โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย

ดัชนี การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย

หประชาชาติยืนยันการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย ซึ่งมีการโจมตีจนมีผู้เสียชีวิตได้แก่ การโจมตีที่กูตาในชานกรุงดามัสกัสในเดือนสิงหาคม 2556 และการโจมตีคันอัลอะซัล (Khan al-Assal) ในชานนครอะเลปโปในเดือนมีนาคม 2556 แม้ไม่มีฝ่ายใดอ้างความรับผิดชอบของการโจมตีเคมีดังกล่าว แต่กองทัพบะอัธซีเรียเป็นผู้ต้องสงสัยหลักเนื่องจากมีคลังอาวุธเคมีขนาดใหญ่ คณะผู้แทนหาข้อเท็จจริงของยูเอ็นและคณะกรรมการสืบสวนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) สืบสวนการโจมตีดังกล่าวพร้อมกัน คณะผู้แทนของยูเอ็นพบว่าน่าจะมีการใช้สารออกฤทธิ์ต่อประสาทซารินในกรณีของคันอัลอะซัล (19 มีนาคม 2556), ซะเราะกิบ (29 เมษายน 2556), กูตา (21 สิงหาคม 2556), โญบัร (24 สิงหาคม 2556) และอัชชะเราะฟิยัตซะฮ์นะยะ (25 สิงหาคม 2556) ต่อมา คณะกรรมการ UNHRC ยืนยันการใช้ซารินในการโจมตีที่คันอัลอะซัล, ซะเราะกิบและกูตา แต่ไม่กล่าวถึงโญบัรและอัชชะเราะฟิยัตซะฮ์นะยะ คณะกรรมาร UNHRC ยังพบว่าซารินที่ใช้ในการโจมตีที่คันอัลอะซัลมี "เครื่องหมายเอกลักษณ์เดียวกัน" กับซารินที่ใช้ในการโจมตีที่กูตาและบ้งชี้ว่าผู้ลงมือน่าจะเข้าถึงสารเคมีจากคลังของกองทัพซีเรีย การโจมตีดังกล่าวทำให้ประชาคมนานาชาติกดดันการปลดอาวุธเคมีของกองทัพซีเรียซึ่งมีการปฏิบัติในปี 2557 แม้มีกระบวนการปลดอาวุธ แต่ยังมีเหตุการณ์หลายสิบครั้งที่สงสัยการใช้อาวุธเคมีทั่วประเทศซีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่กล่าวโทษต่อกำลังบะอัธซีเรีย ตลอดจนรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ แลแม้แต่กำลังฝ่ายค้านซีเรียและกองทัพตุรกี ในเดือนสิงหาคม 2559 รายงานของสหประชาชาติและองค์การห้ามอาวุธเคมีกล่าวโทษกองทัพซีเรียของประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดอย่างเปิดเผยว่าหย่อนอาวุธเคมี (ระเบิดคลอรีน) ใส่เมืองทัลมะนัสในเดือนเมษายน 2557 และซาร์มินในเดือนมีนาคม 2558 และ ISIS ว่าใช้ซัลเฟอร์มัสตาร์ดใส่เมืองมะเรีย (Marea) ในเดือนสิงหาคม 2558 มีการกล่าวหา รายงานและสอบสวน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งการโจมตีอีกหลายครั้ง ในเดือนธันวาคม 2559 มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 53 คนในการโจมตีที่ดูเหมือนใช้แก๊สออกฤทธิ์ต่อประสาทในหมู่บ้านที่ IS ถือครองใกล้อุเกาะริเราะบัต นับเป็นการโจมตีด้วยแก๊สออกฤทธิ์ต่อประสาทใหญ่ครั้งแรกนับแต่ข้อตกลงปี 2556 ในเดือนเมษายน 2560 การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูนเรียกการประณามจากนานาประเทศและกระตุ้นปฏิบัติการทางทหารครั้งแรกของสหรัฐต่อฐานทัพซีเรียที่ชะอิรัต.

11 ความสัมพันธ์: บัชชาร อัลอะซัดการโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์สหประชาชาติอะเลปโปองค์การห้ามอาวุธเคมีฮอมส์ฮะมาฮ์ดามัสกัสคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซาริน

บัชชาร อัลอะซัด

ัชชาร ฮาฟิซ อัลอะซัด (بشار حافظ الأسد; เกิด 11 กันยายน พ.ศ. 2508) เป็นประธานาธิบดีซีเรีย ผู้บัญชาการทหารกองทัพซีเรีย เลขาธิการพรรคบะอัษซึ่งเป็นพรรครัฐบาล และเลขาธิการภูมิภาคของสาขาพรรคในประเทศซีเรีย ในปี 2543 เขาสืบทอดตำแหน่งจากฮาฟิซ อัลอะซัด บิดา ผู้ปกครองประเทศซีเรียเป็นเวลา 30 ปีจนถึงแก่อสัญกรรม เขาได้รับความเห็นชอบจากเขตเลือกตั้งซีเรียสองครั้งในปี 2543 และ 2550 ในการลงประชามติโดยไร้คู่แข่ง เดิมประชาคมนานาชาติมองเขาว่าเป็นนักปฏิรูปมีศักยะ แต่สหรัฐ สหภาพยุโรปและส่วนใหญ่ของสันนิบาตอาหรับเรียกร้องให้เขาลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีหลังข้อกล่าวหาเขาสั่งปราบปรามและการล้อมทางทหารต่อผู้ชุมนุมอาหรับสปริง จนนำสู่สงครามกลางเมืองซีเรีย During the Syrian Civil War, an inquiry by the United Nations reported finding evidence which implicated Assad in war crimes.

ใหม่!!: การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและบัชชาร อัลอะซัด · ดูเพิ่มเติม »

การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560

วันที่ 4 เมษายน 2560 เมืองคอนชัยคูน (Khan Shaykhun) ในเขตผู้ว่าการอิดลิบ ประเทศซีเรีย ซึ่งตะห์รีรุชชามควบคุมอยู่ ถูกโจมตีทางอากาศด้วยแก๊สซาริน ตามด้วยการถูกพิษเคมีของพลเรือนขนานใหญ่ เหตุดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 58 คน และบาดเจ็บกว่า 300 คน ตามข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุขอิดลิบ หากยืนยัน เหตุโจมตีดังกล่าวจะเป็นการใช้อาวุธเคมีครั้งที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในสงครามกลางเมืองซีเรียนับตั้งแต่การโจมตีเคมีที่ฆูเฏาะฮ์ในปี 2556 ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร บอริส จอห์นสัน กล่าวโทษเหตุดังกล่าวว่ากำลังของประธานาธิบดีซีเรียบัชชาร อัลอะซัดเป็นผู้ลงมือ ฝ่ายรัฐบาลรัสเซียและซีเรียกล่าวว่าเกิดจากกองทัพอากาศซีเรียทำลายโกดังอาวุธเคมีของฝ่ายกบฏในละแวกนั้น สหรัฐตอบโต้โดยปล่อยขีปนาวุธร่อน 59 ลูกใส่ฐานทัพอากาศชะอิรัต ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นบ่อเกิดของเหตุโจมตีดังกล่าว.

ใหม่!!: การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและการโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มนักรบสุดโต่งวะฮาบีย์/ญิฮัดสะละฟีย์ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิถสานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้ วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (الدولة الإسلامية, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้" สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISIL กลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 2542 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2547 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2549 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (ISI) ในเดือนตุลาคม 2549 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2554 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2554 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2556 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2557 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก.

ใหม่!!: การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อะเลปโป

อะเลปโป (Aleppo) หรือ ฮะลับ (حلب / ALA-LC) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าราชการอะเลปโป ซึ่งเป็นเขตผู้ว่าราชการที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ มีประชากรอย่างเป็นทางการ 2,132,100 คน (ค.ศ. 2004) เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเลแวนต์ ร่วมหลายศตวรรษที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดในเกรตเตอร์ซีเรีย และเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอาณาจักรออตโตมัน รองจากอิสตันบูลและไคโรRussell, Alexander (1794),, 2nd Edition, Vol.

ใหม่!!: การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและอะเลปโป · ดูเพิ่มเติม »

องค์การห้ามอาวุธเคมี

องค์การห้ามอาวุธเคมี (Organisation for the Prohibition of Chemical Weapons, OPCW) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สนับสนุนและทวนสอบการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมีซึ่งห้ามใช้อาวุธเคมีและกำหนดให้ต้องทำลายอาวุธเคมีที่ภาคีมีในครอบครอง ในปี 2556 องค์การได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันต.

ใหม่!!: การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและองค์การห้ามอาวุธเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ฮอมส์

อมส์ (Homs) หรือ ฮิมศ์ (حمص) หรือเดิมรู้จักในชื่อ เอเมซา (กรีก: Ἔμεσα, Emesa) เป็นเมืองตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศซีเรีย เป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าราชการฮอมส์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 501 เมตร (1,644 ฟุต) ตั้งอยู่ห่างจากกรุงดามัสกัสทางทิศเหนือราว 162 กิโลเมตร (101 ไมล์) บนฝั่งแม่น้ำออรันตีส ฮอมส์ยังเป็นเมืองศูนย์กลางที่เชื่อมโยงเมืองภายในกับเมืองชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชาวอาหรับเข้ายึดครองเมืองในปี..

ใหม่!!: การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและฮอมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะมาฮ์

มาฮ์ (حماة) เป็นเมืองในประเทศซีเรีย บนฝั่งแม่น้ำออรอนตีส ตอนกลางของประเทศ เป็นเมืองสำคัญด้านการค้า เป็นเมืองใหญ่อันดับ 4 ของประเทศ มีชื่อเสียงในเรื่องกังหันทดน้ำมาตั้งแต่สมัยกลาง มีการกล่าวถึงเมืองนี้บ่อยครั้งในคัมภีร์ไบเบิลในฐานะเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอาณาจักรอิสราเอล เป็นที่ตั้งถิ่นฐานในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาเปลี่ยนไปอยู่ใต้การปกครองของอะราเมีย อัสซีเรีย เปอร์เซีย มาซิโดเนีย โรมัน ไบแซนไทน์ อาหรับ และอียิปต์ ตามลำดับ จนในปี..

ใหม่!!: การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและฮะมาฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดามัสกัส

มัสกัส (Damascus) เป็นเมืองหลวงของประเทศซีเรีย เป็นเมืองเก่าแก่ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ 2,457 ปีก่อนพุทธศักราช มีมัสยิดเก่าที่สร้างตั้งแต..

ใหม่!!: การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและดามัสกัส · ดูเพิ่มเติม »

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council; ย่อ: UNHRC) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลในระบบสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นแทนหน่วยงานเดิม คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on Human Rights หรือ UNCHR) และสังกัดสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีทำงานใกล้ชิดกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน และมีส่วนร่วมในระเบียบวาระพิเศษ (special procedures) ของสหประชาชาติ ด้วยข้อมติ A/RES/60/251 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม..

ใหม่!!: การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ซาริน

ซาริน หรือจีบี เป็นสารประกอบออร์แกโนฟอสฟอรัส มีสูตรเคมี CH3P(O)F ซารินเป็นของเหลวไร้สี ไร้กลิ่น.

ใหม่!!: การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและซาริน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »