สารบัญ
9 ความสัมพันธ์: ฟฟุตบอลยุวชนทหารอเมริกันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ประเทศไทยโรงเรียนอัสสัมชัญเฉิด สุดารา
- คำศัพท์กีฬา
ฟ
ฟ (ฟัน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 31 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก พ (พาน) และก่อนหน้า ภ (สำเภา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฟ ฟัน” อักษร ฟ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /f/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /p̚/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /f/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด หรือ /v/ ในตำแหน่งพยัญชนะสะกด หมวดหมู่:อักษรไทย.
ฟุตบอล
ฟุตบอล หรือ ซอกเกอร์ เป็นกีฬาประเภททีมที่เล่นระหว่างสองทีมโดยแต่ละทีมมีผู้เล่น11คน โดยใช้ลูกบอล เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก โดยจะเล่นในสนามหญ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ สนามหญ้าเทียม โดยมีประตูอยู่กึ่งกลางที่ปลายสนามทั้งสองฝั่ง เป้าหมายคือทำคะแนนโดยพาลูกฟุตบอลให้เข้าไปยังประตูของฝ่ายตรงข้าม ในการเล่นทั่วไปผู้รักษาประตูจะเป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวที่สามารถใช้มือหรือแขนกับลูกฟุตบอลได้ ส่วนผู้เล่นอื่นๆจะใช้เท้าในการเตะลูกฟุตบอลไปยังตำแหน่งที่ต้องการ บางครั้งอาจใช้ลำตัว หรือ ศีรษะ เพื่อสกัดลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่กลางอากาศ โดยทีมที่พาลูกฟุตบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเท่ากันให้ถือว่าเสมอ แต่ในบางเกมที่เสมอกันในช่วงเวลาปกติแล้วต้องการหาผู้ชนะจึงต้องมีการต่อเวลาพิเศษ และ/หรือยิงลูกโทษขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของรายการแข่งขันนั้นๆ โดยกฎกติกาการเล่นสมัยใหม่จะถูกรวบรวมขึ้นในประเทศอังกฤษ โดย สมาคมฟุตบอลอังกฤษ ในปี พ.ศ.
ยุวชนทหาร
วชนทหาร (อักษรย่อ: ยวท.) คือ เยาวชนที่ได้รับการฝึกวิชาทหารขึ้นในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2477 - 2490 เนื่องจากรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามมีนโยบายพื้นฟูการฝึกวิชาทหารให้แก่ประชาชน ดำเนินการโดยกรมยุวชนทหาร กระทรวงกลาโหม (ณ ปี พ.ศ.
อเมริกันฟุตบอล
กีฬาอเมริกันฟุตบอลในช่วงก่อนเริ่มเทิร์น ทั้งสองฝ่ายจะเตรียมพร้อมในแนวหน้ากระดาน ในภาพมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต (ชุดแดง) แข่งกับ มหาวิทยาลัยเทกซัสเทค (ชุดขาว) ลูกอเมริกันฟุตบอล รูปร่างกลมรี ปลายแหลม และโดยทั่วไปจะมี แนวตะเข็บด้ายขนาดใหญ่อยู่ที่ด้านหนึ่ง อเมริกันฟุตบอล (American football) เป็นกีฬาประเภททีมที่นิยมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา จุดมุ่งหมายของการแข่งขันคือแต่ละทีมจะต้องพยายามเคลื่อนลูกบอลเข้าไปสู่ เขตปลายสุดสนาม หรือที่เรียกว่าเอนด์โซนของฝ่ายตรงข้าม การเคลื่อนนั้นสามารถกระทำได้โดย การถือลูกวิ่ง และ การขว้างลูกไปให้เพื่อนร่วมทีม การทำคะแนนสามารถทำได้หลายวิธีคือ การถือลูกวิ่งผ่านเส้นเขตประตู การขว้างลูกไปให้เพื่อนร่วมทีมที่อยู่ในเขตสนามหลังเส้นประตู หรือ การแตะประตู โดยการเตะลูกที่มีเพื่อนร่วมทีมจับตั้งกับพื้นสนามให้ผ่านระหว่างเสาประตู (goalposts หรือ uprights) หลังจากหมดเวลาการแข่งขันทีมที่ได้คะแนนสูงกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ ในสหรัฐอเมริกา และ ประเทศแคนาดา เรียกกีฬาประเภทนี้ว่า "ฟุตบอล (football) " (ในขณะเดียวกันเรียกฟุตบอล ว่า ซอคเกอร์) ในบางประเทศเรียกอเมริกันฟุตบอลว่า "กริดไอเอิร์นฟุตบอล (grid-iron football) " อเมริกันฟุตบอลนั้นเริ่มมีการพัฒนาแยกตัวออกมาจาก รักบี้ฟุตบอล ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 อรีนาฟุตบอล หรือ ฟุตบอลในร่ม เป็นกีฬาที่ดัดแปลงมาจากอเมริกันฟุตบอล.
ดู การแปรอักษรและอเมริกันฟุตบอล
จตุรมิตรสามัคคี
การแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี เป็นการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระดับมัธยมศึกษาระหว่างโรงเรียนชายล้วนเก่าแก่สี่โรง ประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ สำหรับการแข่งขันจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 28 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพในปี..
ดู การแปรอักษรและจตุรมิตรสามัคคี
งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์
งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ หรือ งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬาฯ เป็นการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศไทย เริ่มจัดกิจกรรมครั้งแรกในวันที่ 4 ธันวาคม..
ดู การแปรอักษรและงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
โรงเรียนอัสสัมชัญ
รงเรียนอัสสัมชัญ (บ้างเรียก อัสสัมชัญบางรัก หรือ อัสสัมชัญกรุงเทพ, ย่อ: อสช, AC) เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ในกลุ่มจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แผนกประถม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้ และแผนกมัธยม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการขึ้นโดยบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพัน..
ดู การแปรอักษรและโรงเรียนอัสสัมชัญ
เฉิด สุดารา
ฉิด สุดารา (14 ธันวาคม พ.ศ. 2456 - 10 กันยายน พ.ศ. 2558) หรือรู้จักกันในชื่อ "มาสเตอร์ เฉิด สุดารา" (ม.เฉิด สุดารา) เป็นอดีตครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ผู้ริเริ่มการแปรอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งใช้ครั้งแรก ในการแข่งขันฟุตบอลรุ่นกลางชิงชนะเลิศระหว่างทีมโรงเรียนอัสสัมชัญกับทีมโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ปี พ.ศ.
ดูเพิ่มเติม
คำศัพท์กีฬา
- การดราฟท์ (กีฬา)
- การแปรอักษร
- การใช้ออกซิเจนสูงสุด
- กีฬาประจำชาติ
- กีฬาประเภททีม
- ชิงแชมป์โลก
- ทีมฟุตบอล
- นักกีฬา
- ผู้รักษาประตู
- ฟาวล์ (กีฬา)
- มหกรรมกีฬา
- รีบาวด์
หรือที่รู้จักกันในชื่อ แปรอักษร