โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การวาร์ป

ดัชนี การวาร์ป

การสร้างภาพของสนามวาร์ป ยานอวกาศจะถูกวางอยู่ในฟองของอวกาศปกติ การวาร์ป (Warp drive) คือสมมติฐานที่เกี่ยวกับระบบการขับเคลื่อนที่เร็วกว่าแสง (FTL) ดังที่มีปรากฏในการดำเนินเรื่องในนิยายวิทยาศาสตร์, ที่โดดเด่นสะดุดตาที่สุดก็คือเรื่องสตาร์เทร็ค (Star Trek) ยานอวกาศที่ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยการวาร์ปอาจเดินทางด้วยอัตราเร็วที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดกว่าอัตราเร็วของแสงหลายเท่าตัว, ในขณะที่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาความสัมพัทธ์ของการยืดออกของเวลาได้ ในทางตรงกันข้ามกับเทคโนโลยีการเคลื่อนที่ที่เร็วกว่าแสง (FTL) อื่น ๆ อีกมากมายที่ปรากฏในนิยายวิทยาศาสตร์ เช่นการขับเคลื่อนแบบ "กระโดดข้าม" (jump drive) หรือการขับเคลื่อนอันเหลือเชื่ออย่างไม่มีที่สิ้นสุด (Infinite Improbability Drive) ในการวาร์ปนั้นจะไม่อนุญาตให้มีการเดินทางที่รวดเร็วในทันทีผ่านไปในระยะทางระหว่างจุดสองจุด; แต่จะใช้เทคโนโลยีที่จะสร้าง "ฟอง" สังเคราะห์ของกาล-อวกาศปกติ ณ บริเวณที่อยู่ล้อมรอบยานอวกาศนั้น (ส่วนที่อยู่ตรงข้ามกับด้านที่จะเดินทางเข้าสู่บริเวณเขตแดนที่แยกออกจากกันหรือต่างมิติกัน เช่น ในอวกาศแบบไฮเปอร์สเปซ, ดังเช่นที่ถูกนำมาใช้ในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส (Star Wars), สตาร์เกทแฟรนไชส์​​ (Stargate franchise), Warhammer 40,000, Babylon 5, Cowboy Bebop and Andromeda universes) วิธีการแก้ปัญหาในเชิงทฤษฎีสำหรับการเดินทางที่เร็วกว่าแสงซึ่งเป็นแบบจำลองของแนวคิดนั้น เรียกว่าการขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์, เป็นสูตรที่คิดค้นโดยนักฟิสิกส์ชื่อ มิเกล อัลคับเบียร์ (Miguel Alcubierre) ในปี..

10 ความสัมพันธ์: บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์การขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์การเปลี่ยนขนาดของเวลาสตาร์ วอร์สสตาร์ เทรคสตีเฟน ฮอว์กิงความสมมูลมวล–พลังงานนาซาแอนดรอมิดาไฮเปอร์สเปซ (บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์)

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์

ันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟเป็นนิยายที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในจินตนาการ.

ใหม่!!: การวาร์ปและบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์

การสร้างภาพสองมิติของการขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์ (Alcubierre drive) แสดงบริเวณที่เป็นปฏิปักษ์กันของการขยายและหดตัวของกาล-อวกาศซึ่งพยายามจะเข้าแทนที่บริเวณตรงส่วนกลาง การขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์ (อังกฤษ: Alcubierre drive) หรือ อัลคับเบียร์เมตริก (Alcubierre metric) (หมายถึง เทนเซอร์เมตริก) เป็นแนวความคิดที่อยู่บนพื้นฐานการพิจารณาการแก้ปัญหาของสมการสนามของไอน์สไตน์ (Einstein's field equations) ในสัมพัทธภาพทั่วไปตามที่เสนอโดยนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเม็กซิกันชื่อ มิเกล อัลคับเบียร์ (Miguel Alcubierre), โดยที่ยานอวกาศสามารถบรรลุการเดินทางที่เร็วกว่าแสงได้ถ้ามวลที่มีค่าเป็นลบมีอยู่จริง แทนที่จะใช้การเคลื่อนที่เกินกว่าความเร็วของแสงภายในตำแหน่งที่ตั้งของกรอบอ้างอิงของมันเอง, ยานอวกาศจะตัดข้ามผ่านระยะทางโดยหดพื้นที่ด้านหน้าของมันและขยายพื้นที่ที่อยู่เบื้องหลังทำให้เกิดการเดินทางที่เร็วกว่าแสงอย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุไม่สามารถเร่งอัตราเร็วได้เท่ากับอัตราเร็วของแสงภายในกาล-อวกาศปกติได้; ดังนั้น การเคลื่อนที่แบบอัลคับเบียร์จึงใช้วิธีการขยับเลื่อนพื้นที่รอบ ๆ วัตถุเพื่อให้วัตถุสามารถเคลื่อนที่มาถึงจุดหมายปลายทางได้ด้วยอัตราการเคลื่อนที่ที่เร็วกว่าแสงเมื่อเทียบกับสภาพพื้นที่ที่ปกติได้แทน แม้ว่าเมตริกที่เสนอโดยอัลคับเบียร์ จะถูกต้องในทางคณิตศาสตร์ในการที่จะมีความสอดคล้องกับสมการสนามของไอน์สไตน์, แต่ก็อาจจะไม่มีความหมายทางกายภาพหรือแสดงให้เห็นได้ว่าการขับเคลื่อนดังกล่าวจะสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ การนำเสนอกลไกของการขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์ หมายถึงความหนาแน่นของพลังงานที่มีค่าเชิงลบและดังนั้นจึงต้องมีการใช้สสารประหลาด (exotic matter), ดังนั้นถ้าสสารประหลาดที่มีคุณสมบัติที่ถูกต้องไม่มีอยู่จริงแล้วก็ไม่สามารถที่จะสร้างการขับเคลื่อนแบบนี้ขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม, จากการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดจากเอกสารงานวิจัยฉบับดั้งเดิมของเขา ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ (จากข้อโต้แย้งที่พัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ที่ได้มีการวิเคราะห์ทฤษฎีเกี่ยวกับรูหนอนทะลุได้) ว่า สูญญากาศแคสสิเมียร์ (Casimir vacuum) ระหว่างแผ่นเพลทคู่ขนานสองแผ่น สามารถตอบสนองต่อความต้องการพลังงานที่มีค่าเป็นลบสำหรับการขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์ได้จริงหรือไม่ อีกเรื่องที่เป็นไปได้คือว่า แม้ว่าอัลคับเบียร์เมตริกจะมีความสอดคล้องกับสัมพัทธภาพทั่วไป, แต่สัมพัทธภาพทั่วไปก็ไม่ได้รวมเอากลศาสตร์ควอนตัมเข้าไว้ด้วย, และนักฟิสิกส์บางคนยังได้นำเสนอข้อโต้แย้งที่จะแสดงให้เห็นว่า ทฤษฎีโน้มถ่วงเชิงควอนตัมซึ่งรวมเอาสองทฤษฎีเข้าไว้ด้วยกันจะกำจัดการแก้ปัญหาที่อยู่ในสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งจะอนุญาตให้มีการเดินทางข้ามเวลาย้อนกลับไปในอดีตได้ (ดู การคาดคะเนการป้องกันของลำดับเหตุการณ์ (chronology protection conjecture)) ซึ่งการขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์ก็เป็นหนึ่งในการแก้ปัญหานั้น.

ใหม่!!: การวาร์ปและการขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์ · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนขนาดของเวลา

doi.

ใหม่!!: การวาร์ปและการเปลี่ยนขนาดของเวลา · ดูเพิ่มเติม »

สตาร์ วอร์ส

ตาร์ วอร์ส (Star Wars) เป็นภาพยนตร์ชุดแนวมหากาพย์ละครอวกาศ สร้างโดย จอร์จ ลูคัส นอกจากนี้ยังมีสื่อต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากภาพยนตร์ เรียกว่า จักรวาลขยาย ได้แก่ หนังสือ ละครโทรทัศน์ วิดีโอเกมและหนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ชุดแรกออกฉายเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม..

ใหม่!!: การวาร์ปและสตาร์ วอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

สตาร์ เทรค

ตาร์ เทรค (Star Trek) เป็นชื่อของแฟรนไชส์สื่อบันเทิง นิยายวิทยาศาสตร์ สัญชาติอเมริกัน สร้างโดยยีน ร็อดเดนเบอร์รี ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ ซีบีเอส เป็นเจ้าของและเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ทั้งหมดFor a more detailed history of the ownership of the franchise, see the corporate ownership section.

ใหม่!!: การวาร์ปและสตาร์ เทรค · ดูเพิ่มเติม »

สตีเฟน ฮอว์กิง

ตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง (Stephen William Hawking; 8 มกราคม ค.ศ. 1942 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2018) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์กิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์กิง) ฮอว์กิงป่วยจากโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ชนิดหายาก ซึ่งเริ่มมีอาการเร็ว แต่ดำเนินโรคช้า ทำให้เขามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ปัจจุบันต้องสื่อสารโดยใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม เขาแต่งงานสองครั้งและมีลูกสามคน ฮอว์กิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science) ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมีประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์ สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตในวันที่ 14 มีนาคม..

ใหม่!!: การวาร์ปและสตีเฟน ฮอว์กิง · ดูเพิ่มเติม »

ความสมมูลมวล–พลังงาน

ประติมากรรมสูง 3 เมตร แสดงสมการ ''E''.

ใหม่!!: การวาร์ปและความสมมูลมวล–พลังงาน · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: การวาร์ปและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

แอนดรอมิดา

ภาพเขียนแสดงเจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้ริมทะเลเพื่อรอเป็นอาหารของซีตัส แอนดรอมิดา (Andromeda) เป็นนางในตำนานเทพปกรณัมกรีกผู้ซึ่งถูกตรึงโซ่ไว้กับหินเพื่อเป็นเครื่องสังเวยแก่สัตว์ประหลาดแห่งท้องทะเลและได้รับการช่วยเหลือโดยวีรบุรุษเพอร์ซิอัส (Perseus) ผู้ซึ่งนางได้สมรสด้วยในภายหลัง ตามตำนานของกรีกนั้นเจ้าหญิงแอนดรอมิดาเป็นธิดาของกษัตริย์ซีฟิอัส (Cepheus) กับราชินีแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) แห่งอาณาจักรเอธิโอเปีย (ในตำนาน) เพราะมีพระราชชนนีเป็นคนคุยโวมาก เทพเจ้าแห่งท้องทะเลจึงส่งสัตว์มหายักษ์ ซีตัส (Sea Monster, Cetus) อสุรกายผู้มีร่างน่าเกลียดมาบันดาลคลื่นลม พายุกระหน่ำน้ำท่วมกรุงเอธิโอเปียอย่างหนักหน่วง วิธีเดียวที่จะแก้วิกฤตการณ์นี้ได้ คือ กษัตริย์ซีฟีอัสต้องเสียดวงใจอันเป็นที่รักยิ่งคือราชธิดา ส่งไปสังเวยสัตว์มหายักษ์ซีตัส เพื่อความผาสุกของประชากร กษัตริย์ซีฟีอัสจึงตัดใจเอาราชธิดาไปผูกติดไว้ที่ก้อนหินชายทะเลให้ซีตัสจัดการตามต้องการ เจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้เพื่อรอเป็นอาหารของปิศาจในทะเล และเธอก็ได้รับความช่วยเหลือจากเพอร์ซิอัส (วีรบุรุษผู้เพิ่งกลับจากการพิชิตกอร์กอน-ปิศาจเมดูซา) ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงแอนดรอมิดาได้แต่งงานกับเพอร์ซิอัส มีลูกด้วยกัน 7 คน (ชาย 6 หญิง 1) บุตรชายคนหนึ่งชื่อเพอร์ซีส (Perses) ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเปอร์เซีย หมวดหมู่:ตำนาน หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: การวาร์ปและแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

ไฮเปอร์สเปซ (บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์)

ไฮเปอร์สเปซ (hyperspace) หรือห้วงอวกาศขั้นสูง เป็นวิธีการเดินทางประเภทหนึ่งที่มักพบในวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่ถูกอธิบายว่าเป็นพื้นที่อวกาศ (space) อีกอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ควบคู่ไปกับอวกาศของเรา สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางสนามพลังงานหรืออุปกรณ์บางอย่าง การเดินทางในไฮเปอร์สเปซมักมีความเร็วมากกว่าการเดินทางในอวกาศปกติอย่างมากถึงระดับความเร็วเหนือแสง หมวดหมู่:บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: การวาร์ปและไฮเปอร์สเปซ (บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »