สารบัญ
24 ความสัมพันธ์: AMDพีดีเอการ์ดแสดงผลระบบส่งสัญญาณมัลติมีเดียความละเอียดสูงวินโดวส์ 7หน่วยประมวลผลกราฟิกส์หน่วยประมวลผลกลางอินเทลอินเทล อะตอมดอลลาร์สหรัฐคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)ซอฟต์แวร์ประเทศจีนประเทศไต้หวันแล็ปท็อปแอนดรอยด์ (แก้ความกำกวม)แผงวงจรหลักโทรศัพท์เคลื่อนที่ไฟร์ไวร์ไทเปเมาส์เรดเอซุสเซิร์ฟเวอร์
- การระบายความร้อนฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
- บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน
- บริษัทผลิตเมนบอร์ด
- บริษัทอุปกรณ์รอบข้างคอมพิวเตอร์
- ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ
AMD
AMD อาจหมายถึง.
พีดีเอ
ีดีเอ หรือ เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PDA ย่อมาจาก Personal digital assistants) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถพกพานำติดตัวได้ เริ่มพัฒนามาจากเครื่องออกาไนเซอร์มาก่อน ซึ่งพีดีเอที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมบายมักถูกเรียกว่าพ็อคเกตพีซี แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ.
การ์ดแสดงผล
การ์ดแสดงผล การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ (video card หรือ display card) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล (มักเป็นจอภาพ).
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและการ์ดแสดงผล
ระบบส่งสัญญาณมัลติมีเดียความละเอียดสูง
right ระบบส่งสัญญาณมัลติมีเดียความละเอียดสูง (HDMI - High-Definition Multimedia Interface) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อในการส่งภาพและเสียงสำหรับการส่งสัญญาณภาพแบบไม่ถูกบีบอัด (Uncompressed) และถูกบีบอัด หรือส่งเสียงดิจิทัลแบบไม่ถูกบีบอัดจากอุปกรณ์ต้นกำเนิดระบบส่งสัญญาณมัลติมีเดียความละเอียดสูง เช่น การส่งภาพไปยังจอคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ในระบบดิจิทัล หรืออุปกรณ์ระบบเสียงดิจิทัล HDMI เป็นระบบที่เป็นดิจิตอลที่จะมาแทนระบบการส่งภาพและเสียงแบบแอนะล็อก.
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและระบบส่งสัญญาณมัลติมีเดียความละเอียดสูง
วินโดวส์ 7
วินโดวส์ 7 (Windows 7 วินโดวส์เซเวน, วินโดวส์เจ็ด) เป็นซอฟต์แวร์ของระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ในสายวินโดวส์ สำหรับใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและมีเดียเซนเตอร์โดยวันออกจำหน่ายจริงยังไม่ได้ระบุไว้โดยจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ได้มีการประกาศเปิดตัววินโดวส์ 7 ในช่วงปี พ.ศ.
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและวินโดวส์ 7
หน่วยประมวลผลกราฟิกส์
GeForce 6600GT (NV43) GPU หน่วยประมวลผลกราฟิกส์ (GPU: graphics processing unit) หรือ หน่วยประมวลผลทางภาพ (VPU: visual processing unit) คือหน่วยประมวลผลพิเศษที่รับภาระการให้แสงและเงาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติแทนหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งหน่วยประมวลผลกราฟิกส์มีได้ทั้งที่เป็นการ์ดหรือเป็นส่วนหนึ่งของแผงวงจรหลักก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันอยู่ในรูปของการ์ดแสดงผล.
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและหน่วยประมวลผลกราฟิกส์
หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ.
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและหน่วยประมวลผลกลาง
อินเทล
ำนักงานใหญ่อินเทล ที่ซานตาคลารา อินเทล (Intel) เป็นบริษัทผลิตชิพสารกึ่งตัวนำที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดจากรายได้ บริษัทอินเทลเป็นผู้คิดค้นไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลx86 ออกมาวางจำหน่าย ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันมากที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อินเทลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ.
อินเทล อะตอม
อินเทล อะตอม เปรียบเทียบกับเหรียญ 1 เซนต์ อินเทล อะตอม (Intel Atom) เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ซีพียู x86 และ x86-64 ของอินเทลสำหรับรุ่นที่ใช้พลังงานต่ำมาก ออกแบบบนพื้นฐาน CMOS 45 นาโนเมตร สำหรับใช้งาน เน็ตบุ๊ก เน็ตท็อป และ เอ็มไอดี โดยสัญญาณนาฬิกาของอะตอมจะอยู่ในช่วง 800 MHz ถึง 2.13 GHz 21 ธันวาคม 2552 อินเทลได้ประกาศเปิดตัวโพรเซสเซอร์อะตอมรุ่นถัดมาคือ N450 ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานลง 20% from Intel website อินเทลอะตอมเป็นรุ่นที่ถูกพัฒนาต่อจาก อินเทล A100 และ A110 (รหัสชื่อว่า สตีลลีย์) โดยเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2550 อินเทลได้ประกาศเปิดตัวโพรเซสเซอร์ตัวใหม่ภายใต้ชื่อรหัสว่า ไดอามอนด์วิลล์ สำหรับคอมพิวเตอร์ในลักษณะใกล้เคียงกับของที่ใช้ในโครงการโอแอลพีซี.
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและอินเทล อะตอม
ดอลลาร์สหรัฐ
100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน ดอลลาร์สหรัฐ (United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท (baht) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand).
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและดอลลาร์สหรัฐ
คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)
ีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก.
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)
ซอฟต์แวร์
OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู.
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์
ประเทศจีน
ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและประเทศจีน
ประเทศไต้หวัน
ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและประเทศไต้หวัน
แล็ปท็อป
แล็ปท็อป คีย์บอร์ดของแล็ปท็อป จะมีลักษณะที่ต่างจากคีย์บอร์ดทั่วไป แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) หรือเรียกย่อว่า แล็ปท็อป หรือ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ (Notebook computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก สามารถขนย้ายหรือพกพาได้สะดวก โดยปกติจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1-3 กก.
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและแล็ปท็อป
แอนดรอยด์ (แก้ความกำกวม)
แอนดรอยด์ (Android) ส่วนใหญ่หมายถึง.
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและแอนดรอยด์ (แก้ความกำกวม)
แผงวงจรหลัก
แผงวงจรหลักคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป (ในรูป ASRock KT400A) แผงวงจรหลัก, แผงหลัก หรือชื่ออื่นเช่น เมนบอร์ด (mainboard/main board), มาเธอร์บอร์ด (motherboard), ซิสเต็มบอร์ด (system board), ลอจิกบอร์ด (logic board) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ แผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไปจะมี ประกอบด้วยซ็อกเก็ตสำหรับบรรจุหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ได้ทั้งอุปกรณ์ติดตั้งภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก แผงวงจรหลัก หมายถึง แผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่อุปกรณ์ต่างๆเชื่อมต่ออยู่อีกทีหนึ่ง โฆษณาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในบางประเทศใช้ศัพท์สแลงเรียกแผงวงจรหลักว่า mobo (โมโบ) ซึ่งเป็นคำย่อจาก motherboard.
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและแผงวงจรหลัก
โทรศัพท์เคลื่อนที่
ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (บ้างเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ทโฟน โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน..
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและโทรศัพท์เคลื่อนที่
ไฟร์ไวร์
ตัวอย่างหัวเสียบ FireWire แบบ 6 พิน ไฟร์ไวร์ (FireWire) (อาจรู้จักในชื่อ i.Link และ IEEE 1394) เป็นข้อกำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อบัสการสื่อสารแบบอนุกรมของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การที่ FireWire มีอัตราการส่งข้อมูลสูง ทำให้เข้ามาทดแทนการเชื่อมต่อแบบ SCSI ในอุปกรณ์หลายชนิด อุปกรณ์ที่นิยมใช้ FireWire มากที่สุดคือ กล้องวิดีโอดิจิทัล ซึ่งมีช่องเสียบ FireWire มาตั้งแต..
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและไฟร์ไวร์
ไทเป
right แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงไทเปบนเกาะไต้หวัน นครไทเป (ไถเป่ย์ชื่อ) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไต้หวัน มีประชากรในปี ค.ศ.
เมาส์
ลักษณะการทำงานของเมาส์ (แบบลูกกลิ้ง) 1: เมื่อเคลื่อนเมาส์ ลูกบอลด้านล่างจะหมุน 2: จานหมุนสองแนว จับการเคลื่อนไหวของลูกบอล 3: เมื่อจานหมุนทำการหมุน รูบริเวณขอบจานหมุนหมุนตาม 4: แสงอินฟราเรด ส่งผ่านรูจานหมุน 5: เซนเซอร์อ่านค่า และส่งเป็นค่าของความเร็วการเคลื่อนไหวในแนวแกน X และแกน Yเมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ต่าง ๆ กัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสันแปลกตาไปจากรุ่นทั่วไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ (Air Mouse) ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกันการทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(สำหรับรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรก ๆ นั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า PS/2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา และในเวลาใกล้ ๆ กันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นมาโดยใช้สัญญาณวิทยุเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า เมาส์ไร้สาย (Wireless mouse) เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนู (Mouse) และหางหนู และขณะเดียวการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู.
เรด
รด (ออกเสียงอย่าง เหรด; Redundant Array of Inexpensive DisksDavid A. Patterson, Garth Gibson, and Randy H. Katz:. University of California Berkley. 1988. หรือ Redundant Array of Independent Disks: RAID) คือเทคโนโลยีการนำฮาร์ดดิสก์ หลายๆ อันมาต่อเข้าด้วยกันเพื่อให้มองเห็นเป็นอันเดียว เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล หรือเพิ่มประสิทธิภาพการอ่าน/เขียนข้อมูล หลักการโดยรวมของ RAID คือ การสำเนาข้อมูล (mirroring) การแบ่งส่วนข้อมูล (striping) และการแก้ไขความผิดพลาด (error correction) การตั้งค่า RAID จะแบ่งเป็นระดับ (level) โดยที่แต่ละระดับจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เช่น ที่ระดับ 0 จะใช้วิธีการแบ่งส่วนข้อมูลเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการอ่าน/เขียนข้อมูล แต่ไม่ช่วยในเรื่องของการแก้ไขความผิดพลาด ในขณะที่ระดับ 1 จะช่วยในการแก้ไขความผิดพลาดของข้อมูล แต่ต้องแลกกับการเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เป็นต้น นอกจากนี้ในการตั้งค่าบางรูปแบบยังสามารถผสมระดับต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นระดับแบบซ้อน เช่น RAID 10 หรือ RAID 0+1 จะเป็นการสร้าง RAID 0 อยู่บน RAID 1 ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและการแก้ไขความผิดพลาด เป็นต้น Raid 0 (striping) ช่วยให้การบันทึกข้อมูลได้เร็วขึ้น แต่ถ้ามีฮาร์ดดิสก์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสีย จะทำให้ข้อมูลทั้งหมดไม่สามารถใช้งานได้ สมมติมีฮาร์ดดิสก์ 2 เครื่อง เครื่องละ 100 GB จะมีเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด 200 GB Raid 1 (mirroring) ช่วยให้ข้อมูลมีความปลอดภัย ถ้าฮาร์ดดิสก์เครื่องใดเสีย อีกเครื่องหนึ่งก็จะทำงานแทนได้ สมมติมีฮาร์ดดิสก์ 2 เครื่อง เครื่องละ 100 GB จะมีเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด 100 GB Raid 0+1 เป็นการผสมผสานระหว่าง RAID 0 และ RAID 1 เข้าด้วยกัน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีการทำ mirror ข้อมูล (backup ข้อมูล) ไปด้วย นอกจาก เรด 0, เรด 1 และ เรด 0+1 แล้ว ยังมีเรดอีกหลายระดับ รายละเอียดตามด้านล่างนี้ แบบ RAID 0 ยกตัวอย่าง มีฮาร์ดดิสก์ 2 ลูกแต่ละลูกมีความจุ 500 GB ดังนั้นเราสามารถเก็บข้อมูลได้ 1000 Gb แต่เมื่อฮาร์ดดิสก์ลูกใดลูกหนึ่งเสีย ก็จะทำให้ ฮาร์ดดิสก์ ใช้งานไม่ได้ทั้งสองลูกเลย เพราะ เมื่อเราสั่งเก็บข้อมูล ข้อมูลจะแยกเป็นสองส่วนและแบ่งเก้บในฮาร์ดดิสก์คนละลูก ทำให้ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูง แต่ข้อเสียก็คือหาก harddisk ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย จะส่งผลกับข้อมูลทั้งระบบทันที แบบ RAID 1 ยกตัวอย่าง มีฮาร์ดดิสก์ 2 ลูกแต่ละคนมีความจุ 500 GB แต่เราจะสามารถเก็บข้อมูลได้แค่ 500 GB เพราะฮาร์ดดิสก์อีกลูกจะมีไว้สำหรับเก็บข้อมูล ทำให้เมื่อฮาร์ดดิสก์ลูกหลักเสียอีกตัวก็จะทำงานแทนทันที จุดเด่นของ RAID 1 คือความปลอดภัยของข้อมูล ไม่เน้นเรื่องประสิทธิภาพและความเร็วเหมือนอย่าง RAID 0 แม้ว่าประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลของ RAID 1 จะสูงขึ้นก็ตาม แบบ RAID 3 (N +1) ในกรณีนี้ต้องมีฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 3 ลูก ตัวอย่างเช่นฮาร์ดดิสก์ 3 ลูก แต่ละลูกมีความจุ 200 GB ดังนั้น server เราจะสามารถจุข้อมูลได้ 400 Gb อีก 200 Gb เก็บไว้สำรองข้อมูลในกรณีที่ลูกแรกหรือ ลูกที่สองเสีย ฮาร์ดดิสก์ลูกที่ 3 จะทำงานให้แทนลูกที่เสียทันที ดังนั้น RAID 3 เหมาะสำหรับใช้ในงานที่มีการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ เช่นงานตัดต่อ Video เป็นต้น แบบ RAID 5 (N +1) มีความสามารถเช่นเดียวกับ RAID 3 แต่จุดเด่นของ RAID 5 คือ เทคโนโลยี Hot Swap ทำให้สามารถเปลี่ยน harddisk ในกรณีที่เกิดปัญหาได้ในขณะที่ระบบยังทำงานอยู่ เหมาะสำหรับงาน Server ต่างๆ ที่ต้องทำงานต่อเนื่อง RAID 6 (N +2) อาศัยพื้นฐานการทำงานของ RAID 5 แต่จะดีกว่า RAID 5 ตรงที่ว่ามี backup hard disk ถึง สองลูก และยอมให้เราทำการ Hot Swap ได้พร้อมกัน 2 ตัว ทำให้เหมาะกับงานที่ต้องการความปลอดภัยและเสถียรภาพของข้อมูลที่สูงมากๆ แบบ RAID 10 หรือ RAID 1 +0 คือการใช้ประโยชน์ของ RAID 0 และ RAID 1 เช่นเรามี ฮาร์ดดิสก์ 6 ลูก เราให้สามลูกแรกเป็น ลูกที่ใช้งานจริง ส่วนสามลูกหลังเป็นฮาร์ดดิสก์สำรอง ในกรณี ฮาร์ดดิสก์สามลูกแรกมีลูกใดลูกหนึ่งเสีย ฮาร์ดดิสก์สามลูกหลังจะทำงานแทนทันที แต่มีข้อเสียคือ เราต้องซื้อ Harddisk เป็นสองเท่าในการเพิ่มพื้นที่การใช้งาน เพื่อเพิ่มในส่วนที่ใช้งานและส่วนที่สำรอง เหมาะสำหรับ Server ที่ต้องการความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างมาก แต่ไม่ต้องการความจุมากนัก แบบ RAID 53 จะเป็นการรวมกันของ RAID ระดับ 0 และ 3 เพื่อความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูลที่มากขึ้น แต่ยังมีตัวสำรองในการป้องกันระบบล่มทั้งระบบ ในเวลาที่มี Harddisk เสี.
เอซุส
อัสซุสเทค คอมพิวเตอร์ (ASUSTeK Computer Incorporated) เป็นบริษัทข้ามชาติของไต้หวัน ทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ เมนบอร์ด การ์ดกราฟิก เครื่องขับจานแสง พีดีเอ จอมอนิเตอร์ โน้ตบุ๊ก เน็ตบุ๊ก เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ตู้คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ของคอมพิวเตอร์ และระบบทำความเย็นในคอมพิวเตอร์ สินค้าที่ผลิตจะใช้แบรนด์ว่า เอซุส (ASUS) มีการลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน และในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน 35.0% ของคอมพิวเตอร์ที่ขายได้ตั้งแต่ปี..
เซิร์ฟเวอร์
รื่องเซิร์ฟเวอร์ของ วิกิมีเดีย เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ เครื่องบริการ หรือ เครื่องแม่ข่าย คือ เครื่องหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานให้บริการ ในระบบเครือข่ายแก่ลูกข่าย (ซึ่งให้บริการผู้ใช้อีกทีหนึ่ง) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์นี้ควรจะมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมาก ภายในเซิร์ฟเวอร์ให้บริการได้ด้วยโปรแกรมบริการ ซึ่งทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการอีก.
ดู กิกะไบต์เทคโนโลยีและเซิร์ฟเวอร์
ดูเพิ่มเติม
การระบายความร้อนฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
- กิกะไบต์เทคโนโลยี
- คอมพิวเตอร์คูลลิง
- ท่อความร้อน
- ฮีตซิงก์
- เอซุส
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน
- กิกะไบต์เทคโนโลยี
- ฟ็อกซ์คอนน์
- อีวีเอแอร์
- เอชทีซี
- เอซุส
- เอเซอร์
- ไชนาแอร์ไลน์
บริษัทผลิตเมนบอร์ด
- กิกะไบต์เทคโนโลยี
- ฟ็อกซ์คอนน์
- อินเทล
- เอซุส
- เอเอ็มดี
บริษัทอุปกรณ์รอบข้างคอมพิวเตอร์
- กิกะไบต์เทคโนโลยี
- เอซุส
ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ
- กิกะไบต์เทคโนโลยี
- กูเกิล
- คาสิโอ
- ชาร์ป คอร์ปอเรชั่น
- ซันโย
- ซัมซุง
- ซีเมนส์
- ทรู คอร์ปอเรชั่น
- พานาโซนิค
- ฟิลิปส์
- ฟูจิตสึ
- ฟ็อกซ์คอนน์
- มาร์แชลแอมพลิฟิเคชัน
- มิตซูบิชิ อิเล็กทริค
- หัวเว่ย
- อินเทล
- ฮิตาชิ
- เคียวเซร่า
- เดลล์
- เอชทีซี
- เอซุส
- เอเซอร์
- แซดทีอี
- แบล็กเบอรี (บริษัท)
- แอปเปิล (บริษัท)
- แอมะซอน (บริษัท)
- แอลจี อีเลคทรอนิคส์
- โซนี่โมบายล์
- โมโตโรลาโมบิลิตี
- ไมโครซอฟท์
- ไมโครซอฟท์ โมบาย
- ไอริเวอร์
หรือที่รู้จักกันในชื่อ กิกะไบต์ เทคโนโลยี