เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การกร่อน

ดัชนี การกร่อน

การกร่อนของผิวดินจากการทำการเกษตรเข้มข้นในประเทศเยอรมันนี ในทางปฐพีวิทยา การกร่อนคืออาการของกระบวนการที่ทำให้พื้นผิวดิน หิน หลุดออก หรือทำละลายออกจากตำแหน่งใด ๆ ของเปลือกโลก ให้เคลื่อนย้ายไปสู่ตำแหน่งอื่น ๆ การกร่อนนี้มีสองรูปแบบคือ การกร่อนทางกล และการกร่อนทางเคมี การกร่อนทางกลคือการที่ดินหรือหินแตกแยกย่อยและเคลื่อนย้ายตำแหน่ง ส่วนการกร่อนทางเคมีคือการที่ดิน หิน หรือแร่ธาตุถูกย้ายตำแหน่งด้วยการละลายในตัวทำละลาย ซึ่งโดยมากคือน้ำ เมื่อละลายแล้วได้รับการพัดพาไปสู่ตำแหน่งใหม่ การกร่อนทั้งสองรูปแบบนี้เป็นผลให้สสารเคลื่อนย้ายตำแหน่งไป ในระดับมิลลิเมตร จนถึงหลายพันกิโลเมตร การกร่อนตามธรรมชาตินั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยขับดันทางธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดอัตราและรูปแบบการกร่อนที่แตกต่างกัน เช่นการไหลของน้ำฝน การกร่อนของชั้นหินดินดานในแม่น้ำ การกัดเซาะชายฝั่งทะเลโดยคลื่น การกระทบกระแทกโดยธารน้ำแข็ง การกร่อนโดยกระแสลม การไหลของน้ำใต้ดิน หรือการไถล ถล่มของดิน เป็นต้น นอกจากการกร่อนทางธรรมชาติและ กิจกรรมของมนุษย์ทำให้เกิดการกร่อนด้วยเช่นกัน เช่นการทำการเกษตรอย่างเข้มข้น การทำลายป่าไม้ การสร้างถนน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากกิจกรรมของมนุษย์ หมวดหมู่:เกษตรศาสตร์ หมวดหมู่:วิทยาศาสตร์ทางดิน.

สารบัญ

  1. 2 ความสัมพันธ์: ธารน้ำแข็งเปลือกโลก

  2. วิทยาศาสตร์ทางดิน
  3. เกษตรศาสตร์

ธารน้ำแข็ง

right right ธารน้ำแข็ง Baltoro ในเทือกเขาการาโกรัม, ในบอลติสตัน (Baltistan), ทางภาคเหนือของปากีสถาน ที่ความยาว 62 กิโลเมตร (39 ไมล์) มันเป็นหนึ่งในธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ที่ยาวที่สุดในโลก ธารน้ำแข็ง (glacier) ธารน้ำแข็งเกิดจากการที่หิมะตกลงมาแล้วสะสมกันจนหนา 45-60 เมตร แล้วเกิดการเคลื่อนตัวลงมาอย่างช้า ๆ ซึ่งมักจะเกิดบริเวณที่ลาดชันหรือตามไหล่เขา การเคลื่อนตัวลงมาตามไหล่เขาอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดการสึกกร่อนลึกลงไปเพราะความหนักของหิมะที่สะสมกันจนเป็นน้ำแข็ง ธารน้ำแข็งที่เคลื่อนตัวไปในหุบเขาจะทำให้พื้นดินที่รองรับเกิดร่องลึกและกว้างเพราะมีน้ำหนักของน้ำแข็งกดทับ ธารน้ำแข็งจะค่อย ๆ ครูดบริเวณที่รองรับจนเกิดหุบเขาตัดขวางรูปตัวยู เมื่อธารน้ำแข็งไหลไปถึงตอนล่างธารน้ำแข็งก็จะค่อย ๆ แตกออกแล้วก็จะค่อย ๆ ละลายกลายเป็นลำธาร ธารน้ำแข็งที่ถูกตัดขาดและแตกออกไหลลงทะเลเรียกว่าภูเขาน้ำแข็ง สีของธารน้ำแข็งมักจะมีสีเขียวแกมม่วง หรือ แกมน้ำเงิน รูปร่างของธารน้ำแข็งบนบกมักจะยกตัวสูงและมีความแตกต่างจากน้ำแข็งในทะเล (sea ice) ที่มีขนาดบางมากและน้ำแข็งในทะเลสาบซึ่งรูปทรงของมันจะอยู่บนพื้นผิวของแผ่นน้ำ บนโลก 99% ของเกล็ดน้ำแข็งจะอยู่ภายในแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ในบริเวณดินแดนขั้วโลก, แต่ธารน้ำแข็งอาจจะพบได้ในแถบเทือกเขาของทุก ๆ ทวีป, และในไม่กี่ละติจูดสูงของเกาะในมหาสมุทร ระหว่าง 35 องศาเหนือ และ 35 องศาใต้, ธารน้ำแข็งเกิดขึ้นเฉพาะในเทือกเขาหิมาลัย, เทือกเขาแอนดีส, ภูเขาสูงไม่กี่ลูกในแอฟริกาตะวันออก, เม็กซิโก, นิวกินี และซาร์ด คู (Zard Kuh) ในอิหร่าน.

ดู การกร่อนและธารน้ำแข็ง

เปลือกโลก

ภาพหน้าตัดของโลกทั้งหมด เปลือกโลก (Crust) เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีทั้งที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร มีความหนาประมาณ 5 - 40 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continental Crust) เป็นหินแกรนิต มักมีความหนามาก มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยแร่ อะลูมินา และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชนิดไซอัล (SIAL) และเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic Crust) เป็นหินบะซอลต์ มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยแร่ แมกนีเซียม และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (SIMA) แผ่นของเปลือกโลก (Crust of the Earth) ประกอบไปด้วยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก Mantle ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน peridotite หินที่มีความหนาแน่น และมีอยู่มากในเปลือกโลก รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลก หรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) คือเขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน หมวดหมู่:ธรณีวิทยา หมวดหมู่:เปลือกโลก.

ดู การกร่อนและเปลือกโลก

ดูเพิ่มเติม

วิทยาศาสตร์ทางดิน

เกษตรศาสตร์