โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การตีฝ่าช่องแคบ

ดัชนี การตีฝ่าช่องแคบ

การตีฝ่าช่องแคบหรือปฏิบัติการเซเบอรัส(Unternehmen Zerberus) เป็นปฏิบัติการทางทะเลของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ครีกซมารีเนอ(กองทัพเรือเยอรมัน) กองเรือรบประกอบด้วยเรือประจัญบานสองลำคือเรือระดับชาร์นฮอร์ชต-คลาส, เรือลาดตระเวนหนัก พรินซ์ ยูจีน และเรือคุ้มกัน ได้แล่นเรือเข้าหาแนวปิดกั้นของอังกฤษจากแบร็สต์ในบริตทานี ชาร์นฮอร์ชตและไกเซเนา ได้เดินทางถึงแบร็สต์ในวันที่ 22 มีนาคม..

17 ความสัมพันธ์: ช่องแคบอังกฤษช่องแคบโดเวอร์ยุทธการแห่งแอตแลนติกวินสตัน เชอร์ชิลสงครามโลกครั้งที่สองออตโต ซีเลียกส์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ครีกซมารีเนอปฏิบัติการเบอร์ลิน (แอตแลนติก)ประเทศนอร์เวย์แบร็สต์ (ประเทศฝรั่งเศส)แคว้นเบรอตาญเบอร์แธม แรมซีย์เรือประจัญบานชาร์นฮอร์ชต-คลาสเรือประจัญบานเทียร์พิตส์เดอะไทมส์เครื่องอินิกมา

ช่องแคบอังกฤษ

องแคบจากอวกาศ ช่องแคบอังกฤษ (English Channel; La Manche) เป็นช่องแคบในมหาสมุทรแอตแลนติกที่แยกระหว่างเกาะบริเตนใหญ่กับแผ่นดินทวีปยุโรป โดยระยะทางของช่องแคบเริ่มตั้งแต่ฝรั่งเศสทางตอนเหนือไปจนถึงทะเลเหนือที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเช่นกัน โดยช่องแคบมีความยาวประมาณ 560 กิโลเมตร และมีความกว้างที่แตกต่างกันระหว่าง 240 กิโลเมตรซึ่งกว้างที่สุด จนไปถึงส่วนที่แคบที่สุดที่มีความกว้างเพียง 34 กิโลเมตรบริเวณช่องแคบโดเวอร์ ช่องแคบอังกฤษถือเป็นทะเลน้ำตื้นที่เล็กที่สุดในบริเวณไหล่ทวีปยุโรป โดยครอบคลุมพื้นที่เพียง 75,000 ตารางกิโลเมตร เท่านั้น.

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและช่องแคบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบโดเวอร์

แผนที่แสดงตำแหน่งของช่องแคบโดเวอร์ ช่องแคบโดเวอร์ (Strait of Dover) หรือ ช่องแคบกาแล (Pas de Calais) เป็นส่วนที่แคบที่สุดของช่องแคบอังกฤษ โดยมีส่วนที่แคบที่สุดมีความกว้างเพียง 34 กิโลเมตรระหว่างเซาท์ฟอร์แลนด์ (South Foreland) ที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองโดเวอร์ในเทศมณฑลเคนต์ของสหราชอาณาจักร 6 กิโลเมตร กับแหลมกรีเน (Cap Gris Nez) ใกล้เมืองกาแลในจังหวัดปาดกาแลของประเทศฝรั่งเศส โดย ณ จุดนี้เอง ที่มีผู้คนมากมายมาท้าทายด้วยการว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและช่องแคบโดเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการแห่งแอตแลนติก

ทธการแห่งแอตแลนติกเป็นการทัพทางทหารที่ยาวนานที่สุดอย่างต่อเนื่องในสงครามโลกครั้งที่สอง,ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและยุทธการแห่งแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

วินสตัน เชอร์ชิล

ซอร์วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (Winston Leonard Spencer-Churchill) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล วินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจากดยุกแห่งมาร์ลบะระ สาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจในบริติชอินเดีย และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาเป็นหัวหน้ากรรมการการค้า, รัฐมนตรีปิตุภูมิ, และรัฐมนตรียุติธรรม ระหว่างสงคราม เขายังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม จนกระทั่งความพ่ายแพ้ของอังกฤษในการทัพกัลลิโพลี ทำให้เขาต้องออกจากคณะรัฐบาลและไปประจำการราชการทหารอยู่ที่แนวหน้าภาคตะวันตกในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพันลูกเสือที่ 6 จนกระทั่งเขาได้กลับคืนคณะรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรียุทธภัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการสงคราม และ รัฐมนตรีน่านฟ้า และในปี 1921-1922 เป็นรัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และต่อมาในปี 1924-1929 เป็นรัฐมนตรีคลังหลวง โดยเขาได้กำหนดให้สกุลเงินปอนด์กลับไปอิงค่าทองคำเหมือนกับยุคก่อนสงคราม ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแพร่ไปทั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ภายหลังห่างหายจากงานการเมืองไปในทศวรรษที่ 1930 วินสตันก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งเมื่อนาซีเยอรมนีเริ่มที่จะสั่งสมกำลังทหารและดูจะเป็นภัยคุกคามต่ออังกฤษ และแล้วการอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมอีกครั้ง และภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 วินสตันก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี คำประกาศหนักแน่นของเขาที่จะไม่เป็นผู้ยอมแพ้ได้ช่วยกระตุ้นให้ชาวอังกฤษหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสงครามซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นเมื่อสหราชอาณาจักรและอาณานิคมอังกฤษเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ลุกขึ้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ วินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ของเขาผ่านวิทยุกระจายเสียงปลุกขวัญกำลังใจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของอังกฤษไปจนกระทั่งสามารถมีชัยเหนือนาซีเยอรมนีได้ แต่ทว่าการได้รับชัยชนะมาต้องแลกกับการสูญเสียการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกให้กับสหรัฐอเมริกาไป เหล่าประเทศอาณานิคมที่ยึดครองได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย พม่า เป็นต้นต่างก็ได้เรียกร้องเอกราชจนจำใจต้องยอมเป็นเหตุทำให้จักรวรรดิอังกฤษล่มสลายและกลายเป็นเครือจักรภพแห่งชาติแทน ภายหลังพรรคอนุรักษนิยมพ่ายการเลือกตั้งในปี 1945 เขาก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อรัฐบาลพรรคแรงงาน เขาได้ออกมาเตือนอย่างเปิดเผยถึงอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปผ่านมาตรการ "ม่านเหล็ก" และยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป ภายหลังชนะเลือกตั้งในปี 1951 วินสตันก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองนี้ รัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยข้อราชการต่างประเทศ ทั้งวิกฤตการณ์มาลายา, กบฎมาอูมาอูในเคนยา, สงครามเกาหลี ตลอดจนสนับสนุนการรัฐประหารในอิหร่าน ในปี 1953 เขาเริ่มเจ็บป่วยจากภาวะขาดเลือดในสมอง และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1955 แต่เขายังคงเป็นสมาชิกสภาสามัญชนไปจนถึงปี 1964 วินสตันถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 90 ปีในปี 1965 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานรัฐพิธีศพให้เป็นเกียรติ เขายังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ชื่อของเขาอยู่ในลำดับที่ 1 ของทำเนียบชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากการจัดอันดับในปี 2002.

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและวินสตัน เชอร์ชิล · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ออตโต ซีเลียกส์

ออตโต ซีเลียกส์ (30 ตุลาคม ค.ศ. 1891 – 12 ธันวาคม ค.ศ. 1964) เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารเรือเยอรมันที่ได้ทำหน้าที่ในกองทัพเรือแห่งจักรวรรดิเยอรมัน สาธารณรัฐไวมาร์ และนาซีเยอรมนี ในฐานะพลเรือเอกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้บัญชาการในเรือประจัญบานเยอรมัน เขาได้รับเหรียญกางเขนเหล็กกางเขนอัศวิน หมวดหมู่:ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:ทหารเรือชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและออตโต ซีเลียกส์ · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ครีกซมารีเนอ

รีกซมารีเนอ (สงครามกองทัพเรือ) เป็นกองทัพเรือของนาซีเยอรมนีในช่วงปี 1935 ถึง 1945.ได้ถูกแทนที่จากกองทัพเรือแห่งจักรวรรดิเยอรมันและสมัยระหว่างสงคราม ไรซ์มารีเนอ.ครีกซมารีเนอเป็นหนึ่งในสามเหล่าทัพอย่างเป็นทางการพร้อมกับเฮร์ (กองทัพบก),และลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศ) ของกองทัพเวร์มัคท์,กองกำลังติดอาวุธของนาซีเยอรมนี.

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและครีกซมารีเนอ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการเบอร์ลิน (แอตแลนติก)

ปฏิบัติการเบอร์ลิน (Operation Berlin) เป็นการโจมตีเส้นทางทางการค้าที่ประสบความสำเร็จโดยเรือประจัญบานของเยอรมัน ชาร์นฮอร์ชต (Scharnhorst) และ ไกเซเนา (Gneisenau) ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและปฏิบัติการเบอร์ลิน (แอตแลนติก) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนอร์เวย์

นอร์เวย์ (Norway; Norge; Noreg) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway; Kongeriket Norge; Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้ว.

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและประเทศนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

แบร็สต์ (ประเทศฝรั่งเศส)

แบร็สต์ (Brest) เป็นชื่อเมืองในจังหวัดฟีนิสแตร์ (Finistère) แคว้นเบรอตาญ (หรือบริตตานีในภาษาอังกฤษ) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ไม่ไกลจากปลายด้านตะวันตกของคาบสมุทรเบรอตง แบร็สต์เป็นเมืองที่อยู่ตะวันตกที่สุดของเขตปกครองฝรั่งเศส และเป็นที่ตั้งของท่าเรือทางทหารที่สำคัญเป็นอันดับสองรองจากตูลง จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี..

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและแบร็สต์ (ประเทศฝรั่งเศส) · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นเบรอตาญ

รอตาญ (Bretagne), แบรย์ส (Breizh) หรือ บริตทานี (Brittany) เป็นหนึ่งในแคว้น 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนคาบสมุทรทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับแคว้นนอร์ม็องดี ส่วนทิศตะวันออกติดกับแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ มีเมืองหลวงชื่อว่าแรน.

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและแคว้นเบรอตาญ · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์แธม แรมซีย์

ลเรือเอก เซอร์ เบอร์แธม โฮม แรมซีย์ ผู้ซึ่งได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งบาธ (Order of the Bath) ระดับผู้บัญชาการอัศวิน (KCB), เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิบริติช (Order of the British Empire) ระดับผู้บัญชาการอัศวิน (KBE) และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เดอะ รอยัล วิกตอเรียน (Royal Victorian Order) ระดับสมาชิก (MVO) (20 มกราคม ค.ศ. 1883 – 2 มกราคม ค.ศ. 1945) เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ เขาได้บัญชาการเรือ HMS Broke ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้เป็นผู้รับผิดชอบสำหรับการอพยพดันเคิร์กในปี..

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและเบอร์แธม แรมซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เรือประจัญบานชาร์นฮอร์ชต-คลาส

ร์นฮอร์ชต-คลาสเป็นเรือหลวงลำแรก ที่ถูกเรียกว่า เรือประจัญบานหรือเรือลาดตระเวนรบ ถูกสร้างขึ้นโดยครีกซมารีเนอ(กองทัพเรือเยอรมัน)แห่งนาซีเยอรมันในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เรือระดับคลาสนี้ประกอบด้วยเรือสองลำ: ชาร์นฮอร์ชตและไกเซเนา ชาร์นฮอร์ชตได้เปิดตัวครั้งแรกและถือเป็นเรือนำหน้าโดยบางแหล่ง พวกเขายังเรียกว่า ไกเซเนา-คลาสในแหล่งข้อมูลอื่นๆ ไกเซเนาเป็นเรือลำแรกที่ถูกปล่อยลงและได้รับมอบหมายหน้าที่ พวกเขาได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเสริมสร้างกองทัพเรือเยอรมันหลังสนธิสัญญาแวร์ซาย เรือได้ติดอาวุธด้วยปืน 28 ซม.(ใน 11) เอสเค ซี/34 จำนวนเก้ากระบอกในสามป้อมปราการเรือ แผนที่จะเปลี่ยนด้วยปืน 38 ซม.(ใน 15) เอสเค ซี/34 จำนวนหกกระบอกในป้อมคู่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงเลย เรือสองลำได้ถูกปล่อยในปี..

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและเรือประจัญบานชาร์นฮอร์ชต-คลาส · ดูเพิ่มเติม »

เรือประจัญบานเทียร์พิตส์

รือประจัญบานเทียร์พิตส์ เป็นเรือรบชั้นบิสมาร์กของกองทัพนาซีเยอรมนี ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งถูกจมโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศหลวง แห่งสหราชอาณาจักร ณ อ่าวทะเลประเทศนอร์เวย์ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและเรือประจัญบานเทียร์พิตส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะไทมส์

อห์น วอลเทอร์ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการคนแรก เดอะไทมส์ (The Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ ที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 1785 เดิมใช้ชื่อว่า The Daily Universal Register ก่อตั้งโดยจอห์น วอลเทอร์ ตีพิมพ์ฉบับแรกวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1785 และเปลี่ยนชื่อเป็น The Times ตั้งแต่ฉบับที่ 941 วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1788 ในปี..

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและเดอะไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องอินิกมา

เครื่องอินิกมา (Enigma machine) แบบชุดเฟือง 3 ตัว (three-rotor) เครื่องอินิกมา (Enigma machine) เป็นเครื่องรหัสโรเตอร์ (rotor cipher machine) ไฟฟ้า-กลแบบร่วมใด ๆ ซึ่งใช้ในการเข้ารหัสและถอดรหัสสารลับ วิศวกรชาวเยอรมัน อาร์ทูร์ แชร์บีอุส ประดิษฐ์อีนิกมาเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แบบแรก ๆ ใช้ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 และกองทัพและราชการหลายประเทศรับมาใช้ ที่โดดเด่นที่สุด คือ นาซีเยอรมนี ก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง มีการผลิตแบบอีนิกมาต่าง ๆ จำนวนมาก แต่แบบกองทัพเยอรมันเป็นแบบซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุด เครื่องอินิกมาของเยอรมันนั้นมีจุดเด่นตรงที่การเข้ารหัสและถอดรหัสที่มีการสลับซับซ้อนทำให้ยากต่อการแกะรหัสมากทำให้กองทัพเยอรมันมั่นใจว่า จะไม่มีใครสามารถถอดรหัสลับได้อีกเลย แต่ประเทศอังกฤษและฝ่ายสัมพันธมิตรได้พยายามหาทางถอดรหัสเครื่องอินิกมาให้ได้ จนกระทั่งแอลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษสามารถถอดรหัสเครื่องอินิกมาได้สำเร็จ ทำให้ประเทศอังกฤษและฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเอาชนะเยอรมันได้ในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:วิทยาการเข้ารหัสลับ.

ใหม่!!: การตีฝ่าช่องแคบและเครื่องอินิกมา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การพุ่งชนช่องแคบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »