สารบัญ
3 ความสัมพันธ์: การหลับวัฒนธรรมตะวันตกความง่วง
- การนอน
การหลับ
็กกำลังหลับ การหลับเป็นสถานะที่เกิดซ้ำตามธรรมชาติ โดยแสดงลักษณะที่มีความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป กิจกรรมรับความรู้สึกค่อนข้างถูกยับยั้ง และการยับยั้งกล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจแทบทั้งหมด การหลับต่างจากความตื่นตัวเงียบตรงที่มีความสามารถสนองต่อสิ่งเร้าลดลง และสามารถผันกลับได้ง่ายกว่าอยู่ในสถานะจำศีลหรือโคม่ามาก การหลับเป็นสถานะที่มีแอแนบอลิซึมเพิ่มขึ้น โดยเน้นการเจริญเติบโตและการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน ประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อ การหลับพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด นกทุกชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาหลายชนิด ความมุ่งหมายและกลไกของการหลับยังไม่ชัดเจนทั้งหมด และยังเป็นหัวข้อของการวิจัยอย่างจริงจัง มักคิดกันว่า การหลับช่วยรักษาพลังงาน.
วัฒนธรรมตะวันตก
วัฒนธรรมตะวันตก หรือคำอื่นที่ใช้แทนกันได้เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบตะวันตก, อารยธรรมตะวันตก, อารยธรรมยุโรป, วัฒนธรรมยุโรป ฯลฯ เป็นศัพท์ที่มีความหมายอย่างกว้างครอบคลุมถึงมรดกทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับบรรทัดฐานทางสังคม คุณธรรม ประเพณี ระบบความเชื่อ ระบบการเมือง สิ่งประดิษฐ์ และวิทยาการที่ได้รับจากโลกตะวันตก คำว่า "ตะวันตก" หมายถึงประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของการย้ายถิ่นเข้ามาของชาวยุโรปด้วย อาทิกลุ่มประเทศในทวีปอเมริการวมไปถึงออสตราเลเซีย ซึ่งไม่จำกัดว่าต้องมาจากทวีปยุโรปเท่านั้น หมวดหมู่:Classical studies หมวดหมู่:มานุษยวิทยาวัฒนธรรม หมวดหมู่:อภิธานศัพท์สังคมวิทยา.
ความง่วง
วามง่วงหรืออาการง่วงซึม (somnolence, sleepiness, หรือ drowsiness) เป็นภาวะที่ร่างกายต้องการหลับอย่างแรง หรือหลับเป็นเวลานานผิดปกติ (เทียบกับอาการนอนมาก) ความง่วงมีความหมายและสาเหตุแยกกัน สามารถหมายถึงภาวะปกติก่อนหลับ สภาพที่อยู่ในภาวะง่วงเนื่องจากความผิดปกติของจังหวะรอบวัน หรือกลุ่มอาการของปัญหาสุขภาพอื่น ความง่วงสามารถเกิดร่วมกับภาวะง่วงงุน (lethargy) ความอ่อนเปลี้ยและการขาดความคล่องทางจิต (lack of mental agility) มักมองว่าความง่วงเป็นอาการมากกว่าโรคด้วยตัวมันเอง ทว่า มโนทัศน์ความง่วงเกิดซ้ำในบางเวลาจากสาเหตุบางอย่างประกอบเป็นความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความง่วงกลางวันมากเกิน (excessive daytime sleepiness) โรคหลับงานกะ (shift work sleep disorder) ฯลฯ และมีรหัสการแพทย์สำหรับความง่วงที่ถือเป็นโรค ความง่วงอาจเป็นอันตรายเมื่อดำเนินงานที่ต้องอาศัยสมาธิต่อเนื่อง เช่น การขับยานพาหนะ เมื่อบุคคลรู้สึกล้าระดับหนึ่ง อาจประสบการหลับเล็ก (microsleep) ได้.