โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การแปลด้วยเครื่อง

ดัชนี การแปลด้วยเครื่อง

มเหลี่ยมของโวกัวส์แสดงระดับสถาปัตยกรรมทางภาษาศาสตร์ในการแปลด้วยเครื่อง การแปลด้วยเครื่อง (MT; machine translation) เป็นศาสตร์ย่อยของภาษาศาสตร์เชิงคำนวณที่เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แปลข้อความหรือคำพูดภาษาธรรมชาติภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น การใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แปลข้อความภาษาไทย ไปเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น ในระดับพื้นฐาน การแปลด้วยเครื่องทำได้โดยการแทนที่คำในภาษาหนึ่งด้วยคำในอีกภาษาหนึ่ง (การแปลคำต่อคำ) อย่างไรก็ตามการแปลภาษาโดยใช้การแทนที่คำอย่างง่ายไม่เพียงพอต่อการแปลภาษาให้ถูกต้อง เพราะภาษามีความคลุมเครือ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า bank ในภาษาอังกฤษมีความเป็นไปได้ที่จะแปลเป็นคำภาษาไทย ได้ทั้งคำว่า "ธนาคาร" และ "ตลิ่ง" เป็นต้น นอกจากนั้นภาษายังแตกต่างกันในเรื่องสำนวนและไวยากรณ์ ยกตัวอย่างเช่น "il fait froid" ในภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "อากาศหนาว" ในภาษาไทย แต่ถ้าหากแปลคำต่อคำจะแปลว่า "มันทำหนาว" เป็นต้น เนื่องจากการแปลด้วยการแทนที่คำอย่างง่ายมีข้อจำกัด จึงมีการใช้เทคนิคการแปลด้วยเครื่องต่างๆ เช่น การเรียนรู้การแปลอัตโนมัติจากคลังข้อความขนาน และการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ เป็นต้น ขั้นตอนในการแปลภาษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก.

11 ความสัมพันธ์: การวิเคราะห์การสร้าง (แก้ความกำกวม)การแปลการเข้ารหัสภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ภาษาธรรมชาติวากยสัมพันธ์อรรถศาสตร์คลังข้อความขนานซอฟต์แวร์ไวยากรณ์

การวิเคราะห์

การวิเคราะห์ เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง โดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้.

ใหม่!!: การแปลด้วยเครื่องและการวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

การสร้าง (แก้ความกำกวม)

การสร้าง โดยนัยทั่วไปหมายถึง การทำให้สิ่งที่ไม่มีอยู่ เกิดมีขึ้นมาไม่ว่ารูปธรรมหรือนามธรรม ด้วยวิธีการต่าง ๆ และอาจหมายถึง.

ใหม่!!: การแปลด้วยเครื่องและการสร้าง (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

การแปล

การแปล เป็นการถ่ายทอดความหมายของข้อความในภาษาหนึ่ง ๆ ที่ใช้สื่อสาร ไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยข้อความที่ถ่ายทอดเป็นภาษาอื่นแล้วจะมีใจความเหมือนกับข้อความในภาษาต้นฉบับ ผู้ทำหน้าที่แปลภาษา เรียกว่า นักแปล ส่วนผู้แปลภาษาโดยการฟังภาษาหนึ่ง แล้วแปลเป็นคำพูดอีกภาษาหนึ่งในทันที เรียกว่า ล่าม การแปลภาษานั้นประกอบด้วยการแปลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือผ่านทาง เว็บไซต์ เช่น บริการแปลภาษาที่ยอดนิยมอย่าง กูเกิลแปลภาษา และการโดยบุคคลหรือที่เรียกว่า นักแปล อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมี เว็บไซต์ บริการแปลภาษาที่ยอดนิยมอย่าง กูเกิลแปลภาษา Bing Translator แต่อย่างไรก็ตามการแปลด้วยเครื่องมือเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับการแปลโดย นักแปล ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ การแปลชุดคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์จากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยเนื้อหาของโปรแกรมทั้งสองเหมือนกัน เรียกว่าการแปลโปรแกรม (compile).

ใหม่!!: การแปลด้วยเครื่องและการแปล · ดูเพิ่มเติม »

การเข้ารหัส

การเข้ารหัส (encryption) เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของรับบการอ่านที่เป็นภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องหรือสัญญาณอื่น โดยเกี่ยวข้องกับวิธีการทางคณิตศาสตร.

ใหม่!!: การแปลด้วยเครื่องและการเข้ารหัส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์

ษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือ ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics) เป็นสหวิทยาการที่ว่าด้วยการสร้างแบบจำลองเชิงตรรกะของภาษาธรรมชาติ จากมุมมองในเชิงคำนวณ แบบจำลองนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสาขาในสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์ เดิมทีเดียว นักภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์มักจะเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language) แต่งานวิจัยในช่วงหลัง ได้แสดงให้เห็นว่า ภาษานั้นซับซ้อนเกินกว่าที่คาดคิดไว้ ดังนั้นกลุ่มศึกษาภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์จึงกลายสภาพเป็นกลุ่มสหวิทยาการไป โดยจะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่เป็นนักภาษาศาสตร์​ (นั่นคือ ฝึกฝนมาทางด้านภาษาศาสตร์โดยเฉพาะ) ส่วนคนอื่น ๆ อาจจะเชี่ยวชาญในสาขา วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ จิตวิทยาปริชาน (en:cognitive psychology) ตรรกวิทยา และอื่น.

ใหม่!!: การแปลด้วยเครื่องและภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาธรรมชาติ

คำว่า ภาษาธรรมชาติ (natural language) นั้น ใช้เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างภาษาทั่ว ๆ ไปที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพื่อการสื่อสาร เช่น ภาษามนุษย์ ออกจากภาษาที่ถูกสร้างขึ้นอย่าง เช่น ภาษาโปรแกรมสำหรับสั่งงานคอมพิวเตอร์ หรือภาษาที่ใช้ในการศึกษาตรรกะ หมวดหมู่:ปรัชญาตรรกศาสตร์ หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์.

ใหม่!!: การแปลด้วยเครื่องและภาษาธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

วากยสัมพันธ์

ในทางภาษาศาสตร์ วากยสัมพันธ์ (อังกฤษ: syntax) หมายถึง การศึกษาว่าด้วยกฎของความสัมพันธ์ของแบบแผนองค์ประกอบของประโยคในภาษา อันเป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ของภาษา ในภาษาไทย "วากยสัมพันธ์" เป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ไทยที่กำหนดขึ้นเป็นหนึ่งในแบบแผนหรือไวยกรณ์ของภาษาไทย ซึ่งประกอบด้วย 4 แบบแผนหลัก ได้แก่ อักขรวิธี ซึ่งศึกษาว่าด้วยอักษร, วจีวิภาค ศึกษาว่าด้วยคำ, วากยสัมพันธ์ ศึกษาว่าด้วยความสัมพันธ์ของคำในประโยค, และ ฉันทลักษณ์ คือ กฎเกณฑ์ของการเขียนภาษาในรูปแบบต่างๆ วากยสัมพันธ์ ยังเป็นชื่อตำราไวยากรณ์ไทยว่าด้วยประโยค และความเกี่ยวข้องของส่วนต่างๆ ในประโยค การศึกษากฎหรือความสัมพันธ์ของภาษาอย่างเป็นแบบแผน ที่ควบคุมการเรียงคำเป็นวลี และวลีเป็นปร.

ใหม่!!: การแปลด้วยเครื่องและวากยสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

อรรถศาสตร์

อรรถศาสตร์ (อังกฤษ: semantics) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคำ วลี สัญลักษณ์ และความหมาย อรรถศาสตร์ในทางภาษาศาสตร์คือ การศึกษาความหมายที่มนุษย์ใช้เพื่อสื่อสารผ่านทางภาษา นอกจากนี้ยังมีอรรถศาสตร์ของภาษาโปรแกรม ตรรกศาสตร์ และการศึกษาสัญลักษณ์เชิงภาษาและการสื่อสาร (semiotics) คำว่า อรรถศาสตร์ นั้นหมายถึง ขอบเขตความคิดตั้งแต่ระดับที่ใช้กันทั่วไปจนถึงระดับสูง มักใช้ในภาษาทั่วไปเพื่ออธิบายปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกใช้คำ หรือความหมายโดยนัย ปัญหาความเข้าใจนี้กลายเป็นประเด็นเกี่ยวกับการตั้งคำถามเพื่อไต่สวนหรือสอบถามแบบทางการมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอรรถศาสตร์เชิงกิจจะลักษณะ (formal semantics) ในภาษาศาสตร์นั้น อรรถศาสตร์ยังศึกษาเกี่ยวกับการแปลความหมายจากป้ายและสัญลักษณ์ที่เหล่าองค์กรและชุมชนใช้ในสถานการณ์และบริบทหรือสภาพแวดล้อมเฉพาะ หากพิจารณาอย่างละเอียด เสียง การแสดงออกทางสีหน้า ภาษากาย และการศึกษาบุคคลต่างวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ ยังมีสาระที่เกี่ยวข้องกับการหาความหมาย ซึ่งแต่ละปัจจัยนี้ยังมีสาขาที่ศึกษาแยกออกไปอีก ในภาษาเขียน เรื่องของโครงสร้างในย่อหน้า และเครื่องหมายวรรคตอน ต่างก็มีเรื่องของการหาความหมายมาเกี่ยวข้อง หรือในรูปแบบอื่นๆ ของภาษา ก็ย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหาความหมายเช่นกัน วิชาอรรถศาสตร์จะต่างกับวากยสัมพันธ์หรือไวยากรณ์ (syntax) ซึ่งศึกษาถึงหน่วยของภาษาที่ประกอบกันโดยไม่คำนึงถึงความหมาย และต่างกับวจนปฏิบัติศาสตร์ (pragmatics) ซึ่งศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสัญลักษณ์ของภาษา ความหมาย และผู้ใช้ภาษานั้น.

ใหม่!!: การแปลด้วยเครื่องและอรรถศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คลังข้อความขนาน

ลังข้อความขนาน (Parallel text) คือ ข้อความต้นฉบับและข้อความภาษาอื่นๆ ที่แปลมาจากข้อความต้นฉบับ ในคลังข้อความขนานระบุส่วนตรงกัน มีการระบุประโยคที่ตรงกันของคู่ข้อความที่ต่างภาษา ดังตัวอย่างในตารางด้านล่าง การระบุประโยคที่ตรงกันในคลังข้อความขนาน มีความสำคัญในการศึกษาวิจัยในหลายสาขาย่อยของภาษาศาสตร์ ในการแปลภาษา ประโยคหลายประโยคสามารถแปลรวมกันเป็นประโยคเดียว หรือไม่แปลบางประโยค หรือเพิ่มประโยคใหม่ที่ไม่มีในข้อความต้นฉบับ หรือเปลี่ยนลำดับของประโยคในเอกสารแปลและเอกสารต้นฉบับให้ไม่ตรงกัน ด้วยสาเหตุข้างต้นการระบุประโยคที่ตรงกันในคลังข้อความขนานจึงไม่ใช่เรื่องตรงไปตรงมา ในการแปลภาษาด้วยเครื่อง (machine translation) คลังข้อความขนานมีประโยชน์อย่างมาก เมื่อใช้ร่วมกับการเรียนรู้ของเครื่อง โดยให้เครื่องเรียนการแปลจากประโยคตัวอย่าง.

ใหม่!!: การแปลด้วยเครื่องและคลังข้อความขนาน · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แ.

ใหม่!!: การแปลด้วยเครื่องและซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไวยากรณ์

วยากรณ์ (Grammar) คือ การศึกษากฎเกณฑ์ของภาษา ซึ่งรวมถึง เสียง คำศัพท์ ประโยค และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น การประสมคำ และการตีความ คำว่าไวยากรณ์ยังหมายถึงคุณลักษณะเชิงนามธรรมของตำราที่นำเสนอกฎเหล่านี้ด้วย สำหรับคำว่า หลักภาษา แม้จะมีความหมายเดียวกันกับคำวำไวยากรณ์ แต่จะใช้เรียกกับภาษาไทยและภาษาไทยใต้เท่านั้น การศึกษาทฤษฎีทางไวยากรณ์เป็นที่สนใจของนักปรัชญา, นักมานุษยวิทยา นักจิตวิทยา และนักวิเคราะห์ทางวรรณกรรมมาหลายศตวรรษ ทุกวันนี้ ไวยากรณ์เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภาษาศาสตร์ แต่ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสาขาอื่นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว พัฒนาการของทฤษฎีไวยากรณ์นั้นมีผลเพียงเล็กน้อยแต่ตัวเนื้อหาของไวยากรณ์ในสถานศึกษาทั่วไป สำหรับคนส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจว่าไวยากรณ์หมายถึงกฎที่เราจะต้องทราบ เพื่อจะพูด หรือ เขียนได้อย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: การแปลด้วยเครื่องและไวยากรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Machine translationการแปลภาษาอัตโนมัติการแปลภาษาด้วยเครื่อง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »