โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฝรั่งเศสเขตวีชี

ดัชนี ฝรั่งเศสเขตวีชี

ฝรั่งเศสเขตวีชี (La France de Vichy; Vichy France) คือรัฐเฉพาะกาลที่ปกครองประชาชนชาวฝรั่งเศส โดยเป็นรัฐที่สนับสนุนนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 - เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 และเป็นรัฐบาลที่สืบทอดต่อมาจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐฝรั่งเศส (L'État Français; French State).

38 ความสัมพันธ์: ชาร์ล เดอ โกลฟิลิป เปแตงพ.ศ. 2483พ.ศ. 2485พ.ศ. 2487พ.ศ. 2488กรกฎาคมกรณีอันตอนกันยายนการปลดปล่อยกรุงปารีสฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองภาษาฝรั่งเศสมิถุนายนยุทธการที่ฝรั่งเศสรัฐบริวารรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสรัฐหุ่นเชิดลัทธิอำนาจนิยมลามาร์แซแยซสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศสสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3สิงหาคมสงครามโลกครั้งที่สองปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดประมุขแห่งรัฐประเทศฝรั่งเศสประเทศเยอรมนีนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสนาซีเยอรมนีโรมันคาทอลิกเมษายน10 กรกฎาคม11 พฤศจิกายน22 มิถุนายน22 เมษายน23 ตุลาคม25 สิงหาคม31 สิงหาคม

ชาร์ล เดอ โกล

ร์ล อ็องเดร โฌแซ็ฟ มารี เดอ โกล (Charles André Joseph Marie de Gaulle) หรือ ชาร์ล เดอ โกล (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513) เป็นนายทหารและรัฐบุรุษชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเป็นที่รู้จักในนาม นายพลเดอ โกล ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักยุทธวิธีการรบด้วยรถถัง และผู้นิยมการรบด้วยการใช้ยานเกราะและกองกำลังทางอากาศ เขาเป็นผู้นำการปลดปล่อยฝรั่งเศสในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และผู้นำรัฐบาลชั่วคราวในช่วงปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ถึง พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ถูกเรียกตัวไปจัดตั้งรัฐบาลในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) เขาได้เป็นแรงบันดาลใจในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนแรกในยุคสาธารณรัฐที่ 5 ระหว่างปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ถึงปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) แนวคิดทางการเมืองของเขาเป็นที่รู้จักในนามของลัทธินิยมโกล และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเมืองฝรั่งเศสในยุคต่อม.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและชาร์ล เดอ โกล · ดูเพิ่มเติม »

ฟิลิป เปแตง

อองรี ฟิลิป เบนโอนี โอแมร์ โจเซฟ เปแตง (24 April 1856 – 23 July 1951),ได้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อว่า ฟิลิป เปแตง หรือ จอมพล เปแตง (Maréchal Pétain),เป็นนายพลฝรั่งเศสที่แตกต่างจากจอมพลแห่งฝรั่งเศส,และต่อมาในภายหลังได้ทำหน้าที่เป็นประมุขรัฐของวิชีฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันคือชาตินิยมฝรั่งเศสหรือรัฐฝรั่งเศส (Chef de l'État Français),ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและฟิลิป เปแตง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2483

ทธศักราช 2483 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1940 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและพ.ศ. 2483 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2485

ทธศักราช 2485 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1942 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและพ.ศ. 2485 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2487

ทธศักราช 2487 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1944 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและพ.ศ. 2487 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2488

ทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและพ.ศ. 2488 · ดูเพิ่มเติม »

กรกฎาคม

กรกฎาคม เป็นเดือนที่ 7 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกรกฎาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกรกฎ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีสิงห์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกรกฎาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่และปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวปู เดิมเดือนนี้ใช้ชื่อว่า ควินตีลิส (Quintilis) ในภาษาละติน และเป็นเดือนที่ 5 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มปีในเดือนมีนาคม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "July" ตามชื่อของจูเลียส ซีซาร์ เพราะเป็นเดือนที่พระองค์เกิด และอ่านออกเสียงว่าจูลีจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและกรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

กรณีอันตอน

พันเซอร์ทรูเพน(พลขับรถถัง)บนรถถังแพนเซอร์ 4 ของเยอรมันกำลังดูเรือรบฝรั่งเศสกำลังลุกไหม้ บางทีอาจจะเป็นเรือลาดตระเวนโคลแบร์ท(Colbert) ปฏิบัติการอันตอนหรือฟัลล์ อันตอน(Fall Anton)ในภาษาเยอรมัน เป็นรหัสนามสำหรับการเข้ายึดครองทางทหารที่ฝรั่งเศสเขตวีชีซึ่งถูกดำเนินการโดยเยอรมนีและอิตาลีในเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและกรณีอันตอน · ดูเพิ่มเติม »

กันยายน

กันยายน เป็นเดือนที่ 9 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกันยายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกันย์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีตุล แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกันยายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวสิงโตและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว เดือนกันยายนในภาษาอังกฤษ September มาจากภาษาละติน septem เนื่องจากเป็นเดือนที่ 7 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนกันยายนในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและกันยายน · ดูเพิ่มเติม »

การปลดปล่อยกรุงปารีส

การปลดปล่อยกรุงปารีส เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อกองทัพสัมพันธมิตรทางตะวันตก อันได้แก่ สหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ สหรัฐอเมริกา และกองทัพเสรีฝรั่งเศสได้ทำการปลดปล่อยกรุงปารีส เมืองหลวงของฝรั่งเศลให้พ้นจากการปกครองของนาซีเยอรมันซึ่งถูกยึดครองมา 4 ปี จุดเริ่มต้นนั้นมาจากหลังการยึดครองหาดนอร์มังดีของกองทัพสัมพันธมิตรในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด กองทัพสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพและกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ทำการขับไล่กองทัพเยอรมันโดยกองทัพสหรัฐจะทำการรุกเข้ายึดดินแดนส่วนทางด้านตะวันตกและทางใต้ของฝรั่งเศล ส่วนกองทัพอังกฤษและแคนนาดาจะรุกเข้าตีจากทางเหนือ แม้กองทัพเยอรมันได้พยายามจะขับไล่กองทัพสัมพันธมิตรออกไปจากนอร์มังดีแต่ต้องประสบกับความล้มเหลวและต้องตั้งรับอย่างยากลำบาก กองทัพสหรัฐและอังกฤษได้ร่วมมือกันทำการโอบล้อมกองทัพเยอรมันสองกองพลโดยทั้งสองกองทัพได้นัดหมายไปที่เมือง chambois เมื่อโอบล้อมได้สำเร็จ กองทัพเยอรมันสองกองพลก็ถูกบดขยี้อย่างหนักทำให้บางส่วนถูกทำลาย บางส่วนถูกจับกุมเป็นเชลย และบางส่วนหนีรอดออกจากวงโอบล้อมไว้ได้ ทางด้านกรุงปารีส ประชาชนชาวฝรั่งเศลได้ทราบข่าวการรุกของกองทัพสัมพันธมิตรและเชื่อว่านครปารีสกำลังจะเป็นอิสระจากนาซีเยอรมันจึงทำการลุกขึ้นต่อต้านกองทัพเยอรมันที่ประจำการในกรุงปารีสจนเกิดการปะทะกันทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก หลังจากนั้นภายในสี่วัน กองทัพสหรัฐและกองทัพเสรีฝรั่งเศสได้เคลื่อนพลจากเมือง chambois เข้าสู่กรุงปารีส จนกระทั่งกองทัพเยอรมันในกรุงปารีสได้ยอมจำนนเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม..1944 ประชาชนชาวฝรั่งเศลได้ทำการจัดงานเฉลิมฉลองในกรุงปารีสหลังจากได้รับอิสรภาพและคอยต้อนรับเหล่าทหารสัมพันธมิตรอย่างอบอุ่น รวมทั้งฝรั่งเศลได้มีการจัดตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศลใหม่ การปลดปล่อยในกรุงปารีสนั้นทำให้กองทัพเยอรมันทั้งหมดในฝรั่งเศลต้องถอนกำลังออกจากฝรั่งเศลไปตั้งรับที่แนวป้องกันซิกฟรีดในชายแดนระหว่างฝรั่งเศลและเยอรมัน รวมทั้งดินแดนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของนาซีที่เหลืออยู่ได้แก่ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก หลังการปลดปล่อยกรุงปารีสนั้นได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กองทัพสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะสงคราม เพราะนาซีเยอรมันต้องตั้งรับทั้งสองด้านคือแนวรบตะวันตกและแนวรบตะวันออก แม้กองทัพเยอรมันจะมีสภาพยำแย่จากการพ่ายแพ้สงครามหลายครั้งแต่กลับยืดหยัดจะสู้จนตัวตาย ดังนั้นกองทัพสัมพันธมิตรจะต้องรุกเข้าสู่เยอรมนีเพื่อยุติสงครามให้ได้.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและการปลดปล่อยกรุงปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

มิถุนายน

มิถุนายน เป็นเดือนที่ 6 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนมิถุนายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมถุน และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกรกฎ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมิถุนายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาววัวและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ชื่อในภาษาอังกฤษ "June" มีที่มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า จูโน (Juno) ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมิถุนายนในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและมิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ทธการที่ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนีที่สัมฤทธิ์ผล เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและยุทธการที่ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบริวาร

รัฐบริวาร (Client state หรือ Satellite state) เป็นคำศัพท์ทางการเมือง หมายถึง ประเทศที่มีเอกราชอย่างเป็นทางการ แต่อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างมาก หรือถูกควบคุมโดยอีกประเทศหนึ่ง โดยเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อโดยเปรียบเทียบกับดาวบริวาร ซึ่งโคจรรอบดาวดวงอื่น และคำว่า รัฐบริวาร มักจะใช้หมายความถึง รัฐในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต ระหว่างสงครามเย็น รัฐบริวารอาจหมายถึงประเทศที่ถูกครอบงำทางการเมืองและทางเศรษฐกิจโดยอีกประเทศหนึ่ง ในเวลาสงคราม รัฐบริวารบางครั้งทำหน้าที่เป็นรัฐกันชนระหว่างประเทศฝ่ายศัตรูกับประเทศที่มีอิทธิพลอยู่เหนือรัฐบริวารนั้น คำว่า "รัฐบริวาร" เป็นหนึ่งในคำที่ใช้อธิบายถึงสภาพที่รัฐหนึ่งตกอยู่ใต้อำนาจของอีกรัฐหนึ่งซึ่งคล้ายกับ รัฐหุ่นเชิด โดยทั่วไปแล้ว คำว่า "รัฐบริวาร" แสดงให้เห็นถึงความสวามิภักดิ์ทางความคิดให้กับอำนาจความเป็นประมุขอย่างลึกซึ้ง.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและรัฐบริวาร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Gouvernement provisoire de la République française) เป็นรัฐบาลชั่วคราวที่บริหารประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ. 1944 ถึง ค.ศ. 1946 หมวดหมู่:การเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:รัฐบาลเฉพาะกาล.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รัฐหุ่นเชิด

รัฐหุ่นเชิด (Puppet state) หรือ รัฐบาลหุ่นเชิด (Puppet government หรือ Marionette government) ใช้อธิบายถึงสภาพของรัฐที่มีเอกราชแต่เพียงในนาม แต่ถูกควบคุมโดยอำนาจต่างชาติหรือกองทัพอย่างชัดเจน คำว่า รัฐหุ่นเชิด หมายความถึง รัฐบาลที่ถูกควบคุมโดยอีกรัฐบาลหนึ่ง เหมือนกับการเชิดหุ่นกระบอก และยังใช้ในความหมายที่รัฐขาดความเป็นเอกราช หรือมีการปกป้องเอกราชในสิ่งที่เป็นอิทธิพลจากต่างชาติหรือกองทั.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและรัฐหุ่นเชิด · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอำนาจนิยม

อำนาจนิยม (authoritarianism) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่ ตามปกติมักตรงข้ามกับปัจเจกนิยมและอิสรนิยม ในทางการเมือง รัฐบาลอำนาจเป็นรัฐบาลซึ่งอำนาจหน้าที่ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็ก อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บนอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือรัฐ หรือกลุ่มคนใดๆ ในการธำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุด คือ การรักษาอำนาจของตน (Kurian, 2011: 103) โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์กับผู้นำ ควบคุมสื่อมวลชน ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์การปกครองของมนุษยชาติ ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุด เมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ลักษณะสำคัญของระบอบอำนาจนิยม คือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ในขณะที่สิทธิ เสรีภาพของประชาชนมีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่เสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ อำนาจนิยมมีลักษณะของอำนาจที่เข้มข้นและรวมเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก ซึ่งรักษาไว้โดยการปราบปรามทางการเมืองและการกีดกันคู่แข่งที่เป็นไปได้ รัฐบาลอำนาจนิยมใช้พรรคการเมืองและองค์การมวลชนเพื่อระดมคนมารอเป้าหมายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับมิติทางการเมืองได้อย่างปกติ สามารถเลือกประกอบอาชีพ นับถือศาสนา และสังสรรค์หาความสุขได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล แต่กระนั้น ในบางประเทศสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอาจถูกควบคุมโดยธรรมเนียมปฏิบัติ บรรทัดฐานหรือความเชื่อทางศาสนาที่เข้มงวด ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือคนละส่วนกับอำนาจรัฐในระบบการเมืองก็ได้ ประเทศที่จัดได้ว่าเป็นระบอบอำนาจนิยม เช่น อิหร่าน สหภาพเมียนมาร์ (พม่า--Union of Myanmar) ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย ภายใต้นายพลซูฮาร์โต เป็นต้น ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศในลาตินอเมริกา นำมาสู่คำเรียกขาน “ระบอบราชการอำนาจนิยม” (bureaucratic authoritarianism) ที่ใช้อธิบายประเทศจำนวนหนึ่งที่เคยเป็นประชาธิปไตย แต่เกิดหักเหจนในที่สุดระบอบประชาธิปไตยต้องล่มสลาย และถูกแทนที่ด้วยแนวร่วมระหว่างคณะทหารกับพลเรือนที่ทำการรัฐประหารยึดกุมสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ชนชั้นนำที่ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการพลเรือน นักเทคนิคระดับสูง (technocrats) ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำดำเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และการเข้ามาแข่งขันในตลาดการเมือง โดยคณะทหารและระบบราชการดังกล่าว แสดงบทบาททางการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ใช่ตัวบุคคล นักวิชาการลาตินอเมริกาวิเคราะห์ว่า ระบอบราชการอำนาจนิยม เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทุนนิยมแบบพึ่งพา ประเทศที่จัดว่าใช้ระบอบราชการอำนาจนิยม เช่น บราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี ในยุคปัจจุบันที่ปรากฏมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ (Linz, 2000: 34; Badie, 2011: 107) ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ การเลือกตั้ง (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่งเจตจำนงเสรีของแต่ละบุคคล ทว่าการเลือกตั้งก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวนการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า การเลือกตั้งมิได้เท่ากับการมีประชาธิปไตยเสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เส้นแบ่งใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้งของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบอำนาจนิยมที่แฝงเร้นอยู่ในคราบประชาธิปไตยตัวแทนจอมปลอม (authoritarianism disguised in the form of representative democracy) จึงอยู่ที่มิติด้านคุณภาพของการเลือกตั้งและประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบด้วย กล่าวคือ การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่เสรี เที่ยงธรรม และโปร่งใส (free, fair, and transparent election) ที่ปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแทรกแซงของคณะทหาร ไม่มีการครอบงำ หรือจำกัดคู่แข่งทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง จึงจะนับได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เพียงพอและจำเป็นที่จะนำไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง (Badie, 2011: 112-114) และเมื่อได้ชัยชนะและมีเสียงข้างมากแล้ว หากใช้กลไกเสียงข้างมากบ่อนทำลายกลไกตรวจสอบ ก็อาจนำไปสู่อำนาจนิยมซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย นอกจากนั้น ความแตกต่างระหว่างอำนาจนิยมและประชาธิปไตยที่สำคัญไม่แพ้การเลือกตั้ง คือ การมีหลักนิติธรรมที่ไม่เอนเอียง มีรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ และมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคต.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและลัทธิอำนาจนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ลามาร์แซแยซ

''La Marseillaise'' (1907). ลามาร์แซแยซ (La Marseillaise, "เพลงแห่งเมืองมาร์แซย์") เป็นชื่อของเพลงชาติสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย โกลด โฌแซ็ฟ รูเฌ เดอ ลีล เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2335 ที่เมืองสทราซบูร์ในแคว้นอาลซัส เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า "Chant de guerre de l'Armée du Rhin" (แปลว่า "เพลงมาร์ชกองทัพลุ่มน้ำไรน์") เดอลีลได้อุทิศเพลงนี้ให้แก่นายทหารชาวแคว้นบาวาเรีย (อยู่ในประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน) ซึ่งเกิดในประเทศฝรั่งเศสผู้หนึ่ง คือจอมพลนีกอลา ลุคเนอร์ (Nicolas Luckner) เมื่อกองทหารจากเมืองมาร์แซย์ได้ขับร้องเพลงนี้ขณะเดินแถวทหารเข้ามายังกรุงปารีส ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และกลายเป็นเพลงปลุกใจในการร่วมปฏิวัติฝรั่งเศส ทั้งยังเป็นที่มาของชื่อเพลงลามาร์แซแยซดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันด้วย สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศสได้ออกประกาศรับรองให้เพลงลามาร์แซแยซเป็นเพลงชาติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2338 ต่อมาเพลงนี้ได้ถูกงดใช้ในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และมีการนำเพลงอื่นมาใช้เป็นเพลงชาติฝรั่งเศสแทนในระยะเวลาดังกล่าวแทน โดยรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ใช้เพลงชาติที่ชื่อว่า เวยองอูซาลูทเดอล็องปีร์ "Veillons au salut de l'Empiret"และ โดยรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ใช้เพลงชาติที่ชื่อว่า เลอเรอทูร์เดส์แพร็งส์ฟร็องเซส์อาปารีส์ "Le Retour des Princes Frančais à Samid" หลังการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2373 เพลงนี้ก็ได้กลับมาใช้เป็นเพลงชาติในระยะสั้น ๆ แต่ก็งดใช้อีกครั้งในสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ตราบจนกระทั่งฝรั่งเศสเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐที่ 3 เพลงนี้จึงได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติอย่างถาวรเมื่อ พ.ศ. 2422.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและลามาร์แซแยซ · ดูเพิ่มเติม »

สภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส

ผู้แทนราษฎรแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Assemblée Nationale,; National Assembly) เป็นสภาล่างในรัฐสภาฝรั่งเศส ประกอบด้วยสมาชิกห้าร้อยเจ็ดสิบเจ็ดคน เรียกว่า "ผู้แทน" (député; deputy) ผู้แทนสองร้อยแปดสิบเก้าคนถือเป็นจำนวนเสียงส่วนใหญ่ในสภา และมีประธานสภาคนหนึ่งเป็นผู้ควบคุมการประชุม และมีรองประธานสภาอีกหนึ่งคนหรือกว่านั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี โดยจะสิ้นสุดวาระในวันอังคารของสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน ปีที่ 5 นับแต่วันเลือกตั้ง การเลือกตั้งครั้งใหม่ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรชุดเดิมจะหมดอายุลง ประธานาธิบดีสามารถประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ ภายหลังจากที่ได้ปรึกษากับนายกรัฐมนตรีและประธานสภาทั้งสองแล้ว โดยเมื่อมีรัฐกฤษฎีกาประกาศยุบสภา จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอย่างน้อยที่สุดภายใน 20 วัน แต่ต้องไม่เกิน 40 วัน อนึ่ง ในกรณีที่มีการยุบสภา หรือสมาชิกลาออก หรือตาย หรือไปปฏิบัติหน้าที่อื่นซึ่งรวมไปถึงงานของรัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจจะมีการดำรงตำแหน่งน้อยกว่า 5 ปีได้ สภาผู้แทนราษฎรประชุม ณ พระราชวังบูร์บง ริมฝั่งแม่น้ำแซน ในกรุงปารี.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (Troisième République Française บางครั้งเขียนย่อว่า La IIIe République) (พ.ศ. 2413 -10 กรกฎาคม พ.ศ. 2483) เป็นชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างยุคจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 กับรัฐบาลฝรั่งเศสวิชี เกิดขึ้นหลังจากการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสต่อจักรวรรดิเยอรมัน ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2413 ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสสูญเสียอาลซัส-ลอแรน และดำรงอยู่มาจนล่มสลายใน พ.ศ. 2483 จากการรุกรานของนาซีเยอรมัน ทำให้ฝรั่งเศสถูกยึดครอง ยุคนี้เป็นยุคของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่อายุยืนที่สุด นับตั้งแต่มีการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 เป็นต้นมา หมวดหมู่:การเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศฝรั่งเศส.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สิงหาคม

งหาคม เป็นเดือนที่ 8 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนสิงหาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีสิงห์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกันย์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนสิงหาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปูและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต เดือนสิงหาคมเดิมใช้ชื่อในภาษาละตินว่า ซิกซ์ตีลิส (Sextilis) เนื่องจากเป็นเดือนที่ 6 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ต่อมาเปลี่ยนเป็น August เพื่อเป็นเกียรติแด่ ออกัสตัส ซีซาร์ เพราะเป็นเดือนที่พระองค์เข้าไปโรมในชัยชนะของเจ้าทั้งตะวันออกและตะวันตก ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนสิงหาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและสิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เป็นส่วนหนึ่งของการรบในแนวรบด้านตะวันตก ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี..

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ประมุขแห่งรัฐ

ประมุขแห่งรัฐ (head of state) เป็นคำที่ใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์และพิธีการทูตเมื่อหมายถึงข้าราชการ (official) ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐเอกราชหนึ่ง ๆ และมีอำนาจเด็ดขาดหรือจำกัดที่จะปฏิบัติเป็นผู้แทนสาธารณะสูงสุด (chief public representative) ของรัฐ ประมุขแห่งรัฐในประเทศส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาที่ดำรงตำแหน่ง หากในบางประเทศ คณะบุคคลอยู่ในตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ เช่น สภาสหพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และผู้ครองนครร่วม (Captains Regent) ซานมารีโน คำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" มักใช้เพื่อแยกความแตกต่างจากคำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" ยกตัวอย่าง ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 เช่น ระบบรัฐสภาอย่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พระมหากษัตริย์และประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นประมุขแห่งรัฐในสองประเทศนี้ตามลำดับ ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้รับการยอมรับเป็นหัวหน้ารัฐบาล อย่างไรก็ดี ในสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งบุคคลที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลยังอาจเกิดได้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและบางครั้งเช่นเดียวกับระบอบเผด็จการอื่น ๆ บทบาทของประมุขแห่งรัฐโดยทั่วไป รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมือง และหน้าที่ ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูตปฏิบัติภายใต้ข้อสันนิษฐานว่า หัวหน้าคณะทูต (คือ เอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต) ของประเทศผู้ส่งถูกถือว่าเป็นของประมุขแห่งรัฐรัฐผู้รับ มักคิดกันว่าประมุขแห่งรัฐเป็น "ผู้นำ" อย่างเป็นทางการของรัฐชาติหนึ่ง ๆ ปัจจุบัน หลายประเทศคาดหวังให้ประมุขแห่งรัฐของตนรวมค่านิยมของชาติในแบบนิยมที่คล้ายกัน.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและประมุขแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส

นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (Premier ministre français) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลและคณะรัฐมนตรีของประเทศฝรั่งเศส ส่วนประมุขแห่งรัฐของประเทศฝรั่งเศสคือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส การตัดสินใจหรือกฤษฎีกาของนายกรัฐมนตรี เสมือนกับการตัดสินใจทั้งหมดของฝ่ายบริหาร โดยรวมถึงหน้าที่การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ เพื่อให้ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง โดยจะถูกสอดส่องดูแลในระบบสภาโดยศาลปกครองสูงสุด (Conseil d'État) ซึ่งบางครั้งนายกรัฐมนตรีพึงรับคำปรึกษาก่อนจะประกาศใช้กฤษฎีกา เป็นที่รู้กันว่ารัฐมนตรีแต่ละท่านต้องการปกป้องนโยบายและโครงการในกระทรวงของตน แต่ก็ยังติดอยู่ที่งบประมาณ ซึ่งนายกรัฐมนตรีนี้เองเป็นคนชี้ขาดในเรื่องเหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งประธานาธิบดีจะมีนาจและอิทธิพลเหนือกว่าก็ตาม เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลนโยบายของรัฐบาล เมื่อเกิดความผิดพลาดและล้มเหลวก็จะกลายเป็นผู้ที่ถูกประณามและตำหนิไปโดยปริยาย ผลที่ตามมาก็คือความนิยมที่มีสูงในช่วงแรกและลดฮวบลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนคิดว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการส่งเสริมความสำเร็จของประธานาธิบดี และยังเป็นที่โต้เถียงอย่างมากว่าเป็นตำแหน่งที่อันตรายเพราะความเป็นไปได้ของการลดความนิยม.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เมษายน

มษายน เป็นเดือนที่ 4 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน (เขียนย่อ เม.ย. ภาษาปากเรียก เมษา หรือเดือนเมษา) ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนเมษายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพฤษภ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนเมษายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปลาและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวแกะ ชื่อในภาษาอังกฤษ "April" มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน แอปปรีริส ("aprilis") และ แอปเปรีเร ("aperire") หมายถึง "กางออก" ซึ่งอาจหมายถึงการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ หรืออาจมาจาก Apru ชื่อเทพีแห่งความรักในภาษาของชาวอิทรูเรีย ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนเมษายนใน พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน ตามปฏิทินโรมันดั้งเดิม กำหนดให้เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ 2 ของปี และมี 29 วัน จากนั้นจูเลียส ซีซาร์ได้ปฏิรูประบบปฏิทินใหม่ เมื่อ 45 ปีก่อนคริสตกาล กำหนดให้เดือนมกราคมเป็นเดือนแรก ทำให้เดือนเมษายนขยับไปเป็นเดือนที่ 4 ของปี และมี 30 วัน.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและเมษายน · ดูเพิ่มเติม »

10 กรกฎาคม

วันที่ 10 กรกฎาคม เป็นวันที่ 191 ของปี (วันที่ 192 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 174 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและ10 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

11 พฤศจิกายน

วันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 315 ของปี (วันที่ 316 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 50 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและ11 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

22 มิถุนายน

วันที่ 22 มิถุนายน เป็นวันที่ 173 ของปี (วันที่ 174 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 192 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและ22 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

22 เมษายน

วันที่ 22 เมษายน เป็นวันที่ 112 ของปี (วันที่ 113 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 253 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและ22 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

23 ตุลาคม

วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันที่ 296 ของปี (วันที่ 297 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 69 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและ23 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

25 สิงหาคม

วันที่ 25 สิงหาคม เป็นวันที่ 237 ของปี (วันที่ 238 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 128 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและ25 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

31 สิงหาคม

วันที่ 31 สิงหาคม เป็นวันที่ 243 ของปี (วันที่ 244 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 122 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฝรั่งเศสเขตวีชีและ31 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การปกครองระบอบวิชีฝรั่งเศสวิชีระบอบวิชีรัฐฝรั่งเศสวิชีฝรั่งเศสวีชีฝรั่งเศส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »