โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กุณฑีรา สัตตบงกช

ดัชนี กุณฑีรา สัตตบงกช

กุณฑีรา สัตตบงกช (ขื่อเล่น: เมย์; เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2524) เป็นนักแสดงชาวไทย มีชื่อเสียงจากการแสดงภาพยนตร์เรื่อง ธิดาช้าง และ โคลิค เด็กเห็นผี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาสถิติ เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการเป็น รองนางสาวไทยอันดับ 2 ประจำปี 2543 (ปีนางสาวไทยคือ บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี) และมีผลงานจากการถ่ายโฆษณาและเป็นพิธีกรมากมายในช่วยนั้น จึงได้มีโอกาสแสดงภาพยนตร์จนเป็นที่รู้จักจากเรื่อง ธิดาช้าง เป็นต้น ปัจจุบัน เป็นนักธุรกิจบริษัทยูนิซิตี้ระดับ Presidential Director.

13 ความสัมพันธ์: พี่น้อง 2 เลือดกรุงเทพมหานครวุ่นวายสบายดีศพธิดาช้างคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประเทศไทยปอบผีฟ้าปนัดดา วงศ์ผู้ดีนางสาวไทยโคลิค เด็กเห็นผี7 ประจัญบาน7 ประจัญบาน 2

พี่น้อง 2 เลือด

ี่น้อง 2 เลือด บทประพันธ์โดย ปาณรวัฐ กิตติกรเจริญ ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ โดยค่าย บริษัท อาร.เอ.

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและพี่น้อง 2 เลือด · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วุ่นวายสบายดี

วุ่นวายสบายดี เป็นนวนิยายไทย จากบทประพันธ์โดยนามปากกาของ "ชมัยภร แสงกระจ่าง" ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์เมื่อปี..

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและวุ่นวายสบายดี · ดูเพิ่มเติม »

ศพ

องแกะ ศพ คือ ร่างของมนุษย์ที่ตายแล้ว สำหรับร่างของสัตว์ที่ตายแล้ว เรียก "ซาก".

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและศพ · ดูเพิ่มเติม »

ธิดาช้าง

้าง เป็นภาพยนตร์ไทยกำกับโดย ภิญโญ รู้ธรรม.

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและธิดาช้าง · ดูเพิ่มเติม »

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมพ.ศ. 2481 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มเปิด "แผนกวิชาการบัญชี" และ "แผนกวิชาพาณิชยศาสตร์" สังกัดคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จึงได้สถาปนาเป็นคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ผลิตบุคลากรเพื่อสนองความต้องการของธุรกิจของประเทศซึ่งมีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้ามากขึ้น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับหนึ่งของไทยในสาขา การเงินและการบัญชี (อันดับที่ 101 - 150 ของโลก และเป็นแห่งเดียวในประเทศที่ติดอันดับ) และ การบริหารธุรกิจและการจัดการ (อันดับที่ 151 - 200 ของโลก) จากการจัดอันดับของ QS world university ranking by Subjecthttps://www.topuniversities.com/subject-rankings/2017.

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปอบผีฟ้า

ปอบผีฝ้า เป็นละครโทรทัศน์ไทย บทประพันธ์ของ ประดิษฐ์ กัลย์จาฤก ซึ่งนำมาสร้างเป็นละครครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2518 นำแสดงโดย วีรวรรณ โทณะวณิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 นำกลับมาทำใหม่ นำแสดงโดย วรนุช วงษ์สวรรค์ และในปี พ.ศ. 2552 ได้นำกลับมาสร้างใหม่ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 เริ่มออกฉายตอนแรกเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ทุกวันพุธ-พฤหัสบดี เวลา 20.25 น. เขียนบทโทรทัศน์โดยขวัญเทวา กำกับการแสดงโดยนิรัติศัย กัลย์จาฤก.

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและปอบผีฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปนัดดา วงศ์ผู้ดี

ปนัดดา วงศ์ผู้ดี ชื่อเล่น บุ๋ม นางสาวไทย ปี..

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและปนัดดา วงศ์ผู้ดี · ดูเพิ่มเติม »

นางสาวไทย

นางสาวไทย เป็นการประกวดนางงามรายการที่ 2 ของประเทศไทย ต่อจากนางสาวสยาม โดยในยุคแรกจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริมงานฉลองรัฐธรรมนูญ ต่อมาจัดขึ้นเพื่อส่งผู้ชนะเลิศเป็นผู้แทนประเทศไทย ไปประกวดนางงามจักรวาล และในปัจจุบันจัดขึ้นเพื่อให้เป็นทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว.

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและนางสาวไทย · ดูเพิ่มเติม »

โคลิค เด็กเห็นผี

ลิค เด็กเห็นผี (Colic) ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2549 นำแสดงโดย พิมพ์พรรณ ชลายคุปต์, วิทยา วสุไกรไพศาล, กุณฑีรา สัตตบงกช กำกับการแสดงโดย พัชนนท์ ธรรมจิร.

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและโคลิค เด็กเห็นผี · ดูเพิ่มเติม »

7 ประจัญบาน

7 ประจัญบาน เป็นภาพยนตร์ไทย ซึ่งดัดแปลงจากภาพยนตร์เรื่อง 1 ต่อ 7 ของ ส.อาสนจินดา โดยเป็นเรื่องราววีรกรรมการกอบกู้ชาติไทยที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2506 กำกั.อาสนจินดา นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, คริสติน เหลียง, รุจน์ รณภพ และ ทักษิณ แจ่มผล.อาสนจินดา ได้นำเรื่อง 7 ประจัญบาน มาสร้างและกำกับเองเป็นครั้งที่สอง โดยมีสหมงคลฟิล์ม เป็นผู้จัดจำหน่าย ออกฉายวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำแสดงโดย กรุง ศรีวิไล, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, สรพงศ์ ชาตรี, วิยะดา อุมารินทร์ และ นิรุตติ์ ศิริจรรยา ในปี พ.ศ. 2545 สหมงคลฟิล์ม นำเรื่อง 7 ประจัญบาน มาสร้างภาพยนตร์อีกครั้ง โดยมี เฉลิม วงศ์พิมพ์เป็นผู้กำกับ ออกฉายวันที่ 26 เมษายน..

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและ7 ประจัญบาน · ดูเพิ่มเติม »

7 ประจัญบาน 2

ลโก้ของ 7 ประจัญบาน 2 7 ประจัญบาน 2 เป็น ภาพยนตร์ไทย โดย สหมงคลฟิล์ม และ บาแรมยู ออกฉายเมื่อ 28 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นภาคต่อของ 7 ประจัญบาน กำกับภาพยนตร์โดย เฉลิม วงศ์พิมพ์ อำนวยการสร้างโดย สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ ควบคุมสร้างโดย ปรัชญา ปิ่นแก้ว และ สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์ บทภาพยนตร์โดย ก้องเกียรติ โขมศิริ กำกับภาพโดย สวน บุญหล้า กำกับศิลป์โดย สหรัฐ บุญสถิตย์ ลำดับภาพโดย เฉลิม วงค์พิมพ์ และ วิชิต วัฒนานนท์ ออกแบบงานสร้างโดย เกียรติชัย คีรีศรี ออกแบบกำกับคิวบู๊โดย สมใจ จันทร์มูนตรี ภาพยนตร์ทำรายได้ 37.42 ล้านบาท.

ใหม่!!: กุณฑีรา สัตตบงกชและ7 ประจัญบาน 2 · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »