โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การวางแผนการเคลื่อนที่

ดัชนี การวางแผนการเคลื่อนที่

ตัวอย่างของพื้นที่งาน (workspace) การวางแผนการเคลื่อนที่ (motion planning) เป็นคำที่ใช้ในวิทยาการหุ่นยนต์ โดยมีความสำคัญต่อการพัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติเป็นอย่างมาก ตัวอย่างของการวางแผนการเคลื่อนที่ได้แก่ ในกรณีของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) เมื่อได้รับคำสั่งให้เดินทางจากห้องหนึ่งไปยังห้องถัดไปในอาคารสำนักงาน หุ่นยนต์จะมีวิธีการเดินทางอย่างไรเพื่อไปถึงจุดหมายโดยไม่ชนกับสิ่งกีดขวาง และไม่ตกบันได เป็นต้น ในกรณีของแขนกล (robot arm) ที่ใช้ในอุตสาหกรรม การวางแผนการเคลื่อนที่อาจสนใจว่าแต่ละข้อต่อ (joint) จะเคลื่อนไหวอย่างไรเพื่อไปหยิบจับวัตถุ และในกรณีของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หุ่นยนต์จะทำอย่างไรเพื่อก้มเก็บของที่อยู่ใต้โต๊ะ หรือจะก้าวเดินอย่างไร (footstep planning) โดยไม่ให้เหยียบสิ่งกีดขวางที่พื้น เป็นต้น.

6 ความสัมพันธ์: กรุ๊ปวิทยาการหุ่นยนต์ส่วนเติมเต็มหุ่นยนต์อัตโนมัติหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์Kinodynamic planning

กรุ๊ป

กรุ๊ป หรือ กรุป (group) สามารถหมายถึงได้หลายอย่าง.

ใหม่!!: การวางแผนการเคลื่อนที่และกรุ๊ป · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการหุ่นยนต์

ว์ มือหุ่นยนต์ วิทยาการหุ่นยนต์ เป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต และการประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์ วิทยาการหุ่นยนต์เกี่ยวข้องกับ อิเล็กทรอนิกส์, กลศาสตร์, และ ซอฟต์แวร.

ใหม่!!: การวางแผนการเคลื่อนที่และวิทยาการหุ่นยนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนเติมเต็ม

วนเติมเต็ม หรือ คอมพลีเมนต์ (complement) คือแนวคิดหนึ่งที่ใช้ในการเปรียบเทียบเซต เพื่อที่จะให้ทราบว่า เมื่อเซตหนึ่งสัมพันธ์กับอีกเซตหนึ่ง มีสมาชิกใดบ้างที่อยู่ภายใต้เซตเพียงเซตเดียว แบ่งออกตามการใช้งานเป็น ส่วนเติมเต็มสัมบูรณ์ (absolute complement) กับ ส่วนเติมเต็มสัมพัทธ์ (relative complement) ซึ่งแนวคิดแรกหมายถึงส่วนเติมเต็มที่เกี่ยวข้องกับเอกภพสัมพัทธ์ (universal set) ส่วนแนวคิดหลังเกี่ยวข้องกับเซตตัวอื่น.

ใหม่!!: การวางแผนการเคลื่อนที่และส่วนเติมเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

หุ่นยนต์อัตโนมัติ

หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomous robots) เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนโดยปราศจากการควบคุมจากมนุษย์ ในปัจจุบันหุ่นยนต์หลายชนิดมีคุณสมบัติของความอัตโนมัติ (autonomy)ในระดับหนึ่ง หุ่นยนต์ต่างชนิดถูกสร้างต่างวัตถุประสงค์ ความอัตโนมัติก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดของงาน งานบางอย่างต้องการหุ่นยนต์ที่มีความอัตโนมัติสูง เช่นงานสำรวจอวกาศ, งานตัดหญ้า, งานดูดฝุ่น และงานบำบัดน้ำเสียเป็นต้น สำหรับหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมยุคใหม่ แม้ว่าตัวหุ่นยนต์ประเภทแขนกล (Robot arm) จะถูกยึดอยู่กับที่ เราก็สามารถพิจารณาได้ว่ามันมีความอัตโนมัติภายใต้สภาวะแวดล้อมของมัน ซึ่งเป้าหมายในการทำงานของมันคือหยิบจับวัตถุที่ไหลมาตามสายพานให้ถูกต้อง โดยจะไม่ทราบได้เลยว่าวัตถุชิ้นต่อไปจะผ่านมาเมื่อไร จึงกล่าวได้ว่า ความอัตโนมัติเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการหุ่นยนต์อันจะช่วยให้หุ่นยนต์สามารถอยู่รอดในสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นพื้นดิน ใต้น้ำ ในอากาศ ใต้ดิน หรือในอวกาศ หุ่นยนต์อัตโนมัติแบบสมบูรณ์ (fully autonomous robot) เรียกได้ว่าเป็นหุ่นยนต์ที่มีความสามารถดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: การวางแผนการเคลื่อนที่และหุ่นยนต์อัตโนมัติ · ดูเพิ่มเติม »

หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์

อาซิโม ของฮอนด้า ตัวอย่างหนึ่งของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (อังกฤษ: humanoid robot) คือหุ่นยนต์ที่ออกแบบขึ้นมาโดยมีพื้นฐานมาจากร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์มีลำตัวพร้อมหัว สองแขน และสองขา แม้หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์บางรูปแบบจะจำลองเฉพาะบางส่วนของร่างกายเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ตัวแต่เอวขึ้นไป หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์บางตัวยังอาจมี 'ใบหน้า' พร้อม 'ตา' และ 'ปาก' อีกด้วย แอนดรอยด์ (android) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่สร้างเลียนแบบมนุษย์เพศชาย และ gynoid คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่สร้างเลียนแบบมนุษย์เพศหญิง หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์เป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติ เนื่องจากมันสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือตัวมันเอง และยังคงทำงานต่อเพื่อบรรลุเป้าหมาย สิ่งนี้เป็นข้อแตกต่างหลักระหว่างฮิวแมนนอยด์และหุ่นยนต์ชนิดอื่น เช่นหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ที่ใช้ปฏิบัติภารกิจในสภาพแวดล้อมที่มีโครงสร้างชัดเจนมาก ในบริบทนี้ ความสามารถของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์อาจรวมถึง แต่ไม่จำกัดแค่สิ่งเหล่านี้.

ใหม่!!: การวางแผนการเคลื่อนที่และหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

Kinodynamic planning

ในแขนงวิชาการวางแผนการเคลื่อนที่ ของหุ่นยนต์ คำว่า การวางแผนแบบคิโนไดนามิกส์ (kinodynamic planning) เป็นรูปแบบของการวางแผนที่ค่าขอบ (bound) ของความเร็ว และความเร่ง จะต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดด้วย คำนี้ถูกใช้ครั้งแรกโดย B. R. Donald, P. G. Xavier, J. Canny, และ J. Reif.

ใหม่!!: การวางแผนการเคลื่อนที่และKinodynamic planning · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »