เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์

ดัชนี การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์

แม้จะมีศักยภาพสูงสำหรับการท่องเที่ยว แต่การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์ก็ยังล้าหลัง สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของประเทศมาดากัสการ์คือชายหาดกับความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและป่าไม้ของเกาะนี้ต่างก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะDavid Newsome, Susan A.

สารบัญ

  1. 14 ความสัมพันธ์: กล้วยไม้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มหาสมุทรอินเดียลีเมอร์สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอาย-อายอินดรีผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นความหลากหลายทางชีวภาพประเทศมอริเชียสประเทศมาดากัสการ์ประเทศเซเชลส์แอร์ฟรานซ์แอร์มาดากัสการ์

กล้วยไม้

กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 899 สกุล และมีประมาณ 27,000 ชนิดที่มีการยอมรับ คิดเป็น 6–11% ของพืชมีเมล็ด มีการค้นพบราวๆ 800 ชนิดทุกๆปี มีสกุลใหญ่ๆคือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด), Epidendrum (1,500 ชนิด), Dendrobium (1,400 ชนิด) และ Pleurothallis (1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) สามารถแบ่งตามลักษณะการเติบโตได้ดังนี้.

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และกล้วยไม้

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) หมายถึงการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม และผู้ที่มาท่องเที่ยวนั้นจะต้องเป็นบุคคลเฉพาะกลุ่มโดยรู้และไม่ทำลายสภาพแวดล้อม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรชุมชน หรือสิ่งที่น่าจะทำให้การท่องเที่ยวนั้นเสียหาย ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นี้รวมไปถึงรูปแบบการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือการท่องเที่ยวในรูปแบบ MICE หมวดหมู่:การท่องเที่ยว หมวดหมู่:สิ่งแวดล้อม หมวดหมู่:การอนุรักษ์.

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และมหาสมุทรอินเดีย

ลีเมอร์

ลีเมอร์ (Lemur) เป็นอันดับฐานของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับไพรเมตหรือลิง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lemuriformes ลักษณะโดยรวมของลีเมอร์ คือ มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับลิง แต่ทว่ามีส่วนหัวคล้ายหมาจิ้งจอก คือ มีจมูกและปากแหลมยาว มีดวงตากลมโต ขนหนาฟู มีหางยาวเป็นพวงเหมือนกระรอก โดยลีเมอร์เป็นไพรเมตที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Prosimian ซึ่งรวมถึงลิงลม, กาเลโก และทาร์เซีย เพราะมีสายวิวัฒนาการที่ใกล้เคียงกัน จากการศึกษาทางดีเอ็นเอ ซึ่งคำว่า "Prosimian" นั้น มีความหมายว่า "ก่อนลิง" คำว่า "ลีเมอร์" แปลงมาจากคำว่า Lemures ในเทพปกรณัมโรมันหมายถึง "ดวงวิญญาณ, ผี หรือปีศาจ" ขนาดโดยทั่วไปโดยเฉลี่ยของลีเมอร์ขนาดเท่าแมว น้ำหนักตัวประมาณ 9 กิโลกรัม โดยที่ชนิดที่มีขนาดเล็กมีรูปร่างใกล้เคียงกับหนู มีการกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์ทางชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกที่เดียวเท่านั้น เหตุเพราะสันนิษฐานว่า ที่เกาะแห่งนี้ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ ทำให้สัตว์หลายชนิดมีการวิวัฒนาการเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ และไม่มีสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่คอยคุกคาม โดยอาศัยอยู่ในป่าดิบ บนต้นไม้ใหญ่ หากินในเวลากลางวัน และนอนหลับในเวลากลางคืน โดยที่สันนิษฐานอีกว่า บรรพบุรุษของลีเมอร์ เดินทางมายังเกาะมาดากัสการ์ด้วยกอพรรณพืชหรือต้นไม้เมื่อ 60 ล้านปีก่อน โดยลีเมอร์ได้วิวัฒนาการตัวเองแยกมาเป็นชนิดต่าง ๆ จากถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกัน เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง อันเป็นผลจากการที่น้ำท่วมเกาะ ก่อให้เกิดเป็นเกาะแก่งต่าง ๆ มากมาย และลีเมอร์ชนิดต่าง ๆ ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวและถูกจำกัดในเรื่องอาหาร จากพายุไซโคลนที่พัดถล่มในมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก โดยเชื่อว่าบรรพบุรุษของลีเมอร์นั้นแรกเริ่มมีขนาดเล็ก และอาจเกาะกับต้นไม้ลอยน้ำมาในรูปแบบของการจำศีลMadagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และลีเมอร์

สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (''Paphiopedilum sukhakulii'') เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น''กล้วยไม้เมืองไทย'', รศ.ดร.

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

อาย-อาย

อาย-อาย (Aye-aye) เป็นไพรเมตชนิดหนึ่ง จำพวกลีเมอร์ โดยที่อาย-อาย เป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Daubentonia และวงศ์ Daubentoniidae (มีอยู่ชนิดหนึ่ง คือ อาย-อายยักษ์ ที่มีความยาวกว่า 2.5 เมตร แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 2,000 ปีก่อน และมีน้ำหนักมากกว่า อาย-อาย หลายเท่า).

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และอาย-อาย

อินดรี

อินดรี หรือ อินดรี อินดรี (Indri, Indri indri, Babakoto) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร (Primate) ชนิดหนึ่ง จำพวกลีเมอร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Indri indri อยู่ในวงศ์อินดรี (Indriidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Indri มีลำตัวขนาดใหญ่ ขนาดประมาณเท่าลูกหมี มีความยาวตั้งแต่หัวจรดโคนหางประมาณ 64–72 เซนติเมตร (2.10–2.36 ฟุต) และอาจยาวได้ถึง 120 เซนติเมตร (3.9 ฟุต) น้ำหนักตัวเต็มที่ประมาณ 6–9.5 กิโลกรัม (13–21 กรัม) ลำตัวมีขนสีขาว–ดำ ส่วนหางสั้น มีใบหูกลมคล้ายแพนด้า กินอาหารจำพวกใบไม้ และหน่ออ่อนของต้นไม้เป็นอาหารหลัก ออกหากินในเวลากลางวัน มีขาแข็งแรงเพราะต้องใช้ในการปีนป่ายต้นไม้ จัดเป็นลีเมอร์ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีเสียงร้องที่ดังที่สุด ซึ่งอาจได้ยินไปไกลถึง 3 กิโลเมตร อินดรีจะส่งเสียงร้องทุก ๆ เช้าเพื่อสื่อสารกันและประกาศอาณาเขต โดยจะเริ่มจากจ่าฝูงก่อน เมื่ออินดรีกระโดดครั้งเดียวอาจไกลได้ถึง 30 ฟุต ในการสัญจรไปมาระหว่างต้นไม้ เนื่องจากมีขาหลังที่ยาวและทรงพลัง ซึ่งขาหลังของอินดรีมีความยาวกว่าความยาวลำตัวรวมกับหัวด้วยซ้ำThe Night Stalker, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และอินดรี

ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น

accessdate.

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น

ความหลากหลายทางชีวภาพ

วามหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตน้อยนิด พันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (Species) สายพันธุ์ (Genetic) และระบบนิเวศ (Ecosystem.) ที่แตกต่างหลากหลายบนจักรวาล ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995) ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น.

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และความหลากหลายทางชีวภาพ

ประเทศมอริเชียส

มอริเชียส (Mauritius) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐมอริเชียส (Republic of Mauritius) คือประเทศที่เป็นเกาะนอกชายฝั่งแอฟริกาในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมาดากัสการ์ ประมาณ 900 กิโลเมตร (560 ไมล์) และทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียประมาณ 3,943 กิโลเมตร (2,450 ไมล์) นอกจากตัวเกาะมอริเชียสแล้ว สาธารณรัฐมอริเชียสประกอบด้วยเกาะเซนต์แบรนดอน เกาะรอดรีกส์ และหมู่เกาะอากาเลกา มอริเชียสเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะแมสการีน มีเกาะเรอูนียงของฝรั่งเศส ตั้งอยู่ห่างจากมอริเชียสไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 200 กิโลเมตร (125 ไมล์).

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และประเทศมอริเชียส

ประเทศมาดากัสการ์

มาดากัสการ์ (Madagascar; Madagasikara) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมาดากัสการ์ (République de Madagascar; Repoblikan'i Madagasikara) คือชาติเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทางตะวันออกของแอฟริกา ใกล้กับโมซัมบิก เกาะมาดากัสการ์ที่เป็นเกาะหลักเป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นถิ่นของสายพันธุ์พืชและสัตว์ถึงร้อยละ 5 ของโลก และมีมากกว่าร้อยละ 80 ที่เป็นสัตว์หรือพืชเฉพาะถิ่นมาดากัสการ์ ที่เด่นคือตัวลีเมอร์ซึ่งอยู่ในตระกูลไพรเมต ตัวฟอสซา (fossa) ซึ่งกินเนื้อ นกเฉพาะถิ่น 3 ตระกูล และต้นบาวบับ (baobab) 6 ชนิด ภาษาหลักคือภาษามาลากาซี สมดุลทางธรรมชาติของมาดากัสการ์ถูกคุกคาม เนื่องจากป่าส่วนใหญ่เสียหาย และลีเมอร์ได้สูญพันธุ์ถึง 15 สายพัน.

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และประเทศมาดากัสการ์

ประเทศเซเชลส์

ประเทศเซเชลส์ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเซเชลส์ (Republic of Seychelles; République des Seychelles; ครีโอลเซเชลส์: Repiblik Sesel) เป็นประเทศที่เป็นกลุ่มเกาะ ประกอบด้วยเกาะ 115 เกาะในมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองหลวงคือกรุงวิกตอเรีย อยู่ห่างจากชายฝั่งของทวีปแอฟริกาทางตะวันออก 1,500 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมาดากัสการ์ หมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ทางทิศใต้ ได้แก่ มอริเชียส ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ คอโมโรสและมายอต และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ มัลดีฟส์ มีเกาะหลักคือ เกาะมาเฮ ประเทศเซเชลล์มีจำนวนประชากรประมาณ 92,000 คน ถูกจัดให้เป็นประเทศเอกราชที่มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่น้อยที่สุดในทวีปแอฟริกา โดยประเทศเซเชลส์ได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในสมาชิกของสหประชาชาติและสหภาพแอฟริกา รวมถึงเป็นสมาชิกของกลุ่มประชาคมเพื่อการพัฒนาภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (The Southern African Development Community (SADC)) และยังเป็นหนึ่งในเครือจักรภพแห่งประชาชาต.

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และประเทศเซเชลส์

แอร์ฟรานซ์

แอร์ฟรานซ์ (Air France) (Compagnie Nationale Air France) เป็นสายการบินหนึ่งของแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม (Air France-KLM) แอร์ฟรานซ์เป็นสายการบินประจำชาติของฝรั่งเศส ปัจจุบันได้เข้าร่วมกิจการกับสายการบินเคแอลเอ็ม (KLM) สายการบินประจำชาติของเนเธอร์แลนด์ โดยใช้ชื่อว่า "แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม" และแอร์ฟรานซ์เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสกายทีม.

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และแอร์ฟรานซ์

แอร์มาดากัสการ์

Air Madagascar head office แอร์มาดากัสการ์ เป็นสายการบินประจำชาติมาดากัสการ์ รัฐบาลมาดากัสการ์ถือหุ้นเกินกึ่งหนึ่ง ก่อตั้งในวันที่ 1 มกราคม..1962 เริ่มให้บริการเที่ยวบินในวันที่ 14 ตุลาคม..1962 โดยในตอนแรกใช้ชื่อแมดแอร์ (Madair) แต่ต่อมาไม่นานได้เปลี่ยนชื่อเป็น แอร์มาดากัสการ์ หลังจากการบริการมีปัญหา ในปี..

ดู การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์และแอร์มาดากัสการ์