โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นาเกลือ

ดัชนี นาเกลือ

นาเกลือ คือพื้นที่สำหรับผลิตเกลือ คล้ายนาข้าวแต่ไม่ได้ปลูกพืช มีมากในบริเวณพื้นที่ติดทะเล เช่น ตำบลบางหญ้าแพรก นาโคก บางโทรัด บ้านบ่อ บางกระเจ้า ชายทะเลของสมุทรสาคร เป็นดินเลนมีคุณสมบัติสามารถขังน้ำไม่ให้ซึมลงดินได้ นาเกลือที่ได้มาตรฐานต้องมีเนื้อที่ไม่ควรน้อยกว่า 25 ไร่ เพราะต้องใช้พื้นที่ในการตากน้ำจำนวนมาก.

11 ความสัมพันธ์: ชาวไร่ชาวนายิปซัมระหัดลำเหมืองสนิมจังหวัดสมุทรสาครทะเลนาไผ่เกลือเจดีย์

ชาวไร่ชาวนา

ชาวนากำลังดำนาปลูกข้าวอยู่ ชาวไร่ชาวนา เกษตรกรหรือกสิกร เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ เลี้ยงสัตว์เอาอาหารหรือวัตถุดิบ คำนี้ปกติใช้กับผู้ที่กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ ปลูกพืชไร่ สวนผลไม้ ไร่องุ่น เลี้ยงสัตว์ปีกหรือปศุสัตว์อื่น ชาวไร่ชาวนาอาจเป็นเจ้าของที่ดินเกษตรกรรมหรือทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานบนที่ดินของผู้อื่นก็ได้ แต่ในประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้า (advanced economy) ปกติชาวไร่ชาวนาเป็นเจ้าของไร่นา ขณะที่ลูกจ้างของไร่นานั้น เรียก คนงานไร่นา (farm workers หรือ farmhand) ทว่า เมื่อไม่นานนี้ ชาวนาเป็นบุคคลเพื่อสนับสนุนหรือปรับปรุงการเติบโตของที่ดินหรือพืชผลหรือเลี้ยงสัตว์ (เช่น ปศุสัตว์หรือปลา) โดยแรงงานและความใส่ใจ หมวดหมู่:อาชีพ หมวดหมู่:เกษตรกรรม.

ใหม่!!: นาเกลือและชาวไร่ชาวนา · ดูเพิ่มเติม »

ยิปซัม

ปซัม (Gypsum) (CaSO4·2H2O) หรือเรียกว่าเกลือจืด เป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสีเทา มักมีสีเหลือง แดง หรือน้ำตาล เป็นมลทินปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง อาจเรียกชื่อต่างกันออกไปตามลักษณะของเนื้อแร่ คือ ชนิดซาตินสปาร์ (satinspar) เป็นแร่ยิปซัมลักษณะที่เป็นเนื้อเสี้ยน มีความวาวคล้ายไหม ชนิดอะลาบาสเทอร์ (alabaster) มีเนื้อเป็นมวลเม็ดอัดกันแน่น และชนิดซีลีไนต์ (selenite) ใสไม่มีสี เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปร่งใส เกิดจากแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “อีแวพอไรต์ (evaporites) ” จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย (solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวกคาร์บอเนต (carbonates) ซัลเฟต (sulphates) และเฮไลด์ (halides) การกำเนิด แร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่น เรียกว่า “อะลาบาสเตอร์ (alabaster) ” ซึ่งมิได้เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วงบนสุดของมวลแอนไฮไดรต์ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน และการศึกษาธรณีวิทยาแหล่งแร่พบว่า เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงชนิดแร่ไปมา ระหว่างยิปซัมกับแอนไฮไดรต์ (CaSO4) หลายครั้ง (Utha-aroon and Ratanajarurak, 1996) ก่อนจะมีสภาพเช่นในปัจจุบัน.

ใหม่!!: นาเกลือและยิปซัม · ดูเพิ่มเติม »

ระหัด

กังหันลมและระหัดวิดน้ำ ระหัด เป็นเครื่องชักน้ำหรือวิดน้ำ ทำด้วยไม้เป็นรางใช้ระเมooooo มือหมุน และใช้ถีบด้วยเท้าก็มีการเกษตรกรรมโดยทั่วไปต้องอาศัยน้ำสำหรับทำการเพาะปลูก โดยเฉพาะการทำนาต้องมีน้ำแช่ต้นข้าวจนกระทั่งข้าวออกรวง ชาวนาจะปลูกข้าวในฤดูฝนปีละครั้ง เรียกว่า ข้าวนาปี แต่เมื่อมีการชลประทานดีขึ้นจะปลูกข้าวนอกฤดูฝนอีกด้วย ซึ่งเรียกว่า นาปรัง การใช้ระหัดวิดน้ำมีความสำคัญต่อการทำนาในสมัยก่อนมาก เพราะเมื่อฝนชุกน้ำในแม่น้ำลำคลองจะมีระดับสูงขึ้น หากแปลงนาซึ่งทำคันไว้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้มากพอ สำหรับการเพาะปลูกแล้ว ชาวนาจะใช้ชงโลงหรือระหัดวิดน้ำเข้าแปลงนา การใช้ชงโลงอาจวิดน้ำได้ครั้งละไม่มากนัก และหนักแรงพอสมควร ดังนั้นจึงได้คิดวิธีวิดน้ำหรือชักน้ำโดยการใช้ระหัดขึ้นระหัด มักทำด้วยไม้สัก มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ รางน้ำ ใบระหัด เพลา และมือหมุนรางน้ำ ใช้ไม้สักทำเป็นโครง มีความยาวประมาณ 5 – 6 เมตร ใช้ไม้แผ่นบาง ๆ ตีประกบทั้ง 2 ข้าง ให้รางน้ำซีกข้างบนโปร่ง ด้านล่างตีไม้ทึบ รางน้ำมีความสูงประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร ใบระหัดหรือใบพัด ตัดไม้แผ่นบางเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 30 – 40 ใบ ความกว้างประมาณ 8 – 10 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร เข้าเดือยใบระหัดแต่ละใบโดยใช้สลักตอกให้แกนใบยึดซึ่งกันและกัน ใบระหัดจะยึดคล้องกันดุจลูกโซ่ มีความยาวเป็น 2 เท่า ของรางน้ำเพลา ทำเป็นท่อนไม้วงกลมใช้ไม้หรือเหล็กเป็นแกน เจาะรูหลวม ๆ ให้หมุนได้สะดวก มีเหลาด้านปลายรางน้ำ 2 เพลา ทำเป็นลักษณะคล้ายฟันเฟือง เพื่อให้ใบระหัดกับฟันเฟืองสับกันไปมา สามารถชักดึงให้ใบระหัดเคลื่อนหมุนได้มือหมุน มือหมุน 2 ข้างจะทำเป็นแกนมีที่จับ เจาะรูยึดกับแกนเพลา ใช้หมุนโดยการดึงสลับข้างกัน เวลาใช้จะวางระหัดด้านปลายจุ่มไปในน้ำให้เอียงทอด ดึงมือหมุนทีละข้างสลับกันไปเรื่อย ๆ แกนเพลาเมื่อหมุนแล้วจะทำให้ฟันเฟืองและใบระหัดหมุนตาม ใบระหัดจะพุ้ยน้ำหรือตักน้ำขึ้นมาในรางและไหลออกตรงช่องมือหมุน การวิดระหัดอาจใช้คนเดียวหรือ 2 คน ช่วยกันหมุน ซึ่งทำให้ผ่อนแรงได้มากการใช้ระหัดวิดน้ำนอกจากใช้เพื่อการเพาะปลูกแล้ว ยังใช้วิดน้ำหาปลาได้อีกด้วย ขณะนี้ไม่นิยมใช้ระหัดวิดน้ำแล้ว เพราะเกษตรกรหันมาใช้เครื่องสูบน้ำเข้ามาแทน ระหัดวิดน้ำอาจมีขนาดสั้นและยาวตามความต้องการของผู้ใช้.

ใหม่!!: นาเกลือและระหัด · ดูเพิ่มเติม »

ลำเหมือง

ลำเหมืองในประเทศฮอลแลนด์ ลำเหมือง หรือ ลำประโดง (ditch) เป็นทางน้ำขนาดเล็กถึงกลางใช้ในการกระจายน้ำ ลำเหมืองสามารถใช้ในการระบายน้ำจากถนนหรือทุ่ง หรือใช้ในชลประทานส่งน้ำจากบริเวณหนึ่งไปยังบริเวณที่ต้องการน้ำเพื่อเพาะปลูก ลำเหมืองมักจะพบได้ในบริเวณไร่หรือพื้นที่การเกษตร สำหรับการจราจร ลำเหมืองเป็นอันตรายสำหรับผู้ขับขี่และมักจะมีอุบัติเหตุตกไปในลำเหมืองเนื่องจากลักษณะของลำเหมืองทั่วไป จะอยู่ต่ำกว่าระดับถนนมากและมักจะไม่มีราวกั้น.

ใหม่!!: นาเกลือและลำเหมือง · ดูเพิ่มเติม »

สนิม

ราบสนิม สนิม เกิดจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง ออกซิเจนและธาตุเหล็ก เกิดเป็นรอยของการเกิดการผุกร่อน เป็น Corrosion ประเภทหนึ่งซึ่งมักเกิดกับโลหะจำพวกเหล็ก.

ใหม่!!: นาเกลือและสนิม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรสาคร

ังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: นาเกลือและจังหวัดสมุทรสาคร · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: นาเกลือและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

นา

ทุ่งนา นา หมายถึงพื้นที่สำหรับปลูก หรือนาแบบขั้นบันไดข้าว โดยมีการไถนาให้ดินอ่อน และขุดคันดินสูงโดยรอบเพื่อกั้นน้ำเอาไว้เลี้ยงต้นข้าว ส่วนคำว่า "ทุ่งนา" นั้นเป็นคำเรียกกว้างๆ หมายถึง บริเวณที่นา หรือรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงด้วยก็ได้.

ใหม่!!: นาเกลือและนา · ดูเพิ่มเติม »

ไผ่

ผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า (วงศ์ Poaceae; เดิมคือวงศ์ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro) ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น.

ใหม่!!: นาเกลือและไผ่ · ดูเพิ่มเติม »

เกลือ

กลือ เกลือ เป็นแร่ธาตุส่วนใหญ่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สารประกอบในระดับสูงกว่าเกลือชนิดต่าง ๆ เกลือในธรรมชาติก่อตัวเป็นแร่ผลึกรู้จักกันว่า เกลือหิน หรือแฮไลต์ เกลือพบได้ในปริมาณมหาศาลในทะเลซึ่งเป็นองค์ประกอบของแร่ที่สำคัญ ในมหาสมุทรมีแร่ธาตุ 35 กรัมต่อลิตร ความเค็ม 3.5% เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ ความเค็มเป็นรสชาติพื้นฐานของมนุษย์ เนื้อเยื่อสัตว์บรรจุเกลือปริมาณมากกว่าเนื้อเยื่อพืช ดังนั้นอาหารของชนเผ่าเร่ร่อนที่ดำรงชีวิตในฝูงต้องการเกลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องการเกลือเลย ขณะอาหารประเภทซีเรียลจำเป็นต้องเพิ่มเกลือ เกลือเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่เก่าแก่ที่สุดและหาได้ง่ายที่สุด และการดองเค็มก็เป็นวิธีการถนอมอาหารที่สำคัญวิธีหนึ่ง หลักฐานการทำเกลือยุคแรกที่สุดย้อนไปถึง 6,000 ปีที่แล้ว เมื่อคนที่อาศัยในประเทศโรมาเนียต้มน้ำเพื่อสกัดเกลือ การทำนาเกลือในจีนก็เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน เกลือถูกชาวฮีบรู กรีก โรมัน ไบแซนไทน์ ฮิไทต์ และอียิปต์ ตีราคาสูง เกลือกลายเป็นวัตถุสำคัญและขนส่งทางเรือผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านทางทางเกลือที่สร้างขึ้นเฉพาะ และผ่านทะเลทรายซาฮาราในคาราวานอูฐ ความขาดแคลนและความต้องการเกลือทั่วโลกนำไปสู่สงครามชิงเกลือ และใช้เกลือเพื่อเพิ่มภาษีเงินได้ เกลือยังถูกใช้ในพิธีทางศาสนา และวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วย เกลือผลิตจากเหมืองเกลือ หรือจากการระเหยน้ำทะเล หรือน้ำซับที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุในบ่อตื้น ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลักของเกลือคือโซดาไฟ และคลอรีน และใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมและในการผลิตโพลีไวนิลคลอไรด์ พลาสติก เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากการผลิตเกลือปริมาณสองล้านตันต่อปี มีเพียง 6% ที่ให้มนุษย์บริโภค ส่วนอื่น ๆ ใช้ในการปรับสภาวะของน้ำ กำจัดน้ำแข็งบนถนน และใช้ในการเกษตร เกลือที่กินได้มีขายในหลายรูปแบบ เช่น เกลือสมุทรและเกลือโต๊ะปกติจะบรรจุสารป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน และอาจเสริมไอโอดีนเพื่อป้องกันภาวะพร่องไอโอดีน นอกจากจะใช้ปรุงอาหารและวางบนโต๊ะแล้ว เกลือยังพบได้ในอาหารแปรรูปจำนวนมาก อาหารที่มีโซเดียมมากเกินไปทำให้ความดันโลหิตสูง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าผู้ใหญ่ควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือ 5 กรัมต่อวัน.

ใหม่!!: นาเกลือและเกลือ · ดูเพิ่มเติม »

เจดีย์

ระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม เจดีย์ (ภาษาบาลี: เจติย, ภาษาสันสกฤต: ไจติยะ) หรือ สถูป (ภาษาบาลี: ถูป, ภาษาสันสกฤต: สฺตูป) เป็นสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา พบได้ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชีย เจดีย์ หมายถึงสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง สถูป หมายถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ลูกหลานและผู้เคารพนับถือได้สักการบูชา ถือกันว่ามีบุคคลที่ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อเป็นที่สักการะของมหาชนอยู่เพียง 4 พวก เรียกว่า ถูปารหบุคคล ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์ สำหรับประเทศไทย คำว่า สถูป และ เจดีย์ เรามักรวมเรียกว่า “สถูปเจดีย์” หรือ “เจดีย์” มีความหมายเฉพาะ ถึงสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ หรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ในสมัยหลังลงมาคงมีการสร้างสถานที่เพื่อบรรจุอัฐิธาตุ และเพื่อเคารพบูชาระลึกถึงพร้อมกันไปด้ว.

ใหม่!!: นาเกลือและเจดีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การเก็บเกลือนาตากนาปลงนาเชื้อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »