สารบัญ
3 ความสัมพันธ์: การกบฏสงครามแบ่งแยกแล้วปกครอง
การกบฏ
การกบฏ หรือการขบถ (rebellion) หมายถึง การปฏิเสธการเชื่อฟังหรือคำสั่ง ฉะนั้น จึงอาจมองว่ารวมพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งมุ่งทำลายหรือเข้าควบคุมตำแหน่งผู้มีอำนาจอันเป็นที่ยอมรับ เช่น รัฐบาล ผู้ว่าราชการ ประธาน ผู้นำทางการเมือง สถาบันการเงิน หรือบุคคลผู้รับผิดชอบ ด้านหนึ่ง รูปแบบพฤติกรรมอาจรวมวิธีปราศจากความรุนแรง เช่น ปรากฏการณ์การดื้อแพ่ง การขัดขืนของพลเรือนและการขัดขืนโดยปราศจากความรุนแรง อีกด้านหนึ่ง อาจรวมการรณรงค์ด้วยความรุนแรง ผู้เข้าร่วมการกบฏ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกบฏด้วยอาวุธ เรียก "กบฏ" หรือ "ขบถ" การกบฏที่มีอาวุธแต่ขอบเขตจำกัด เรียก การก่อการกบฏ (insurrection) และหากรัฐบาลอันเป็นที่ยอมรับไม่รับรองกบฏเป็นคู่สงคราม การกบฏนั้นจะเป็นการก่อการกำเริบ (insurgency) และกบฏจะเป็นผู้ก่อการกำเริบ (insurgent) ในความขัดแย้งที่ใหญ่กว่า อาจมีการรับรองกบฏเป็นคู่สงครามโดยไม่รับรองรัฐบาลของกบฏ ในกรณีนี้ ความขัดแย้งดังกล่าวกลายเป็นสงครามกลางเมือง.
ดู การปราบปรามการก่อกบฏและการกบฏ
สงคราม
ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สงคราม (war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ ใน..
ดู การปราบปรามการก่อกบฏและสงคราม
แบ่งแยกแล้วปกครอง
ในทางการเมืองและสังคมวิทยา แบ่งแยกแล้วปกครอง (divide and rule มาจากภาษาละติน divide et impera) เป็นการรวมยุทธศาสตร์การเมือง การทหารและเศรษฐกิจในการได้มาซึ่งและรักษาอำนาจโดยการแยกอำนาจรวมศูนย์ที่ใหญ่กว่าออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่แต่ละส่วนมีอำนาจน้อยกว่าผู้ที่กำลังใช้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว มโนทัศน์นี้หมายถึง ยุทธศาสตร์ที่แยกโครงสร้างอำนาจที่มีอยู่และป้องกันกลุ่มอำนาจที่เล็กกว่ามิให้รวมกันขึ้น องค์ประกอบของเทคนิคนี้ มี.
ดู การปราบปรามการก่อกบฏและแบ่งแยกแล้วปกครอง
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Counter-insurgency