคล้ายรูปล้อเกวียน นำไปชุบลงในน้ำแป้งข้าวเหนียวหรือแป้งสาลี และนำลงไปทอดในน้ำมันพืช โดยถือเป็นหนึ่งในขนมทั้งห้าชนิดที่มีความสำคัญในการประกอบพิธีกรรมในประเพณีสารทเดือนสิบทางภาคใต้มุ่งหมายให้เป็นเครื่องประดับของบรรพบุรุษ ในส่วนของภาคกลาง ใช้ในพิธีมงคล เช่น ไหว้เจ้า หรือพิธีแต่งงานให้คู่บ่าวสาวครองคู่ด้วยกันไปตลอด โดยมีความหมายถึงการหมุนไปข้างหน้า หรือการก้าวไปข้างหน้า เช่นเดียวกับพระธรรมจักร เนื่องจากรูปร่างของขนมที่คล้ายวงกลมหรือวงจักร จึงทำให้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า ขนมกงเกวียน.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมกง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมก้อ

นมก้อ เป็นขนมพื้นบ้านของภาคใต้ ทำจากแป้งข้าวเจ้า ไส้ของขนมนี้ทำจากน้ำตาลโตนด เคี่ยวให้ข้น ผสมถั่วลิสง และแป้งโม่ผัดจนแห้ง ตัวขนมทำจากแป้งกวนกับน้ำตาลตักใส่พิมพ์ครึ่งหนึ่ง แล้วจึงใส่ไส้ขนม แล้วใส่ตัวขนมอีกชั้น กดให้แน่น ขนมก้ออีกชนิดหนึ่งเรียกขนมก้ออ่อน เป็นการนำแป้งของขนมก้อมานวดกับน้ำเชื่อม แล้วตัดเป็นชิ้น.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมก้อ · ดูเพิ่มเติม »

ขนมฝรั่งกุฎีจีน

นมฝรั่งกุฎีจีน ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมไทยอย่างหนึ่ง ที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี โดยเป็นขนมที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีน ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณใกล้เคียงกับโบสถ์ซางตาครู้ส โบสถ์คาทอลิกเก่าแก่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ที่นี่มาตั้้งแต่ยุคกรุงธนบุรี ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลมาจากขนมโปรตุเกสเช่นเดียวกับขนมไทยหลายอย่าง เช่น ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง หรือลูกชุบ ตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ ตัวขนมเป็นตำรับของขนมแบบโปรตุเกส โดยใช้วัตถุดิบสามอย่าง คือ แป้งสาลี, ไข่เป็ด และน้ำตาลทราย ตีให้ส่วนผสมเข้ากันจนขึ้นฟูและเทลงแม่พิมพ์ โดยไม่ผสมผงฟู, ยีสต์ หรือสารกันบูด จากนั้นโรยด้วยลูกเกด, ลูกพลับอบแห้ง, ฟักเชื่อม และน้ำตาลทราย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขนมของจีน โดยชาวจีนเชื่อว่าเมื่อรับประทานฟักเชื่อมแล้วจะก่อให้เกิดความร่มเย็น ส่วนน้ำตาลทรายจะเกิดความมั่งคั่งไม่รู้จบเหมือนกับน้ำตาลทรายที่นับเม็ดไม่ได้ ส่วนลูกพลับอบแห้งและลูกเกด ก็เป็นผลไม้ที่มีราคาและมีคุณค่าทางอาหารอีกด้วย แล้วจึงนำไปเทใส่แม่พิมพ์แล้วอบจนสุกโดยใช้วิธีอบแบบโบราณด้วยเตาถ่าน รสชาติมีความกรอบนอก นุ่มใน เดิมที ขนมฝรั่งกุฎีจีนจะทำกันเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญทางศาสนาและแจกจ่ายรับประทานกันเองในครอบครัวหรือชุมชน เช่น คริสต์มาส ต่อมาเมื่อได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น จึงมีการทำออกมาขาย จนมีคำร้องคล้องจองกันของผู้ค้า เมื่อนำขนมออกไปเร่ขายเพื่อดึงดูดความสนใจผู้ซื้อว่า "อ้อยจีนบางใหญ่ อ้อยไทยบางคูวัด ข้าวหลามตัดวัดระฆัง ขนมฝรั่งกุฎีจีน แม่เอ๊ย" อันบ่งบอกได้ถึงอดีตที่เคยรุ่งเรืองของอาหารพื้นถิ่นและการค้าขายในแถบนี้ ซึ่งในอดีตก็จะมีขายเฉพาะในช่วงปลายปีเท่านั้น อันตรงกับช่วงเทศกาลคริสต์มาส ปัจจุบัน ที่ชุมนุมกุฎีจีนเหลือร้านที่ทำและจำหน่ายขนมฝรั่งกุฎีจีนเพียงไม่กี่รายเท่านั้น.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมฝรั่งกุฎีจีน · ดูเพิ่มเติม »

ขนมมันสำปะหลัง

นมมันสำปะหลัง ขนมมันสำปะหลังเป็นขนมที่พบได้ทั่วไปทั้งภาคกลางและภาคเหนือ โดยทางเหนือเรียก ขนมมันต้าง ส่วนผสมหลักเป็นมันสำปะหลังโม่ละเอียด นำไปผสมกับน้ำตาลและเกลือ นึ่งให้สุก ซึ่งเมื่อสุกแล้วจะใสและเหนียวกว่าเมื่อขนมดิบ เวลารับประทาน ตัดเป็นชิ้นๆ นำไปคลุกกับมะพร้าวขู.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมมันสำปะหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมลา

นมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดในภาคใต้ ประจำจังหวัด นครศรีธรรมราช โดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ขนมลาปรุงขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า ปัจจุบันขนมลามีจำหน่ายตลอด ทั้งปี ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา ขนมลามี 2 ชนิดคือลาเช็ดและลากรอบ ขนมลาเช็ดจะใช้น้ำมันน้อย โรยแป้งให้หนา เมื่อสุกพับเป็นครึ่งวงกลม รูปร่างเหมือนแห ลากรอบ นำลาเช็ดมาโรยน้ำตาลแล้วนำไปตากแดด ในปัจจุบันมีการทำลากรอบแบบใหม่ โดยเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น เมื่อแป้งสุกแล้วม้วนเป็นแท่งกลม พักไว้จนเย็นจึงดึงไม้ออก.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมลา · ดูเพิ่มเติม »

ขนมลืมกลืน

นมลืมกลืน (ขนมไทย) ขนมไทยที่ทำจากแป้งถั่วเขียวหรือแป้งสลิ่ม ผสมน้ำลอยดอกไม้และน้ำตาล นำไปกวนจนใส หยอดหน้าด้วยกะทิ ส่วนประกอบของขนมมี 2 ส่วน คือ ส่วนของตัวขนมที่ทำจากแป้งถั่วเขียวและหน้าขนมที่ทำจากกะทิ รสชาติหวานหอม มันๆ เค็มๆ จากตัวกะทิ เนื้อของขนมมีลักษณะนุ่ม ทานอร่อยจนทำให้ลืมกลืนตามชื่อขนมไปเล.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมลืมกลืน · ดูเพิ่มเติม »

ขนมหม้อแกง

นมหม้อแกง ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ คือขนมที่ใช้ไข่ แป้ง และกะทิเป็นส่วนประกอบสำคัญ นำผสมกันในถาดตามสัดส่วน แล้วจึงนำไปอบจนหน้าของขนมหม้อแกงมีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทาน ปัจจุบันมีการทำเผือก เม็ดบัว ถั่ว และหอมเจียว มาผสม และแต่งหน้าขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมหม้อแกง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมหัวล้าน

นมหัวล้าน ขนมหัวล้าน เป็นขนมพื้นบ้านภาคใต้โดยขนาดใช้วิธีการทำแบบ ขนมต้ม.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมหัวล้าน · ดูเพิ่มเติม »

ขนมอาลัว

ขนมอาลัว เป็นขนมหวานที่ทำจากแป้ง ผิวด้านนอกจะเป็นน้ำตาลแข็ง ด้านในเป็นแป้งหนืด มักทำเป็นอันเล็กๆ มีหลายสี มีกลิ่นหอมหวาน ชื่ออาลัวมีความหมายว่าเสน่ห์ดึงดูดใจ อาลัวมีต้นกำเนิดมาจากประเทศโปรตุเกส ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรกโดยคุณท้าวทองกีบม้า หรือ เลดี้ฮอร์ เดอควีมาร์ ภริยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ซึ่งเป็นชาวโปรตุเกสที่เข้ามารับราชการในราชสำนักในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขนมอาลัวยังแบ่งได้เป็นสองชนิด คือ อาลัวชาววัง และ อาลัวจิ๋ว อาลัวชาววังมีขนาดใหญ่กว่า และมีส่วนผสมของกะทิมากกว่าอาลัวจิ๋ว ขนมอาลัวจิ๋วหลากสี หมวดหมู่:ขนมไทย.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมอาลัว · ดูเพิ่มเติม »

ขนมผิง

นมผิง เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำมาจากแป้งผสมกับน้ำตาล แล้วนำไปอบด้วยไฟบนและไฟล่างจนกรอบ มีรูปร่างแบนคล้ายไข่แมงมุม มีสีเหลืองนวล ขนมผิงมีต้นกำเนิดมาจากอาหารโปรตุเกส โดยหญิงลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น มารี กีมาร์ ที่เกิดในอาณาจักรอยุธยา หลังจากที่ทหารญี่ปุ่นชุดแรกได้เข้ามาเป็นทหารอาสาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่นานมารี กีมาร์ ก็ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น และได้ชื่อในภาษาไทยว่า "ท้าวทองกีบม้า" ได้สอนการทำขนมหวาน อาทิ ทองหยอด, ฝอยทอง และอีกหลาย ๆ อย่าง ให้กับผู้ที่ทำงานอยู่ใกล้ชิด และจากนั้นก็ได้กลายมาเป็นขนมไทยหลากหลายอย่างรวมถึง ขนมผิงด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมผิง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมถั่วแปบ

บทความที่เป็นพืชดูที่ ถั่วแปบ ขนมถั่วแปบเป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่เป็นถั่วเหลือง มะพร้าวขูด แล้วนำไปนึ่ง ขนมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับขนมถั่วแปบคือขนมเขียว มีไส้เป็นแบบเดียวกัน หมวดหมู่:ขนมไทย หมวดหมู่:อาหารประเภทข้าวเหนียว.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมถั่วแปบ · ดูเพิ่มเติม »

ขนมขบเคี้ยว

ขนมขบเคี้ยว (snack food) หรือ ของขบเคี้ยว เป็นอาหารว่างหรือเป็นขนมที่รับประทานยามว่างที่มีชิ้นเล็ก ๆ ได้แก่ มันฝรั่งทอด ลูกอม ลูกกวาด ช็อกโกแลต คุกกี้ หมากฝรั่ง และของหวานที่เคี้ยวได้ต่าง ๆ เช่น นมอัดเม็ด ขนมขบเคี้ยวพบได้ทั่วโลกเป็นรูปแบบของอาหารที่ไม่ได้เป็นมื้อหลักของวัน แต่หมายถึงอาหารที่มีไว้เพื่อระงับความหิวระหว่างมื้อ และให้พลังงานแก่ร่างกายได้เล็กน้อย คำ ๆ นี้อาจอ้างอิงถึงอาหารที่ใช้บริโภคระหว่างมื้อเพื่อเป็นความสนุกสนานในการลิ้มรสชาติ หมวดหมู่:อาหารว่าง.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมขบเคี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

ขนมขี้หนู

นมขี้หนู เป็นขนมไทยโบราณ บ้างเรียกขนมทราย ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำเชื่อม โรยหน้าด้วยมะพร้าว การรับประทาน ตักใส่ภาชนะ (จานแบน ๆ) โรยด้วยมะพร้าวแก่ขูดฝอยตามชอบ (ไม่ใช่มะพร้าวซึก) ขนมที่ดีจะต้องเป็นเหมือนเม็ดทรายละเอียด ร่วนซุย ไม่จับเป็นก้อน หวานเล็กน้อย หอมชื่นใจเมื่อทาน.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมขี้หนู · ดูเพิ่มเติม »

ขนมครก

นมครก ขนมครก เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งน้ำตาลและกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะรับประทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน เป็นขนมของไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณ นอกจากนี้ยังพบในพม่า ลาว และอินโดนีเซีย โดยชาวอินโดนีเซียเรียกว่าเซอราบี (serabi).

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมครก · ดูเพิ่มเติม »

ขนมตาล

นมตาล ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาล ในปัจจุบัน หาทานขนมตาลรสชาติดีได้ยาก เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ขนมตาลที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมักใส่เนื้อตาลน้อย เพิ่มแป้งและเจือสีเหลืองแทน ซึ่งทำให้ขนมตาลมีเนื้อกระด้าง ไม่หอมหวาน และไม่อร่อ.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมตาล · ดูเพิ่มเติม »

ขนมแชงม้า

นมแชงม้า (หรือสะกดด้วย ซ. เป็น แซงม้า) หรือ ขนมแซงมาหน้า 3, ขนมแซงมาเคยกินกันทั้งนั้น.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมแชงม้า · ดูเพิ่มเติม »

ขนมแก้อาม

นมแก้อามเป็นขนมพื้นบ้านภาคใต้ชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้า โดยปั้นแป้งข้าวเจ้าที่นวดแล้วเป็นก้อนกลม นำไปต้มในน้ำพอสุก แล้วนำมาตัดเป็นชิ้น จากนั้นนำไปต้มในน้ำกะทิที่ใส่เกลือและกุ้งสดลงไปต้มให้สุก เมื่อเดือดดีแล้วจึงยกลง เมื่อจะรับประทาน ตักใส่ถ้วย โรยต้นหอมและพริกไท.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมแก้อาม · ดูเพิ่มเติม »

ขนมไข่นกกระทา

ขนมไข่นกกระทา อดีตเรียกขนมไข่เต่า แต่เนื่องจากต่อมาไข่เต่าเป็นสัตว์สงวน จึงเปลี่ยนชื่อ คือ ขนมชนิดหนึ่ง เป็นขนมที่นิยมมากในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา แม้กระทั่งรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันเพราะสามารถทำได้ง่าย ราคาถูก และมีรสชาติติดปาก รับประทานง่าย มีลักษณะเป็นก้อนกลม สีเหลืองอ่อน ทำด้วยแป้งมัน แล้วนำไปทอด รสชาติหอมหวานมัน ข้างนอกจะแข็ง ข้างในนุ่ม นิยมขายตามร้านกล้วยทอด เผือกทอด มันทอด ข้างทาง และบางพื้นที่อาจจะเรียกว่า ขนมไข่เต่า ซึ่งนั่นเข้าใจผิด เพราะไข่เต่า จะมีใส้ถั่วผัด และ มีงาเคลือบด้านนอก เมล็ดงาจะดูเหมือนทรายที่เกาะใข่เต่า คือที่มาของชื่อนี้นั่นเอง หมวดหมู่:ขนม.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมไข่นกกระทา · ดูเพิ่มเติม »

ขนมเบื้อง

นมเบื้องไทย ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง มีไส้รสต่างๆ มีหลักฐานกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า "บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง" ขนมเบื้องมีหลายแ.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมเบื้อง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมเทียน

'''ขนมเทียน''' หรือ ขนมนมสาว ทางภาคเหนือเรียกว่า ขนมจ็อก ซึ่งเป็นขนมที่นิยมใช้ในงานบุญ โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ออกไปหลากหลายมาก ชาวจีนใช้ขนมเทียนในการไหว้บรรพบุรุษช่วงวันตรุษและวันสารท ไส้เป็นถั่วเขียวกวนบด ถ้าแบบเค็มจะใส่พริกไทยและเกลือ แบบหวานใส่มะพร้าวและน้ำตาลลงไปเพิ่ม ถ้าตัวแป้งทำด้วยแป้งถั่วเรียกขนมเทียนแก้ว ในพิธีกรรมของชาวชอง จะใช้ขนมเทียนในพิธีไหว้ผีหิ้งด้วย ขนมเทียน.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมเทียน · ดูเพิ่มเติม »

ขนมเขียว

นมเขียว เป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรี ต้นกำเนิดอยู่ที่อำเภอนาดี เป็นขนมลูกผสมระหว่างข้าวเกรียบปากหม้อกับขนมถั่วแปบ เปลือกที่ใช้ห่อข้างนอกใช้แป้งข้าวเจ้าที่เป็นแป้งโม่ โดยผสมข้าวเจ้าแข็ง น้ำปูนใส ใบเตยสับนำไปโม่ด้วยเครื่องโม่จนได้น้ำแป้งสีเขียว นำไปผสมกับแป้งข้าวเจ้าชนิดและแป้งมัน นำไปละเลงบนผ้าขาวบางที่คลุมอยู่บนปากหม้อที่ตั้งน้ำไว้จนเดือด พอสุกแคะใส่จาน ตักไส้ที่ประกอบด้วยถั่วเหลือง มะพร้าวขูด น้ำตาลทราย และเกลือ พับครึ่ง ตักใส่จาน ขนมนี้ต่างจากข้าวเกรียบปากหม้อที่ไม่ต้องกินกับผัก และไม่ต้องกินกับน้ำตาลทรายโรยเกลือเหมือนขนมถั่วแป.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและขนมเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวจี่

้าวจี่ เป็นขนมพื้นบ้านของภาคอีสาน ทำจากข้าวเหนียวนึ่งทาเกลือ ปั้นเป็นรูปกลมหรือรีเสียบไม้นำไปย่างบนเตาถ่าน ไฟอ่อนพอเกรียมนำมาชุบไข่ แล้วนำไปย่างใหม่จนเหลือง ดึงไม้ที่เสียบไว้ออก ยัดน้ำตาลอ้อยเข้าไปแทน น้ำตาลจะละลายเป็นไส้ และนิยมทำกันมากในช่วงเดือนสามของทุกปี ซึ่งจะมีการทำข้าวจี่ไปทำบุญในงานประเพณีบุญข้าวจี่ อาจเป็นเพราะข้าวเหนียวจะเสียเร็วในตอนกลางวัน สมัยก่อนข้าวเหนียวจึงถูกทำเป็นข้าวจี่แล้วห่อใบตองไปกินเป็นอาหารตอนทำนาหรือเดินทางไกล เพราะสามารถเก็บได้นานขึ้น ทางภาคเหนือ มีข้าวจี่เช่นเดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพียงแต่จะเพิ่มกะทิเข้ามาด้วย เดือนสี่ทางเหนือซึ่งตรงกับราว ๆ เดือนมกราคมของภาคกลาง (การนับเดือนของทางเหนือจะเร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน) จะนำข้าวจี่กับข้าวหลามไปทำบุญตักบาตร เรียกว่า บุญข้าวจี่ข้าวหลาม ข้าวจี่อีกชนิดหนึ่งของทางภาคเหนือ เป็นการอุ่นข้าวเหนียวเปล่า มักจะทำกินกันตอนน้ำท่วม โดยการนำข้าวเหนียวสุกที่เหลือจากมื้อก่อนหน้า (เรียกว่า ข้าวเย็น) มาเสียบไม้ ปั้นแผ่ให้บาง ปิ้งไฟพอเกรียมนิดหน่อยให้อุ่นหอม นิยมกินกับปลากระดี่ที่ควักไส้แล้วเสียบไม้ตากแห้ง (เรียกว่า ฮ้าแห้ง หรือ ปลาร้าแห้ง) ปิ้งไฟให้กรอบเกรียม นำมาโขลกป่นให้ละเอียด ผสมเกลือป่นเล็กน้อย หากเป็นเกลือเม็ดก็โขลกให้ป่นพร้อมปลาไปเลย เก็บใส่กระปุกไว้เป็นกับข้าวได้นาน การจี่ในภาษาเหนือจะไม่เหมือนกับภาษากลาง ซึ่งแบบภาคกลางจะหมายถึงการนาบอาหารกับกระทะ ในภาษาเหนือจะเรียก นาบ ประเทศลาวก็มีอาหารที่เรียกว่าข้าวจี่เช่นกัน ที่หลวงพระบางข้าวจี่คือขนมปังแท่งยาว ๆ แบบฝรั่งเศส นำมาผ่าซีก เสร็จแล้วนำไปใส่เครื่องเคียงต่าง ๆ เช่น แตงกวา ไข่เจียวตัดเป็นเส้น ๆ หมูยอ หมูหย็อง (คนลาวเรียกหมูฝอย) และปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศ ข้าวจี่ของลาวจะต่างจากข้าวจี่ทางภาคเหนือและอีสานของไท.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและข้าวจี่ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวตู

้าวตู เป็นขนมไทยที่ทำจากข้าวสวยที่เหลือรับประทาน โดยนำข้าวเหล่านั้นไปตากแห้งแล้วโม่ให้ละเอียด นำมากวนกับน้ำตาล น้ำ และมะพร้าวขูดให้เข้ากัน พอเย็นใส่ข้าวคั่วบดคนให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อน จัดเรียงใส่หม้อ อบด้วยควันเทียนอบ กระดังงาหรือดอกมะลิ ขนมที่ใกล้เคียงกับข้าวตูได้แก่ ขนมไข่มด เป็นขนมโบราณ ใช้ข้าวสวยร้อนๆผสมน้ำตาลปี๊บ มะพร้าวขูด เกลือป่น ขนมไข่จิ้งหรีด หรือขนมไข่มดกรอบ ใช้ข้าวที่เหลือตากแห้งเป็นเม็ดๆ มาคั่วให้กรอบ แล้วคลุกกับน้ำตาล นำ มะพร้าวขูด กวนให้เข้ากันในกระทะ ทางภาคใต้มีขนมชนิดหนึ่งเรียกขนมหน้างอน คล้ายข้าวตูของภาคกลาง แต่แผ่เป็นแผ่นแทนการปั้นเป็นก้อน.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและข้าวตู · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวต้มมัด

อีบอส ขนมของฟิลิปปินส์ที่คล้ายข้าวต้มมัดของไทย ข้าวต้มมัดไส้กล้วย หรือ ข้าวต้มกล้วย ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือ ซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย ข้าวต้มมัดอีกชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มลูกโยน เป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วน ข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปลาะ 4-5 เปลาะ แล้วนำไปต้ม บางท้องที่ใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกข้าวต้มมัดว่า ข้าวต้มกล้วย ใช้ข้าวเหนียวดิบมาห่อ ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อย ใส่ถั่วลิสงต้มสุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย เอาไปต้มให้สุก ถ้าเป็นแบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิก่อนแล้วจึงห่อใส่ไส้กล้วย แล้วต้มให้สุก ถ้าต้องการหวานจะเอามาจิ้มน้ำตาล ส่วนทางภาคเหนือนิยมนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลทราย เรียก ข้าวต้มหัวหงอก ในประเทศลาวมีข้าวต้มมัดเช่นเดียวกันเรียกว่า "เข้าต้ม" ไส้เค็มใส่มันหมูกับถั่วเขียว ไส้หวานใส่กล้วย ข้าวต้มมัดทางภาคใต้ไม่มีไส้ เป็นข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ใส่ถั่วขาว ไม่นิยมใช้ถั่วดำ ออกรสเค็มเป็นหลัก ถ้าต้องการให้มีรสหวานจะเอาไปจิ้มน้ำตาล เส้นทางขนมไท.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและข้าวต้มมัด · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวต้มน้ำวุ้น

้าวต้มน้ำวุ้น เป็นของหวานทำด้วยข้าวเหนียวห่อใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยม ต้มสุก รับประทานกับน้ำเชื่อม.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและข้าวต้มน้ำวุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวโป่ง

้าวโป่ง ข้าวโป่ง เป็นขนมพื้นบ้านภาคอีสาน นิยมในฤดูหนาวหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว การทำเริ่มจากนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วไปตำด้วยครกมอง เมื่อละเอียดแล้วจะเอาใบตดหมูตดหมาหรือย่านพาโหมขยี้กับน้ำแล้วสลัดใส่ครก เพื่อให้ข้าวเหนียวจับตัวกันดี นำน้ำอ้อยโขลกแล้วตำผสมลงในครกจนเหนียวได้ที่ นำน้ำมันหมูทามือแล้วปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนผสมกับไข่แดง กดก้อนข้าวเหนียวที่ปั้นให้เป็นแผ่นบางๆ แล้ววางบนใบตองที่ทาน้ำมันหมูแล้ว ตากแดดให้แห้ง เมื่อจะรับประทานจึงเอามาปิ้งให้สุก ทางภาคเหนือมีขนมชนิดนี้เช่นกันแต่เรียกข้าวปองหรือข้าวคว.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและข้าวโป่ง · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวเม่า

้าวเม่า ข้าวเม่า ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวตกน้ำตาล การบริโภคข้าวเม่าพบในทุกประเทศที่ปลูกข้าว ตั้งแต่ไทยลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ภูฏาน อินเดีย ทิเบต ในภูฏานใช้เป็นอาหารว่างกินกับน้ำชา เส้นทางขนมไท.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและข้าวเม่า · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวเหนียว

้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียว (Glutinous rice; var. glutinosa) เป็นข้าวที่มีลักษณะเด่นคือการติดกันเหมือนกาวของเมล็ดข้าวที่สุกแล้ว ปลูกมากทางภาคอีสานของประเทศไทยและ ประเทศลาว ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว ข้าวเหนียวมี 2 สี คือ สีขาวและสีดำ(คนเหนือเรียกว่า"ข้าวก่ำ") แต่ข้าวเหนียวดำจะมีสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว สารอาหารที่ว่า คือ “โอพีซี"(OPC)มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้ จากองุ่นดำองุ่นแดง เปลือกสน.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและข้าวเหนียว · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวเหนียวมะม่วง

้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นขนมหวานไทยยอดนิยม และจะได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษในฤดูร้อน ทำจากข้าวเหนียว เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู มูนกับหัวกะทิ เกลือป่น และน้ำตาลทรายขาว แล้วกินกับเนื้อมะม่วงสุก ที่นิยมคือ มะม่วงอกร่อง และมะม่วงน้ำดอกไม้ อาจราดกะทิ และโรยถั่วบางชนิด แล้วแต่ชอบใจ ข้าวเหนียวมะม่วงมีแคลอรีสูง ถ้ากินขณะเป็นโรคกระเพาะอาหาร, ม้ามพร่อง หรือระบบย่อยอาหารบกพร่อง จะท้องอืด, จุกเสียดแน่น และอาหารย่อยยากมากขึ้นได้ นอกจากนี้ หากรับประทานเกินพอดี จะร้อนใน, เจ็บคอ, ท้องผูก, ปวดหัว เป็นต้น เอาได้ อย่างไรก็ดี ข้าวเหนียวในขนมหวานชนิดนี้มีสรรพคุณเป็นของร้อนรสหวาน จะช่วยบำรุงพลัง ตลอดจนบำบัดอาการเหงื่อออกมาก และท้องเสีย โดยเฉพาะมะม่วงที่มีรสหวานปนเปรี้ยวนั้น ช่วยบำรุงร่างกาย, แก้ไอ และขับลมได้.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและข้าวเหนียวมะม่วง · ดูเพิ่มเติม »

ซ่าหริ่ม

ซ่าหริ่มเป็นขนมไทยประเภทหนึ่งมีลักษณะเป็นเส้นที่มักมีหลายสีและรับประทานกับน้ำกะทิโดยมีรสชาติหอมมันและมีกลิ่นใบเตยอีกด้วย ซ่าหริ่มมีขายอยู่ตามตลาดทั่วไปในประเทศไทยและเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก มักรับประทานโดยเติมน้ำเชื่อมและน้ำแข็ง ส่วนผสมสำคัญของซ่าหริ่มจะมีแป้งถั่วเขียว น้ำลอยดอกมะลิ น้ำตาลทราย น้ำใบเตยคั้น และน้ำกะทิ ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 ได้มีการเปรียบเทียบกลุ่มเสื้อหลากสีเป็นซ่าหริ่มเพราะซ่าหริ่มมีหลายสี.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและซ่าหริ่ม · ดูเพิ่มเติม »

แกงบวด

แกงบวด เป็นของหวานของไทยจำพวกหนึ่งที่ใช้ผลไม้จำพวก เผือก มัน ฟักทองมาต้มกับน้ำตาลและกะทิ หมวดหมู่:อาหารประเภทแกง.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและแกงบวด · ดูเพิ่มเติม »

แป้งสาลี

แป้งสาลี เป็นผงที่มนุษย์ใช้บริโภค ทำจากการบดข้าวสาลี แป้งสาลีเป็นแป้งประกอบอาหารที่ผลิตมากที่สุด ข้าวสาลีมีหลายประเภทตามปริมาณกลูเตน ข้าวสาลีแข็งหรือข้าวสาลีขนมปัง มีปริมาณกลูเตนสูง ระหว่าง 12% ถึง 14% และมีความเหนียวยืดหยุ่นที่รักษารูปทรงได้ดีเมื่ออบ แป้งอ่อนมีกลูเตนค่อนข้างต่ำ จึงให้เนื้อที่ละเอียดหรือร่วนกว่า แป้งอ่อนตามปกติแบ่งได้เป็นแป้งเค้ก ซึ่งมีปริมาณกลูเตนต่ำสุด และแป้งพาสต้า ซึ่งมีกลูเตนมากกว่าแป้งเค้กเล็กน้อย ในศัพท์ส่วนประกอบของธัญพืชที่ใช้ในแป้ง เอนโดสเปิร์ม หรือส่วนโปรตีน/แป้ง จมูก (germ) หรือส่วนที่อุดมด้วยโปรตีน/ไขมัน/วิตามิน และส่วนรำข้าวหรือเส้นใย เป็นแป้งสามประเภททั่วไป แป้งขาวผลิตจากเอนโดสเปิร์มอย่างเดียว ธัญพืชเต็มเมล็ดผลิตจากธัญพืชทั้งเมล็ด ทั้งรำข้าว เอนโดสเปิร์ม และจมูก แป้งเมล็ดผลิตจากเอนโดสเปิร์มและจมูก.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและแป้งสาลี · ดูเพิ่มเติม »

โสน

น, โสนหิน หรือ โสนกินดอก เป็นพืชประจำถิ่นในทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นไม้ในตระกูลปาปิโอนีอี เป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติทั่วไปในที่ชื้นแฉะ โดยเฉพาะตามริมคลองและริมคันนา ชื่อสามัญอื่น ๆ คือ โสนดอกเหลือง ทางพายัพเรียก ผักฮองแฮง ทางกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก สีปรีหล.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและโสน · ดูเพิ่มเติม »

ไข่หงส์

หงส์ ไข่หงส์ เดิมชื่อขนมไข่เหี้ย เป็นของหวาน ที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมมันเทศ สอดไส้ด้วย ถั่วเขียวผัดเค็มและมีน้ำตาลเคลือบด้านนอก.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและไข่หงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เกลือ

กลือ เกลือ เป็นแร่ธาตุส่วนใหญ่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สารประกอบในระดับสูงกว่าเกลือชนิดต่าง ๆ เกลือในธรรมชาติก่อตัวเป็นแร่ผลึกรู้จักกันว่า เกลือหิน หรือแฮไลต์ เกลือพบได้ในปริมาณมหาศาลในทะเลซึ่งเป็นองค์ประกอบของแร่ที่สำคัญ ในมหาสมุทรมีแร่ธาตุ 35 กรัมต่อลิตร ความเค็ม 3.5% เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ ความเค็มเป็นรสชาติพื้นฐานของมนุษย์ เนื้อเยื่อสัตว์บรรจุเกลือปริมาณมากกว่าเนื้อเยื่อพืช ดังนั้นอาหารของชนเผ่าเร่ร่อนที่ดำรงชีวิตในฝูงต้องการเกลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องการเกลือเลย ขณะอาหารประเภทซีเรียลจำเป็นต้องเพิ่มเกลือ เกลือเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่เก่าแก่ที่สุดและหาได้ง่ายที่สุด และการดองเค็มก็เป็นวิธีการถนอมอาหารที่สำคัญวิธีหนึ่ง หลักฐานการทำเกลือยุคแรกที่สุดย้อนไปถึง 6,000 ปีที่แล้ว เมื่อคนที่อาศัยในประเทศโรมาเนียต้มน้ำเพื่อสกัดเกลือ การทำนาเกลือในจีนก็เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน เกลือถูกชาวฮีบรู กรีก โรมัน ไบแซนไทน์ ฮิไทต์ และอียิปต์ ตีราคาสูง เกลือกลายเป็นวัตถุสำคัญและขนส่งทางเรือผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านทางทางเกลือที่สร้างขึ้นเฉพาะ และผ่านทะเลทรายซาฮาราในคาราวานอูฐ ความขาดแคลนและความต้องการเกลือทั่วโลกนำไปสู่สงครามชิงเกลือ และใช้เกลือเพื่อเพิ่มภาษีเงินได้ เกลือยังถูกใช้ในพิธีทางศาสนา และวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วย เกลือผลิตจากเหมืองเกลือ หรือจากการระเหยน้ำทะเล หรือน้ำซับที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุในบ่อตื้น ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลักของเกลือคือโซดาไฟ และคลอรีน และใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมและในการผลิตโพลีไวนิลคลอไรด์ พลาสติก เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากการผลิตเกลือปริมาณสองล้านตันต่อปี มีเพียง 6% ที่ให้มนุษย์บริโภค ส่วนอื่น ๆ ใช้ในการปรับสภาวะของน้ำ กำจัดน้ำแข็งบนถนน และใช้ในการเกษตร เกลือที่กินได้มีขายในหลายรูปแบบ เช่น เกลือสมุทรและเกลือโต๊ะปกติจะบรรจุสารป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน และอาจเสริมไอโอดีนเพื่อป้องกันภาวะพร่องไอโอดีน นอกจากจะใช้ปรุงอาหารและวางบนโต๊ะแล้ว เกลือยังพบได้ในอาหารแปรรูปจำนวนมาก อาหารที่มีโซเดียมมากเกินไปทำให้ความดันโลหิตสูง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าผู้ใหญ่ควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือ 5 กรัมต่อวัน.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและเกลือ · ดูเพิ่มเติม »

เฉาก๊วย

ฉาก๊วยตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม เฉาก๊วย หรือ เฉ่าก้วย เป็นอาหารหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งแพร่หลายในประเทศจีน จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นทั้งในอาหารหวาน และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สำหรับในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นอาหารหวานระดับพื้นบ้าน เนื่องจากมีการจำหน่ายทั่วไปในชุมชนเมืองทั่วประเท.

ใหม่!!: รายชื่อขนมไทยและเฉาก๊วย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ขนมกลีบลำดวนขนมกล้วยขนมกุหลี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »