โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเรียงลำดับแบบเลือก

ดัชนี การเรียงลำดับแบบเลือก

ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเรียงลำดับแบบเลือก (selection sort) เป็นขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับอย่างง่ายโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบ ทำงานโดยการหาค่าเหมาะสมที่สุด (ค่ามากสุดหรือน้อยสุด) ที่อยู่ในรายการส่วนที่ยังไม่เรียงและนำค่าเหมาะที่สุดนั้นมาต่อท้ายของส่วนที่เรียงแล้ว ก็จะทำให้ส่วนที่เรียงแล้วมีขนาดใหญ่ขึ้นทีละหนึ่งในแต่ละรอบการทำงาน ทำเช่นนี้จนไม่มีส่วนที่ยังไม่เรียงก็เสร็จ แต่ด้วยประสิทธิภาพเมื่อเกิดกรณีทั่วไปที่ O(n2) ทำให้ไม่เหมาะที่จะใช้ในกรณีที่มีข้อมูลในรายการเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าหากปรับปรุงการหาค่าเหมาะสมที่สุดในรายการด้วยแถวคอยลำดับความสำคัญที่ทำให้เกิดผลด้วยโครงสร้างข้อมูลแบบฮีปทวิภาคจะเรียกว่าการเรียงลำดับแบบฮีป ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าที่ O(n log n).

8 ความสัมพันธ์: การทำให้เกิดผลรหัสเทียมรายการ (โครงสร้างข้อมูล)รายการโทรทัศน์วิทยาการคอมพิวเตอร์ฮีปทวิภาคขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับแถวคอยลำดับความสำคัญ

การทำให้เกิดผล

การทำให้เกิดผล (implementation) คือขั้นตอนต่อจากกระบวนการคิด,​ การวางแผน,​ การสร้างแบบจำลอง หรือการคิดขั้นตอนวิธี โดยประยุกต์สิ่งเหลานี้เพื่อการใช้งานจริง.

ใหม่!!: การเรียงลำดับแบบเลือกและการทำให้เกิดผล · ดูเพิ่มเติม »

รหัสเทียม

รหัสเทียม (pseudocode) ใช้เป็นภาษากลางในการอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมและขั้นตอนวิธี การเขียนรหัสเทียมไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว สำคัญเพียงแต่เขียนให้ผู้อ่านเข้าใจ โดยปกติแล้วจะประยุกต์รูปแบบการเขียนและโครงสร้างมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ แต่การเขียนรหัสเทียมจะเป็นลักษณะการเขียนคำอธิบายมากกว่าการเขียนเป็นคำสั่งต่างๆ และการเขียนรหัสเทียมนั้นมักจะไม่ใส่ใจในรายละเอียดการเขียนมากนัก เช่น อาจไม่มีขั้นตอนการประกาศตัวแปร เป้าหมายสำคัญของการเขียนรหัสเทียมคือทำลายกำแพงของภาษาลงไป การเขียนรหัสเทียมจึงไม่ใส่ใจในการเขียนไวยากรณ์ให้ถูกต้องตามหลักภาษา แต่จะเป็นไปตามใจของผู้เขียนมากกว่า รหัสเทียมในอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ผังงาน (flowchart) ซึ่งนำเสนอการทำงานของโปรแกรม และขั้นตอนวิธีในรูปแบบของแผนภาพ หมวดหมู่:รหัสต้นฉบับ.

ใหม่!!: การเรียงลำดับแบบเลือกและรหัสเทียม · ดูเพิ่มเติม »

รายการ (โครงสร้างข้อมูล)

รายการ เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะการเรียงแบบต่อเนื่องไปเป็นลำดับ ข้อมูลจะมีลำดับก่อนหลังกันคล้ายเวกเตอร์ ตัวอย่างของรายการเช่น การเรียงลำดับตัวอักษร A,B,C,...

ใหม่!!: การเรียงลำดับแบบเลือกและรายการ (โครงสร้างข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

รายการโทรทัศน์

รายการทอล์กโชว์ The Oprah Winfrey Show โดย โอปราห์ วินฟรีย์ รายการโทรทัศน์ เป็นส่วนต่าง ๆ ของการออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ การออกอากาศรายการโทรทัศน์ มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1936 ในกรุงลอนดอน รายการโทรทัศน์ อาจออกอากาศเพียงแค่ครั้งเดียว หรือมีตอนต่อ ที่เรียกว่า ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ (TV series) ส่วนมากมักเป็นรายการประเภทละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์มักแบ่งเป็นภาค ๆ โดยในหนึ่งภาค ในสหรัฐอเมริกาจะเรียกว่า ฤดูกาล (season) แต่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกว่า ชุด (series) แต่ละฤดูกาลหรือชุดจะมีความยาวประมาณ 6-26 ตอน รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศเป็นพิเศษเพียงครั้งเดียว จะเรียกว่า รายการพิเศษ (special program) และสถานีวิทยุโทรทัศน์บางสถานี ยังมี ภาพยนตร์โทรทัศน์ (TV movies) ที่สร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์โดยเฉพาะ ไม่ได้ออกฉายทางโรงภาพยนตร์ หรือบันทึกลงในวิดีโอ วีซีดี ดีวีดี หรือสื่ออื่น ๆ ทุกวันนี้ การออกอากาศ ภาพยนตร์โฆษณา (commercial advertisement) ถือเป็นส่วนสำคัญของรายการโทรทัศน์ โดยมีข้อปฏิบัติเป็นเกณฑ์ว่า ในการออกอากาศรายการโทรทัศน์ 1 ชั่วโมง จะมีภาพยนตร์โฆษณาได้ไม่เกิน 15 นาที เหมือนในโรงภาพยนตร.

ใหม่!!: การเรียงลำดับแบบเลือกและรายการโทรทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

ใหม่!!: การเรียงลำดับแบบเลือกและวิทยาการคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮีปทวิภาค

ีปทวิภาค (binary heap) เป็นโครงสร้างข้อมูลฮีปที่อยู่ในรูปแบบของต้นไม้แบบทวิภาค มักถูกใช้เพื่อจัดแถวคอยลำดับความสำคัญ 480x480px.

ใหม่!!: การเรียงลำดับแบบเลือกและฮีปทวิภาค · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับ

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับ (sorting algorithm) คือ ขั้นตอนวิธีที่จัดเรียงสมาชิกของรายการ (list) ให้เป็นไปตามรูปแบบของอันดับที่กำหนด ส่วนใหญ่อันดับที่ใช้กันคือ อันดับตัวเลข และอันดับตัวอักษร การเรียงลำดับที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญต่อขั้นตอนวิธีอื่นๆ (เช่น ขั้นตอนวิธีการค้นหา และ การผสาน) ซึ่งขั้นตอนวิธีเหล่านี้ต้องใช้รายการที่เรียงอย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: การเรียงลำดับแบบเลือกและขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับ · ดูเพิ่มเติม »

แถวคอยลำดับความสำคัญ

ในแถวคอยปกติ ข้อมูลที่เข้ามาก่อนจะมีสิทธิ์ออกก่อน (First In First Out:FIFO) อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่เราต้องยกให้สมาชิกบางประเภทได้ทำงานก่อนทั้งที่มาทีหลัง เช่นการให้คิวงานที่เล็กกว่าได้ทำก่อน หรือ การให้สิทธิพิเศษแก่การทำงานบางประเภท เช่นนี้เราจะสร้าง แถวคอยลำดับความสำคัญ เป็นคิวที่ถึงแม้เข้าก่อน แต่สิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าจะได้ออกก่อน ถ้ามีความสำคัญเท่ากัน ข้อมูลที่เข้ามาก่อนจะได้ออกก่อนเช่นเดียวกับแถวคอยปกติ แถวคอยลำดับความสำคัญทำให้เราสามารถประยุกต์ใช้คิวได้ดีขึ้น เนื่องจากเพิ่มการให้ความสำคัญของสมาชิกที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เราสามารถจัดเรียงแถวคอยได้ใหม่ให้เหมาะสมกับการทำงานได้ เราใช้แถวคอยลำดับความสำคัญในการจัดการทำงาน การตรวจนับ ฯลฯ.

ใหม่!!: การเรียงลำดับแบบเลือกและแถวคอยลำดับความสำคัญ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Selection sort

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »