โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การปรับตัว (จิตวิทยา)

ดัชนี การปรับตัว (จิตวิทยา)

ติกรรมปรับตัว (Adaptive behavior) หรือ การปรับตัว เป็นพฤติกรรมประเภทหนึ่งที่ใช้เปลี่ยนพฤติกรรม หรือใช้ปรับพฤติกรรมให้เข้ากับสถานการณ์ บ่อยครั้งมักจะกำหนดว่า เป็นพฤติกรรมประเภทที่ช่วยให้บุคคลเปลี่ยนพฤติกรรมก่อกวนหรือที่ไม่สร้างสรรค์ให้ดีขึ้น พฤติกรรมเชิงลบอาจจะเป็นเรื่องทางสังคมหรืออาจจะเป็นเรื่องส่วนตัว ยกตัวอย่างเช่น การกระทำที่ทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ อาจจะปรับให้ไปเป็นการประดิษฐ์หรือสร้างอะไรอย่างอื่น โดยเปรียบเทียบกัน พฤติกรรมปรับตัวผิด (maladaptive behavior) เป็นพฤติกรรมอีกประเภทหนึ่งที่ใช้ในการลดความวิตกกังวลของตนเอง แต่เป็นพฤติกรรมที่ทำงานได้ไม่ดีและไม่ให้ผลดี ยกตัวอย่างเช่น การหลีกเลี่ยงสถานการณ์บางอย่างเพราะว่ามีความหวาดกลัวที่ไม่สมเหตุผล อาจจะช่วยลดความวิตกกังวลในส่วนเบื้องต้น แต่ว่าไม่ได้ให้ผลดีจริง ๆ ในการแก้ปัญหาในระยะยาว พฤติกรรมปรับตัวผิดมักใช้เป็นตัวชี้ความผิดปรกติทางพฤติกรรมหรือทางการทำงานของจิตใจ เพราะเป็นเรื่องที่ประเมินได้โดยปรวิสัย คือไม่ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นอัตวิสัย แต่ให้สังเกตด้วยว่า พฤติกรรมที่สมมติว่ามีศีลธรรมอาจจะพิจารณาได้ว่าเป็นการปรับตัวผิด เช่นความไม่เห็นด้วยหรือความต่อต้านความคิดทางสังคม (dissent) หรือว่า การเว้นจากการบำเรอตน (abstinence) พฤติกรรมปรับตัวเป็นตัวสะท้อนถึงทักษะทางสังคมและทักษะการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน เราจะมีรูปแบบพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามพัฒนาการ ตามสถานการณ์ในชีวิตและสถานการณ์ในสังคม ตามค่านิยมในชีวิต และตามความคิดความต้องการของผู้อื่น การประเมินพฤติกรรมปรับตัว เป็นส่วนสำคัญในการประเมินสมรรถภาพของบุคคลในการดำเนินชีวิต จะเป็นการทำอาชีพก็ดี ปฏิสัมพันธ์ในสังคมก็ดี หรือว่าในเรื่องของการศึกษาก็ดี.

4 ความสัมพันธ์: พฤติกรรมศีลธรรมอัตวิสัยปรวิสัย

พฤติกรรม

ติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใ.

ใหม่!!: การปรับตัว (จิตวิทยา)และพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ศีลธรรม

ีลธรรม (Morality) หมายถึงความประพฤติที่ดีที่ชอบทั้งศีลและธรรม ศีลธรรม ในคำวัดหมายถึง เบญจศีล และ เบญจธรรม คือศีล 5 และธรรม 5 ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมระดับต้นสำหรับให้สมาชิกสังคมประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข ไม่สดุ้งกลัว ไม่หวาดระแวงภัย เป็นหลักประกันสังคมที่สำคัญ สังคมที่สงบสุข ไว้วางใจกันได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทะเลาะ ไม่กดขี่ข่มเหง ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น ก็เพราะสมาชิกของสังคมยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมนี้ ศีลธรรม เป็นชื่อวิชาหนึ่งในโรงเรียนที่กำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเรียนมาตั้งแต่สมัยโบราณเรียกว่า วิชาศีลธรรม ปัจจุบันเรียกว่า วิชาพุทธศาสน.

ใหม่!!: การปรับตัว (จิตวิทยา)และศีลธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อัตวิสัย

อัตวิสัย หรือ จิตวิสัย (subjectivity) หมายถึงมุมมองหรือความคิดเห็นของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเชื่อ หรือความต้องการ อาจหมายถึงแนวความคิดส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งตรงข้ามกับความรู้และความเชื่อที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง ในทางปรัชญา คำนี้มักมีความหมายตรงข้ามกับ ปรวิสัย อัตวิสัยเป็นทัศนะที่มีความเชื่อว่า การมีอยู่ หรือ ความจริงของสิ่งสิ่งหนึ่งอยู่กับตัวเราเองเป็นคนตัดสิน เช่น คุณได้กลิ่นน้ำหอมยี่ห้อนี้แล้วหอม แต่ในคนอื่นเมื่อได้กลิ่นแล้วเหม็นก็ได้.

ใหม่!!: การปรับตัว (จิตวิทยา)และอัตวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

ปรวิสัย

ปรวิสัย, ปรนัย, วัตถุวิสัย หรือ ภววิสัย (objectivity) คือสิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง เงื่อนไขที่เป็นความจริง โดยไม่ขึ้นอยู่กับจิตใจ นั่นคือผลของการตัดสินใด ๆ จะไม่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นและความรู้สึก ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามปรวิสัยมักจะถูกค้นพบมากกว่าที่จะถูกสร้างขึ้นมา ในทางปรัชญา สิ่งที่เป็นปรวิสัยจะเป็นจริงเสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในเวลาใด หรือกับบุคคลใด มีความหมายตรงข้ามกับอัตวิสัย ข้อเท็จจริงที่เป็นอัตวิสัยจะเป็นปรวิสัยก็ต่อเมื่อ สิ่งนั้นเป็นข้อเท็จจริงบนเงื่อนไขเฉพาะอย่าง ในเวลาเฉพาะ ในสถานที่เฉพาะ หรือกับบุคคลเฉ.

ใหม่!!: การปรับตัว (จิตวิทยา)และปรวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Adaptive behavior (Developmental psychology)พฤติกรรมปรับตัว (จิตวิทยา)พฤติกรรมปรับตัว (จิตวิทยาพัฒนาการ)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »