โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ

ดัชนี การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ

การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ (Aquaculture) หรือที่เรียกว่าเป็นเกษตรกรรมในน้ำ (aquafarming) คือการทำฟาร์มสิ่งมีชีวิตในน้ำเช่นปลา สัตว์พวกกุ้งกั้งปู สัตว์จำพวกหอยและปลาหมึก และพืชน้ำ (หมายถึงพืชที่ขึ้นอยู่ในน้ำโดยอาจจะจมอยู่ใต้ น้ำทั้งหมด หรือโผล่บางส่วน ขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ ลอยอยู่ที่ผิวน้ำหรือเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมน้ำ ชายตลิ่ง นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงพืชที่เจริญเติบโตอยู่ในบริเวณที่ลุ่มน้ำขังแฉะอีกด้วย สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Microphytes และ Macrophytes) การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำเกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงประชากรน้ำจืดและน้ำเค็มภายใต้สภาวะควบคุมและเป็นกิจกรรมที่ไม่เหมือนการประมงเชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นการจับปลาที่อยู่ตามธรรมชาติหรือปลาป่า (wild fish) พูดกว้างๆ การจับปลาที่มีเหงือก (finfish) และ ปลาที่มีเปลือก (shellfish) เป็นแนวความคิดที่คล้ายกับการล่าสัตว์และการรวบรวมในขณะที่การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำจะคล้ายกับเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในทะเล (Mariculture) หมายถึงการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในสภาพแวดล้อมทางทะเลและในแหล่งที่อยู่อาศัยในใต้น้ำ ตาม FAO การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ "เป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงการทำฟาร์มของสิ่งมีชีวิตในน้ำรวมทั้งปลา หอย กุ้งและพืชน้ำ การทำฟาร์มหมายถึงบางรูปแบบของการแทรกแซงในกระบวนการเลี้ยงเพื่อเพิ่มการผลิตเช่นการเลี้ยงด้วยจำนวนประชากรปลาปกติ การให้อาหาร การป้องกันนักล่า ฯลฯ การทำฟาร์มนอกจากนี้ยังหมายถึงการเป็นเจ้าของโดยบุคคลหรือองค์กรของประชากรที่มีการเพาะเลี้ยง" ผลผลิตตามรายงานจากการดำเนินงานเพาะเลี้ยงระดับโลกจะจัดหาครึ่งหนึ่งของปลาและกุ้งหอยที่มีการบริโภคโดยตรงโดยมนุษย์ อย่างไรก็ตาม มีปัญหาเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของตัวเลขที่อยู่ในรายงาน นอกจากนี้ในทางปฏิบัติการเพาะเลี้ยงในปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากหลายปอนด์ของปลาที่จับได้ตามธรรมชาติถูกนำมาใช้ในการผลิตเพียงหนึ่งปอนด์ของปลากินปลาเป็นอาหาร (piscivorous) เช่นปลาแซลมอนSeafood Choices Alliance (2005) การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำเฉพาะอย่างเช่นการเลี้ยงปลา การเลี้ยงกุ้ง การเลี้ยงหอยนางรม เพาะเลี้ยงสัตว์และพืชในทะเล, algaculture (เช่นการเลี้ยงสาหร่ายทะเล) และการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม วิธีการเฉพาะจะได้แก่ การเพาะเลี้ยงไม่ใช้ดิน (aquaponics) และเพาะเลี้ยงแบบหลายโภชนาการแบบบูรณาการ ซึ่งทั้งสองอย่างบูรณาการการเลี้ยงปลาและการทำฟาร์มพื.

5 ความสัมพันธ์: การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงวิทยาศาสตร์การประมงสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกันองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาตินครนิวยอร์ก

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ใหม่!!: การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำและการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์การประมง

วิทยาศาสตร์การประมง (Fisheries science) เป็นสาขาวิชาว่าด้วยการจัดการและความเข้าใจด้านการประมง ซึ่งประกอบด้วยหลายสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาด้านสมุทรศาสตร์ ชีววิทยาทางทะเล การอนุรักษ์ทางทะเล นิเวศวิทยา พลศาสตร์ประชากร เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ หรือในสาขาใหม่ที่เกิดขึ้น อย่างเช่น เศรษฐศาสตร์เชิงชีววิทยา วิทยาศาสตร์การประมง เป็นสาขาวิชาที่สอนในมหาวิทยาลัย ที่อาจเจาะจงเฉพาะในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก บางมหาวิทยาลัยมีภาควิชาวิทยาศาสตร์การประมงโดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์การประมง เริ่มมีมาราวปี ค.ศ. 1890 ในสาขาวิชาที่ผสมผสานระหว่างสาขาสัตววิทยากับสถิติ แต่ประยุกต์ในรูปแบบและการใช้งานใหม.

ใหม่!!: การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำและวิทยาศาสตร์การประมง · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน

ำนักงานของสมาคมในเมืองวอชิงตัน ดี.ซี. สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน (American Association for the Advancement of Science, ตัวย่อ AAAS) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรนานาชาติในประเทศสหรัฐอเมริกา มีจุดประสงค์เพื่อโปรโหมตการร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ พิทักษ์รักษาอิสรภาพทางวิทยาศาสตร์ สนับสนุนความรับผิดชอบทางวิทยาศาสตร์ และสนับสนุนการศึกษาและการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ เป็นสมาคมวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสมาชิกทั้งที่เป็นบุคคลและองค์กรถึง 126,995 รายในท้ายปี 2551 เป็นผู้ดำเนินการพิมพ์วารสารวิทยาศาสตร์ที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันรายสัปดาห์ Science ซึ่งมีสมาชิกประจำที่ 138,549 ราย และเป็นวารสารแนวหน้าระดับโลกวารสารหนึ่ง.

ใหม่!!: การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำและสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ

ตราสัญลักษณ์ประจำองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) เป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติที่มีเป้าหมายในการพัฒนามาตรฐานอาหารและสารอาหาร รวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านโภชนาการ อาหาร การเกษตร ป่าไม้และประมง ให้ประเทศต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายการเกษตร โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทย ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลด้านการเกษตร โดยเฉพาะด้านการผลิต ตามการร้องขอของ FAO เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์และเผยแพร่ต่อไป โดยที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ตอบแบบสอบถามของ FAO ในเรื่องปุ๋ย ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญสำหรับภาคเกษตร รวมถึงพยายามลดปริมาณผู้ยากไร้ขาดอาหาร ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในเมือง ควิเบกซิตี รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา และในปี พ.ศ. 2490 ได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาที่ วอชิงตัน ดี.ซี. และในปัจจุบันสำนักงานใหญ่อยู่ที่โรม ประเทศอิตาลี นับจากปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) มีสมาชิก 190 ประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำและองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »