โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การศึกษานอกระบบ

ดัชนี การศึกษานอกระบบ

ตัวอย่างของการจัดการศึกษานอกระบบ การศึกษานอกระบบ (Non-formal Education) หรือการศึกษานอกระบบโรงเรียนเป็นการศึกษาที่มีการจัดหลักสูตร ระยะเวลาในการเรียนและการวัดและประเมินผลยืดหยุ่นสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียน โดยไม่เป็นการจำกัด อายุ รูปแบบการเรียนการสอนหรือสถานที่ สำหรับประเทศไทยมีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบการศึกษานอกโรงเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก โดยนิยมจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหรือศูนย์การเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ได้ โดยภายในศูนย์จะมีอาจารย์ประจำและอาจารย์อาสาสมัครเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน สำหรับการศึกษารูปแบบนี้เป็นหนึ่งในรูปแบบการศึกษาหนึ่งในสามรูปแบบหลักตามการจัดขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นอกจากนี้ยังมีการเรียนต่อต่างประเทศ เป็นทางเลือกอีกรูปแบบหนึ่งของการศึกษานอกระบบ ในปัจจุบัน ผู้ปกครองหลาย ๆ คน นิยมส่งบุตรหลานออกนอกระบบการศึกษาไทยเพื่อให้ได้รับความรู้จากต่างประเทศมาพัฒนาประเท.

3 ความสัมพันธ์: การศึกษาตามอัธยาศัยการศึกษาในระบบองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

การศึกษาตามอัธยาศัย

ัณฑ์เป็นหนึ่งในสถานที่สำหรับการเรียนรู้ตามแบบการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal education) เป็นการศึกษาที่ไม่มีรูปแบบตายตัว ไม่มีหลักสูตรและระยะเวลาในการเรียนที่แน่นอน โดยการจัดการศึกษาในรูปแบบนี้เป็นการศึกษาองค์ความรู้ต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์ตรงที่ได้ประสบในชีวิตประจำวัน โดยการศึกษาตามอัธยาศัยจะกลายเป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต.

ใหม่!!: การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาในระบบ

การศึกษาในระบบระดับมหาวิทยาลัย การศึกษาในระบบ (Formal Education; Formal Learning) โดยทั่วไปแล้วจัดการเรียนการสอนโดยครูวิชาชีพอย่างเป็นระบบ ซึ่งมักเป็นการจัดการเรียนการสอนในระดับโรงเรียน วิทยาลัย และในระดับมหาวิทยาลัย องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาได้จัดการศึกษาในระบบเป็น 1 ใน 3 รูปแบบทางการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สำหรับการศึกษาในระบบนั้นเป็นการศึกษาที่มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา ระยะเวลาในการศึกษา การวัดประเมินผล หลักสูตรและเงื่อนไขการศึกษาที่แน่นอน โดยในประเทศไทยแบ่งการศึกษาในระบบออกเป็น 2 รูปแบบคือการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: การศึกษานอกระบบและการศึกษาในระบบ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก แต่เดิมองค์กรนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในนามองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรปหรือโออีอีซี (Organization for European Economic Co-operation: OEEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 (พ.ศ. 2491) ในช่วงสมัยสงครามเย็น วัตถุประสงค์คือเพื่อร่วมมือกันฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลับคืนมาและคงไว้อย่างมั่นคงตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมโดยแผนการมาร์แชลล์ สัญญาในการก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 โดยมีสมาชิกประเทศยุโรปตะวันตกจำนวน 19 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, กรีซ, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์,โปรตุเกส, อังกฤษ, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, สหรัฐอเมริกา,เยอรมนีตะวันตกและแคว้นอิสระของตรีเอสเต โปสเตอร์สำหรับแผนมาร์แชลล์แสดงธงชาติของประเทศในยุโรปตะวันตก รวมไปถึงแคว้นอิสระตรีเอสเตที่มีพื้นหลังสีฟ้าอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูยุโรปแล้วยังเป็นการต่อต้านหยุดยั้งไม่ให้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตมาเผยแพร่ที่ยุโรปตะวันตกและยังเป็นการโน้มน้าวให้ยุโรปตะวันออกที่เป็นประเทศบริวารให้เห็นด้วยและเข้าร่วม แต่ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตภายใต้การนำของโจเซฟ สตาลินได้หวาดระแวงแผนการมาร์แชลล์ โดยมองว่า เป็นแผนการร้ายของสหรัฐฯที่จะขยายอิทธิพลและเผยแพร่ลัทธิระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจทุนนิยมเข้าสู่ยุโรปตะวันออกจึงทำการบีบบังคับประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกให้ปฏิเสธแผนการดังกล่าวและได้เสนอแผนการโมโลตอฟ(Molotov Plan)ในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ขึ้นมาแทนเพื่อเป็นการโต้ตอบแผนการมาร์แชล พร้อมก่อตั้งสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือคอมิคอน (Council for Mutual Economic Assistance, Comecon) เพื่อเป็นการคานอำนาจจากองค์กรโออีอีซีเช่นเดียวกับสนธิสัญญาวอร์ซอต่อต้านองค์กรนาโต (แต่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1991 คอมิคอนก็ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต) ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากองค์กรโออีอีซีมาเป็นโออีซีดี และมีการลงนามกันใหม่อีกครั้ง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: การศึกษานอกระบบและองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »