โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการ

ดัชนี การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการ

การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการ (academic journal publishing reform) หมายถึง การสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงของการสร้างและการแจกจ่ายวารสารวิชาการ ในยุคอินเทอร์เน็ตและการกำเนิดของสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่เริ่มใช้อินเทอร์เน็ต คนได้รณรงค์เพื่อเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างผู้เขียน ผู้แจกจ่ายแบบดั้งเดิม และผู้อ่าน โดยการอภิปรายส่วนใหญ่ได้มุ้งเน้นทางด้านการใช้ประโยชน์จากความสามารถของอินเทอร์เน็ตในการแจกจ่ายเอกสารและสิ่งตีพิมพ์อย่างทั่วถึง .

14 ความสัมพันธ์: การพิมพ์การผูกขาดการเข้าถึงแบบเปิดลิขสิทธิ์วารสารวิชาการอินเทอร์เน็ตทวิตเตอร์ข้อมูลแบบเปิดปัจจัยกระทบแอ็ลเซอเฟียร์ไลบรารี เจเนซิสไอแคนแฮซพีดีเอฟไซ-ฮับเจฟฟรี่ บีลล์

การพิมพ์

การพิมพ์หนังสือในศตวรรษที่ 15 การพิมพ์ (Printing; Imprimerie) คือการผลิตสำเนาข้อความและภาพลงบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่น กระดาษ ผ้า ตามความหมายในพระราชบัญญัติการพิม..

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและการพิมพ์ · ดูเพิ่มเติม »

การผูกขาด

การผูกขาด (monopoly) เกิดเมื่อบุคคลหรือวิสาหกิจหนึ่งเป็นผู้ผลิตรายเดียวของโภคภัณฑ์อย่างหนึ่ง (ต่างจากการผูกขาดการซื้อ (monopsony) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมตลาดเพื่อซื้อสินค้าและบริการของบุคคลหรือวิสาหกิจหนึ่ง และการผูกขาดโดยผู้ขายเพียงน้อยราย (oligopoly) ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหรือวิสาหกิจไม่กี่รายครอบงำอุตสาหกรรมหนึ่ง) ฉะนั้น การผูกขาดจึงมีลักษณะขาดการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการ ขาดสินค้าทดแทนที่อยู่รอดได้ และการมีราคาผูกขาดสูงเกินต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย (marginal cost) ของสถานธุรกิจมาก ซึ่งนำสู่กำไรผูกขาดสูง กริยา "ผูกขาด" หมายถึง กระบวนการซึ่งบริษัทได้มาซึ่งความสามารถเพิ่มราคาหรือตัดคู่แข่ง ในทางเศรษฐศาสตร์ การผูกขาดเป็นผู้ขายรายเดียว ในวิชากฎหมาย การผูกขาด คือ สถานธุรกิจซึ่งมีอำนาจทางตลาดอย่างสำคัญ นั่นคือ อำนาจตั้งราคาสูงเกิน แม้การผูกขาดอาจเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ขนาดมิใช่ลักษณะของการผูกขาด ธุรกิจขนาดเล็กยังอาจมีอำนาจเพิ่มราคาในอุตสาหกรรม (หรือตลาด) ขนาดเล็กได้ หมวดหมู่:โครงสร้างตลาดและการกำหนดราคา หมวดหมู่:ปัญหาเศรษฐกิจ.

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและการผูกขาด · ดูเพิ่มเติม »

การเข้าถึงแบบเปิด

การเข้าถึงแบบเปิดหรือการเข้าถึงแบบเสรี (open access, ย่อ: OA) หมายถึง การเข้าถึงออนไลน์ซึ่งงานวิจัยวิชาการที่ได้รับการทบทวนจากผู้เชี่ยวชาญ (peer-review) โดยไม่จำกัด โดยหลักการเข้าถึงแบบเปิดตั้งใจสำหรับบทความวารสารวิชาการ ทว่ายังจัดหาสำหรับวิทยานิพนธ์ บทหนังสือและเอกสารวิชาการเฉพาะเรื่องเพิ่มมากขึ้นด้วย หมวดหมู่:การจัดพิมพ์วิชาการ หมวดหมู่:ขบวนการทางสังคม หมวดหมู่:การจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ หมวดหมู่:การสื่อสารวิชาการ หมวดหมู่:วัฒนธรรมเสรี.

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและการเข้าถึงแบบเปิด · ดูเพิ่มเติม »

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิทางกฎหมายที่กฎหมายของประเทศหนึ่ง ๆ สร้างขึ้นซึ่งให้สิทธิแต่ผู้เดียว (exclusive right) แก่ผู้สร้างสรรค์งานต้นฉบับในการใช้และการขบ บ ซึ่งปกติมีเวลาจำกัด สิทธิแต่ผู้เดียวนี้มิได้เด็ดขาด แต่ถูกจำกัดโดยข้อจำกัดและข้อยกเว้นของกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งรวมถึงการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ได้กับการนำเสนองานสร้างสรรค์ใด ๆ ลิขสิทธิ์มักแบ่งกันในหมู่ผู้ประพันธ์หลายคน ซึ่งแต่ละคนถือชุดสิทธิในการใช้หรืออนุญาตให้ใช้ (license) งานนั้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้ทรงสิทธิ (rightsholder) สิทธิเหล่านี้มักรวมการทำซ้ำ การควบคุมเนืองานดัดแปลง การจำหน่าย การแสดงสาธารณะ และ "สิทธิทางศีลธรรม" เช่น การแสดงที่มา (attribution) ลิขสิทธิ์ถือเป็นสิทธิอาณาเขต หมายความว่า สิทธินี้ไม่ขยายเกินอาณาเขตของเขตอำนาจหนึ่ง ๆ แม้ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศต่าง ๆ มีการปรับให้เป็นมาตรฐานผ่านความตกลงลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศก็ตาม แต่กฎหมายลิขสิทธิ์ก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ตรงแบบ ระยะเวลาของลิขสิทธิ์ คือ ชีวิตของผู้ประพันธ์บวก 50 ถึง 100 ปี (คือ ลิขสิทธิ์จะหมดอายุ 50 ถึง 100 ปีหลังผู้ประพันธ์เสียชีวิต ขึ้นอยู่กับเขตอำนาจ) บางประเทศต้องมีข้อกำหนดลิขสิทธิ์ (copyright formality) เพื่อสถาปนาลิขสิทธิ์ แต่ประเทศส่วนใหญ่ยอมรับลิขสิทธิ์ในงานเสร็จสมบูรณ์ทุกงานโดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ โดยทั่วไป ลิขสิทธิ์บังคับแบบกฎหมายแพ่ง แต่บางเขตอำนาจมีการใช้โทษทางอาญาด้ว.

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและลิขสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

วารสารวิชาการ

วารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์นับเป็นวาสารวิชาการสาขาหนึ่ง วารสารวิชาการ (academic / scientific / scholarly journal) หมายถึงวารสารที่ตีพิมพ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอและจะต้องผ่านการตรวจคุณภาพบทความโดยผู้รู้ในสาขาวิชานั้นๆ หรือที่เรียกวารสารประเภทนี้เป็นการเฉพาะว่าวารสารผ่านการทบทวน (peer-reviewed periodical) วารสารวิชาการเป็นเวทีสำหรับการแนะนำและนำเสนอผลงานค้นคว้าวิจัยใหม่หรือความเห็นทางวิชาการใหม่ๆ เพื่อรับการตรวจสอบและการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ผู้รู้ด้วยกัน ปกติเนื้อหาสาระในวารสารจะอยู่ในรูปของบทความเสนอ งานวิจัยที่มีความเริ่มแรก บทปริทัศน์ และการวิจารณ์หนังสือ งานตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพที่ไม่มีการตรวจรับคุณภาพเรียกโดยทั่วไปว่า นิตยสารวิชาชีพ (professional magazine) คำ วารสารวิชาการ ใช้กับสิ่งตีพิมพ์วิชาการทุกสาขา วารสารเหล่านี้อภิปรายถึงแง่มุมต่างๆ ในเชิงวิชาการของสาขานั้น.

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและวารสารวิชาการ · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

ทวิตเตอร์

ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 280 ตัวอักษร ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ โดยเรียกการส่งข้อความนี้ว่า ทวีต (Tweet) ซึ่งแปลว่า เสียงนกร้อง ทวิตเตอร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและทวิตเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อมูลแบบเปิด

้อมูลแบบเปิด คือแนวความคิดที่ว่าข้อมูลบางอย่างควรจะใช้ประโยชน์ได้โดยเสรีสำหรับทุกคน เพื่อใช้และเผยแพร่ตามที่พวกเขาต้องการ โดยไม่มีข้อจำกัดจากลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือกลไกการควบคุมอื่น ๆ เป้าหมายของขบวนการข้อมูลแบบเปิดคล้ายคลึงกับขบวนการ "เปิด" อื่น ๆ นั้น เช่น โอเพนซอร์ซ ฮาร์ดแวร์แบบเปิด เนื้อหาแบบเปิด และ การเข้าถึงแบบเปิด ปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังข้อมูลแบบเปิดได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว (เช่น ในประเพณีของเมอร์ตันในวงการวิทยาศาสตร์) ปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังข้อมูลแบบเปิดได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว (เช่น ในประเพณีของเมอร์ตันในวงการวิทยาศาสตร์) แต่คำว่า "ข้อมูลแบบเปิด" นั้นได้รับความนิยมเมื่อเร็ว ๆ นี้ด้วยการกำเนิดของของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการเปิดตัวการริเริ่มของรัฐบาลเกี่ยวกับข้อมูลแบบเปิด เช่น ข้อมูลเปิดโครงการของรัฐบาลเช่น Data.gov และ Data.gov.uk.

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและข้อมูลแบบเปิด · ดูเพิ่มเติม »

ปัจจัยกระทบ

ปัจจัยกระทบ (impact factor) ปกติใช้คำย่อว่า IF หมายถึงการวัดการได้รับการอ้างอิงของวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อใช้เป็นตัวแทนที่บ่งชี้ความสำคัญและความน่าเชื่อถือของวารสารในสาขาวิชาการนั้น.

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและปัจจัยกระทบ · ดูเพิ่มเติม »

แอ็ลเซอเฟียร์

แอ็ลเซอเฟียร์ (Elsevier) เป็นสำนักพิมพ์ที่มีการตีพิมพ์วารสารวิชาการ ที่เน้นผลงานในด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ โดยมีวารสารที่เป็นที่นิยมได้แก่ The Lancet, Cell, หนังสือ Gray's Anatomy, รายการรวบรวมวารสาร ScienceDirect, Trends, Current Opinion และฐานข้อมูลสโกปัส บริษัทนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท RELX Group มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่อัมสเตอร์ดัม และมีสาขาอยู่ที่สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก บราซิล สเปน แอ็ลเซอเฟียร์มีการตีพิมพ์กว่า 350,000 บทความต่อปี ในวารสาร 2,000 เล่ม โดยมีเอกสารรวบรวมกว่า 13 ล้านเรื่อง และมีการดาวน์โหลดกว่า 750 ล้านครั้งต่อปี.

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและแอ็ลเซอเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไลบรารี เจเนซิส

ลบรารี เจเนซิส (Library Genesis) หรือ ลิบเจน (LibGen) คือโปรแกรมค้นหาสำหรับบทความทางวิทยาศาสตร์ และหนังสือ ซึ่งให้การเข้าถึงข้อมูลที่ปกติแล้วมีค่าใช้จ่าย โดยเว็ปไซต์ได้อัปโหลดข้อมูลจาก เว็บไซต์พอร์ทัล ไซแอนซ์ ไดเร็ค ของแอ็ลเซอเฟียร์ ในรูปแบบของ PDF ในปี 2558 เว็ปไซต์ได้เกี่ยวพันทางคดีความกับแอ็ลเซอเฟียร์ และถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์การเข้าถึงบทความและหนังสือ ลิบเจนถูกรายงานว่าได้จดทะเบียนทั้งในประเทศรัซเซียและอัมสเตอร์ดัม สร้างความไม่ชัดเจนให้กับกฎหมายที่ควรถูกดำเนินการ และประเด็นที่จำเลยต้องปรากฏตัวในการฟังคำสั่งสารในสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ลิบเจนนั้นถูกบล็อกโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบางกลุ่มในสหราชอาณาจักร แต่ทว่ามีการอ้างว่าการบล็อกผ่านดีเอ็นเอสนั้นส่งผลกระทบน้อยมากต่อการเข้าถึงเว็ปไซต์ ในปลายเดือนตุลาคม ปี 2558 ศาลประจำรัฐนิวยอร์กได้สั่งปิดเว็ปไซต์ลิบเจนและระงับโดเมนชื่อ libgen.org เป็นการชั่วคราว ทว่าเว็บไซต์ยังเข้าถึงได้ผ่านโดเมนสำรอง.

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและไลบรารี เจเนซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไอแคนแฮซพีดีเอฟ

อแคนแฮซพีดีเอฟ (ICanHazPDF) เป็นแฮชแท็กที่ถูกใช้ในทวิตเตอร์เพื่อขออนุญาตเข้าถึงวารสารวิชาการที่ต้องเข้าผ่านเพย์วอลล์ โดยเริ่มใช้ในปี 2554 โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า Andrea Kuszewski ชื่อนั้นดัดแปลงมาจากอินเทอร์เน็ตมีม I Can Has Cheezburger?.

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและไอแคนแฮซพีดีเอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ไซ-ฮับ

ซ-ฮับ (Sci-hub) คือ ที่เก็บบทความทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 64.5 ล้าน บทความ บนเว็บไซต์ซึ่งช่วยในการเลี่ยงการชำระเงินปกติ บทความใหม่ ๆ ได้รับการอัปโหลดขึ้นเว็บไซต์ทุกวันผ่านพร็อกซี.edu ก่อตั้งโดยอเล็กซานดรา เอลบัคยาน (Alexandra Elbakyan) ใน..

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและไซ-ฮับ · ดูเพิ่มเติม »

เจฟฟรี่ บีลล์

ฟฟรี่ บีลล์ (Jeffrey Beall) เป็นบรรณารักษ์และรองศาสตราจารย์ ที่หอสมุดออราเรีย ณ มหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ เขาเป็นผู้วิจารณ์ขบวนการของสำนักพิมพ์แบบเปิด และเป็นที่รู้จักจากบล็อก ของเขาที่ชื่อว่า  การเข้าถึงวิชาการแบบเสรี (Scholarly Open Access) ซึ่งเฝ้าดู  "สำนักพิมพ์แบบเปิดที่ล่าเหยื่อ" ตามชื่อที่เขาตั้งขึ้นมาเอง.

ใหม่!!: การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการและเจฟฟรี่ บีลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Academic journal publishing reformการปฏิรูปสำนักพิมพ์วารสารทางวิชาการ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »