เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ

ดัชนี กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ

กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ (Depressor Supercilii) เป็นกล้ามเนื้อตาของร่างกายมนุษย์ ธรรมชาติของกล้ามเนื้อนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน ตำราทางกายวิภาคศาสตร์บางเล่มนับกล้ามเนื้อนี้เป็นกล้ามเนื้อมัดหนึ่ง (เช่น Netter, et al) แต่ผู้เขียนส่วนใหญ่นับกล้ามเนื้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อหลับตา (orbicularis oculi) ในทางตรงกันข้าม ตจแพทย์, จักษุแพทย์, และศัลยแพทย์พลาสติกจำนวนมากนับกล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอเป็นกล้ามเนื้อมัดหนึ่งแยกออกมา และทำหน้าที่เฉพาะในการเคลื่อนไหวคิ้วและผิวหนังบริเวณแสกหน้.

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: กล้ามเนื้อกล้ามเนื้อหลับตากล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอจุดเกาะต้นตาแสกหน้าเส้นประสาทเฟเชียล

  2. กล้ามเนื้อของศีรษะและคอ

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ดู กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอและกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อหลับตา

กล้ามเนื้อหลับตา (orbicularis ocule) เป็นกล้ามเนื้อในใบหน้าลักษณะเป็นเส้นใยวงกลมวนรอบดวงตา ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อนี้เกิดการหดตัวก็จะทำให้สามารถหลับตาได้ โดยเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนนี้ก็คือเส้นประสาทเฟเชียล หรือเส้นประสาทคู่ที่ 7 หลับตา.

ดู กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอและกล้ามเนื้อหลับตา

กล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ

กล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ (Corrugator supercilii) เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็ก แคบ รูปร่างเป็นพีระมิด ตั้งอยู่ที่หัวคิ้ว ใต้ต่อกล้ามเนื้อฟรอนทาลิส (Frontalis) และกล้ามเนื้อหลับตา (Orbicularis oculi) กล้ามเนื้อนี้เริ่มจากปลายด้านใกล้กลางของโหนกคิ้ว (superciliary arch) และใยกล้ามเนื้อทอดไปทางด้านบนและด้านข้าง ระหว่างส่วนหนังตา (palpebral portion) และส่วนเบ้าตา (orbital portion) ของกล้ามเนื้อหลับตา และเข้าเกาะปลายที่พื้นผิวชั้นลึกของผิวหนัง เหนือต่อกึ่งกลางของโค้งเบ้าตา (orbital arch).

ดู กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอและกล้ามเนื้อคอร์รูเกเตอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ

จุดเกาะต้น

กาะต้น (origin) ของกล้ามเนื้อเป็นจุดที่กล้ามเนื้อยึดเกาะกับกระดูกหรือกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ โครงสร้างที่จุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อจะไม่เคลื่อนที่เมื่อเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ ปลายอีกด้านหนึ่งของกล้ามเนื้อเราจะเรียกว่า จุดเกาะปลาย (insertion) โดยทั่วไป จุดเกาะต้นมักจะอยู่ส่วนต้น (proximal) มากกว่าจุดเกาะปลาย แต่เนื่องจากร่างกายมีความสามารถในการเคลื่อนไหวสลับทิศทางกันได้ จึงไม่จำเป็นที่จุดนั้นๆ จะเป็นจุดเกาะต้นเสมอไป.

ดู กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอและจุดเกาะต้น

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ดู กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอและตา

แสกหน้า

แสกหน้า (glabella) เป็นชื่อเรียกบริเวณระหว่างคิ้วและเหนือจมูก ส่วนนี้จะเป็นสันนูนเล็กน้อยเชื่อมระหว่างสันคิ้ว (superciliary ridges) รากศัพท์ภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน "glabellus" แปลว่า เรียบ เพราะบริเวณนี้ไม่มีขนคิ้ว สำหรับภาษาไทย แสกหน้า เป็นคำประสมระหว่าง แสก ซึ่งแปลว่า แนวที่อยู่ระหว่างกลางราชบัณฑิตยสถาน.

ดู กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอและแสกหน้า

เส้นประสาทเฟเชียล

้นประสาทเฟเชียล ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม..

ดู กล้ามเนื้อดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอและเส้นประสาทเฟเชียล

ดูเพิ่มเติม

กล้ามเนื้อของศีรษะและคอ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Depressor Superciliiดีเพรสเซอร์ ซูเปอร์ซิลิไอ