โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การขนส่ง

ดัชนี การขนส่ง

รถไฟฟ้า ระบบขนส่งมวลชน การขนส่ง คือการเคลื่อนย้ายคนและสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การขนส่งแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ดังนี้ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และ อื่น.

19 ความสัมพันธ์: การวิจัยดำเนินการการสื่อสารการผังเมืองยานพาหนะรถยนต์รถไฟวิศวกรรมการบินและอวกาศวิศวกรรมขนส่งวิศวกรรมเครื่องกลสถานีรถโดยสารประจำทางสถานีรถไฟถนนทางรถไฟท่าอากาศยานท่าเรือคลองโครงสร้างพื้นฐานเรือเครื่องบิน

การวิจัยดำเนินการ

การวิจัยดำเนินงาน บ้างเรียก การวิจัยปฏิบัติการหรือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรียกย่อ ๆว่า โออาร์ (Operations research) เป็นการใช้แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ สถิติ และขั้นตอนวิธีช่วยในการตัดสินใจ โดยปกติจะใช้การวิจัยดำเนินงานในการวิเคราะห์ระบบที่มีอยู่ในโลกจริงที่มีความซับซ้อน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่เหมาะสมที่สุด การวิจัยดำเนินงานถือเป็นสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ประยุกต์ คำว่าการวิจัยดำเนินงานและวิทยาการบริหารจัดการ นั้นปกติจะใช้ในความหมายใกล้เคียงกัน โดยวิทยาการบริหารจัดการนั้นปกติจะมีเฉพาะเจาะจงกับปัญหาทางด้านการบริหาธุรกิจมากกว่า ส่วนการวิจัยดำเนินงานจะเกี่ยวกับวิศวกรรมอุตสาหการซึ่งมองปัญหาเชิงวิศวกรรม โดยใช้เทคนิคโออาร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเหล่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดำเนินงานคือ สถิติ (statistics) การหาค่าเหมาะที่สุด (optimization) การสโทแคสติก (stochastic) ทฤษฎีแถวคอย (queuing) ทฤษฎีเกม (Game's theory) และ การจำลอง(simulation) และเนื่องจาก OR มีการใช้การคำนวณเชิงคอมพิวเตอร์จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ นักวิจัยดำเนินงานปกติจะต้องพัฒนาหรือปรับปรุงซอฟต์แวร์เอง การวิจัยดำเนินงานมีจุดเด่นตรงที่ความสามารถในการพัฒนาระบบทั้งระบบ ไม่เฉพาะเจาะจงกับการแก้ไขปัญหาย่อยเพียงอย่างเดียว โดยนักวิจัยดำเนินงานจะแก้ปัญหาโดยพิจารณาว่า วิธีหรือเทคนิคใดที่เหมาะสมกับธรรมชาติของระบบนั้น ๆ พิจารณาเป้าหมายของการปรับปรุง และ เงื่อนไขเประสิทธิภาพเชิงเวลา และโดยมากแล้วปัญหาทางเทคนิคของการวิจัยดำเนินงานเองมักไม่สามารถแก้ได้ด้วยเทคนิคของการวิจัยดำเนินงานเท่านั้น ต้องอาศัยเทคนิคอื่นมาร่วมแก้ไขปัญหาด้ว.

ใหม่!!: การขนส่งและการวิจัยดำเนินการ · ดูเพิ่มเติม »

การสื่อสาร

การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส อาจอยู่ในรูปแบบของท่าทางสัญลักษณ์ บางอย่างอยู่ในรูปแบบของภาษา การสื่อสารเกิดจากความต้องการที่คนจะส่งข้อมูลหากัน การศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารอาจจำแนกได้หลายหมวดหมู.

ใหม่!!: การขนส่งและการสื่อสาร · ดูเพิ่มเติม »

การผังเมือง

การผังเมือง หรือ การวางแผนชุมชนเมือง (Urban planning) เป็นศาสตร์หนึ่ง เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชา เช่น การวางแผน กฎหมาย สถาปัตยกรรม สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมจราจร เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย เกณฑ์ ระเบียบ การจัดวางผังและแผนการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน โครงข่ายการจราจร ผู้จัดทำผังเมือง เรียกว่า นักผังเมือง การวางผังเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ ผังชุมชน ผังเมืองเฉพาะ ผังเมืองรวม ผังภาค จนถึงผังประเทศ โดยมีความละเอียดของการวางแผนที่ต่างกัน จากการออกแบบกายภาพ การใช้ที่ดิน(กำหนดโดยการใช้สี เช่น สีแดง หมายถึงย่านพานิชยกรรม สีเหลือง หมายถึงที่พักอาศัยหนาแน่นน้อย เป็นต้น) ความหนาแน่น โครงข่าย/ระบบจราจรและขนส่ง หรือพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะ มักมีประกาศกฎเกณฑ์ประกอบแผนในรูปกฎหมายประกอบอยู่ด้วย ในประเทศไทยหน่วยงานของรัฐฯที่เป็นองค์กรหลักในการจัดทำผังเมืองคือ กรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนกรุงเทพมหานครได้รับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กำหนดให้มีหน่วยงานที่ดูแลจัดทำผังเมืองของตนเอง คือ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ได้มีการกำหนดให้วันที่ 8 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันผังเมืองโลก" (World Town Planning Day) โดยมีองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องคือ The International Society of City and Regional Planners (IsoCaRP) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ The America Institute of Certified Planners (AICP) เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการวางผังเมืองนานาชาต.

ใหม่!!: การขนส่งและการผังเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ยานพาหนะ

ักรยานยนต์เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง ยานลอยตัวเป็นพาหนะชนิดหนึ่ง ยานพาหนะ หมายถึงวัตถุหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายขนส่งไปได้ ยานพาหนะส่วนใหญ่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ อาทิ จักรยาน รถยนต์ จักรยานยนต์ รถไฟ เรือ และเครื่องบิน เป็นต้น หรือไม่ได้สร้างขึ้นโดยมนุษย์แต่สามารถเคลื่อนย้ายขนส่งไปได้ เช่น ภูเขาน้ำแข็งหรือท่อนซุงลอยน้ำ เป็นต้น ยานพาหนะสามารถชักจูงโดยสัตว์ เช่น รถม้าหรือเกวียนเทียมวัว อย่างไรก็ตามตัวสัตว์เองนั้นก็ไม่ได้เรียกว่าเป็นยานพาหนะ ซึ่งรวมไปถึงมนุษย์ที่เคลื่อนย้ายขนส่งมนุษย์ด้วยกันเอง (คนอุ้มคน) ก็ไม่ได้เรียกว่าเป็นยานพาหนะ แต่สัตว์และมนุษย์เหล่านั้นจะเรียกว่าเป็น พาหนะ (ไม่มีคำว่ายาน) ยานพาหนะแบ่งตามการเคลื่อนย้ายได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ยานพาหนะส่วนใหญ่ที่เคลื่อนย้ายขนส่งบนพื้นจะมีล้อ เช่น เกวียน, จักรยาน,รถยนต์ และรถไฟ และส่วนยานพาหนะที่ไม่ได้เคลื่อนที่บนพื้นมักถูกเรียกว่า craft เช่น watercraft, sailcraft, aircraft (อากาศยาน), hovercraft (ยานสะเทินน้ำสะเทินบก) และ spacecraft (ยานอวกาศ).

ใหม่!!: การขนส่งและยานพาหนะ · ดูเพิ่มเติม »

รถยนต์

องรถยนต์และรถบรรทุกยุคใหม่กำลังขับอยู่บนทางด่วนสายหนึ่ง รถสปอร์ตยุคใหม่ รถยนต์หมายถึง ยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนที่ด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งและถ่ายทอดลงสู่ล้อ เพื่อพาผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือสิ่งของ ไปยังจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน รถยนต์โดยส่วนมากได้รับการออกแบบอย่างซับซ้อนในทางวิศวกรรม และหลากหลายประเภท ตามความเหมาะสมของการใช้งาน หรือใช้สำหรับงานเฉพาะกิจ ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ.

ใหม่!!: การขนส่งและรถยนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟ

ี-ซีรีส์ ของประเทศออสเตรเลีย รถไฟความเร็วสูง '''อีเซเอ''' ของประเทศเยอรมนี รถไฟ เป็นกลุ่มของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ไปตามรางเพื่อการขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รางส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยราง 2 เส้นขนานกัน แต่ยังหมายรวมถึงประเภทรางเดี่ยวหรือประเภทที่ใช้พลังแม่เหล็กด้วย รถไฟจะขับเคลื่อนด้วยหัวรถจักรหรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หลายๆตัวที่ติดอยู่ใต้ท้องรถ รถไฟสมัยใหม่จะใช้กำลังจากหัวรถจักรดีเซลหรือจากไฟฟ้าที่ส่งมาตามสายไฟที่อยู่เหนือตัวรถหรือตามรางสาม (Third Rail) เดิม รถไฟขับเคลื่อนโดยใช้หม้อต้มน้ำทำให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำทำให้เกิดแรงดัน แรงดันจะทำการขับเคลื่อนกลไกทำให้ล้อรถไฟเคลื่อนที่ได้ การที่ใช้ฟืนเป็นแหล่งพลังงานในการต้มน้ำ และฟืนที่ทำให้เกิดเปลวไฟ ทำให้เรียกรถชนิดนี้ว่า รถจักรไอน้ำ รถไฟแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ หัวรถจักร, รถดีเซลราง, รถโดยสาร และ รถสินค้.

ใหม่!!: การขนส่งและรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมการบินและอวกาศ

วิศวกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace engineering) เป็นสาขาวิศวกรรมเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการวิจัย, การออกแบบ, การพัฒนา, การสร้าง, การทดสอบ, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ อากาศยาน และ อวกาศยาน แบ่งออกเป็นสองสาขาใหญ่ที่ทับซ้อนกัน ได้แก่ วิศวกรรมอากาศยาน (aeronautical engineering) และวิศวกรรมอวกาศ (astronautical engineering).

ใหม่!!: การขนส่งและวิศวกรรมการบินและอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมขนส่ง

วิศวกรรมขนส่ง หรือ วิศวกรรมการขนส่ง (Transport engineering หรือ transportation engineering) เป็นการประยุกต์ใช้หลักการทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ในการวางแผน, การออกแบบการทำงาน, การดำเนินงานและการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับโหมดของการขนส่งใดๆ เพื่อที่จะจัดให้มีความปลอดภัย, ประสิทธิภาพ, รวดเร็ว, สบาย, สะดวก, ประหยัด, และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการไปมาห่สู่กันของผู้คนและสินค้า (ขนส่ง).

ใหม่!!: การขนส่งและวิศวกรรมขนส่ง · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมเครื่องกล

วิศวกรรมเครื่องกลออกแบบและสร้างเครื่องจักร งานวิศวกรรมเครื่องกลรวมไปถึงยานพาหนะในทุกขนาด ระบบปรับอากาศเองก็เป็นหนึ่งในงานทางวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical engineering) เป็นวิชาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์และกฎทางฟิสิกส์เพื่อการประดิษฐ์ การผลิต และการดูแลรักษาระบบเชิงกล วิศวกรรมเครื่องกลเป็นหนึ่งในสาขาทางวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุดและมีขอบข่ายกว้างขวางที่สุด การศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลนั้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของหลักกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงานเป็นอย่างดี วิศวกรเครื่องกลนั้นสามารถใช้หลักการณ์พื้นฐานได้ดีพอกับความรู้อื่น ๆ ในงานภาคสนามเพื่อการออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น เรือ ระบบการผลิต จักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น.

ใหม่!!: การขนส่งและวิศวกรรมเครื่องกล · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถโดยสารประจำทาง

นีรถโดยสารประจำทาง เป็นจุดรับส่งและจุดจอดรถโดยสารประจำทาง ซึ่งเป็นรถโดยสารเดินทางในเมืองหรือระหว่างเมือง ในประเทศไทยท่ารถจะมีอยู่ในทุกจังหวัด ทุกอำเภอ และอาจจะมีบางตำบลที่เป็นตำบลสำคัญๆ ในต่างประเทศท่ารถจะมีอยู่ตามเมืองสำคัญและเมืองใหญ่ โดยที่เมืองใหญ่บางแห่งอาจมีท่ารถมากกว่าหนึ่งท่า ท่ารถแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ ทั้งท่ารถขนาดใหญ่สำหรับรถโดยสารประจำทางขนาดใหญ่หรือรถทัวร์ ท่ารถขนาดกลางสำหรับรถโดยสารขนาดกลาง และท่ารถขนาดเล็กสำหรับรถโดยสารขนาดเล็ก หรือรถสองแถว ซึ่งขนาดของท่ารถจะขึ้นอยู่กับสำคัญของจังหวัด อำเภอ หรือตำบลนั้นๆ ในประเทศไทยนั้นนอกจากท่ารถจะเป็นของรัฐแล้ว ยังมีท่ารถของเอกชน ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสารสำหรับบริษัทเอกชนนั้นๆ ด้วย เช่นท่ารถของบริษัทเชิดชัยทัวร์ ท่ารถของบริษัทนครชัยแอร์เป็นต้น สำหรับที่ท่ารถนอกจากจะเป็นอาคารสำหรับจอดรถแล้ว ยังมีพนักงาน นายท่ารถ ทำการอยู่ด้ว.

ใหม่!!: การขนส่งและสถานีรถโดยสารประจำทาง · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟ

นีรถไฟแกรนด์เซ็นทรัล นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สถานีรถไฟ คืออาคารหรือกลุ่มอาคาร ที่ใช้เป็นจุดจอด แวะพัก เปลี่ยนขบวน สำหรับการเดินรถไฟ มีการรับส่งผู้โดยสารเป็นภารกิจหลัก และรับส่งสินค้าบ้างเป็นครั้งคราว.

ใหม่!!: การขนส่งและสถานีรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ถนน

นน เป็นทางสัญจรทางบกระหว่างสถานที่สองแห่ง ที่ได้รับการปูพื้นผิว หรือได้รับการปรับปรุงเพื่อให้การเดินทางทางเท้าหรือยานพาหนะต่าง ๆ รวมถึงม้า เกวียน จักรยาน และยานยนต์ ถนนประกอบด้วยหนึ่งหรือสองช่องทาง ได้แก่ ทิศเดียวกัน กับทิศสวนทางกัน โดยแต่ละฝั่งมีช่องจราจรตั้งแต่หนึ่งช่องขึ้นไป และบางครั้งอาจมีทางเท้า ถนนที่สร้างขึ้นเพื่อส่วนรวมอาจเรียกว่าถนนสาธาณะ หรือทางหลวง.

ใหม่!!: การขนส่งและถนน · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟ

ทางรถไฟในไซตามะ ทางรถไฟ เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร โดยมีรถไฟเป็นยานพาหนะ รางรถไฟนั้นประกอบด้วยรางสองราง ซึ่งปกติทำมาจากเหล็กกล้า วางบนวัตถุที่ตั้งฉากกับตัวราง โดยสร้างจากไม้หรือคอนกรีต วัตถุนี้เป็นตัวกำหนดระยะระหว่างของรางเรียกว่า "เกจ" (gauge).

ใหม่!!: การขนส่งและทางรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยาน คือ สถานที่สำหรับจอดอากาศยาน เพื่อ ขนส่งผู้โดยสาร ขนส่งสินค้า ซ่อมแซม บำรุงรักษา และแวะพัก โดยท่าอากาศยาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ท่าอากาศยานพาณิชย์ และท่าอากาศยานทางการทหาร.

ใหม่!!: การขนส่งและท่าอากาศยาน · ดูเพิ่มเติม »

ท่าเรือ

ท่าเรือ เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกพาณิชย์ทางทะเลซึ่งอาจมีท่าเทียบเรือตั้งแต่หนึ่งแห่งขึ้นไปที่เรือสามารถเทียบเพื่อบรรจุและปล่อยผู้โดยสารและสินค้า ปกติท่าเรือตั้งอยู่ที่ชายฝั่งทะเลหรือชะวากทะเล แต่ท่าเรือบางแห่ง เช่น ฮัมบูร์กหรือแมนเชสเตอร์ ตั้งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ซึ่งเรือจากทะเลสามารถเข้าถึงได้โดยทางแม่น้ำหรือคลอง ปัจจุบัน การพัฒนาท่าเรือที่เติบโตเร็วสุดอยู่ในทวีปเอเชีย ซึ่งเป็นทวีปที่มีท่าเรือใหญ่สุดและวุ่นวายที่สุดของโลกอันดับต้น ๆ เช่น สิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้และหนิงโป-โจวชานของจีน หมวดหมู่:ท่าเรือ หมวดหมู่:อภิธานศัพท์การเดินเรือ.

ใหม่!!: การขนส่งและท่าเรือ · ดูเพิ่มเติม »

คลอง

ลองในประเทศฝรั่งเศส คลอง (canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ หรือ ระหว่างทะเลสาบ และมหาสมุทร คลองมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการส่งน้ำสำหรับการเดินทาง และอุปโภคบริโภค คลองที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในยุคเมโสโปเตเมีย ประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันในประเทศไทย คลองในฐานะที่เป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำเริ่มมีใช้ลดน้อยลง เนื่องจากการเพิ่มของถนนและทางรถไฟ ทำให้คลองในหลายสถานที่ไม่ได้รับความดูแล เกิดความเน่าเสียได้ง่าย ในหลายๆเมือง ได้นำคลองมาใช้ในการนันทนาการแทนที่ โดยมีการล่องเรือนำเที่ยวเมืองภายในคลอง ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีความเชื่อว่าบนดาวอังคารได้มีคลอง.

ใหม่!!: การขนส่งและคลอง · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างพื้นฐาน

นนบางนา-บางปะกง ถนนเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เป็นโครงสร้างทางกายภาพและโครงสร้างหลักของหน่วยงานสำหรับใช้งานภายในชุมชน หรือใช้บริการตามความจำเป็นเพื่อรูปแบบทางเศรษฐศาสตร.

ใหม่!!: การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน · ดูเพิ่มเติม »

เรือ

รือ เป็นยานพาหนะที่ใช้เดินทางทางน้ำ เรือโดยทั่วไปโครงสร้างประกอบด้วยตัวเรือเป็นโครงสร้างที่สามารถลอยน้ำได้ (ซึ่งอาจเป็นส่วนเดียวหรือสองส่วนขนาดกันก็ได้ แต่ไม่รวมถึงแพซึ่งปกติโครงสร้างลอยน้ำจะทำจากกระบอกกลวงหลายๆท่อนผูกติดกัน) กับ ส่วนที่เป็นการขับเคลื่อนของเรือ เช่น ไม้พาย (เรือพาย หรือ เรือแจว) เครื่องยนต์หางยาว (เรือหางยาว) ใบเรือ เรือใบ เป็นต้น อาร์คิมีดีส ค้นพบหลักที่ทำให้สิ่งต่างๆลอยได้ เริ่มต้นจากเขาโดดลงอ่างอาบน้ำ และสังเกตว่า น้ำจะกระฉอนออกไป ขณะที่เรือลอยอยู่ในน้ำ เรือก็"แทนที่"น้ำในรูปแบบเดียวกัน และยังค้นพบอีกว่า น้ำส่วนที่เรือเข้าไปแทนที่จะต้านกลับด้วยแรงที่เท่ากับน้ำหนักของเรือ ความหนาแน่นของเรือเป็นสิ่งสำคัญ ความหนาแน่นคือ น้ำหนักวัตถุที่วัดได้ต่อหนึ่งปริมาตรของวัตถุนั้น หากเรือหรือวัตถุใดๆก็ตามมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ สิ่งนั้นจะลอยได้ แต่หากวัตถุมีความหนาแน่นมากกว่าก็จะจม.

ใหม่!!: การขนส่งและเรือ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องบิน

รื่องบินโบอิง 767 ของ สายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เครื่องบิน หรือ (airplane or aeroplane) คือ พาหนะสำหรับเดินทางที่สามารถบินไปในอากาศได้ (อากาศยาน) โดยเครื่องบินเป็นอากาศยานที่หนักกว่าอากาศ เครื่องบินสามารถบินได้โดยอาศัยแรงยกจากปีกตามหลักการของอากาศพลศาสตร์และถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าโดยแรงผลักจากเครื่องยนต์ไอพ่นหรือใบพัด (อากาศยานที่เบากว่าอากาศถูกเรียกว่า "เรือเหาะ") เครื่องบินมีหลายขนาด, หลายรูปทรง, และปีกหลายแบบ ลักษณะการใช้งานจะเป็นการใช้เพื่อการพักผ่อน, การขนส่งสินค้าและการโดยสาร, ใช้ในการเกษตร, การทหาร, และการวิจั.

ใหม่!!: การขนส่งและเครื่องบิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ระบบขนส่ง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »