เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การวางนัยทั่วไปเร็วเกินไป

ดัชนี การวางนัยทั่วไปเร็วเกินไป

การวางนัยทั่วไปเร็วเกินไป"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ generalization ว่า "การวางนัยทั่วไป" (Hasty generalization) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย (informal fallacy) ที่มีการวางนัยทั่วไปอย่างผิดพลาด คือมีการวางนัยทั่วไปโดยอุปนัยอาศัยหลักฐานที่ไม่เพียงพอ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นการสรุปประเด็นเร็วเกินไปโดยที่ไม่ได้พิจารณาองค์ประกอบทั้งหมด ในสถิติศาสตร์ นี้อาจหมายถึงการทำการสรุปโดยทั่วไปโดยใช้สถิติที่มาจากการสำรวจด้วยตัวอย่างที่ไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรทั้งสิ้น เหตุผลวิบัติชนิดนี้เป็นประเภทตรงกันข้ามกับเหตุผลวิบัติที่มีชื่อว่า slothful induction ซึ่งเป็นการปฏิเสธผลสรุปที่สมควรตามเหตุผลโดยอุปนัย เช่นโดยอ้างว่า "เป็นเพียงเรื่องบังเอิญ".

สารบัญ

  1. 3 ความสัมพันธ์: สถิติศาสตร์จำนวนเฉพาะเหตุผลวิบัติอรูปนัย

สถิติศาสตร์

ติศาสตร์ (Statistic Science) เป็นการศึกษาการเก็บ การวิเคราะห์ การตีความ การนำเสนอและการจัดระเบียบข้อมูล ในการประยุกต์สถิติศาสตร์กับปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมหรือสังคม ฯลฯ จำเป็นต้องเริ่มด้วยประชากรหรือกระบวนการที่จะศึกษา ประชากรเป็นได้หลากหลาย เช่น "ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่ง" หรือ "ทุกอะตอมซึ่งประกอบเป็นผลึก" สถิติศาสตร์ว่าด้วยทุกแง่มุมของข้อมูลซึ่งรวมการวางแผนการเก็บข้อมูลในแง่การออกแบบการสำรวจและการทดลอง ในกรณีไม่สามารถเก็บข้อมูลสำมะโนได้ นักสถิติศาสตร์เก็บข้อมูลโดยการพัฒนาการออกแบบการทดลองจำเพาะและตัวอย่างสำรวจ การชักตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนประกันว่าการอนุมานและการสรุปสามารถขยายจากตัวอย่างไปยังประชากรโดยรวมได้โดยปลอดภัย การศึกษาทดลองเกี่ยวข้องกับการวัดระบบที่กำลังศึกษา จัดดำเนินการระบบ แล้ววัดเพิ่มโดยใช้วิธีดำเนินการเดียวกันเพื่อตัดสินว่าการจัดดำเนินการดัดแปรค่าของการวัดหรือไม่ ในทางกลับกัน การศึกษาสังเกตไม่เกี่ยวข้องกับการจัดดำเนินการทดลอง มีการใช้ระเบียบวิธีสถิติศาสตร์สองอย่างหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติศาสตร์พรรณนา ซึ่งสรุปข้อมูลจากตัวอย่างโดยใช้ดัชนีอย่างค่าเฉลี่ยหรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติศาสตร์อนุมาน ซึ่งดึงข้อสรุปจากข้อมูลซึ่งมีการกระจายสุ่ม (เช่น ข้อผิดพลาดสังเกต การกระจายการชักตัวอย่าง) สถิติศาสตร์พรรณนาส่วนใหญ่ว่าด้วยชุดคุณสมบัติของการกระจายสองชุด ได้แก่ แนวโน้มสู่ส่วนกลางซึ่งมุ่งให้ลักษระค่ากลางหรือตรงแบบของการกระจาย ขณะที่การกระจายให้ลักษณะขอบเขตซึ่งสมาชิกของการกระจายอยู่ห่างจากส่วนกลางและสมาชิกอื่น การอนุมานสถิติศาสตร์คณิตศาสตร์กระทำภายใต้กรอบทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งว่าด้วยการวิเคราะห์ปรากฏการณ์สุ่ม ในการอนุมานปริมาณไม่ทราบค่า มีการประเมินค่าตัวประมาณค่าตั้งแต่หนึ่งตัวโดยใช้ตัวอย่าง 1.สถิติ (Statistics) 2.เซตและการให้เหตุผล (Set and reasoning) 3.

ดู การวางนัยทั่วไปเร็วเกินไปและสถิติศาสตร์

จำนวนเฉพาะ

ในคณิตศาสตร์ จำนวนเฉพาะ (อังกฤษ: prime number) คือ จำนวนเต็มบวกที่มีตัวหารที่เป็นบวกอยู่ 2 ตัว คือ 1 กับตัวมันเอง ตรงข้ามกับจำนวนประกอบ ลำดับของจำนวนเฉพาะเริ่มต้นด้วย ดูบทความ รายชื่อจำนวนเฉพาะ สำหรับจำนวนเฉพาะ 500 จำนวนแรก สำหรับเลข 1 ไม่ถือว่าเป็นจำนวนเฉพาะตามนิยาม เซตของจำนวนเฉพาะทั้งหมดมักเขียนแทนด้วย \mathbb P เนื่องจาก 2 เป็นจำนวนเฉพาะตัวเดียวที่เป็นเลขคู่ ดังนั้นคำว่า จำนวนเฉพาะคี่ จะถูกใช้เพื่อหมายถึงจำนวนเฉพาะทั้งหมดที่ไม่ใช่ 2.

ดู การวางนัยทั่วไปเร็วเกินไปและจำนวนเฉพาะ

เหตุผลวิบัติอรูปนัย

หตุผลวิบัติอรูปนัย (informal fallacy) เป็นการให้เหตุผล โดยที่เหตุที่ให้ไม่สนับสนุนผลที่แสดง เหตุผลวิบัติอรูปนัยมักเป็นผลจากความผิดพลาดด้านความคิดที่ทำให้ผลที่กล่าวถึงไม่น่าเชื่อถือ เปรียบเทียบกับ "เหตุผลวิบัติรูปนัย" (formal fallacy) ซึ่งเป็นความผิดพลาดทางตรรก.

ดู การวางนัยทั่วไปเร็วเกินไปและเหตุผลวิบัติอรูปนัย

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Fallacy of exclusionFallacy of insufficient sampleFallacy of insufficient statisticsFallacy of the lonely factGeneralization from the particularHasty generalization'Hasty inductionLaw of small numbersLeaping to a conclusionOver-extensionProof by example fallacySecundum quidUnrepresentative sampleการกระโดดสรุปการวางนัยทั่วไปจากข้อมูลเฉพาะการวางนัยทั่วไปเร็วรีบเร่งเกินไปการสรุปเชิงอุปนัยเร็วเกินไปกฎการมีตัวอย่างน้อยตัวอย่างที่ไม่เป็นตัวแทนเหตุผลวิบัติโดยมีตัวอย่างไม่พอ